เผยเบื้องหลัง สื่อชั้นนำระดับโลกประกาศจับมือสปริงนิวส์ เกาะติดเหตุการณ์ช่วย 13 ชีวิตหมูป่าอะคาเดมี

  • 85
  •  
  •  
  •  
  •  

[บทความนี้เป็น Advertorial]

S1

ไม่บ่อยครั้งนักที่จะได้เห็นภาพการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนประเทศไทยและสื่อมวลชนต่างชาติเพื่อเผยแพร่ข่าวสารไปทั่วโลก ซึ่งแน่นอนว่าข่าวที่สร้างอิมแพ็คจนเกิดกระแสให้คนจำนวนมากติดตามอาจไม่ใช่ข่าวที่ดี อย่างกรณีเหตุการณ์สึนามิ ในปี 2548 ตอนนั้นถือเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ระดับโลก สื่อฯ ไทยจับมือกับสื่อฯ นานาชาตินำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นไม่นานที่ทั่วโลกทราบข่าว ต่างให้ความช่วยเหลือมายังประเทศไทยจำนวนมากอย่างไม่คาดคิด ทั้งเงินบริจาค สิ่งของจำเป็น และอาหาร จนประเทศไทยสามารถผ่านวิกฤตการณ์ครั้งนั้นไปได้

S4

ล่าสุดสถานีข่าวบีบีซี เวิลด์นิวส์ (BBC World News) ประกาศขอความร่วมมือกับสถานีข่าวสปริงนิวส์ (Spring News) เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน สองวันหลังเกิดเหตุการณ์ 13 ชีวิตทีมนักฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี ติดอยู่ในบริเวณถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย สาเหตุมาจากน้ำหลากในช่วงฤดูฝนจนทำให้น้ำท่วมถ้ำจนไม่สามารถออกมาได้ ซึ่งในขณะนั้นมีเพียงสื่อฯ ภายในประเทศเท่านั้นที่เกาะติดสถานการณ์

โดยทางสถานีข่าว บีบีซี เวิลด์นิวส์ ให้ความสนใจจึงขอร่วมนำเสนอข่าวดังกล่าว ทางสปริงนิวส์จึงเสนอรูปแบบการสื่อสาร โดยให้ทำรายงานข่าวเรียลไทม์พร้อมกันทั้งสองสตูดิโอ นั่ นก็คือ สตูดิโอของบีบีซี เวิลด์นิวส์ ในช่วง “Impact” กับ สตูดิโอรายการ “เต็มข่าวคํ่า” ของสปริงนิวส์ ซึ่งทั้งสองสำนักข่าวตกลงในข้อเสนอ

S6

สำหรับการรายงานข่าวครั้งแรกร่วมกัน  โดยมีคุณชัยรัตน์ ถมยา ผู้ประกาศข่าวภาคค่ำ สถานีข่าวสปริงนิวส์ เป็นผู้ดำเนินรายการ พบว่ามีข้อผิดพลาดเชิงเทคนิคเพียงเล็กน้อย แต่ภาพรวมสามารถผ่านการทำงานไปได้ด้วยดีในครั้งแรก ในวันเดียวกันบีบีซี เวิลด์นิวส์ ขอรายงานข่าวร่วมกันเป็นครั้งที่สองในช่วง “Global” ซึ่งถือเป็นการจุดประเด็นครั้งใหญ่ สร้างแรงกระเพื่อมให้สื่อมวลชนจากทั่วโลก ร่วมกันเกาะติดสถานการณ์ช่วยช่วย 13 ชีวิตทีมฟุตบอลออกจากถ้ำ

ในเวลาต่อมา สถานีข่าวสปริงนิวส์ยังได้รับการประสานงานจากสถานีข่าว ซีเอ็นเอ็น (CNN International) ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอข่าวครั้งนี้ จากผลตอบรับดังกล่าว ในวันที่ 26 มิถุนายน สปริงนิวส์ตัดสินใจ ส่งรองบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ คุณกีรติกร นาคสมภพ เบลาว์ ไปยัง จ.เชียงราย เพื่ อตอบโจทย์ความต้องการของสื่อต่างชาติที่ให้ความสนใจสิ่งที่กําลังจะเกิดขึ้นที่ถ้ำหลวงของไทย

โดย คุณกีรติกรได้ร่วมรายงานข่าวกับคุณ Kristie Lu Stout ผู้ประกาศข่าวชื่อดังของช่องซีเอ็นเอ็นผ่านรายการ “News Stream” และในวันถัดไปคุณกีรติกร ได้นำเสนอความคืบหน้าทางโทรศัพท์ให้กับสถานีข่าวซีบีซี (CBC) ของประเทศแคนนาดาอีกด้วย

หลังจากนั้นไม่กี่วันที่กระแสข่าวช่วย 13 ชีวิตทีมหมูป่าอะคาเดมีถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก จนได้รับการติดตามจากผู้คนจำนวนมหาศาล สำนักข่าวต่างประเทศจึงเริ่มส่งทีมข่าวมายังพื้นเกิดเหตุด้วยตนเอง แต่มีสื่อฯ บางประเทศอย่างอินเดียและอิสราเอลที่ไม่ได้ส่งทีมข่าวมา ได้ขอให้ทีมข่าวสปริงนิวส์ร่วมนำเสนอข่าว ซึ่งทางสถานีเองได้ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

S5

การร่วมมือระหว่างสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างชาติครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องราวอันดี ที่ได้แลกเปลี่ยนกระบวนการทำงานที่หลากหลายรูปแบบโดยมีมาตรฐานของสื่อระดับโลก พร้อมทั้งร่วมกันตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อไม่ให้เกิดข้อมูลที่ผิดพลาดสู่สาธารณะ ซึ่งการร่วมเป็นกระบอกเสียงของสื่อฯ ส่งผลให้หน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศยื่นมือเข้ามาช่วยเหลืออย่างล้นหลาม ไม่ว่าจะเป็นนักดำน้ำอังกฤษ ที่เข้าเป็นทีมค้นหาผู้ประสบภัย รวมถึง Elon Musk ผู้ที่ได้รับฉายา “Tony Stark (Iron Man)” ได้ส่ง Mini Submarine เข้าช่วยเหลือนำนักฟุตบอลทั้ง 13 ชีวิตออกจากถ้ำได้อย่างปลอดภัย โดยความสำเร็จครั้งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างสปริงนิวส์และบีบีซี เวิลด์นิวส์

S2

[บทความนี้เป็น Advertorial]


  • 85
  •  
  •  
  •  
  •