SEAC ชู “The Stanford Thailand Research Consortium” งานวิจัยที่เริ่มจากประโยชน์ “ประเทศ” สะท้อนสู่ “องค์กร” จากการร่วมมือของ 5 หน่วยงาน

  • 7.9K
  •  
  •  
  •  
  •  

เมื่อ ธุรกิจ เดินทางมาถึงยุค Disruption ตัวแปรสำคัญที่ทำให้การแข่งขัน การทำตลาด ช่องทางและโอกาสเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต้องแปรผัน ภายใต้พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง สิ่งสำคัญที่องค์กรต้องคำนึงถึงจึงไม่ได้มีแค่เม็ดเงินเพื่อ การลงทุน แต่ยังรวมถึงการมี พันธมิตร เพื่อช่วยขยายโอกาส สนับสนุนซึ่งกันและกัน ร่วมสร้างอีโคซิสเต็มส์ที่แข็งแกร่งโดยไม่คำนึงถึงคำว่าคู่แข่งขัน

หมดยุค “ปลาใหญ่ – ปลาเร็ว” ธุรกิจต้องการ “พันธมิตร”

ไม่ว่าจะ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก หรือ ปลาเร็วกินปลาช้า ที่เคยได้ยินว่าเป็นกลยุทธ์สร้างความสำเร็จของธุรกิจนั้น คงต้องบอกว่า นั่นอาจไม่ใช่กลยุทธ์ต้นแบบที่เหมาะสมสำหรับยุคนี้ ในยุคที่เทคโนโลยีทำให้องค์กรไม่สามารถหยุดนิ่งได้ การมองหาและยอมรับว่าแต่ละองค์กร แต่ละธุรกิจ มีความเชี่ยวชาญและแข็งแกร่งที่แตกต่างกัน ทำให้ การจับมือพากันโต กลายเป็นโอกาสทองที่ดีและมั่นคงกว่า การโตเดี่ยว เป็นไหน ๆ เพราะความร่วมมือกับพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่งในแต่ละแวดวงที่สามารถผนึกกำลังกันได้ จะกลายเป็น Short Cut แห่งความสำเร็จ

“การลงทุน – พัฒนา” แตะเบรกได้ แต่ “การเรียนรู้” ต้องมีตลอดชีวิต!

การลงทุน การพัฒนาธุรกิจ…เป็นเรื่องที่หยุดไม่ได้ฉันใด การเรียนรู้…คงเป็นเรื่องที่หยุดไม่ได้ฉันนั้น ประเด็นนี้เห็นจะเป็นเรื่องจริงยิ่งกว่าจริงในยุคนี้ เพราะหลาย ๆ องค์กรอาจเลือกเดินเกมแบบ Play Safe ชะลอการลงทุนอะไรหนักๆ แต่สิ่งที่องค์กรห้ามหยุด คือ การเรียนรู้

แต่จากแนวคิด Lifelong Learning หรือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต อาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่องค์กรจะต้องเรียนรู้เพื่อค้นหาเส้นทางสู่ความสำเร็จ หรือเพิ่มโอกาสแก่ธุรกิจ แต่ในยุคที่ความร่วมมือทางธุรกิจสามารถแตกกิ่งก้าน Cross Industry ได้ ยิ่งเป็นโอกาสทำให้ธุรกิจสามารถเรียนรู้แนวทาง ความสำเร็จ และจุดแข็งขององค์กรอื่น เพื่อสร้างโอกาสและลดระยะเวลาเรียนรู้ลองผิดลองถูกด้วยตนเองได้เป็นอย่างมาก

เรื่องนี้ตรงกับโจทย์ของ The Stanford Thailand Research Consortium” โครงการวิจัยแบบเจาะลึกที่รวมองค์กรชั้นนำเข้าด้วยกัน เพื่อยกระดับศักยภาพประเทศและมอบประโยชน์แก่องค์กร ภายใต้การดำเนินงานโดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และ SEAC (ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน) เพื่อร่วมกันผลักดันและพัฒนาประเทศไทยให้เกิดการลงทุนในงานวิจัยต่าง ๆ ที่สร้างประโยชน์ต่อประชากรและเศรษฐกิจของไทย

