จบลงไปแล้วสำหรับการประกาศผลรางวัล ADFEST 2014 ที่จัดขึ้นที่เมืองพัทยา ประเทศไทยของเรา รางวัลที่ประกาศผลทั้งหมดนั้นมีอยู่ 17 สาขาได้แก่ INTERACTIVE, MOBILE, PRINT CRAFT, DESIGN, DIRECT, PROMO, PRESS, NEW DIRECTOR & FILM, OUTDOOR, RADIO, FILM, MEDIA, EFFECTIVE, INTEGRATED, INNOVA, LOTUS ROOTS & SPECIAL AWARD ซึ่งทาง MarketingOops! ได้หยิบเอาแคมเปญที่ชนะรางวัลในหมวด INTERACTIVE, MOBILE มารีวิวให้ดูกันอีกครั้งว่าแคมเปญที่ชนะรางวัล ADFEST 2014 นั้นมีความน่าสนใจและเหตุผลของคณะกรรมการที่ให้รางวัลกล่าวไว้ว่าอย่างไรบ้าง
รีวิวแคมเปญชนะรางวัล ADFEST 2014 ในสาขา INTERACTIVE
ในหมวดของ INTERACTIVE นั้นรางวัลที่มอบให้ทาง ADFEST ตั้งชื่อรางวัลว่า Interactive Lotus ซึ่งในปีนี้ผลรางวัลที่ประกาศออกมาคือมีผู้ชนะรางวัลใหญ่หรือ Grande 1 รางวัล ได้รับ Gold 3 รางวัล ได้รับ Silver 11 รางวัล และได้รับ Bronze 6 รางวัลจากแคมเปญที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย 10 แคมเปญ
The Grande:
แคมเปญ: ‘Sound of Honda’ for Internavi
รางวัลใหญ่ที่ได้ในสาขา Interactive Lotus นั้นปีนี้ตกเป็นของเอเจนซี่ Dentsu Inc. ประเทศญี่ปุ่น ที่ทำให้กับลูกค้า Honda Internavi ซึ่งเป็นบริการของทางค่ายรถยนต์ Honda ซึ่ง Internavi นี้คือเจ้าตัว vehicle telematics service ที่ทาง Honda นำมาใส่ไว้ในรถยนต์เพื่อให้ผู้ขับสามารถดูข้อมูลการจราจรในประเทศญี่ปุ่นได้แบบ On-demand และใช้ข้อมูลแผนที่บน Internet ในการแสดงผลบนหน้าจอของรถยนต์ซึ่ง Internavi นี้จะมีอยู่ในรถยนต์ Honda บางรุ่นเท่านั้น
Idea: ของแคมเปญ ‘Sound of Honda’
ทีมงานต้องการจำลองการแข่งขันของ Ayrton Senna ในวันที่เขาแข่ง Japanese F1 ในปี 1989 ให้ได้ชมกันอีกครั้ง ด้วยเทคโนโลยี Honda Internavi
Execution:
‘Sound of Honda’ เป็นแคมเปญ Branded content ที่สวยงาม อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่า Honda Internavi นั้นเป็นระบบนำทางบนรถยนต์ที่ผสมผสานข้อมูลของตัวรถและ Internet Maps เข้าไว้ด้วยกัน ทีมงาน Dentsu จึงได้จำลองกระบวนการทำงานของระบบออกมาในรูปแบบของภาพบนถนนจริงๆโดยเลือกหยิบเอาสถานะการณ์จริงของนักแข่งรถ F1 ชาวบราซิลชื่อว่า Ayrton Senna ที่คว้าแชมป์ในสนาม Japanese F1 ที่เมือง Suzuka ในปี 1989 มาจำลองภาพให้ชมกันอีกครั้งด้วยระบบ 3D View ผ่านเทคโลโลยี WebGL โดยข้อมูลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเสียงของรถยนต์ที่เขาใช้ ข้อมูลการขับของเขาในวันนั้นก็เป็นข้อมูลจริงๆ ไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย โดยทีมงานเพียงแค่นำมันมาแสดงผลใหม่ในรูปแบบของการเปิดไฟไปตามเส้นทางการขับของเขาในอดีตอีกครั้ง นับว่าเป็นการทำ Branded content ที่เจ๋งๆมากๆในการจำลองเหตุการณ์จริงในอดีตให้มาแสดงผลกันใหม่อีกครั้งด้วยเทคโลโลยีของ Honda Internavi และผลที่มันออกมาก็ช่างสวยงามเสียเหลือเกินเพราะเราได้เห็นภาพดวงไฟวิ่งไปรอบๆสนามการแข่งขันเดิมที่ Ayrton Senna เคยมาขับเอาไว้ในปี 1989
WebGL เทคโนโลยีที่ทาง Dentsu นำมาใช้กับแคมเปญ Sound of Honda
ในหน้าเว็บไซต์ของ Honda ได้ทำการจำลองข้อมูลการขับรถของ Ayrton Senna เอาไว้ด้วยเทคโนโลยี WebGL ซึ่งเราจะเห็นข้อมูลของรถยนต์ Honda ที่เขาใช้ขับในวันนั้นแสดงผลอยู่ พร้อมกับเสียงเครื่องยนต์ขณะที่เขาเร่งความเร็ว และแทรกข้อความที่เขาได้กล่าวชื่นชมกับทีม Honda และความรู้สึกในการแข่งขันในครั้งนั้นอีกด้วย สามารถเข้าไปดูการจำลองข้อมูลข้างต้นได้ที่ได้ที่เว็บไซต์ www.honda.co.jp/internavi-dots/dots-lab/senna1989/
