อัปเดต – ถอดรหัส การตลาดช่วงครึ่งปีแรก ผ่านเรื่องฮอตบนโซเชียลฯ #WisesightResearchDiscovery

  • 26
  •  
  •  
  •  
  •  

 

กลับมาใน Episode 2 กับ Wisesight Research Discovery โดยในครั้งนี้เป็นการมาอัปเดตประเด็นฮอตบนโซเชียล ในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา รวมถึงมีการถอดรหัสการตลาดว่าเรื่องฮอตแต่ละเรื่องที่เกิดขึ้น เกิดได้อย่างไร และมี Insight ที่น่าสนใจอะไรบ้าง โดยเป็นการทำ Social Hot Issue on Stage จาก คุณต่อ พุทธศักดิ์ ตันติสุทธิเวท Deputy Director of Data Research Product , Wisesight (Thailand) และ คุณบี สโรจ เลาหศิริ จากเพจ สโรจขบคิดการตลาด

 

สำหรับ Sessionแรก โดย คุณต่อ พุทธศักดิ์ ได้มาอัปเดต Social Hot Issue ว่ามีประเด็นอะไรที่เป็นกระแสบ้างในครึ่งปี 2567 ที่ผ่านมา ดังนี้

 

Brand Move on Social Media

จากข้อมูลกว่า 2,600 แบรนด์ และเก็บข้อมูลจาก 5 Platform หลักอย่าง Facebook, X, Instagram, YouTube และ TikTok

  • โดยใน Q1 ที่ผ่านมามี Engagement ที่เกิดขึ้นกว่า 136 ล้าน Engagement
  • มากกว่า 79 ล้าน มากจาก Facebook ถือว่ายังเป็น Platform หลัก ที่แบรนด์ใช้ในการสื่อสารและสร้าง Engagement ให้กับแบรนด์ได้
  • ที่น่าสนใจคือ TikTok ที่ได้ Engagement รวม 30 ล้าน รองลงมาจาก Facebook โดย TikTok เองมีแค่ไม่กี่แบรนด์ที่เข้ามาเล่นใน Platform นี้แต่กลับได้ Engagement ที่ดี
  • เมื่อมาดูข้อมูลรายเดือนพบว่าช่วง มีนาคม จะเป็นช่วงที่ทุกแพลตฟอร์มมีการใช้มากที่สุด
  • Industry ที่ Engagement เติบโตมากที่สุดคือ Real Estate เติบโตถึง 98%
  • ส่วน Industry ที่การเติบโตลดลงคือ E-commerce ลดลง -70% และ Logistics -67%
  • Facebook ยังมีสัดส่วนของการกด Like ที่มากที่สุด
  • แต่ที่น่าสนใจคือ Industry ที่ได้ Reaction อื่นๆ มากที่สุดคือ
    1. Love ❤️> Skincare จากการใช้ Presenter คู่จิ้นต่างๆ
    2. Haha😆> Food Delivery, Restaurants, Real Estate ด้วยความสนุกสนานของการทำคอนเทนต์
    3. Wow 😮> Gold & Jewelry ในช่วงที่ราคาทองเพิ่มสูงขึ้น
    4. Angry 😡 > Bank จากการใช้งานของ User เวลาเจอปัญหา

Social Viral / Business Viral

  • เรื่องของ Soft Power กางเกงช้าง กางเกงแมว และสัตว์อื่นๆ กางเกงจังหวัดต่างๆ Insight ที่น่าสนใจคือ ความ Popular ไม่ได้เกิดจากตัวกางเกงช้างแต่เกิดจากแบรนด์ ที่มี Character เอากางเกงช้างไปใส่ในแบรนด์ จนทำให้เกิด Viral ได้ เช่นกางเกงกะปิปลาร้า ของสวนสัตว์เขาเขียว
  • Pizza Promotion คนชื่นชมในเรื่องโปรโมชัน แต่ Negative ในเรื่องการจัดการหน้าร้านที่ไม่ดี
  • April Fool Day ตัวอย่างเช่น น้ำเปล่าปั่น ของ Bearhouse Robinhood Copter หรือ Swensen กับตี๋น้อย จะเห็นว่าคอนเทนต์มีการร่วมมือกันของ 2 แบรนด์มากขึ้น แต่สิ่งที่ต้องระวังคือเรื่องของความเข้าใจผิดจากผู้บริโภค
  • Butterbear มี Voice ที่ spike ขึ้นมา 2 รอบ
  • Bangkok CI เปลี่ยนป้ายของกรุงเทพ จนเกิดเป็น Internet Meme

