“ตลาดอาเซียน” ในเวลานี้กำลังถูกจับตามมองจากทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังจะทำข้อตกลงกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน หรือ Digital Economy Framework Agreement (DEFA) ที่จะลงนามกันภายในปี 2025 นี้ ข้อตกลงนี้จะส่งผลให้เกิดความลื่นไหลของการชำระเงิน สินค้าและบริการ รวมถึงการเคลื่อนย้ายทรัพยากรบุคลากรระหว่างกันที่จะทำได้อย่างสะดวกมากขึ้นจากการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลร่วมกัน
ผลจากข้อตกลงนี้จะทำให้อาเซียนกลายเป็นภูมิภาคที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 4 ของโลกในทันที และคาดการณ์ว่าจะดึงเม็ดเงินเข้าสู่ภูมิภาคอาเซียนอย่างมหาศาล โอกาสที่เกิดขึ้นนั้นส่วนหนึ่งเป็นผลจาก Mega Trend ที่เปลี่ยนแปลงไปจาก Globalization สู่ Regionalization ที่จะทำประเทศเล็กๆ รวมกลุ่มกันได้มากขึ้นและอาจเรียกได้ว่าเป็นการก้าวเข้าสู่ “ยุคทอง” ของอาเซียนก็ว่าได้ และสิ่งนี้ในอีกมุมหนึ่งนับเป็นอีกหนึ่งโอกาสทองของธุรกิจในประเทศไทยเช่นเดียวกันที่จะยกระดับธุรกิจสู่ระดับภูมิภาคและคว้าโอกาสนี้เอาไว้ให้ได้
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ Mitsubishi UFJ Financial Group หนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีความเชี่ยวชาญในการเชื่อมโยงธุรกิจไปสู่ภูมิภาคอาเซียน จึงจัดงานสัมมนา “Krungsri ASEAN LINK Forum” ขึ้นในเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายวงการธุรกิจมาเปิดข้อมูลที่น่าสนใจที่ทำให้เห็นโอกาสและความท้าทายในการขยายธุรกิจสู่หลายๆ ประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะบริการ “Krungsri ASEAN Link” ที่มีเครือข่ายที่แข็งแกร่ง เป็นที่ปรึกษาที่ครบจบในที่เดียวที่ทำให้ธุรกิจไทยขยายไปสู่อาเซียนได้อย่างง่ายดาย
ตลาดอาเซียนน่าสนใจอย่างไร?
เรื่องนี้ Krungsri ASEAN LINK Forum ดร. พิมพ์นารา หิรัญกสิ หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เล่าไว้ใน Session “Navigating Opportunities and Challenges in ASEAN ชี้เป้าโอกาสและความท้าทายในอาเซียน” เอาไว้อย่างน่าสนใจโดยระบุว่ามี 4 เรื่องที่ทำให้ธุรกิจจากทั่วโลกมองเห็นโอกาสในภูมิภาคอาเซียนก็คือ
1.เศรษฐกิจที่เติบโตได้ดี
2.ประชากรจำนวนมาก
3.วัฒนธรรมที่หลากหลาย
4.ทรัพยากรอุดมสมบูรณ์
ในแง่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจนับว่าอาเซียนมีอัตราการเติบโตที่เรียกว่าดีที่สุดในโลกก็ว่าได้ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่ผ่านมาจะเติบโตเฉลี่ย 4-5% และคาดการณ์ในอีก 5 ปีก็มีอัตราการเติบโตในระดับสูง ในแง่ของจำนวนประชากรก็มีจำนวนประชากรมากถึงเกือบ 700 ล้านคน อายุเฉลี่ยไม่รวมไทยแล้วก็อยู่แค่ 30 ปีเท่านั้น ในขณะที่รายได้เฉลี่ยส่วนใหญ่เริ่มยกระดับสู่ในกลุ่มรายได้ปานกลางขึ้นไปแล้ว นั่นหมายความว่านอกจากมีแรงงานจำนวนมหาศาลแล้วยังมีกำลังซื้อรองรับอีกด้วย โดยเฉพาะประเทศอย่างเวียดนามที่เป็นเป้าหมายการลงทุนจากหลายๆ ประเทศ
เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ตลาดที่โดดเด่น
“เวียดนามเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว คาดว่าในอีก 5 ปีเศรษฐกิจจะเติบโต 6.5% และคาดว่าขนาดเศรษฐกิจจะใหญ่กว่าประเทศไทยในปี 2038 และหลังจากนั้นจะก้าวสู่การเป็นประเทศรายได้สูงในอนาคต เวียดนามเป็นฐานการผลิตเพราะมีข้อตกลงการค้าเสรีกับมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ยังให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนที่ดึงดูด ในขณะที่คนรุ่นใหม่ก็มีการศึกษาที่ดีที่มีค่าเฉลี่ยความรู้คณิตศาสตร์ที่มากกว่าเด็กไทยไปแล้วและเทียบเท่ากับประเทศกลุ่ม OECD หรือกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วด้วยซ้ำ” ดร.พิมพ์นารา ระบุ
นอกจากนี้ยังมีประเทศอย่าง “อินโดนีเซีย” ที่มีประชากรมากถึง 277 ล้านคน มีเศรษฐกิจจะโตเกิน 5.1% ในอีก 5 ปีข้างหน้าโดดเด่นด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายโดยเฉพาะสินแร่นิกเกิลที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ EV
ในขณะที่ “ฟิลิปปินส์” ก็เป็นอีกตลาดที่มากแรงโดยคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตเฉลี่ย 6.3% ในอีก 5 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขับเคลื่อนด้วยการบริโภคภาคเอกชนเพราะทรัพยากรมนุษย์มีภาษาอังกฤษดีทำให้แรงงานฟิลิปปินส์ออกไปทำงานนอกประเทศจำนวนมาก ในขณะที่ประชากรมีอายุเฉลี่ยน้อยที่สุดในอาเซียนแค่ 25 ปีเท่านั้น นับเป็นอีกตลาดที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจ
6 Insight ผู้บริโภคอาเซียนจาก Kantar สู่โอกาสธุรกิจ
นอกจากโอกาศทางเศรษฐกิจในภาพใหญ่ของอาเซียนแล้ว Krungsri ASEAN LINK Forum ยังพาเราไปทำความรู้จักกับพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวอาเซียนโดยรวมด้วยใน Session ของ ดร.อาภาภัทร บุญรอด ประธานกรรมการบริหาร คันทาร์ อินไซท์ ประเทศไทย (KANTAR Thailand) บริษัทวิจัยข้อมูลการตลาดชั้นนำที่มาเปิด 6 เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคที่หากทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งก็จะสามารถนำไปสร้างโอกาสให้กับธุรกิจได้เช่นกัน โดย 6 เทรนด์นั้นประกอบไปด้วย
- Stability Focused – คือเทรนด์ของประชากรอาเซียนที่ต้องการความมั่นคงในชีวิตมากขึ้นโดยชาวอาเซียนเฉลี่ย 6% ให้ความสำคัญกับการทำประกันเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนในชีวิต นำไปสู่ผลิตภัณฑ์การทำประกันใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเช่น คุ้มครองความไม่มั่นคงทางการเมือง รวมถึงคุ้มครอง LifeStyle สำหรับคน Gen Z ให้สนุกได้โดยไม่ต้องกังวลเป็นต้น
- Never Ageing – เทรนด์ของกลุ่มผู้บริโภคที่เข้าสู่วัยสูงอายุเพิ่มขึ้นแต่มี Mindset ที่เปลี่ยนไปจากผู้สูงอายุในยุคก่อนๆ มีความ Active มากขึ้น ควบคุมชีวิตตัวเองได้ผ่านเทคโนโลยีเทรนด์นี้นำไปสู่โอกาสทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเช่น Wearable Device เพื่อสุขภาพหรือเทรนด์แฟชั่นที่ตอบสนองความต้องการคนกลุ่มนี้เป็นต้น
- Digital Society – เป็นเทรนด์ของการเข้าสู่โลกดิจิทัล โดยเฉพาะค่าเฉลี่ยการใช้เวลาในโลก Internet ของคนอาซียนที่มีสูงกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน เป็นโลกอีกใบที่หากธุรกิจเข้าไปตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ก็จะสร้างการเติบโตให้ธุรกิจได้เช่น บริการชำระเงินไร้สัมผัส หรือ การชำระเงินรูปแบบใหม่อย่าง Selfie Pay ที่เพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้งานได้มากขึ้นเป็นต้น
