SEAC ชี้ “Reskill” คือทางรอดองค์กรยุคดิสรัปต์! พร้อมเปิดเคส 6 บริษัทใหญ่ พลิกจากปลาใหญ่ สู่ปลาเร็วด้วย YourNextU

  • 796
  •  
  •  
  •  
  •  

การลงทุนที่ดีที่สุด และมีค่ามากที่สุด คือ “การลงทุนในความรู้”

ดังที่ Benjamin Franklin เคยกล่าวไว้ว่า An investment in knowledge pays the best interest. (การลงทุนในความรู้ เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด) และผลจากการลงทุนในความรู้นี่เอง เป็นหนึ่งในเคล็ด(ไม่)ลับของบุคคลที่ประสบความสำเร็จระดับโลก

ไม่ว่าจะเป็น Warren Buffett นักลงทุนมือฉกาจระดับโลก ที่ใช้เวลา 80% ในแต่ละวันไปกับการอ่านหนังสือ หรือ Bill Gates ผู้สร้างอาณาจักร Microsoft ใช้เวลาอ่านหนังสือจบ 1 เล่มภายใน 1 อาทิตย์ หรืออดีตประธานาธิบดีสหรัฐอย่าง Barack Obama ในทุกๆ วันจะใช้เวลา 1 ชั่วโมงอยู่กับการอ่านหนังสือ

สิ่งที่บุคคลระดับโลกเหล่านี้ทำกัน เรียกได้ว่าเป็น “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” หรือ “Lifelong Learning” ยิ่งทุกวันนี้เป็นยุค Digital Disruption ที่เทคโนโลยีพัฒนาไปเร็ว ต่างกังวลกันว่าเทคโนโลยีจะมาทำให้ “มนุษย์” ตกงาน ในขณะเดียวกัน “ภาคองค์กรธุรกิจ” ก็มองว่าช่วงเวลานี้ได้สั่นคลอนเสถียรภาพของธุรกิจมากที่สุด!!

ดังนั้นการจะฝ่าคลื่น Digital Disruption ไปได้ ทั้งมนุษย์ และองค์กร ต้องลุกขึ้นมาเป็น “Disruptor” ด้วยการ “Reskill” องค์ประกอบหนึ่งของ Lifelong Learning ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนทักษะใหม่ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับบุคลากรในองค์กร ให้สามารถสร้างการเรียนรู้ได้ในทุกเรื่อง ทุกด้าน หลากหลายสาขาวิชา

แต่ Reskill ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว และไม่สามารถทำสำเร็จได้ในระยะเวลาสั้นๆ หากแต่ บุคคล และ “องค์กร” ต้องใช้เวลากับสิ่งนั้นให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามลักษณะของแต่ละองค์กรที่แตกต่างกันไป

“ในวันนี้ ยิ่งเศรษฐกิจแข่งขันกันมากขึ้นเท่าไหร่ เราต้องยิ่งปรับเปลี่ยนและปรับตัวเร็วยิ่งขึ้นเท่านั้น หากเพียงก้าวพลาดหรือหยุดพัฒนาเพียงเสี้ยววินาที องค์กร หรือ คุณ อาจจะหลงทางและไล่ตามคนอื่นไม่ทัน พลาดโอกาสทางธุรกิจที่อาจจะนำคุณไปสู่เส้นชัยก็เป็นได้

แต่สิ่งที่ยากของการปรับเปลี่ยน คือ กรอบความคิดกับวัฒนธรรมขององค์กร ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุด คือ องค์กรจะต้องเข้าใจก่อนว่า ปัญหาขององค์กรคืออะไร ตอนนี้องค์กรยืนอยู่ที่จุดไหน ความท้าทายใหม่ที่กำลังจะเข้ามามีผลกระทบกับองค์กรในรูปแบบไหนบ้าง องค์กรมีความพร้อมอย่างไรบ้าง แล้วเราจะมีหนทางแก้ปัญหาและเส้นทางใหม่ เพื่อรับมือให้องค์กรสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน

นอกจากการปรับองค์กรแล้ว สิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้คือ การเริ่มลงทุนในการปฏิรูป ทรัพยากรมนุษย์หรือ คนในองค์กร ให้สามารถก้าวข้ามผ่านเรื่องเดิมๆ ด้วยการใช้กลยุทธ์ “Reskill” เป็นเพิ่มทักษะการเรียนรู้รูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้สามารถอยู่รอดท่ามกลางโลก Disruption

World Economic Forum กล่าวว่า 50% ขึ้นไปของคนทำงานต้องเพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็น (reskill) ภายในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งเวลานี้ Reskill เป็นส่วนหนึ่งของลักษณะงานไปแล้ว ไม่ว่าพนักงานจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม

ดังนั้นการจะทำให้ Reskill ผสานเข้ามาเป็นวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างกลมกลืน องค์กรต้องมีกลยุทธ์ในการเพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็น เพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ภายในองค์กร ขณะเดียวกันต้องทำให้พนักงานสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างสะดวก” คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ให้สัมภาษณ์ถึงความสำคัญของ Reskill

YourNextU” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ตอบโจทย์ “Lifelong Learning

SEAC (South East Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริม การเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน ได้จับมือกับสถาบันชั้นนำระดับโลก เช่น Stanford Center for Professional Development มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด, The Arbinger Institute, Tirian, The Ken Blanchard Companies, FinxS, J2N Global, Psytech International, Simplilearn, Coorpacademy พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ YourNextUเป็นระบบนิเวศการเรียนรู้โมเดลใหม่ในรูปแบบผสมผสาน เพื่อตอบโจทย์การเพิ่มทักษะให้กับบุคลากรในองค์กร ประกอบด้วย 4Line Learning” ได้แก่

  • Classroom การเข้าคลาสเพื่ออบรมในห้องเรียนกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในหลักสูตรต่างๆ ซึ่งมีระยะเวลาการเรียนที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป
  • Social Learning การเรียนรู้ในรูปแบบแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อมูล หรือเรื่องราวจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน วิทยากร นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ หรือผู้นำทางความคิด ผ่านกิจกรรมพิเศษที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
  • Online เรียนรู้เนื้อหาผ่านโปรแกรมการเรียนรู้ออนไลน์ที่คัดกรองและคัดสรรมาแล้วว่าดีที่สุด มาตรฐานระดับสากล พร้อม Subtitles ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกเวลาและสถานที่ที่ผู้เรียนสะดวกได้
  • Library คลังความรู้ที่ผู้เรียนสามารถดาวน์โหลดได้อย่างไม่จำกัดออกมาเป็น “คัมภีร์พิชิตความสำเร็จ” เพื่อปฎิบัติตามได้ทันที และเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

“ยิ่งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นเท่าไหร่ ทรัพยากรมนุษย์ย่อมสั่นคลอนมากขึ้นเท่านั้น ฉะนั้น องค์กรจำเป็นต้องตื่นตัว และพร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ตลอดเวลา และต้องรู้จักเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยี รวมไปถึงเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดนิ่ง ผ่านการ Reskill ตัวเอง เพื่อเป็นประตูเปิดโอกาสในการสร้างความก้าวหน้า ความมั่นคง และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม

SEAC เชื่อมั่นว่าโมเดลการเรียนรู้ “YourNextU” จะมีส่วนช่วยให้องค์กร และบุคลากรเกิดการตื่นตัวเรื่องการเรียนรู้ ปรับตัว เปลี่ยนแปลง พัฒนา และสร้างสังคมของการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ด้วยการนำนวัตกรรม มาสร้างระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

กรณีศึกษา 6 องค์กรใหญ่ของไทย ใช้กลยุทธ์ Reskill พนักงาน ขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน

ความเป็นองค์กรใหญ่ บนความได้เปรียบทางการแข่งขันที่มีความพร้อมด้านเงินลงทุน เทคโนโลยี บุคลากร และชื่อเสียงที่สั่งสมมา (Reputation) แต่ในอีกมุมหนึ่ง ความใหญ่กลายเป็นความเทอะทะ ทำให้การขยับแต่ละก้าว เป็นไปได้ช้า หรือก้าวไม่พร้อมกัน