Entertainment Viral

  • เค้ก เนเน่ ที่เกิดเป็น Viral มีการจองกันข้ามเดือน จนทำให้เราได้เห็น กระแสของ Creator Commerce หรือ C2C (Creator to Consumer) มากขึ้น เห็นการขายของของ Creator เยอะขึ้น เพราะการสู้กับ Platform มีความท้าทาย การทำแบบนี้ทำให้ได้รายได้ที่ตรงและรวดเร็วกว่า
  • Creator Event เช่น Fu me Food, Fara Talk เกิดเป็นกึ่งแฟนมีต หรือ vTuber  ที่จัดออนไลน์แฟนมีต มีแฟนคลับที่ชัดเจน จะเริ่มเห็นการทำแบบนี้มากขึ้น สร้าง Experience ให้คนดูมากขึ้น สร้างรายได้ให้ตัวเองมากขึ้น มีวิธีการที่ดูแล Audince ของตัวเอง ถ้าแบรนด์เข้าไปเปลี่ยนอาจจะยาก
  • ดราม่า Influencer เช่น อุงเอิง ดราม่าไกด์แบบใดห์ จากคัลแลนและพี่จอง เวลาเแบรนด์จ้าง Influencer ต้องทำเหมือนการจ้างดารา เพราะเขามีกฎจากแฟนคลับของเขา ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาได้
  • ชาลี-กามิน หนุ่มไทย-สาวเกาหลี ที่เกิดเป็นกระแสคู่จิ้น ในช่วงๆ นึง
  • คู่จิ้น ญ-ญ ที่ปีนี้เราเห็นกระแสที่มาแรงมากขึ้นอย่างเช่น คู่อิงฟ้า ชาล็อต และฟรีน เบ็คกี้
  • Entertainment ฝั่งภาพยนต์ ซีรีส์ อย่างสาธุ หลานม่า lovely runner ฝั่งเพลงเมล่อน ของเอแคล์ที่มาในช่วงสงกรานต์ปีนี้ เพลง Hit me up ของ Timethai ที่เต้นกันสนั่น TikTok
  • Sport ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล เราจะเห็นกีฬาเป็นวิ่งที่ถูกพูดถึงเสมอบนโซเชียลมีเดีย
  • ลาบูบู้ Engagement ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 53 ล้าน ถือว่าค่อนข้างสูง แต่ในช่วงนี้กระแสลดลง แต่เราจะเห็นการผสมผสานของการเอา Art บวกกับ มูเตลู เข้ามา เช่นพระพิฆเนศทำเป็น Art Toy ที่มีการเอาไปลงปลุกเสกจริง ทำให้ได้รับความสนใจที่เพิ่มขึ้น
  • #ผีฮ่องกง เรื่องความเชื่อ เรื่องผี ยังคงเติบโตอยู่เสมอ เช่น เรื่องผี จาก The Ghost ที่เราเห็น Viral ไม่เยอะ แต่ consumption ยังเยอะอยู่อย่างต่อเนื่อง
  • Meme content ที่เห็นอย่างต่อเนื่อง การพูดถึงเรื่องการทำงาน พูดถึงการด่าแต่มีการใช้ภาษาที่อ่านแล้วตลก เช่น “สวยได้ประหยัดมาก” จะดึงดูดความสนใจจากคนบนโซเชียลได้
  • สิ่งที่เป็น อิหยังว่ะ What? เพลงครัวคุณต๋อย ที่อยู่ๆ ก็มีการพูดถึงพุ่งขึ้นมา

 

