ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาเราเริ่มได้กลิ่นสงครามฟองเบียร์ที่กลับมาร้อนระอุกันอีกครั้ง เห็นได้ชัดเจนกับการที่ค่ายช้างทำการ Repositioning ใหม่ให้กับแบรนด์ของตัวเอง พร้อมทั้งออกภาพยนตร์โฆษณาและใช้ Presenter เป็นตัวสร้าง Communications ในขณะที่ค่ายสิงห์ไม่เคยทำภาพยนตร์โฆษณามานานนับ 10 ปี แต่ปีนี้ได้ฤกษ์ส่งภาพยนตร์โฆษณาชุด Bring it on “ถ้าใจบอกว่าใช่แล้วจะรออะไร” ออกมาสวนหมัดเข้าทันควัน ถึงแม้จะไม่ใช้ Presenter แต่ก็สร้างเอกลักษณ์ ความชัดเจนของ แบรนด์ ที่ยังมีคงมีเสน่ห์ เท่ ที่สะท้อนความเป็นคน Gen Y แต่ในขณะที่ช้างยังคงให้ความสำคัญกับ Concept ของคำว่า “เพื่อน”
นอกจากนี้ศึกการตลาดที่ลามมาถึงสมรภูมิ Social Media เรียกกันได้ว่าขับเคี่ยวกันอย่างน่าติดตาม
ถึงแม้ว่าค่ายสิงห์จะเริ่มต้นออกตัวได้ช้ากว่าเมื่อต้นปีมีฐานแฟนเพียง 243,000 like แต่ช้างเรียกว่าออกตัวแรงและเริ่มต้นได้ดีตั้งแต่ต้นปีเพราะมียอดแฟนถึง 610,000 like แต่เมื่อเข้ามาดูตามกราฟจะเห็นได้ว่าช่วงที่เป็นจุดตัด ที่สิงห์แซงหน้าไปอยู่ในช่วงราวๆ สัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ที่ยอดแฟนแตะตัวเลขที่เท่ากันและจากนั้นสิงห์ก็นำขึ้นไปอย่างเห็นได้ชัด และอีกจุดที่น่าสนใจ ในช่วงเดือนพฤษภาคม ค่ายสิงห์ มียอดแฟนที่หลักล้านเป็นที่เรียบร้อยก่อน ค่ายช้าง ในระยะเพียงแค่ 5 เดือน
แล้วอะไรที่เป็นปัจจัยสำคัญของการที่แฟนเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเห็นได้ชัดของ “สิงห์” เมื่อวิเคราะห์ลงลึกมี 2 แกนหลัก ได้แก่
แกนที่ 1 แบรนด์ดิ้งของสิงห์ ที่มีความแข็งแรง
แกนที่ 2 Content ที่มีเนื้อหาและความน่าสนใจ
ในแกนของแบรนด์ดิ้งองค์ประกอบหลัก 4 ส่วนที่น่าสนใจ
- แบรนด์ที่อยู่มาอย่างยาวนาน
- แบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือและเอกลักษณ์ที่มีความชัดเจน
- แบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) อย่างจริงจังและทำต่อเนื่องมาโดยตลอด
- แบรนด์ที่สามารถ Represent ความเป็นไทยและมีความเป็นสากล
ทั้ง 4 ปัจจัยถือว่าเป็นจุดแข็งในด้านแบรนด์ดิ้งที่ ค่ายสิงห์ สามารถนำคู่แข่งไปได้ ในขณะที่วิเคราะห์เนื้อหาของ Content ที่เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ในเพจของสิงห์มี 3 ส่วนในเชิงการบริหาร Content ที่น่าสนใจ
- การที่สิงห์ไม่เน้นในการโปรโมทกิจกรรมของแบรนด์
- การสร้าง Engagement เหมาะกับ Lifestyle ของ Consumer
- การ Capture กระแสและความสนใจของสังคม ณ ตอนนั้น ได้ทันท่วงที
- เนื้อหา Content ไม่ผูกมัดกับบุคคลิกของ Presenter
ยกตัวอย่าง Contentในช่วงวันวิสาขบูชาที่ผ่านมา “สิงห์” สามารถนำเสนอเรื่องราวของวันสำคัญที่เข้าใจง่ายผ่านรูปแบบ VDO Infographic โดยนำเสนอเรื่องราว In-depth ที่เป็นประโยชน์ ที่ครบทั้ง 3 Key point ที่กล่าวมาได้อย่างน่าสนใจ