เพราะฉะนั้นกุญแจหนึ่งที่จะทำให้องค์กรขนาดใหญ่ ก้าวได้เร็ว และก้าวไปพร้อมกัน คือ การเพิ่มทักษะความรู้ใหม่ที่จำเป็นให้กับ “บุคลากร” ในองค์กร เพื่อสร้างการตื่นตัวในการปรับตัว-เปลี่ยนแปลง และความรู้ใหม่ เปรียบได้กับการติดอาวุธทันสมัย เพื่อให้พนักงานพร้อมที่จะแข่งขันในยุค Digital Disruption

ดังกรณีศึกษาตัวอย่าง 6 องค์กรใหญ่ของไทย ได้แก่ AIS, อิตัลไทย, มิตรผล, เมืองไทยประกันชีวิต, PTG และ SCG ต่างเผชิญกับ Digital Disruption แต่องค์กรเหล่านี้เลือกที่จะ Reskill พนักงาน เพื่อให้ลุกขึ้นมาเป็น Disruptor ที่ไม่รอให้กระแสความเปลี่ยนแปลงมาถึง แล้วค่อยหาทางปรับตัว !!

AIS” ธุรกิจต้องรู้จัก “Transformation Management”

คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เล่าว่า บริษัทฯ พูดคุยถึง Change Management มาโดยตลอด เพราะธุรกิจโทรคมนาคมเป็นธุรกิจที่ถูก Disrupt อยู่ตลอดเวลา แต่ตอนนี้มันคือ “Transformation Management” ซึ่งใหญ่กว่า Change Management มาก

แต่เมื่อก่อนเวลาเราพูดถึงการเพิ่มศักยภาพคนในองค์กร เรามักจะพูดถึง “ห้องเรียน” ผู้บริหารจะเป็นผู้กำหนดว่าจะเรียนอะไร แบบไหน หรืออย่างไร หรือทุกองค์กรที่มี Academy เป็นของตัวเอง ก็มักจะใช้ความพยายามในการยัดเยียดสิ่งต่างๆ ให้กับคนในองค์กร นำไปสู่ผลลัพธ์ในการรู้ซ้ำๆ รู้สิ่งเดิมๆ ไม่มีความหลากหลาย (Diversity) และเมื่อพบเจออะไรที่แตกต่าง ก็จะทำให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องประหลาด หรือไม่ถูกต้อง

แต่ในปัจจุบันเราไม่สามารถรอให้ผู้บริหารกำหนดหลายอย่างลงมาได้ หากรอก็จะตามไม่ทันโลก และไม่สามารถยัดเยียดสิ่งต่างๆ ให้กับคนในองค์กรได้ ดังนั้นต้องหาวิธีที่จะทำให้คนในองค์กรคิดเองเป็น ดีไซน์เองเป็น กำหนดจุดหมายเป็น และต้องเกิดการแลกเปลี่ยน โดยวิธีเหล่านั้นจะต้องเอื้อให้คนในองค์กรสามรถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้เอง

“ความก้าวหน้าองค์กรปัจจัยหนึ่งที่พบเจอคือ AIS มีพนักงานที่อยู่นานกว่า 20 ปี เป็นจำนวนมาก เป็นคนที่รักองค์กรซึ่งนับเป็นสิ่งที่ดีในการช่วยขับเคลื่อนองค์กรได้ แต่จะต้องหาวิธีในการสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองให้พวกเขาได้เลือกใช้

ขณะเดียวกันปัจจุบันใน AIS มีพนักงานกลุ่ม Gen Y อยู่ประมาณ 80% ซึ่ง มีพฤติกรรมในการเรียนรู้ที่ ไม่รอและ หาความรู้ด้วยตนเองดังนั้นการสร้างแพลตฟอร์มที่สามารถหาความรู้ได้จากทุกที่ ทุกเวลา และจากทุก Device จึงเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพ

เพื่อให้พนักงานมีศักยภาพและเรียนรู้สิ่งที่แตกต่าง รวมถึงยอมรับในความแตกต่าง เพราะความแตกต่าง หรือความหลากหลายเป็นสิ่งสวยงาม เมื่อเรียนรู้ความแตกต่างแล้วก็นำมาต่อยอดในการทำงานต่อไป”

