เมื่อเอ่ยถึง “Xiaomi” ชื่อนี้ไม่ได้ผลิตและจำหน่ายแค่สมาร์ทโฟนเท่านั้น แต่ทว่าทำสินค้าเทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับ “ชีวิตประจำวัน” เพื่อให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในทุกๆ ที่ที่คนใช้ชีวิต เข้าไปอยู่ในทุกๆ ไลฟ์สไตล์ และอยู่ในทุกๆ โอกาส ทั้งอยู่ในบ้าน อยู่นอกบ้าน หรืออยู่ตามสถานที่ต่างๆ
เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า Product Portfolio ภายใต้ “Mi” จึงมีความหลากหลาย ตั้งแต่สมาร์ทโฟน / กลุ่มทีวี / คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค / กลุ่มอุปกรณ์ Smart Device เช่น สายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพ (Wearable Device), หลอดไฟ LED, สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า, หุ่นยนต์ตัวต่ออัจฉริยะ (Mi Robot Builder), แปรงสีฟันไฟฟ้า, โดรน, เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์, อุปกรณ์ใช้กับรถยนต์ / กลุ่มสินค้าแบตเตอรี่สำรอง / กลุ่มเครื่องเสียงและหูฟัง
เท่านั้นยังไม่พอเมื่อไม่นานนี้ “Xiaomi” ยังได้ประกาศจับมือกับ FAW Group ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีน ร่วมกันผลิตรถ SUV “Bestune T77”
“นวัตกรรม + ราคาเอื้อมถึง + ช่องทางจำหน่ายครอบคลุม” 3 สูตรความสำเร็จรุกตลาด
กลยุทธ์สำคัญที่ทำให้ “Xiaomi” เป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จรวดเร็ว ทั้งในตลาดจีน และนอกประเทศจีน มาจาก 3 สูตรสำคัญคือ “นวัตกรรม + ราคาเข้าถึงง่าย + ช่องทางจัดจำหน่ายครอบคลุม” (Innovation + Affordable Price + Channel Distribution)
เนื่องจากการวางตำแหน่งแบรนด์ Mi อยู่ในเซ็กเมนต์ “Premium Mass” ทำให้สินค้ากลุ่มต่างๆ ของ Xiaomi สามารถเจาะตลาด Mass ได้ เมื่อผนวกกับกลยุทธ์ “Product Portfolio” ด้วยการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ก็ยิ่งผลักดันให้แบรนด์ และสินค้าของ “Xiaomi” เข้าไปอยู่ในไลฟ์สไตล์ของคนทุกกลุ่ม
ในขณะที่ช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าต่างๆ ของ “Xiaomi” ขยายครอบคลุมทั้ง e-Commerce ทั้ง ซึ่งช่องทางออนไลน์ ถือเป็นหนึ่งในหัวใจความสำเร็จของแบรนด์จีนรายนี้มาตั้งแต่ยุคเริ่มต้น
ขณะเดียวกันเปิดช้อป เพื่อเป็นอีกหนึ่ง Touch Point สำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคได้เข้ามามี “ประสบการณ์กับแบรนด์ และผลิตภัณฑ์”
“Xiaomi อินเดีย” ทดลองเปิดโมเดลตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ
ช่องทางจำหน่ายของ “Xiaomi” ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ล่าสุด “Xiaomi ประเทศอินเดีย” ได้เปิดตัวช่องทางการขายรูปแบบตู้จำหน่ายอัตโนมัติ “Mi Express Kiosk” สำหรับจำหน่ายสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์เทคโนโลยีอื่นๆ
ด้านบนของตู้ขายอัตโนมัตินี้ ติดตั้งกล้องอัจฉริยะจับภาพใบหน้าลูกค้าที่กำลังซื้อสินค้าที่ ขณะที่ด้านหน้าตู้ นอกจากแสดงสินค้าแล้ว ยังมีจอสัมผัส เพื่อให้ลูกค้าดูแคตตาล็อก และรายละเอียดสินค้า จากนั้นเลือกสินค้า – สี – สเปคสินค้าที่ต้องการ
ส่วนการชำระเงิน ตู้ขายสินค้าอัตโนมัตินี้ รับทั้งบัตรเครดิต, บัตรเดบิต, เงินสด และ UPI (Unified Payment Interface : ระบบการชำระเงินแบบเรียลไทม์ พัฒนาโดย National Payments Corporation of India เพื่อสร้างความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างธนาคาร)
ใน Facebook “Mi India” ระบุว่าตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ นำร่องติดตั้งที่ Manyata Tech Park และสำนักงาน “Xiaomi” ในอินเดีย โดยเร็วๆ นี้จะทยอยติดตั้งให้ครบ 50 เครื่อง
ทั้งนี้ “อินเดีย” เป็น Strategic Market ที่สำคัญของ “Xiaomi” รองจากจีน เพราะด้วยโอกาสธุรกิจมหาศาล ทั้งการเป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) และมีประชากรจำนวนมาก โดยสามารถล้มแชมป์เก่าอย่าง “Samsung” ก้าวขึ้นเป็นอันดับ 1 ของตลาดสมาร์ทโฟนอินเดียได้สำเร็จ ด้วยส่วนแบ่งการตลาดปี 2018 อยู่ที่ 28.9% ขณะที่ Samsung หล่นมาอยู่อันดับ 2 มีส่วนแบ่งตลาด 22.4% และอันดับ 3 คือ Vivo มีส่วนแบ่งตลาด 10%
ขณะที่ในตลาดโลก ไตรมาส 1/2019 “Xiaomi” อยู่ในอันดับ 4 ด้วยส่วนแบ่งตลาด 8.0% ยอดจำหน่าย 25 ล้านเครื่อง
Source : Gizmochina