Social Issue

  • สุขุมวิท 11 จากพี่กะเทยชาวไทย เรียกแคมเปญจากโซเชียลแล้วไปรวมตัวกันที่สุขุมวิท
  • ดราม่าคนทำงาน คนมีเวลาเหมือนกัน เรื่องคนชนชั้นกลางที่เป็นเดอะแบกภาษี ถ้าทำ content ในลักษณะการไปสอนให้คนอื่นทำ ต้องระมัดระวังมากขึ้น เพราะอาจจะโดนดราม่าได้ แต่สิ่งที่จะช่วยให้เกิดดราม่าน้อยลงได้คือการใส่ความ Empathy เข้าไปใน Content
  • Pride Month ความหลากหลายที่แท้จริง กับ Rainbow Washing ถ้าแบรนด์ทำต้องศึกษาให้ดี
  • ความสัมพันธ์แบบเรา 3 คน จากกรณีของคู่ชายสอง หญิงหนึ่งที่เป็นกระแสบน X ถ้าแบรนด์จะเข้ามาเล่นกับเรื่องนี้ ต้องมีความเข้าใจที่แท้จริง ถ้าหากพลาดอาจจะโดนทัวร์ลงได้

 

Other

  • AI Trend ยังมีข้อระวังอยู่หลายอย่างหากจะใช้ (จะเจาะลึกมากขึ้นใน Session ที่ 2)
  • Growth Pantip ยังมีคนที่ Active อยู่และค่อยๆ โตขึ้น คนที่เล่นอยู่ในช่วงอายุ 18-34 ปี ถือว่ายังเป็น Gen ใหม่ๆ และสิ่งที่น่าจะดึงดูดได้เพราะมีรายได้จากช่องทางนี้

 

Viral Lifecycle

สามารถสรุปได้ดังนี้

5 Waves of Drama

  1. มักจะมี Topic เกิดขึ้นก่อน
  2. ถ้ามี Conflict และมีคนเห็นด้วยกับสิ่งนั้นเยอะ
  3. Panic/Confuse จะเริ่มมีไทยมุงมา
  4. Take Side เริ่มแบ่งฝ่าย มีฝ่ายที่เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย
  5. The War Begin สงครามเริ่มขึ้น ทะเลาะกันไปเรื่อยๆ

และจะจบด้วย

  1. เด็ดขาด มีผู้เชี่ยวชาญมาให้คำตอบในสิ่งนั้น
  2. คาราคาซัง เดี๋ยวก็มีเรื่องอื่นมาใหม่แทนที่
  3. 3Meme เช่นตัว Bangkok CI ที่ยังไม่เคลียร์ แต่กลับไปเล่น CI กันแทน

จุดที่น่าสนใจคือในยุคนี้ Cycle สั้นลงกว่าแต่ก่อน ระยะเวลาอาจจะแค่ 2-3 วันก็จบลง

 

ใน Session ที่ 2 : คุณต่อ พุทธศักดิ์ และ คุณบี สโรจ เลาหศิริ จากเพจ สโรจขบคิดการตลาด ชวนเจาะลึกว่าประเด็นฮอตที่เกิดขึ้น ทำไมถึงเกิดและกระแสที่จากไปเกิดจากอะไร รวมถึงวิเคราะห์สิ่งที่น่าสนใจจาก case เหล่านั้นอีกด้วย

 

Hot Topics

Bangkok CI

ในช่วง 28 – 31 พฤษภาคม 2567  มี Engagement 1.4 ล้าน Engagement ซึ่งข้อความเกิดขึ้นบน Facebook เยอะที่สุด

  • Timeline เริ่มต้นจากที่มีการชี้แจงว่าป้าย Bangkok ตรง MBK อยู่ในช่วงปรับปรุง
  • ต่อมาเกิดโพสต์ว่ามีการเปลี่ยนแล้ว
  • หลังจากเปลี่ยนก็มีการถกเถียงว่า CI สวย ไม่สวย
  • จนมาเป็น Meme ที่กทม. เป็นคนปล่อยเว็บ ให้ปรับ CI เอง
  • ในเรื่องของ Sentiment กลายเป็น X ที่มีการบ่นมากกว่าช่องทางอื่นในเชิง Negative
  • Top 5 Enagement ที่เกิดขึ้นเพียงแค่ 3 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่สั้นมาก กลับกลายเป็นเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องดราม่า แต่เป็นเรื่องของความตลกขบขันจาก Meme ทีได้ Engagement เยอะที่สุด