ชื่อ “สแตนฟอร์ด” การันตี! งานวิจัยคุณภาพระดับโลก

สาเหตุที่การวิจัยแบบเจาะลึกของ The Stanford Thailand Research Consortium ต้องเป็นการดำเนินงานโดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เป็นเพราะ SEAC ในฐานะเจ้าของโปรเจค มั่นใจในชื่อเสียงและความเชี่ยวชาญของสถาบันสแตนฟอร์ด ซึ่งเป็นองค์กรที่เป็นสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัย สะท้อนถึงการนำแนวคิดใหม่ ๆ ทฤษฎีใหม่ ๆ เข้าไปต่อยอดอยู่เสมอ ไม่ยึดติดกับตำราหรือภาพจำอันเนิ่นนาน ยังไม่รวมถึงทุนสนับสนุนที่สแตนฟอร์ดได้รับจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลก มากถึง 3,000-5,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี สูงติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก ยิ่งสะท้อนถึงคุณภาพและความเชื่อมั่นจากหน่วยงานแห่งนี้เป็นทวีคูณ

ภายใต้การดำเนินงานของโครงการฯ สิ่งที่ย้ำความมั่นใจให้ SEAC คือ กระบวนการดำเนินงานที่น่าเชื่อถือจากการวิจัยเชิงลึกของสแตนฟอร์ด รวมถึงการทำงานร่วมกับหน่วยงานกลางของสแตนฟอร์ด ซึ่งหมายถึงการดำเนินงานด้วยทีมนักวิจัยหลายศาสตร์หลายคณะ ทั้งด้านวิศวกรรมศาสตร์ บริหารศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แพทยศาสตร์ ไปจนถึงสิ่งแวดล้อมและพลังงาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้องค์กรได้เห็นศักยภาพ ข้อดีข้อด้อยในองค์กร ก่อนจะขยายประโยชน์สู่ภาพใหญ่ในการพัฒนาสังคมและประเทศในขั้นต่อไป

เดินหมากจาก 3 ต้นกล้า ปักหมุดกระจายเมล็ดพันธุ์ เพื่อขยายต้นแบบ

ที่จริงแล้ว โปรเจค The Stanford Thailand Research Consortium ดำเนินงานครบรอบ 1 ปีแล้ว ด้วยการเริ่มต้นจากต้นกล้า 3 องค์กรชั้นนำของประเทศไทยอย่าง AIS, AP Thailand, KBank ซึ่งเป้าหมายที่เกิดขึ้นกับองค์กรเหล่านี้ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การสร้างประโยชน์เพื่อธุรกิจ…แต่ยังถูกมองไปไกลกว่านั้น เพราะก้าวแรกที่ SEAC สะท้อนถึงเป้าหมายของโครงการนี้ คือ การมอบคุณค่าให้ประเทศก่อนจะกลับสู่ประโยชน์เพื่อธุรกิจขององค์กร โดยตลอดระยะเวลาดำเนินการ มีหลายโครงการวิจัยในประเด็นต่าง ๆ ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วและอยู่ในระหว่างดำเนินงาน

ส่วนคำถามที่ว่า SEAC ใช้หลักเกณฑ์ใดเพื่อคัดเลือกหรือเชิญองค์กรให้เข้าร่วม The Thailand Research Consortium นั้น แน่นอนว่า AIS, AP Thailand, KBank เป็นกลุ่มองค์กรแรกซึ่งเข้าร่วมโครงการดังกล่าวในฐานะ Founding Member และยังเปิดรับ Member ใหม่ๆ สำหรับปีต่อๆ ไป โดยเกณฑ์พิจารณา ได้แก่ แนวคิดองค์กรที่จำเป็นต้องมองถึงประโยชน์ระดับประเทศเป็นหลัก และต้องมีความเข้าใจพร้อมทั้งยอมรับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดที่จะมอบงานวิจัยเชิงลึกแก่องค์กร ไม่ใช่การมอบโซลูชันเพื่อแก้ไขปัญหาหรือปิดจุดอ่อนองค์กร และที่สำคัญ ต้องเป็นองค์กรที่สามารถจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการทำวิจัยอย่างน้อย 5 ปี (ปีละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ) เนื่องจากโครงการฯ นี้มีระยะยาว 5 ปี

