เปิดเส้นทาง True Shopping ก้าวสู่ Omni Channel พร้อมรูปแบบไลฟ์คอมเมิร์ซจากเกาหลีที่แรกในไทย

  • 21
  •  
  •  
  •  
  •  

ข้อมูลจาก Business Research Insight คาดว่าตลาด TV Home Shopping ทั่วโลกจะมีมูลค่าแตะ 15.5 ล้านล้านบาทภายในปี 2573 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 6.0% สวนทางเทรนด์การรับชมรายการบนโทรทัศน์ที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งที่ทำให้ตลาด TV Home Shopping สามารถสร้างการเติบโตได้ คือการปรับตัวและ Transform เข้าสู่ยุคดิจิทัล

หนึ่งในผู้เล่นที่สามารถปรับตัวเข้ากับยุคดิจิทัลได้อย่างชัดเจน คงต้องยกให้ True Shopping ที่ปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับเทรนด์และไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค โดย True Shopping เริ่มต้นธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง GS ธุรกิจ Home Shopping อันดับ 1 ของเกาหลี ร่วมกับ True Visions, CP All และ The Mall Group โดยออกอากาศทาง True Visions และสามารถขายสินค้า Hard Line ที่นิยมในตลาด อย่างกระทะ Diamond Chef ที่มียอดขายสูงถึง 55 ล้านบาทต่อเดือน

โดยในช่วงโควิด True Shopping มีการปรับกลยุทธ์ให้ทันกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เน้นขายสินค้า Soft Line ในกลุ่มความงามและสุขภาพ ส่งผลให้รายได้ในปี 2563 เติบโตขึ้นถึง 50.4% สวนกับกระแสกับตลาดอื่นๆ และเป็นการสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ปัจจุบัน True Shopping มีฐานลูกค้าถึง 4.08 ล้านคน โดยเป็นฐานลูกค้าต่างจังหวัด 77% และลูกค้ากลุ่มที่เป็น TV Home Shopping จะเป็นกลุ่มลูกค้าอายุ 45 ปีขึ้นไปที่มีกำลังซื้อสูง

ก้าวสู่การเป็น Omni Channel

แม้ว่าสัดส่วนลูกค้าจากทีวีจะลดลง แต่ทีวีก็ยังเป็นช่องทางหลักของกลุ่มที่มีกำลังซื้อใช้ในการช้อปปี้ง และมีการขยายสู่ช่องทาง e-Commerce ออนไลน์กว่า 5-6 ปีควบคู่กันไป ซึ่งตั้งเป้าไปสู่การเป็น Omni Channel สำหรับปีนี้ True Shopping จะเน้นการเพิ่มช่องทางแบบ 360 องศา โดยปัจจุบันมีช่องทางต่างๆ ดังนี้

  • TV: บนช่องของ True Visions ที่ออกอากาศขายสินค้าได้ตลอด 24 ชม. พร้อมขยายช่องไปที่ทีวีดาวเทียม และทีวีดิจิทัล โดยเน้นการรักษาฐานลูกค้าเดิม พร้อมไปกับการขยายลูกค้าใหม่ที่อยู่ในช่องทีวีต่างๆ ด้วย
  • e-Commerce: ช่วยให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ลูกค้ายุคดิจิทัล โดยใช้เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน พร้อมกับการเปิดร้านใน Market Place เช่น Shopee, Lazada รวมไปถึงการเปิดช่องทางในโซเชียลมีเดียต่างๆ ซึ่งปัจจุบันขยายไปถึง TikTok เพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มใหม่ รวมทั้งเป็น Enabler ที่อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าธุรกิจเข้าสู่ e-Commerce
  • Telesales: อีกหนึ่งช่องทางที่เจาะกลุ่มลูกค้าออฟไลน์และลูกค้าดั้งเดิม รองรับทั้ง Inbound / Outbound โดยนำเสนอการขายอย่างต่อเนื่อง พร้อมมอบสิทธิพิเศษจากการที่ลูกค้าบอกต่อสินค้า
  • Retail Shops: ผนึกกำลังกับพาร์ตเนอร์ในเครือ เช่น 7-Eleven และ Lotus รวมถึงพันธมิตรอื่นๆ เช่น The Mall, Boots และ Watson
  • Total Solution: การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจรสำหรับลูกค้าที่มีสินค้า โดยมีบริการ Direct Marketing รวมไปถึงบริการแบบ End to End และ Back to End

ส่งผลให้ True Shopping มีจุดเด่นที่มากมายและมี Infrastructure ครบถ้วนในการบุกตลาดได้ตลอด 24/7 ไม่ว่าจะเป็น

