เคยสงสัยไหมว่า ค่าธรรมเนียม 25 บาท ซื้ออะไรได้บ้าง? น้ำ 1 แก้ว ไอศกรีม 1 แท่ง หากจะบอกว่าแค่ 25 บาทไม่เป็นไร…ชินแล้ว แต่ลองคิดดูว่าใน 1 เดือน คุณโอนเงินต่างธนาคาร 10 ครั้ง เสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 25 บาท นั่นหมายความว่า คุณจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 250 บาท และถ้าโอน 100 ครั้ง คิดเป็นเงิน 2,500 บาท หรือรวมตลอดปี คุณต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนทั้งสิ้น 30,000 บาท แม้จะเป็นจำนวนไม่มาก แต่สำหรับผู้ประกอบการ SMEs นี่ถือเป็นต้นทุนแฝงอย่างหนึ่ง
เมื่อในแต่ละปีผู้ประกอบการ SMEs ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมมากขนาดนี้ ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จึงออกโรงช่วย SMEs ไทย ลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ด้วยการศึกษาความต้องการที่แท้จริงลูกค้ามาพัฒนาเป็น “ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์” (TMB SME One Bank) รูปแบบใหม่ บัญชีเพื่อธุรกิจหนึ่งเดียวของไทย ให้ลูกค้า SMEs โอน-รับ-จ่าย ข้ามธนาคาร ข้ามเขต ได้ทันที ไม่มีค่าธรรมเนียม ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ไม่จำกัดจำนวนเงิน คาดว่าจะช่วยผู้ประกอบการประหยัดไปได้ปีละ 10,000 – 100,000 บาท
คุณรัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกรรมทางการเงินภายในประเทศ ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า จากการเก็บข้อมูลของธนาคาร พบว่าลูกค้า SMEs จะทำธุรกรรม 10-100 ครั้งต่อเดือน ทำให้เกิดรายจ่ายค่าธรรมเนียมก้อนโต ธนาคารจึงได้เดินหน้ากลยุทธ์ในการสร้างประสบการณ์แบบ TMB (TMB-branded Customer Experience) พัฒนา “ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์” บัญชีเพื่อธุรกิจ ที่จบปัญหาด้านค่าธรรมเนียม ซึ่งเป็นเหมือน ‘ต้นทุนที่ไม่จำเป็น’ ที่ผู้ประกอบการมองข้ามหรือเคยชิน แต่ก็มีความต้องการที่กำจัดค่าธรรมเนียมเหล่านี้ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ จึงเป็นบัญชีธุรกิจที่เข้าใจความต้องการของ SMEs ไทย ด้วยการ โอน-รับ-จ่าย ข้ามธนาคาร ข้ามเขต ได้ทันที ฟรีค่าธรรมเนียม ทุกรายการแบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยไม่ต้องคงเงินขั้นต่ำในบัญชี โดยธุรกรรมที่ทำได้ฟรีทั้งหมดนี้ ทำได้ทุกที่ทุกเวลาบนโมบายแอพพลิเคชั่น “TMB Business Touch” ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้ประกอบการยุคดิจิทัล พร้อมจะควบคุมทุกอย่างผ่านออนไลน์อย่างแท้จริง
“เพราะ TMB เข้าใจผู้ประกอบการ SMEs ว่า นอกจากเสียเงินค่าธรรมเนียมแล้ว “เวลา” ก็เป็นอีกสิ่งที่หลายคนมักจะเสียไปโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะการไปธนาคาร ที่อย่างน้อยต้องใช้เวลา ตั้งแต่การเดินทาง รอคิว ไปจนถึงขั้นตอนต่างๆ งานนี้เราจึงไม่ได้เสียแค่เวลาเท่านั้น แต่ยังเสียโอกาสในการทำธุรกิจด้วย” คุณรัชกร กล่าวเพิ่ม
สำหรับผลตอบรับจากลูกค้า ภาพรวมค่อนข้างน่าพอใจ เพราะลูกค้าไม่ต้องกังวลเรื่องค่าธรรมเนียม ไม่เสียเวลาในการเดินทางหรือรอคิว ส่งผลให้การฝากเงินสดผ่านเค้าท์เตอร์ธนาคารลดลง และการใช้เช็คลดลง 10% เพราะส่วนใหญ่หันมาทำธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น ซึ่งก็ใกล้เคียงกับพันธกิจของธนาคาร ที่ต้องการให้ผู้ประกอบการ SMEs ปรับแนวคิดการทำธุรกรรมแบบเดิมๆ มาสู่ออนไลน์ และเปลี่ยนจากเงินสดเป็นอิเล็กทรอนิกส์
แน่นอนว่ากลุ่มเป้าหมายหลักของ TMB คือ ผู้ประกอบการ SMEs ทุกขนาดที่มีไลฟ์สไตล์ดิจิทัล โดยธนาคารตั้งเป้าปลายปีนี้ไว้ที่ 100,000 บัญชี ทั้งลูกค้าเดิมและขยายฐานลูกค้าใหม่
เพื่อไปให้ถึงเป้าที่ตั้งไว้ ในช่วง 5 เดือนที่เหลือของปีนี้ TMB เตรียมแผนการตลาดออนไลน์ไว้รอบด้าน เพื่อให้ข้อมูลและสร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์ ทั้งวิดีโอ Infographic และ Social Media เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค และเข้าถึงได้อย่างตรงจุด ภายใต้แนวคิด “เปิดรับสิ่งใหม่” ที่สื่อให้เห็นถึงความเคยชินที่เป็นต้นทุนในธุรกิจ ทั้งเสียค่าธรรมเนียม เสียเวลาเดินทาง เสียเวลาทำธุรกรรมที่สาขา จนไปถึงเสียโอกาสในการทำธุรกิจ ซึ่งการเปิดบัญชีเพื่อธุรกิจ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ จะเป็นสิ่งใหม่ๆ ที่ช่วยลดต้นทุน และเปิดโอกาสให้ลูกค้าทำธุรกิจได้อย่างคล่องตัวและสะดวกมากยิ่งขึ้น และมีเงินเหลือจากการประหยัดค่าธรรมเนียมไปทำอย่างอื่น โดยสื่อออนไลน์จะเริ่มเผยแพร่ในวันที่ 11 สิงหาคมนี้
สำหรับ SMEs ที่สนใจผลิตภัณฑ์บัญชีเพื่อธุรกิจ ‘ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์’ สามารถเปิดบัญชีใหม่ได้ที่สาขาของทีเอ็มบีทั่วประเทศ หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.tmbbank.com หรือติดต่อศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ TMB SME โทร. 02-828-2828 ทุกวันจันทร์ – เสาร์ เวลา 8.00-20.00 น. ยกเว้นวันหยุดธนาคาร