“อิตัลไทย” Reskill – Upskill ผสานช่องว่างความต่างของ Generations

คุณยุทธชัย จรณะจิตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทอิตัลไทย เล่าว่า อิตัลไทย (Italthai) เปรียบเสมือนแมว 9 ชีวิตที่อยู่มาอย่างยาวนาน บริษัทฯ ทำธุรกิจหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ก่อสร้างไปจนถึงการบริการต่างๆ ดังนั้นจึงใช้ทรัพยากรค่อนข้างเยอะ (manpower) ในการดำเนินธุรกิจ แต่ปัญหาที่พบเจอ คือ Generations Gap ระหว่างคนรุ่นเก่า และคนรุ่นใหม่

เมื่อเป็นเช่นนี้ บริษัทฯ จึงได้หาเครื่องมือเพื่อมาแก้ไขปัญหา Generations Gap เพื่อให้บุคลากรในองค์กรทุกคน สามารถผสมผสานด้วยกันได้ และอยู่ใน Ecosystem ของบริษัทฯ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ พร้อมสร้าง Culture ใหม่ๆ ในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น

“ส่วนตัวคิดว่า Reskill และ Upskill คือคำตอบที่กำลังตามหา เพราะเมื่อโลกมันเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทักษะเดิมๆ ที่เคยมีไม่เพียงพออีกต่อไป จึงจำเป็นต้องรีบเพิ่มและเสริมทักษะให้กับคนในองค์กรและตัวผมเองในฐานะผู้บริหารด้วย เพื่อเราจะสามารถเติบโตไปพร้อมๆ กันได้

ผมเองได้มีโอกาสทดลองใช้ “YourNextU” ที่คอนเทนต์การเรียนที่น่าสนใจ ทำให้เราอยากเอาชนะตัวเอง อยากเรียนรู้เพื่อจะเพิ่มระดับการเรียนรู้ตัวเองจาก Basic สู่ Advanced สิ่งที่ท้าทายคือ จะทำอย่างไรให้คนในองค์กรหันมาชื่นชอบการเรียนผ่าน YourNextU แบบผมได้

ดังนั้นในองค์กรจึงเริ่มมีการเก็บคะแนนการเรียนรู้ผ่าน YourNextU ทำให้คนในองค์กรกระตือรือร้นขึ้นมาก จากตอนแรกที่เรียนผ่านช่องทาง Online ตอนนี้เริ่มขยับขยายมาสู่ Classroom

“มิตรผล” ฝึกคนในองค์กรให้มี “Speed of Change

ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มงานการเงิน และรักษาการประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มบริหาร บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ให้สัมภาษณ์ถึงความท้าทายว่า “ภาคเกษตรกรรม” เป็นภาคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง จากที่ต้องใส่ใจแค่การทำการเกษตร อย่างเดียว ก็กลายมาเป็นการทำการเกษตร การผลิต และการจัดจำหน่าย

นอกจากนี้ปัจจุบันในภาคเกษตรกรรมมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะมาก เพราะมีการคำนึงถึงต้นทุน ในการผลิตมากขึ้น (Productivity) และอุตสาหกรรมการเกษตรไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีได้ และทุกวันนี้ดิจิทัลเข้ามาแทนที่งานในหลายตำแหน่ง

อีกปัญหาหนึ่งที่องค์กรต้องเผชิญ คือ การอยู่ร่วมกันของคนหลาย Generation องค์กรมีหน้าที่ต้องหาวิธีในการให้คนทุก Generation ในองค์กรสามารถอยู่ร่วมกันได้ ภายใต้กระบวนการจัดการเดียวกัน

Reskill และ Upskill จะทำให้คนทุก Generation สามารถอยู่ร่วมกันหรือสามารถนำพาองค์กรให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงได้ เราจึงต้องเร่งสร้างให้ทุกคนในองค์กรมี Common Platform ที่ไปในทางเดียวกันก่อน

อีกหนึ่งข้อที่สำคัญต่อองค์กรในการการทันการเปลี่ยนแปลงคือ การใช้ Data Science ในการจัดการต่างๆ ซึ่งหากเราสามารถใช้ Data Science ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราก็จะสามารถแข่งขันกับนานาประเทศ และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงได้

