ปีที่แล้วกลุ่มทรูจัดตั้งโครงการ True Digital Park ขึ้นมาเพื่อให้เป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของไทย เน้นการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ด้วยแนวคิด Open Innovation มีการจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดคอมมูนิตี้ระหว่างGlobal Tech Giants, กลุ่มสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล, Investors and VCs ศูนย์ R&D ของมหาวิทยาลัยรวมทั้งหน่วยงานรัฐ
เพื่อให้กลายเป็นชุมชนถ่ายทอดความรู้นำไปสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลในอนาคต ตั้งเป้าให้เป็นระบบนิเวศครบวงจร (Complete Ecosystem) ตอบโจทย์และติดปีกให้ธุรกิจเทคโนโลยีเติบโต ด้วยการสนับสนุนความรู้ ร่วมสร้างเครือข่ายขยายตลาด และผลักดันให้สตาร์ทอัพไทยปักหมุดในเวทีโลก
แผน Complete Ecosystem ของกลุ่มทรูในปีนี้ เป็นการสนับสนุนและบ่มเพาะวางโครงสร้างพื้นฐานให้สตาร์ทอัพ,ผู้ประกอบการเทคโนโลยีมีความแข็งแรงมากขึ้น ประเดิมด้วยเวทีแรกรวบรวมเอาผู้คนในแวดวงสตาร์ทอัพ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ The Future of Crypto: Beyond the Hype and Speculation ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมของ Tech Supper Club #1 ที่ร้าน Wishbeer สตาร์ทอัพเบียร์สดพร้อมส่งย่านสุขุมวิท 67
โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้าน mobile payments ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง Omise ธุรกิจให้บริการชำระเงินข้ามชาติ ที่เปิดดำเนินการในประเทศไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์และอินโดนีเซีย คือ คุณจุน ฮาเซกาวา
อีกท่านหนึ่งคือ คุณพอล-พลภัทร อัครปรีดี ผู้ให้คำแนะนำด้านธุรกิจสตาร์ทอัพ ผู้สนับสนุนและพัฒนาระบบนิเวศของกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพชื่อดังในไทย ในนามของผู้อำนวนการ Startup Grind chapter และตัวแทน Seedstars World ambassador ประจำกรุงเทพฯ ปัจจุบันเป็นผู้กุมบังเหียนในการบริหารการร่วมทุนและกองทุนให้กับดิจิทัล เวนเจอร์ส ในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ วันนี้มานำเสนอมุมมองในฐานะของ Influencer TechEcosystem
Influencer Tech พบ CEO
บรรยากาศในร้าน Wishbeer สตาร์ทอัพเบียร์สด Delivery ซึ่งเปิดหน้าร้านครั้งแรก ผ่านการระดมทุนจาก 500 Startups และ 500 Tuk Tuk เป็นไปอย่างครึกครื้น เป็นกันเอง คำถามก็หนีไม่พ้นเรื่องของ ICO, Crypto ทิศทางจะเป็นอย่างไร ซึ่งต้องยอมรับว่าในประเทศไทยมีแต่คนเคยได้ยิน แต่ยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร สกุลเงินดิจิทัลอย่าง Ethereum เป็น Crypto หรือเป็นBlockchain ฯลฯ
คุณพอล กรรมการผู้จัดการ หน่วยงานทุนองค์กร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด นอกจากภารกิจงานบริหารการร่วมทุนและกองทุนที่มีมูลค่ากว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐของไทยพาณิชย์แล้ว ยังเป็นสุดยอดนัดลงทุน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจสตาร์ทอัพเขากล่าวว่า ท่ามกลางความคลุมเคลือของสถานการณ์ ใครจะลงทุนก็ได้ ใครจะควบคุมยังไม่ชัดเจน สุดท้ายแล้วคำถามก็คือ ประเทศไทยจะไปยังไง ไม่มีใครตอบได้ ขึ้นอยู่กับว่าประเทศไทยต้องเรียนรู้ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นมีพัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว มาเร็วอย่างไม่รู้ตัว สิ่งสำคัญคือ ต้องมีความเข้าใจศึกษาให้ถ่องแท้ก่อนจะลงมือทำสำหรับ Cryptocurrency