- Conscious Spending – เทรนด์ของผู้บริโภคในอาเซียนที่มีความระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้นและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วทั้งภูมิภาค คนต้องการความคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปทุกบาททุกสตางค์มากกว่าเดิม เทรนด์เหล่านี้นำไปสู่โอกาสใหม่ๆ มากขึ้นเช่นในแวดวงการลงทุนที่มีเทคโนโลยี Robo-Adviser แนะนำการลงทุนที่คุ้มค่าและเข้าถึงง่ายให้คนรุ่นใหม่ รวมไปถึงความสำเร็จของ Xiaomi ที่ทำสินค้าคุณภาพราคาประหยัดมัดใจผู้บริโภคก็ตอบโจทย์เทรนด์นี้ได้เป็นอย่างดี
- Sustainable Mindset – เทรนด์ผู้บริโภคที่ใส่ใจเรื่อง “ความยั่งยืน” มากขึ้นและสัดส่วนผู้บริโภคอาเซียนมากถึง 5% มองว่าการซื้อสินค้าที่ยั่งยืนเป็นการแสดงออกถึงตัวตนของตัวเองได้ด้วยแน่นอนว่า นี่ก็เป็นโอกาสให้ธุรกิจคิดค้นบริการใหม่ๆ ออกมาตอบโจทย์ความต้องการนี้มากมาย ยกตัวอย่าง Next Gen Credit Card ที่ผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถแลกแต้มไปช่วยโลกด้านต่างๆ หรือจะเป็นบริการ Impact Account บัญชีที่สามารถติดตาม Carbon Footprint ของเจ้าของบัญชีได้ด้วยเป็นต้น
- Shifting Norms – แม้ผู้บริโภคอาเซียนจะให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมดั้งเดิมมาก แต่สิ่งที่พบก็คือชาวอาเซียนมากกว่าครึ่งหรือ 8% ยังคงเปิดรับและมองหาสิ่งใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้นอยู่ เป็นการตัดกันของโลกเก่าและโลกใหม่ ทำให้เราได้เห็นบริการขอพรเทพเจ้าใน Metaverse หรือการเปิดรับซีรีย์ Y หรือ การเปิดรับเรื่อง ความเท่าเทียมทางเพศมากขึ้นนั่นเอง
“อย่างไรก็ตามแม้ ASEAN จะเป็นหนึ่งเขตเศรษฐกิจแต่ ในแต่ละประเทศก็มีความโดดเด่นไม่เหมือนกัน มีโอกาสใหม่ๆ ในอาเซียนมากมาย หากผลิตภัณฑ์ของเราสามารถเข้าไปตอบโจทย์ของคนอาเซียนได้ด้วยความยืดหยุ่นเราก็จะเป็นแบรนด์ที่เติบโตได้ และแน่นอนต้องเน้นเรื่องความยั่งยืน และอย่าลืมว่าอาเซียนเป็น Transitioning Region ที่ยังเชื่อมโยงระหว่างโลกเก่าและโลกใหม่ ดังนั้นต้องบาลานซ์ให้ได้และประสบความสำเร็จสูงสุด” ดร.อาภาภัทร ปิดท้าย
มีโอกาสย่อมมีความท้าทายรออยู่
แน่นอนว่าการขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคอาเซียนย่อมมีความท้าทายเช่นกัน โดยดร.พิมพ์นารา ก็ฉายภาพในเรื่องนี้ไว้ด้วยกัน 4 ข้อไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ “กฎระเบียบ” รวมไปถึงกระบวนการติดต่อกับหน่วยงานรัฐ ที่ในแต่ละประเทศจะมีความซับซ้อน มีขั้นตอนที่ไม่เหมือนกัน หน่วยงานที่ต้องติดต่อไม่เหมือนกัน สิ่งนี้ทำให้คนที่จะขยายธุรกิจไปสู่อาเซียนนั้นมีความหวาดหวั่นใจอยู่ด้วย
อีกเรื่องคือ “วัฒนธรรมท้องถิ่น” ที่แม้จะมีวัฒธรรมคล้ายกันอยู่ แต่ก็มีอีกหลายเรื่องที่คนทำธุรกิจในแต่ละประเทศต้องเรียนรู้เช่นกันเช่นในประเทศอินโดนีเซีย มีวัฒนธรรมคล้ายๆ การ “ลงแขก” ของไทย เป็นการร่วมมือร่วมใจในชุมชนมาช่วยกันทำงานบางอย่างโดยไม่รับค่าแรง ใน “ฟิลิปปินส์” มีวัฒนธรรมตอบแทนบุญคุณ หรือใน “เวียดนาม” นอนพักกลางวัน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจและต้องเรียนรู้จากคนที่มีประสบการณ์อยู่ก่อนแล้ว
เรื่องที่ 3 คือเรื่อง “ภัยธรรมชาติ” โดยเฉพาะประเทศชายฝั่งทะเลแปซิฟิก อย่างเวียดนาม หรือฟิลิปปินส์ ที่มักเจอกับพายุไต้ฝุ่นที่ทำให้เกิดน้ำท่วม ประเทศอย่างอินโดนีเซียเกิด “ภูเขาไฟระเบิด” หรือ “สึนามิ” อยู่บ่อยครั้ง รวมไปถึงเรื่องที่ 4 ก็คือประเด็นท้าทายอื่นๆ ในแต่ละประเทศเช่น ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง หรือในฟิลิปปินส์ก็มีปัญหาเรื่องความมั่นคงด้านอาหารเป็นต้น