แต่การจะก้าวทันการเปลี่ยนแปลงได้ สิ่งสำคัญคือ ต้องฝึกให้คนในองค์กรมีอย่างแข็งแรงคือ “Speed of Change” หรือความเร็วในการเปลี่ยนแปลง เพราะเมื่อองค์กรสามารถสร้างความรู้สึกในการอยากเปลี่ยนแปลงในตัวเองได้ระดับหนึ่งแล้ว ก็จะเกิดการบอกต่อคนอื่นๆ ให้เกิดความรู้สึกแบบเดียวกันได้

วิธีการที่จะฝึกพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงอยู่ที่การหาเครื่องมือใหม่ๆ มาให้พนักงานได้ใช้ จะทำให้เกิดความเร็วในการพัฒนาเพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนขององค์กรได้ดีขึ้น ควบคู่ไปกับ Reskill หรือ Upskill หากทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะสามารถยกระดับการแข่งขันของอุตสาหกรรมของประเทศให้ก้าวไกลได้มากขึ้นเช่นกัน”

“เมืองไทยประกันชีวิต” รักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กร ด้วย Reskill – Upskill

คุณฤทัย สุทธิกุลพานิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL เล่าว่า ธุรกิจประกัน ต้องปรับตัวกันเยอะมาก สิ่งที่ท้าทาย คือ การรักษา Retention Rate ของบุคลากรในองค์กร เพราะโดยปกติ คนทั่วไปเมื่อคิดว่าถึงทางตันในสายงานแล้ว (โดยเฉลี่ยประมาณ 4 – 5 ปี) จะโยกย้ายไปทำงานในสายอื่น

ดังนั้นการจะทำให้พนักงาน เติบโตไปพร้อมกับบริษัทได้ จึงอยู่ที่องค์กรทำ Reskill และ Upskill ให้กับพนักงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ เพราะเป้าหมายของเมืองไทยประกันชีวิต อยากจะหยุดคำว่า ไม่รู้ ไม่ได้ ไม่เป็น

ยกตัวอย่าง “นักคณิตศาสตร์ประกันภัย” หลายคนเข้าใจว่าเป็นอาชีพที่มีหน้าที่ตีราคาประกัน แต่จริงๆ แล้วนักคณิตศาสตร์ประกันภัยมีพื้นฐานที่ดีมากในการที่จะเป็น Machine Engineering ซึ่งง่ายกว่าการที่บริษัทฯ ต้องไปหาคนใหม่ แล้วต้องมาสอนกันตั้งแต่แรก

“สิ่งที่ชอบมากสำหรับ YourNextU คือ ความยืดหยุ่น (Flexibility) เพราะไม่ได้มีแค่การเรียนรู้แบบออนไลน์เท่านั้น แต่ยังมีการเรียนรู้แบบออฟไลน์ควบคู่ไปด้วย ซึ่งการเรียนออนไลน์อย่างเดียวไม่ได้ให้ผลลัพธ์เต็ม 100% เพราะการเรียนออนไลน์จะทำให้ขาดการปฏิสัมพันธ์ แต่ YourNextU มีการเรียนแบบออฟไลน์ด้วย ทำให้ผู้เรียนได้พบปะพูดคุย หรือแลกเปลี่ยนความรู้ในห้องนั้นก็สำคัญ จึงต้องมีไปควบคู่กัน”

PTGReskill + สร้าง Mindset ใหม่ พาองค์กรก้าวทันโลก

คุณภูมิพัฒน์ สินาเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) เล่าว่า PTG เป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีพนักงานกว่า 16,000 คน และมีธุรกิจหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสถานีบริการน้ำมัน ร้านกาแฟ มินิมาร์ท เป็นต้น

ความใหญ่ขององค์กรทำให้องค์กรเคลื่อนตัวช้า ทำให้เกิดคำถามว่า

ต้อง Reskill อย่างไร แล้วบน Speed ขนาดไหนถึงจะก้าวทันโลกได้ ?”