เมื่อลงลึกเข้ามาใน Overview ของ Fanpage “สิงห์” และ “ช้าง” เราจะสามารถเห็นภาพรวมของการเพิ่มขึ้นได้อย่างชัดเจนเป็นอย่างมาก
เมื่อมองถึงจำนวนแฟนในหัวข้อ Change in Fans เห็นได้ชัดว่าตั้งแต่ในช่วงเดือนมกราคมจนถึงมิถุนายน ยอดแฟนของสิงห์เพิ่มขึ้น 343% ในขณะที่ช้างเพิ่มขึ้น 34% ในส่วนของ Max Change of Fans สิงห์ทำได้ Max สุดถึง 34,792 Fan ในส่วนของช้าง Max สุดอยู่ที่ 4,318 Fan เมื่อมอง Average per day สิงห์ทำได้ที่จำนวน 5,050 fan และช้างทำได้ 1,296.52 fan
ในส่วนของ Engagement
สิงห์ มีคนเข้าร่วม Engage เกือบ 3 ล้านครั้ง ซึ่งในส่วนของช้างทำได้เกือบ 1.5 ล้านครั้ง เมื่อเปรียบเทียบกันต่างกัน 2 เท่าตัว และ Maximum Engagement สิงห์ทำได้เกือบ 150,000 Engagements ซึ่งช้างทำได้อยู่ในจำนวน 80,000 engagements เมื่อดูค่าเฉลี่ยกับการ engage ในแต่ละวัน สิงห์ ทำได้ 17,000 ครั้ง และช้างทำได้เกือบ 9,000 ครั้ง
เนื่องจากว่าภาพรวมของ ค่ายสิงห์ ที่มีฐานแฟนมากกว่า ค่ายช้าง ซึ่งอาจทำให้มองภาพการ Engage ที่มากกว่าก็ตาม แต่การรักษาฐานแฟนในสมรภูมิ Social Online ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะการที่ต้อง Consistence เพื่อสร้างความเหนียวแน่นและการติดตามของเหล่าๆ แฟนในยุคที่อะไรก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบนี้คงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก
จึงเป็นที่มาของการตลาด Online เชิงรุก ที่ค่ายสิงห์รีบ Hook ชัยชนะในครั้งนี้ด้วยการประกาศตัวครบ 1 ล้านแฟนด้วย Campaign ที่เรียกได้ว่าทำอย่างทันท่วงที กับกิจกรรม Singha Million Fans, Digital Journey in Korea โดยพาผู้โชคดีไปชมนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ประเทศเกาหลีเจ้าแห่งเทคโนโลยีทางด้านดิจิตอล พร้อมด้วยการสร้าง Engagement ให้กับแฟนที่อยู่ในเพจด้วยการอัพเดทความล้ำสมัย เทรนและสไตล์ใหม่ๆ ในระหว่างทริป พร้อมกับสร้าง Engagement คำถามที่ตอกย้ำเกี่ยวกับความเป็น 1 ล้านแรกที่น่าสนใจ และมีของรางวัลมอบให้กับแฟน จึงเป็นการเริ่มต้นและจบ Campaign ได้อย่างน่าติดตาม
สำหรับเกมการแข่งขันของโลก Social Media ในครั้งนี้การสร้างฐานแฟนให้มากที่สุดอาจเป็นเพียงหนึ่งใน กลยุทธ์ทางการตลาดที่ทั้ง 2 ต่างแย่งชิงพื้นที่การรับรู้และการส่งต่อข่าวสารเพื่อ Communicate ไปยัง Consumer แต่หลังจากนี้ไปเชื่อว่าทั้ง สิงห์ และ ช้าง ต่างก็รู้อยู่แล้วว่าไม่ว่าช่องทางไหน Consumer จะเป็นผู้เลือกว่าใครจะอยู่ในความสนใจของพวกเค้ามากที่สุด
การต่อสู้ครั้งนี้สิงห์เป็นผู้นำอยู่หลายช่วงตัว แต่ศึกชิงความเป็นเจ้าบนโลกดิจิตอล ยังคงอีกยาวไกล ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่ผู้สนใจอ่านการทำสงครามทาง Social Media ไม่แน่เราอาจจะเห็นค่ายช้างมีหมัดสวนกลับมายังไง คงต้องคอยติดตามกันอย่างห้ามกระพริบตา