สำหรับหัวข้อที่คุณต่อและคุณบีร่วมกันแชร์ ได้แก่เรื่องราวต่อไปนี้

การทำการ Re-Brand / Re-CI ต้องเตรียมรับมืออะไรบ้าง

คุณบีมองว่า ในยุคที่เป็น Polarization มีความคิดเห็นที่แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คนที่ชื่นชอบ ก็จะชมว่า  “สวย” คนที่ไม่ชื่นชอบก็จะพูดว่า “ทำได้แค่นี้หรอ” ซึ่งความสวย ความเท่ มันเป็น Subjective มาก สุดท้ายเราทำจะมีคนทั้งที่ชอบ และไม่ชอบ ขอให้สิ่งที่เราทำมาตรงกับ target ของเรา ให้เขาชื่นชอบสิ่งที่เราทำก็เพียงพอ

 

ทำยังไงให้การ Re-Brand / Re-CI มันเวิร์ค

ทุกๆ 15 ปี จะเกิดการ Re-Brand จะเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลง Life Stage หาคนกลุ่มใหม่ๆ เข้าตลาดเพื่อให้แบรนด์อยู่ในตลาดได้ หรือเมื่อมีปัญหาเรื่อง Reputation เราต้อง Re-Brand และเมื่อทำการ Re-Brand หรือ Re-CI การทำ Storytelling และ Communication เป็นสิ่งสำคัญ

จุดสำคัญอีกเรื่องคือ ตอนเปิดตัวควรให้ Storytelling นำ เล่าความเปลี่ยนแปลงของมัน เพื่อขาย Story เพื่อไม่เกิดดราม่าตอนสุดท้าย

 

Brand ที่โดนดราม่า ทำตัวให้เป็น Meme แทน

ด้วยความกล้าหรือ Character ของคน ต้องเข้าใจ Social ก่อนไม่งั้นทำแล้วเกิดเป็นความดราม่าไม่รู้จบ ต้องดูถึงความดราม่าก่อน ว่าเกิดขึ้นเป็น Subjective ดราม่าหรือเปล่า แต่ถ้า Emotional ดูยังไงแล้วเราก็ผิด ไม่ควรไปเล่นกับดราม่านั้น ปล่อยให้เป็นงานของเด็กที่เล่น Social จะทำให้ประสบความสำเร็จบนโซเชียลฯ

 

กระแส Butterbear

  • เป็นที่รู้จักกันว่า k.a. “น้องหมีเนย”
  • 5 ล้าน Engagement ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา (1 มกราคม -10 มิถุนายน 2567)
  • เกิดกระแสขึ้นมา 2 รอบ ในช่วงเดือนมกราคมเป็นเจ้าน้องหมี ที่ไปเต้นกับมาสคอตหลายๆ ตัวแต่มาสคอตตัวอื่นๆ กลับเต้นแรง มีแค่น้องหมีเนยที่เขินอายไม่กล้าเต้นซึ่งเกิดขึ้นใน Own Content
  • และมีกระแสเกิดขึ้นมาเกิดอีกครั้งคือปลายเดือนพฤษภาคมที่ Voice มาจาก Earn มากขึ้น
  • ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมมีคลิปจาก TikTok จีนมาลง X ต่อมาในช่วงมิถุนายน คลิป TikTok ไทยกระจายใน X และสุดท้ายเกิดเป็น Collaboration และ Event ต่างๆ
  • สิ่งที่คนบนโซเชียลมองเห็นคือในทุกคลิป จะแสดงให้เห็นว่าเป็นหมีที่สื่ออารมณ์ได้ ทั้งๆ ที่มีหน้าเดียว
  • Word Cloud คำที่เกิดขึ้นจะเป็นคำว่า “ด้อม” “เนย” “หมี” “น่ารัก” “อีโมจิความน่ารักต่างๆ”

 