ไขข้อข้องใจ “ลงทุนกับงานวิจัย” จำเป็นอย่างไร ?

เชื่อว่าเรื่องนี้เป็นคำถามที่หลายคนสงสัย แต่คำตอบเดียวที่มี คือ ในต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและยุโรปนั้น ให้ความสำคัญในการลงทุนงานวิจัยเป็นอย่างมาก แต่ละโครงการมีมูลค่ามหาศาล ขณะที่ ไทย มี SEAC เป็นหน่วยงานแรกที่บุกเบิกและสนับสนุนการทำวิจัยเชิงลึกอย่างจริงจังผ่านโครงการนี้ กับเป้าหมายในการมอบประโยชน์แบบ Doing Good, Doing Well

Doing Good : เป็นเป้าหมายระยะยาว ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพระดับประเทศเป็นหลัก เพื่อสร้างความสามารถในการตอบสนองความท้าทายที่เกิดจากเทคโนโลยีและการเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจ ต่อยอดสู่นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา ขยาย และเพิ่มศักยภาพทางการศึกษา

Doing Well : เป้าหมายระยะสั้นที่ต้องหมั่นอัพเดทกันอยู่เสมอ เพื่อพัฒนาความสามารถระดับองค์กร ทำให้รู้ว่าอะไรคือความท้าทายในอุตสาหกรรม อะไรคือทางออกเพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคทางธุรกิจ อะไรคือความสร้างสรรค์และความคิดเชิงออกแบบในช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลง

จากเป้าหมายของ SEAC ที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนผ่านระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ เพื่อสร้างโอกาส ทักษะชีวิต และนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นท่ามกลางกระแส Disruption ทั่วโลกนั้น ทำให้ SEAC วางเป้าหมาย The Stanford Thailand Research Consortium เป็นโครงการระยะ 5 ปี เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือหัวข้อวิจัยต่าง ๆ ได้อย่างทันยุคทันเหตุการณ์ โดยจากสถิติทั่วโลกพบว่าการให้ความสำคัญกับการทำวิจัยนั้น มีนัยยะสำคัญซึ่งส่งผลโดยตรงต่อ GDP ทั้งยังสร้างความสามารถขององค์กรและเพิ่มศักยภาพของประเทศ รวมถึงผู้คน ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากงานวิจัยต่าง ๆ ในโครงการดังกล่าว จะสามารถต่อยอดสู่การทำงานและพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะกระบวนการทำงานของนักวิจัยจากสแตนฟอร์ดนั้นเป็นกระบวนการทำงานที่ลงลึกและใกล้ชิดกับแต่ละองค์กร ทำให้ได้รับ Data Insights มาต่อยอดได้หลากหลายส่วนงาน ทั้งการพัฒนานวัตกรรม เพิ่มโอกาส และต่อยอดธุรกิจ

สานพันธกิจ SEAC ตอบโจทย์องค์กร – สังคมแห่งการเรียนรู้

อย่างที่บอกไปแล้วว่า แนวคิด Lifelong Learning กลายเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่องค์กรต้องเน้นย้ำ สอดคล้องกับพันธกิจของ SEAC ภายใต้เป้าหมายยกระดับศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ผ่าน Lifelong Learning Ecosystem สังคมแห่งการเรียนรู้ในทุกช่วงวัย เพื่อเพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันที่เกิดขึ้นตลอดเวลา


  • 7.9K
  •  
  •  
  •  
  •