Ayrton Senna วัย 34 ปี ได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุระหว่างการแข่งขัน San Marino Grand Prix ลงในปี 1994
วิดีโอแคมเปญ Sound of Honda
httpv://www.youtube.com/watch?v=oeO2q8FzcnM
คำชมจากคณะกรรมการ ADFEST 2014
Graham Kelly ตำแหน่งประธานการตัดสินรางวัล Interactive Lotus & Mobile และเป็น Regional Executive Creative Director ที่บริษัทเอเจนซี่ Isobar Asia Pacific Limited กล่าวชื่นชมกับแคมเปญ Sound of Honda นี้ว่า
“แคมเปญนี้มีเทคนิคมากมาย จากไอเดียเริ่มต้นๆง่ายๆแต่ดำเนินการทำออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม วิธีการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี WebGL และการสร้างภาพ 3D ขึ้นมาใหม่ทำได้อย่างหลุดออกจากกรอบเดิมๆ แถมแคมเปญนี้ยังกระตุ้นอะไรบางอย่างให้คนดูไม่มีความรู้สึกน่าเบื่อหรือดูอาจจะแห้งๆไปถ้าจะบอกว่า Honda คือผู้นำเทคโนโลยี Telemetry สุดท้ายมันยังปลุกอารมณ์ของคนดูได้อีกด้วยและเราไม่เคยเห็นใครทำแคมเปญดิจิตอลอะไรแบบนี้มาก่อน”
“This campaign ticked a lot of boxes for the Jury: simple idea, excellently executed.”
“The way it weaved together disparate technologies – from recreating the engine sounds to creating a 3D view of lap using WebGL – was outstanding. This campaign also did a great job of dramatizing something that could have been quite boring and ‘dry’: Honda’s leadership in telemetry technology. Finally, it stirred emotions, which is something still relatively rare in a lot of digital work.”
3 Gold Lotuses ที่ได้รับรางวัลในสาขา INTERACTIVE นี้ได้แก่
- ‘Be OK’ YouTube button จากเอเจนซี่ Mercerbell (Sydney) ประเทศออสเตรเลีย ที่ทำให้กับแบรนด์ Allianz Car Insurance’s
- ‘Anytime, Anywhere’ จากเอเจนซี่ George Patterson Y&R (Melbourne) ประเทศออสเตรเลีย ที่ทำให้กับลูกค้า The Royal Australian Air Force
- ‘The Most Powerful Arm’ จากเอเจนซี่ Finch(Sydney) ประเทศออสเตรเลีย ที่ทำให้กับแบรนด์ Duchenne Muscular Dystrophy.
รีวิวแคมเปญชนะรางวัล ADFEST 2014 ในสาขา MOBILE
แคมเปญในหมวด Mobile นี้ตัวแรกที่ได้รางวัล Gold นี้ไปคือแคมเปญการกุศลหรือ CRS ที่ไปกวาดรางวัลมาก่อนหน้านี้แล้วถึง 4 รางวัลจากได้แก่
- Cannes Lions 2013 MOBILE – Gold ในหมวด Mobile Applications/Charities
- Cannes Lions 2013 MOBILE – Silver ในหมวด Best Integrated Campaign Led By Mobile
- Cannes Lions 2013 MOBILE – Silver ในหมวด Use of Technology
- Spikes 2013 – Silver ในหมวด Outdoor
และล่าสุดกับรางวัลของ ADFEST 2014 ที่สามารถคว้า Gold มาได้นั่นคือแคมเปญ Missing Children จากเอเจนซี่ JWT Beijing ประเทศจีน
แคมเปญที่ 1: ‘Missing Children’
Baby Back Home คือแอพพลิเคชั่นบนมือถือของแคมเปญ Missing Children ที่ทางเว็บไซต์ http://www.baobeihuijia.com/ จากประเทศจีนได้ทำขึ้นมาเพื่อเอาไว้ให้คนทั่วไปดาวน์โหลดแล้วถ่ายภาพเด็กเร่ร่อนในประเทศจีนหรือเด็กหายไปแล้วต้องการประกาศตามหาให้สามารถช่วยกันตรวจสอบภาพถ่ายของเด็กจากฐานข้อมูลเด็กหายของเว็บไซต์ผ่านแอพ Baby Back Home นี้ได้
Idea: ของแคมเปญ Missing Children