เมื่อถอดรหัส มาสคอตของแบรนด์นี้จากคุณต่อและคุณบี พบว่า

การทำการตลาดกับมาสคอต คือการทำให้คนรู้สึกว่าแบรนด์เป็นมนุษย์มากขึ้น มีการใส่วิญญาณให้กับมัน กำหนด Character วางสคริปต์ เปรียบเสมือนการปั้นคนๆ นึงให้ดัง และจะมีจังหวะแจ้งเกิดที่เราไม่สามารถรู้แต่สามารถเตรียมตัวก่อนได้ เช่น น้องกล้วยที่เป็นมาสคอตของธนาคารกรุงศรี ที่มี Shot แจ้งเกิดคือตอนที่ออกงานแล้วเต้นแรงจนเป็นที่สนใจ

เช่นเดียวกับน้องหมีเนยที่ Shot แจ้งเกิดมาจากคนที่ใสที่สุดจากกลุ่มเพื่อนที่เต้นแรง เมื่อเห็นโอกาสนั้น จึงเกิดการปั้นด้อม ซึ่งจะเกิดด้อมได้ต้องมาจากเมืองนอกอย่างประเทศจีนและเข้ามาในไทย ซึ่งแบรนด์ต้องมองให้เปรียบเสมือนคนนึงคนว่าต้องทำอะไรบ้าง คอนเทนต์ต้องชัด การจัดการใน Community  ให้ได้ ต้องมีความ Consitency ไม่ใช้แค่ ให้ถือ Product แล้วจบลงไป

กระแส “ชาลี-กามิน”

  • กระแสเริ่มเกิดในช่วงกลางเดือนมกราคม แต่ที่เกิดขึ้นจริงที่ช่วงวาเลนไทน์ ที่กามินมาไทย เกิดเป็นโมเมนต์ต่างๆ
  • หลังจากนั้นก็เริ่มเป็น Presenter ไป Live ให้กับแบรนด์ ซึ่งแบรนด์ที่จ้างส่วนใหญ่ เป็นแบรนด์ที่ขายดีใน Social อยู่แล้วแต่ใช้คู่นี้เพื่อเป็นสะพานให้กับแบรนด์
  • การทำคอนเทนต์ของคู่นี้มีการคิดเผื่อในการทำคอนเทนต์ว่าสามารถตัดเอาไป Spin ต่อได้
  • ที่น่าสนใจคือในยุคนี้ การทำการตลาดแบบคู่จิ้น ไม่ใช่การเอาดาราที่เป็น ‘ดารา กับ ดารา’ มา แต่เหมือนกับการเขียนบทแล้วเคมีมันตรงกัน และเมื่อเห็นว่าสตอรี่เข้ากันได้ จึงจับมาคู่กันเพื่อสร้างเป็นแฟนด้อม

กระแส T-POP

จากการเก็บข้อมูลชื่อศิลปิน T-POP ในไทย พบกว่ามี Engagement กว่า 633 ล้าน Engagement ซึ่ง Engagement ส่วนใหญ่เกิดมาจาก TikTok

สำหรับวง T-POP ที่ได้รับ Engagement สูงในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาคือ

  1. BUS 163 ล้าน กระแสจากการปล่อยเพลงใหม่หลังจากที่มีการ Debut และมีฐานแฟนที่เหนียวแน่นจากรายการ 789 Survival
  2. 4eve 101 ล้าน มีการปล่อยเพลงร่วมกับแบรนด์เยอะ มีการร่วมงานกับแบรนด์เยอะ
  3. PiXXie 52 ล้าน เกิดจาก Shot คลิปเวลาออกไปงานเต้นต่างๆ
  4. BNK 29 ล้าน ยังมีแฟนด้อมที่เหนียวแน่น

อย่างไรก็ตาม ควรดูในแง่มุมของ Message ต่อ Engagement เมื่อถ้ามองในส่วนที่ Engagement เยอะกว่า Message แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการพูดถึงบนโซเชียล จะได้รับความสนใจที่มาจากคนที่ไม่ใช่แฟนคลับ

ขณะที่ในมุมมองของคนบนโซเชียลมองว่า …

ตลาด T-POP มีศักยภาพแต่ขาดการสนับสนุน – ตลาดเมืองไทยยังเล็กไป ดังนั้น แนะนำให้แบรนด์เข้าไปตั้งแต่ยังไม่ดัง มองในมุมเหมือนการซื้อหุ้น หรือพี่เอ ศุภชัย ที่เป็น โมเดลลิ่ง แล้วถ้าเขาดังแล้วแบรนด์ยังอยู่ จะทำให้แฟนด้อมรัก และขอบคุณ แต่ถ้าเข้าไปตอนที่เขาดังแล้ว ทำให้เราเสียเงินมหาศาลเพื่อได้แค่ Awareness

มีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจกว่า K-POP – Insight ที่น่าสนใจ เมื่อเป็นแฟนด้อมเกาลีแล้ว จะเปลี่ยนนามสกุลไม่ได้ เช่นเหมือนเชียร์ทีมบอล เราไม่สามารถไปเชียร์ทีมอื่นได้ T-POP ฝั่งชาย และหญิงสามารถรู้จักกันได้ ซึ่งต่างจากฝั่งของ K-POP

มีความ Localized เข้าใจประเด็นและบริบททางสังคมไทย – เช่นการสนับสนุนความเท่าเทียม หรือประเด็นทางสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้น

 

ในมุมมองของ Brand Collaborations …

  • สามารถสร้างสรรค์เพลงให้กับแบรนด์ได้ (Brand’s Song)
  • เพลงที่ทำออกมาจะทำให้ Touch ใจคนต้องมาจากใจของคนแต่งหรือศิลปิน แต่ส่วนใหญ่แบรนด์จะแต่งเพลงจาก Key Message ของแบรนด์มาทางขายของมากว่า ถ้าทำต้องคิดให้รอบ เหมือนกับการทำ Product ชิ้นหนึ่ง
  • ดึงมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับแบรนด์ (Presenters Marketing)
  • สร้างอีเวนต์ Music Event Sponsorship
  • ครีเอท Playlist Sponsorship บนสตรีมมิ่ง

กระแส Fandom

  • คู่จิ้นในยุคนี้ไม่เพียงแค่คู่ชาย-ชาย หรือหญิง-หญิง แต่สามารถคู่ได้ทุกเพศ
  • เกิดขึ้นได้หลาย Character ทั้งคน สัตว์ มาสคอต ตัวการ์ตูน (VTuber)
  • สิ่งที่ต้องระวังคือ แฟนด้อมไม่เท่ากับลูกค้า

ข้อสังเกต หรือข้อควรระวัง สิ่งที่อาจจะเจอคือ ได้แก่ การจำสินค้าไม่ได้ หรือจำได้แต่ไม่ซื้อ หรือซื้อแต่ไม่ระยะยาว ต้องดูว่าสินค้าเราเหมาะกับด้อมนั้นไหม สามารถซื้อได้ไหม ถ้าสามารถซื้อได้จะเวิร์คกับแบรนด์มาก หรือทำให้ช่วย Spin ต่อได้จากแฟนด้อมพวกนั้น

 

Fandom Type

  • นับเค้าเป็นแฟน > “หยุดทำตัวให้ตรงสเปคเราได้มั้ย”
  • นับเค้าเป็นน้อง > “อย่ามาเล่นกับใจป้า” “หยุดเล่นกับใจพี่สาว”
  • เป็นลูก > “ลูกชั้นต้องได้ดี อย่าเพิ่งโตนะลูก”
  • เป็นแด๊ดดี้ > “ฟ้ารักพ่อ”
  • ในยุคนี้ก็จะมี Type อื่นๆ เช่น Type หมาเด็ก Type แมวส้ม Type โกเด้น
  • แบรนด์เลือกที่จะเข้าไปเล่นกับ Type ต่างๆ ให้ตรงกับ Character ของแบรนด์ได้

