เชื่อว่าทุกคนเคยอัพเดทไปแล้วว่า LINE ประเทศไทย จะยกเลิกแพลตฟอร์ม LINE@ ให้ผู้ประกอบการและ SME เปลี่ยนมาใช้งาน LINE Official Account หรือ LINE OA แทน ซึ่ง LINE ก็เตรียมยกเครื่องแพลตฟอร์มดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยการพัฒนาฟีเจอร์ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ SME ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วยแพลตฟอร์มดังกล่าว
ปัจจุบัน ไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 47.5 ล้านคน ส่วนผู้ใช้ LINE มีทั้งสิ้น 44 ล้านคน ตัวเลขดังกล่าวจึงกลายเป็นประเด็น LINE ที่พยายามสื่อสารกับแบรนด์และผู้ประกอบการว่า มีลูกค้าจำนวนมากอยู่บนแพลตฟอร์มของตนเอง โดยเรื่องนี้อาจเป็นหนึ่งในประเด็นที่ทำให้ LINE ออกมาอัพเดทพัฒนาการของ LINE OA อย่างละเอียด และออกมาย้ำอีกครั้งเกี่ยวกับค่าบริการจากเดิมที่คิดแบบเหมาเป็นแบบส่งตามจำนวนผู้ติดตาม ว่า…
“LINE ตัดสินใจปรับราคาแพ็กเกจ LINE OA จริง โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ 1 สิงหาคมนี้ ส่วนการเปลี่ยนระบบหลังบ้านสู่โฉมใหม่ก็ถูกเลื่อนเป็นปี 2020” โดยมีการชี้แจงบนเวที LINE Converge Thailand 2019 ว่าต้องการตอบโจทย์ผู้ประกอบการไทย ซึ่งนิยมความคุ้มค่าด้านราคาและมีความคุ้นชินกับการใช้งานสู่แพลตฟอร์มเดิม
(อ่านเพิ่มเติม ถอยแล้ว LINE Official Account ยอมลดราคากว่า 60% สำหรับคนไทย)
ส่วนรายละเอีดลูกเล่นน่าสนใจที่จะเกิดขึ้นบนเครื่องมือ LINE OA โฉมใหม่ อาทิ…
Auto Reply : ซึ่งเป็น Real Time Information ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงและรับรู้ข่าวสารของแบรนด์ได้ทันที
Coupon : ที่สามารถครีเอท โปรโมชัน ได้ง่ายๆ เพื่อส่งคูปองให้กับลูกค้าที่ติดตามแบรนด์ผ่านช่องทางของ LINE OA ได้เลย
Reward Card : นอกจากอำนวยความสะดวกลูกค้าที่ไม่ต้องพกบัตรสะสมแต้มแล้ว ยังถือเป็นการ Create customer loyalty และช่วยร้านค้าลดต้นทุนการพิมพ์บัตรสะสมแต้ม
Survey : ช่วยให้แบรนด์สามารถรู้จักลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ทั้งในแง่ความสนใจผลิตภัณฑ์และข้อมูลเชิงลึกกว่านั้น
1:1Chat : ถือเป็นไฮไลท์ที่น่าสนใจตัวหนึ่งบน LINE OA เพราะสามารถตอบสนองพฤติกรรมลูกค้าชาวไทยที่นิยมพูดคุยกับผู้ขายก่อนตัดสินใจซื้อ ขณะเดียวกันก็ทำให้แบรนด์สามารถตอบคำถามลูกค้าได้ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละคน ซึ่งฟีเจอร์นี้ย่อยเป็น Chat Tag ที่ร้านค้าสามารถระบุรายละเอียดเกี่ยวกับลูกค้าคนนั้นได้ สะดวกในการจดจำฐานข้อมูลหรือความต้องการของลูกค้าเพื่อให้นำเสนอสินค้าได้ตรงความต้องการ หรือ Note ที่ช่วยให้ร้านค้าบันทึกข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนได้ แม้แต่ที่อยู่ในการจัดส่งก็สามารถบันทึกไว้ได้เพื่อความสะดวกในการจัดส่งสินค้าครั้งต่อไป และ Quick Reply เพื่อส่งข้อมูลอัตโนมัติโดยไม่เสียเวลาพิมพ์รายละเอียดให้ลูกค้าบ่อย ๆ เช่น ช่องทางและรายละเอียดการชำระเงิน เป็นต้น
Timeline Post : แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สามารถโพสต์พร้อมกับการส่ง Broadcast ได้เลย หรือเลือกโพสต์เฉพาะ Timeline เท่านั้น
Account Page : ทำหน้าที่เสมือน Mini Website ให้ร้านเลือกแสดงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างชัดเจน เช่น เวลาเปิด-ปิด ช่องทางรับชำระเงิน หรือโชว์แคตตาล็อกสินค้า เป็นต้น
แต่การเปลี่ยนแปลงบน LINE OA นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะช่องทางสื่อสารกับลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงระบบหลังบ้านที่ผู้ประกอบการหรือ SME ต้องเข้าไปใช้งานอีกด้วย อาทิ…
– เว็บไซต์เปลี่ยนใหม่เป็น http://manager.line.biz หรือดาวน์โหลดมาใช้งานได้ทั้งระบบ iOS และ Android
– มีการปรับ UX และ UI เพื่อให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น
– ไล่ไปตั้งแต่ฟีเจอร์ Home Tab ที่ประกอบด้วย Broadcast ซึ่งสามารถตั้งเวลาหรือโพสต์ทันที และสามารถกำหนดจำนวนการส่งออกได้ว่าต้องการให้เข้าถึงผู้ใช้งานกี่คน / Timeline สามารถเลือกคำพูดและกรีทติ้งแมสเสจเพื่อโพสต์ได้เลย / Greeting เลือกได้ว่าจะส่งเป็นข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอ / Coupon ที่เลือกได้ว่าจะเลือกส่งคูปองอย่างไร ถี่แค่ไหน / Rich Message – Rich VDO ก็สามารถเลือกได้ เป็นต้น
– ในส่วนของ Account Page Tab ร้านก็สามารถกำหนดได้เองว่าอยากให้คอลเลกชั่น หรือแคตตาล็อกสินค้า แสดงอยู่หรือไม่
– CHAT Tab ช่วยจัดการรายละเอียดได้ง่ายขึ้น จากรายละเอียดของลูกค้าแต่ละรายที่ร้านค้าได้บันทึกข้อมูลไว้
– ส่วน Setting Tab ก็สามารถบริหารจัดการหลังบ้านได้หลากหลาย ผ่าน Manage Permissions, Response Setting, Dashborad, Monthly Plan เป็นต้น
นอกจากนี้ LINE OA แพลตใหม่ ยังมาพร้อมกับไฮไลท์สำคัญ คือ LINE OA Plus สำหรับ E-commerce เพื่อช่วยให้ร้านค้าสามารถแจ้งรายละเอียดราคาสินค้าและบริหารจัดการคำสั่งซื้อสินค้าได้ดีขึ้น ทั้งยังมีฟีเจอร์ Dashboard แสดงตัวเลขที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ เช่น รายได้ ทรานแซคชั่น สถิติเกี่ยวกับวิธีจ่ายเงิน สินค้าขายดี หรือวิธีจัดส่งที่ลูกค้านิยมใช้บริการ เป็นต้น ขณะเดียวกันก็ช่วยเชื่อมต่อประสบการณ์การใช้จ่ายของลูกค้าให้ง่ายขึ้นด้วย โดยฟีเจอร์ OA Plus จะมีให้ใช้งานเฉพาะแพลตฟอร์ม LINE OA ใหม่เท่านั้น!