ด้วยความท้าทายเหล่านี้ทำให้กรุงศรีนำเสนอบริการอย่าง Krungsri ASEAN LINK บริการที่กรุงศรีนำเสนอเป็นไฮไลท์สำคัญของงาน Krungsri ASEAN LINK Forum ด้วยเช่นกัน
Krungsri ASEAN LINK เปิดประตูสู่ตลาดอาเซียน
Krungsri ASEAN LINK เป็นบริการที่ธนาคารกรุงศรีริเริ่มขึ้นในปี 2023 เพื่อสนับสนุนธุรกิจในการขยายตลาดทั้งใน และต่างประเทศ เช่น ไทย ญี่ปุ่น รวมถึงประเทศในกลุ่มอาเซียนในแบบเอ็กซ์คลูซีฟตามความเหมาะสมของธุรกิจลูกค้า โดยที่ปีนี้กรุงศรี อัพเกรดเครือข่ายความร่วมมือกับธนาคารใน 3 ประเทศอาเซียนนั่นก็คือ เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ตลาดที่กำลังเติบโต เป็นโมเดลที่จะทำให้เกิด ASEAN LINK desk ในประเทศต่างๆเพื่อให้การสนับสนุนธุรกิจในแต่ละประเทศไร้รอยต่อมากขึ้น
ดังนั้น กรุงศรี และ MUFG จึงร่วมลงนามความร่วมมือกับธนาคารพันธมิตร 3 แห่ง ประกอบด้วย Bank Danamon ในประเทศอินโดนีเซีย VietinBank ในประเทศเวียดนาม และ Security Bank ในประเทศฟิลิปปินส์ ประสานงานกันในหลายๆ มิติ เพื่อสนับสนุนลูกค้าไทยที่ต้องการขยายธุรกิจไปยังประเทศต่างๆ ในอาเซียน
สำหรับธุรกิจที่อยากขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน Krungsri ASEAN LINK จะมีบริการเด่นๆ 4 เรื่องตั้งแต่การวางกลยุทธ์เข้าสู่ตลาดไปจนถึงเชื่อมโยงกับเครือข่ายในแต่ละประเทศไม่ว่าจะเป็น
- Assist Market Entry – คือการให้คำปรึกษาช่วยมองหาโอกาสและความท้าทายของตลาดในแต่ละประเทศของอาเซียน
- Co-Create New Business – เมื่อมองเห็นโอกาสที่จะขยายธุรกิจไปแล้ว กรุงศรีก็มีทีมที่จะช่วยร่วมพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจที่เหมาะกับตลาดในท้องถิ่นแล้วยังเหมาะกับความต้องการและรูปแบบของแต่ละธุรกิจได้ด้วย
- Match with Trusted Partners – ด้วยเครือขายของ MUFG และกรุงศรีทำให้ Krungsri ASEAN LINK สามาถช่วยหาพาร์ตเนอร์ธุรกิจที่น่าเชื่อถือเพื่อให้การทำการค้าขายและการลงทุนเป็นไปอย่างประสบความสำเร็จ
- Connect With Regional Network – แน่นอนว่าการมีพาร์ตเนอร์ธนาคารที่มั่นคงและน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ กรุงศรีและ MUFG เองก็มีเครือข่ายสถาบันการเงินในอาเซียนที่มั่นใจได้โดยเฉพาะ 3 ธนาคารที่เพิ่งลงนามความร่วมมือกันไปอย่าง Bank Danamon ในประเทศอินโดนีเซีย VietinBank ในประเทศเวียดนาม และ Security Bank ในประเทศฟิลิปปินส์ ธนาคารที่ขนาดใหญ่ที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ จะทำให้ทำธุรกิจได้อย่างมั่นใจและราบรื่นไร้รอยต่อแน่นอน
ด้วยข้อมูลทั้งหมดจาก Krungsri ASEAN LINK Forum นี้น่าจะทำให้ธุรกิจในประเทศไทยที่ต้องการขยายโอกาสธุรกิจให้ออกสู่ต่างประเทศได้มองเห็นโอกาสที่น่าสนใจจากภูมิภาคที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคทองในปี 2025 นี้ ให้ได้เริ่มคิดว่าธุรกิจของเราจะเข้าไปตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคในอาเซียนได้อย่างไร และนำไปสู่การเติบโตทางธุรกิจในที่สุด ส่วนความท้าทายต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่ตลาด กลยุทธ์ การหาพาร์ตเนอร์ธุรกิจในแต่ละประเทศอาเซียนก็สามารถยกให้เป็นหน้าที่ของ Krungsri ASEAN LINK
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ GO ASEAN with krungsri
https://www.krungsri.com/th/asean