กระแส AI Trend

  • ช่วงวันที่ 1 มกราคม- 14 มิถุนายน 2567 การพูดถึง AI มากกว่า 243K Message และ 30M Engagement ถือว่าได้รับความสนใจเยอะในช่วงนี้
  • มีหยิบ AI เอามาทำในฝั่ง Entertainment อย่างรายการเช่น Workpoint ดาราหน้าเหมือน, รายการ Deep talk ของป้าเต็ดกับ Chat Gpt
  • ฝั่ง Productivity ก็มีการใช้เยอะ ซึ่งกลายเป็นว่า AI อยู่ในทุกอุปกรณ์ ทุกเครื่องมือของเรา
  • Brand with AI อาทิ Samsung, Apple,  Lays,  Est Co-Pilot AI
  • ส่วนดราม่า AI จะมาจากรูปซะส่วนใหญ่ มองว่าในเมื่อ AI ละเมิดสิขสิทธิ์ แล้วทำไมถึงยังมีการใช้ เช่นเกษตรแฟร์ ค่ายเพลง
  • “คนที่ทำกับข้าวเอง กับคนที่ไปสั่งว่าทำกับข้าวหน่อย” เราไม่เรียกว่าคนสั่งคือเชฟ
  • ส่วนใหญ่คน Search หา AI เปลี่ยนหน้า ใน Google
  • ข้อ Concern ของ AI ให้ระวัง Faked Content
  • Generative AI เป็นแค่หนึ่งใน Type ของ AI ดังนั้นพอทุกคนเริ่มใช้ มีความคุ้นเคยมากขึ้น ทำให้มนุษย์จะเริ่มจับได้ เช่น แถลงข่าวเรื่องดราม่าต่างๆ ต้องใช้คนเขียน เพราะคนจะรู้สึกไม่จริงใจ เนื่องจากยังคงใช้ AI มาขอโทษแทนมนุษย์
  • งานอาร์ต ไม่ควรจะใช้ AI
  • ใช้ AI ได้ แต่คนที่ดูผลลัพธ์ตอนสุดท้ายควรเป็น “คน”

กระแส Sustainability

  • ในการพูดถึงการ ไม่เอาหลอด ในกลุ่มบน Facebook ที่อยากให้ 7-11 แอปพลิเคชัน ตั้งค่าเป็น Default ว่าไม่เอาหลอดใครอยากได้หลอดให้ระบุเอาเอง เกิดเสียงที่แบ่งออกมาเป็นสองฝั่ง แต่โดยส่วนใหญ่เป็น Negative 80% ที่พูดว่า “คุณไม่เอาแต่คนอื่นเขาอยากได้ อย่าเห็นแก่ตัว” หรือ “สงสารพนักงานบ้างใครจะมีเวลาอ่าน” ส่วน Positive 20% “มีความเข้าใจกับเจ้าของโพสต์” หรือ “ช่วยกัน Educate ว่าการรับไม่รับส่งผลอย่างไร”
  • ประเภทของคนที่พูดถึงสิ่งแวดล้อม
    1. 24% Activism กลุ่มคนที่มีความตั้งใจและเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
    2. 47% Slacktivism เห็นด้วยกับความยั่งยืนและไม่เต็มใจที่จะทำ จะทำแต่ยังมีเรื่องที่กังวลอยู่
    3. 23% Ignorance กลุ่มคนที่ไม่มีความตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • เรื่องของกรีน คือทุกคนเชฟตัวเองมากกว่าเซฟโลก
  • ถ้าจะทำ ESG ต้องมองที่ Consumer ก่อน ทำให้ถูกกว่า ดีกว่า สะดวกกว่า
  • เพราะทุกวันนี้กลายเป็นทุกอย่างแพง ถ้าหากเราจะรักษ์โลก
  • Convenience Green ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ

งาน Wisesight Research Discovery ในครั้งนี้เป็นการให้ผู้ฟังเห็นถึงกระแส ประเด็นฮอตต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อถอดรหัสและเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้น ให้กับเหล่า Marketer หรือแบรนด์สามารถนำไปปรับใช้ รู้ทันกระแสรวมถึงดราม่าต่างๆ เพื่อจะได้เข้าไปจับกระแสนั้นได้ทันท่วงที หรือ แม้กระทั่งการกระโดดหลบดราม่าเพื่อที่ยังคงรักษาความพึงพอใจต่อ Consumer ได้ต่อไป

 

ติดตาม “Wisesight Research Discovery” ใน Episode ถัดไป ซึ่งจะจัดขึ้นตลอดปี 2567 ที่ SCBX NEXT TECH ชั้น 4 สยามพารากอน หรือติดตามทุกความเคลื่อนไหว และกิจกรรมดีๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/WisesightGlobal และ

https://www.facebook.com/SCBXNextTech


  • 26
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!
CLOSE
CLOSE