จาก Insight ที่ทีมงาน JWT ได้รับคือในประเทศจีนมีเด็กถูกแจ้งว่าสูญหายสูงถึง 20,000 คนในแต่ละปี แล้วจะทำอย่างไรให้คนอื่นๆช่วยกันตามหาเด็กเหล่านั้นเนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศที่ใหญ่มากการตามหาเด็กหายจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นทีมงานจึงคิดไอเดียการถ่ายภาพเด็กตามแหล่งต่างๆส่งขึ้นมายังเว็บไซต์ให้ตรวจสอบซึ่งสามารถทำได้โดยดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นชื่อว่า Baby Back Home ลงบนสมาร์ทโฟนเพื่อช่วยกันตามหาเด็กที่หายไป
ไอเดียหลักคือ “ช่วยกันถ่ายภาพเด็ก เพื่อช่วยเหลือเด็กที่หายไป“
Execution:
ทีมงานทำการสร้างรูปปั้นขึ้นมาโดยรูปปั้นนั้นเป็นรูปปั้นคนที่แสดงอาการเศร้าโศกอยู่ ซึ่งก็คือพ่อและแม่ของเด็กที่หายไป แล้วนำไปวางตามสถานที่ต่างๆที่เป็นแหล่งชุมชนเพื่อให้คนถ่ายภาพ นั่นหมายความว่าแคมเปญนี้มีการใช้สื่อ Outdoor เข้ามาช่วยในการโปรโมทแอพพลิเคชั่น Baby Back Home หลังจากดาวน์โหลดและเปิดแอพนี้ขึ้นมาถ่ายรูปปั้นดังกล่าวอีกครั้ง ผู้ใช้ก็จะได้เห็น AR-interactive แสดงข้อมูลเด็กหายในจีนให้เห็นซึ่งเป็นการกระตุ้นให้คนช่วยกันใช้แอพนี้ในการถ่ายภาพเด็กเพื่อช่วยกันตามหานั่นเอง
Results
เพียงแค่สัปดาห์เดียวที่ปล่อยแคมเปญนี้ออกไป ก็มียอดดาวน์โหลดแอพนี้ไปกว่า 20,000 ครั้ง นั่นแปลว่ามีคนช่วยกันตามหาหรือ search volunteers ถึง 20,000 คนแล้วนั่นเอง
วิดีโอแคมเปญ Missing Children
httpv://www.youtube.com/watch?v=j3amtofV8xg
แคมเปญที่ 2: ‘Digital Lullaby’
แคมเปญตัวที่สองที่ได้รับรางวัล Gold เช่นเดียวกัน เป็นผลงานของเอเจนซี่ Six Inc จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทำให้กับแบรนด์ Cafca Candy
Idea:
สร้างวิดีโอหนังสั้นเรื่องแรกของโลก ที่สามารถทำให้เด็กหยุดร้องไห้ได้ เมื่อได้ชมเพียงไม่กี่วินาที
Execution:
สร้างวิดีโอคอนเท้นต์จาก Character ของแบรนด์ Cafca Candy แล้วปล่อยออกไปยังโลกออนไลน์อย่าง Facebook, YouTube ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารของแบรนด์ โดยจะโพสเนื้อหาแนะนำให้คุณแม่หยิบบนโทรศัพท์มือถือขึ้นมาแล้วเปิดวิดีโอเหล่านี้ให้ลูกดูเพียงเท่านี้ลูกก็จะหยุดร้องไห้ได้ ซึ่งในเนื้อหาวิดีโอเหล่านั้นจะประกอบไปด้วยเพลง และเสียงต่างๆ ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาสรุปเอาไว้ว่าจะทำให้เด็กสามารถหยุดร้องไห้ได้
วิดีโอแคมเปญ Digital Lullaby
httpv://www.youtube.com/watch?v=ZfFT7pOhprU
ความเห็นของการคณะกรรมการ ADFEST 2014 กับรางวัลในหมวด MOBILE ทั้ง 2 รางวัล
ทางกรรมการแสดงความเห็นสำหรับรางวัลทั้งสองเอาไว้ว่า “เขาค่อนข้างผิดหวังกับรางวัลในสาขา Mobile ในปีนี้ไปซักหน่อย เพราะว่าในแถบเอเชียการผลิตมือถือใหม่ๆนั้นมีนวัตกรรมมาก แต่การโฆษณาบนมือถือกับยังไม่มีความโด่นเด่นมากนักกับนวัตกรรมที่มีอยู่บนมือถือต่างๆ นั้นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมปีนี้จึงไม่มีใครได้รางวัล Grande ไปเลย” – Graham Kelly กล่าว
“The quality of entries to this category was a little disappointing, to be frank. Asia is a hotbed of mobile innovation but this wasn’t really reflected in the work we saw. I believe part of the reason is that a lot of the great mobile work is being done by developers who aren’t really aware of advertising shows, and thus don’t enter. This is something I have discovered first-hand.”
อ่านรีวิวแคมเปญชนะรางวัล ADFEST 2014 ในหมวด Press, Film ได้ต่อ ที่นี่