“Blockchain เป็นเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้การส่งถ่ายดาต้ามีความโปร่งใสมากขึ้น ดาต้าจะถูกส่งผ่านโดยการลงรหัสเพื่อปกป้องตัวตัน ไม่สามารถแฮกได้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของข้อมูล ต่างจากปัจจุบันที่ธนาคารเป็นเจ้าของเป็นตัวกลาง ซึ่งการโอนเงิน (ดาต้า) เป็นเรื่องเดียวกันถ้าเป็น Digital Currency ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งสามารถป้อนข้อมูลเข้าไปได้ด้วยตัวเองต้องได้รับฉันทานุมัติ เทคโนโลยีนี้จะเป็น Background ที่มีศักยภาพมากในการทำให้วิธีการทำธุรกิจหรือวิธีการดำเนินอุตสาหกรรมเปลี่ยนรูปแบบไปเลย ถ้าเปรียบ Crypto เป็นมีเดีย Blockchain ก็เป็นเสมือนโครงสร้างพื้นฐาน”
“เมื่อดาต้าวิ่ง Crypto จะทำหน้าที่เป็นมีเดีย ความจริงแล้วในโลกนี้มี Crypto มากกว่า 1,500 Crypto ใครจะทำการลงทุนใน 1,500 Crypto ได้อย่างไร มีทั้งต่างและไม่ต่างกัน เขาถึงบอกว่าให้ดูดีๆ เวลาจะลงทุน Talk นี้ไม่ใช่ Talk ที่จะมาแนะนำเรื่องการลงทุน แต่ถ้าใครสนใจที่จะลงทุน ข้อแนะนำเดียวข้อแรกคือ ต้องระวัง เพราะไม่มีใครหรืออะไรมากำกับดูแล เป็นความเสี่ยงทั้งหมด ต้องศึกษาดีๆ ก่อนการลงทุน และใช้เงินที่มั่นใจว่า ‘เสียได้’ ในการใช้ไปลงทุน และสุดท้ายก็ให้คิดว่าเสียว่า ชีวิตจะไม่มีอะไรแน่นอน”
สตาร์ทอัพไปทางไหนดี
ด้านคุณจุน CEO และผู้ก่อตั้ง Omiseและ OmiseGO ผู้เชี่ยวชาญด้าน mobile payments กล่าวว่า Blockchain จะเข้าไป Disrupt การเงิน เฮลท์แคร์ รวมทั้งลอจิสติกส์ ซึ่ง Omise ที่เป็นบริษัท FinTech ที่มีโปร์ดักส์ด้าน Online Payment Solution ที่เมื่อก่อนผูกติดกับวิธีการโอนเงินแบบเก่า แต่ก็ยังเป็นโซลูชั่นที่ง่ายใสนการทำงาน แต่ทำไมจึงเปลี่ยนเป็น Blockchain แล้วตั้งบริษัทใหม่ OmiseGO ขึ้นมา
การทำงานของ Omise ต้องมีการพูดคุยกับแบงก์ตลอดเวลา คุณจุนคิดว่าถึงจุดที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง บังเอิญเขาไปรู้จักกับ EthereumFoundation สุดท้ายก็จัดตั้งเป็นบริษัท OmiseGO ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain และนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงิน เขาบอกว่า Crypto ที่มีมากกว่า 1,500 สกุล เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ซ้ำกัน ต้องมีคนคิดทำเหรียญซ้ำกันแน่ๆ สิ่งที่เขาคิดว่า OmiseGO มีความแตกต่างจากเหรียญอื่นๆ ก็คือ เขามองที่ Scaling เป็นหลักค่อยๆ พัฒนาจากวงเล็กๆ ก่อน Transept ขึ้นเป็นวงขนาดใหญ่มีผู้ใช้เยอะขึ้น OmiseGO พยายามทำทุกอย่างให้เร็วขึ้น
มีผู้เข้าร่วมเสวนาพยายามสอบถามคุณจุนเกี่ยวกับประเด็น Ethereum คืออะไร เขาตอบว่า เป็น Crypto ประเภทหนึ่ง เนื่องจากมีระบบเป็นBlockchain สิ่งที่น่าสนใจคือ คำถามเกี่ยวกับการระดมทุนของสตาร์ทอัพว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าจะเลือกวิธีไหนระหว่าง VC และ ICO เขาเสนอความเห็นว่า มีทั้งข้อดีและข้อเสียทั้งคู่ อยู่ที่ว่าสตาร์ทอัพจะเลือกสร้างอันไหนก่อนระหว่างการสร้างคอมมูนิตี้ หรือการสร้างแบรนด์เพื่อให้คนเชื่อถือ ซึ่งสตาร์ทอัพส่วนใหญ่จะเลือก VC เพราะจะมีพาร์ทเนอร์เข้ามาช่วยต่อยอดธุรกิจได้เลย ส่วนบริษัทBlockchain นิยมใช้ ICO เนื่องจากจะได้อิมเมจจากหรียญแล้วได้เงินกลับมา สามารถสร้างคอมมูนิตี้ได้ทันที