  • Recognition: ชื่อแบรนด์ของ True Shopping เป็นที่รู้จักและมีความน่าเชื่อถือจากการทำธุรกิจนี้เป็นเวลานาน ลูกค้ามั่นใจได้ในคุณภาพสินค้า และบริการหลังการขาย รวมไปถึงประกันสินค้าต่างๆ
  • Seamless Experience: การมีช่องทาง Omni Channel เป็นการเพิ่มโอกาสในการขายที่รองรับลูกค้าได้หลายกลุ่ม รวมถึงเป็นการสร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งแบบไร้รอยต่อ เช่น ลูกค้าเห็นสินค้าในทีวี และสามารถดูสินค้าจริงได้ที่ Retail Shops ก่อนตัดสินใจซื้อผ่านเว็บไซต์ หรือโซเชียลมีเดียได้
  • Convenience: การวาง Infrastructure ครบวงจร นอกจากลูกค้าจะซื้อสินค้าได้อย่างสะดวกหลายช่องทางแล้ว ยังมีบริการหลังการขายที่ลูกค้าสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงการจัดส่งสินค้าที่ควบคุมไทม์ไลน์ให้จัดส่งได้ภายใน 1-2 วันทั่วประเทศ พร้อมบริการรับสินค้าคืนถึงบ้าน
  • Innovation: การมี Infrastructure ที่ครบวงจรจากทรู ทำให้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มต่างๆ ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคนิคหรือ Data รวมไปถึงการสร้างสรรค์คอนเทนต์ ออกแคมเปญที่ตรงใจ เพื่อดึงดูดลูกค้าอยู่เสมอ

 

จับมือพันธมิตรจากเกาหลี

อีกหนึ่งจุดเด่นที่สำคัญของ True Shopping คือการจับมือเป็นพันธมิตรกับ Lala Station บริษัทชั้นนำด้านไลฟ์คอมเมิร์ซอันดับ 1 ของประเทศเกาหลีใต้ ความร่วมมือกันนี้จะช่วยสร้างการเรียนรู้ (Know How) ขยายไปสู่แพลตฟอร์ม Live Commerce ที่เน้นการ Live ในการสื่อสารและช้อปปิ้ง ตามเทรนด์ใหม่ของเกาหลีเรียกว่า Livetact เพื่อสร้างความแตกต่างในการขายและดึงดูดใจผู้บริโภคไทย

ซึ่งตลาด Home Shopping ของเกาหลีจะมีการใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น Virtual Studio ที่เปลี่ยนแบ็กกราวนด์เป็น 3D มีมุมกล้องที่หมุนตามผู้ดำเนินรายการ ช่วยให้ True Shopping สามารถสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ดึงดูดนักช้อปมากขึ้น ในแง่เทคโนโลยีอาจนำการใช้ AI Shopping Host ที่สามารถพูดภาษาไทยได้ พร้อมไปกับการแสดงสีหน้าท่าทางที่เข้ากับวัฒนธรรมไทย ในแง่การนำเสนอจะมีการเพิ่มจุดขาย โดยจะเริ่มเห็นความชัดเจนในช่วงปีหน้านี้

นอกจากด้านเทคโนโลยีแล้ว ยังสร้างโอกาสคัดสรรสินค้ายอดนิยมในฝั่งเกาหลี ซึ่งเป็นแบรนด์ในการดูแลของ Lala Station มาจำหน่ายแบบ Exclusive ในไทยภายใต้แบรนด์ True Shopping อีกด้วย สำหรับทาง Lala Station มีสินค้าที่ดูแลอยู่กว่า 140 แบรนด์ ถือเป็นการ Synergy ครั้งสำคัญ

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของตลาด ส่งผลให้คู่แข่งด้าน TV Home Shopping เริ่มหายไปหรือปรับธุรกิจไปในทิศทางอื่น ในขณะที่คู่แข่งทางฝั่งดิจิทัลและออนไลน์กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเป้าหมายสูงสุดของ True Shopping ไม่ใช่การขยายธุรกิจให้ใหญ่เหนือกว่าคู่แข่งในตลาด แต่เป็นการครองตลาด Niche ที่สร้างกำไรได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนกว่า โดย True Shopping เน้นแนวคิดที่จะหารายได้พร้อมกับการสร้างกำไร และการเติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อให้เป็น Specialty Shop ที่ตอบสนองความต้องการได้อย่างแท้จริง


  • 21
  •  
  •  
  •  
  •