ภายใต้การพัฒนาองค์กรด้วยการ Reskill ทำบน 2 บริบท คือ

  1. Reskill เพื่อให้สถานีบริการน้ำมันไปได้ไกลกว่าเดิม ด้วยการเสริมสร้างให้พนักงานสามารถออกแบบ การ Reskill ของตัวเองด้วยตนเองได้ เน้น Self-learning ไม่ใช่ป้อนข้อมูลให้กับพนักงานเพียงอย่างเดียว
  2. การเปลี่ยนผ่านของธุรกิจในองค์กร เช่น จากสถานีบริการน้ำมันไปสู่ Retail ทำให้คิดว่าควรจะ Reskill + สร้าง Mindset ใหม่ๆ ไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นแผนที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันและจะทำต่อไปในอนาคตด้วย

PTGได้เลือก YourNextU มาใช้ในการทำ Reskill พนักงาน แต่ด้วยความที่เป็นองค์กรใหญ่ ทำให้เคลื่อนตัวได้ช้า ประกอบกับปัจจุบันพนักงานยังไม่รู้ How to learn? ดังนั้นในช่วงแรกเราจึงต้องสอน Basic Process เช่น การลงทะเบียนให้พวกเขาก่อน เมื่อทำได้ก็จะสามารถต่อยอดไปเรื่อยๆ ได้

หลังจากการทดลองให้พนักงานทำการ Self-Learning เป็นเวลา 2 เดือน ผลตอบรับที่ได้ทำให้พนักงานรู้สึกมีอิสระมากขึ้น และอิสระในการทำ Self-Learning นำไปสู่ความรับผิดชอบที่มากขึ้นด้วยในอนาคต

“ทุกวันนี้องค์กรในไทยยังขาดช่องทางในการเรียนรู้ และความตั้งใจในการลุกขึ้นมาเรียนรู้ หากองค์กรสามารถจัดเตรียมช่องทางในการเรียนรู้ และส่งเสริมความตั้งใจในการลุกขึ้นมาเรียนรู้ให้พนักงานในองค์กรได้ก็จะทำให้องค์กรสามารถขยายขนาดได้อีก ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่งองค์กรก็จะไม่ต้องแข่งกันเองภายในประเทศแต่จะแข่งกับระดับนานาชาติ

การเกิดขึ้นของ SEAC หรือ YourNextU ตอบโจทย์ Pain point ในเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นการประหยัดทรัพยากรจากการรวมตัวกันตั้งเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ที่รวบรวมหลักสูตรจากนานาประเทศมาไว้ที่เดียวกัน อีกทั้งยังออกแบบให้เกิดการเข้าถึงได้อย่างง่ายและมีอิสระทำให้เกิดความแข็งแรงของอุตสาหกรรมในประเทศ”

SCG” ติดอาวุธความรู้ใหม่ให้พนักงาน ป้องกันการลดพนักงาน

คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อองค์กรเข้าสู่สงครามใหม่ สิ่งสำคัญที่องค์กรจะต้องเลือกทำคือ 1. หาคนใหม่ หรือ 2. ติดอาวุธใหม่ให้คนในองค์กรด้วยการ Reskill – Upskill

สำหรับ SCG มองว่า Reskill และ Upskill คือคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพราะไม่มีใครรู้จักลูกค้าดีเท่ากับพนักงานที่ทำงานกับบริษัทฯ มาอย่างยาวนาน

SCG เป็นธุรกิจที่อยู่มานานกว่า 100 ปี แทนที่จะลดจำนวนพนักงาน ควรจะ Reskill และ Upskill ให้คุณภาพชีวิตของพนักงานดีขึ้น เพราะพนักงานก็เปรียบเสมือนลูกค้าของเรา ผมเชื่อว่าทุกคนคือแรงขับเคลื่อนประเทศไทย หากเราอยากไปให้ถึง Thailand 4.0 หรือ Innovative Economy เราต้องรู้จัก Reskill และ Upskill ให้เป็น เพื่อให้เราอยู่รอดไปได้

การที่ SCG เลือก YourNextU โมเดลการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพราะเเห็นว่า SEAC โฟกัส 3 เรื่อง ได้แก่ Design, Business และ Technology ทั้ง 3 เรื่องนี้คือ สิ่งที่จำเป็นต่อ Innovative Economy

อีกทั้งยังมีการเอาหลักสูตรจากสถาบันระดับโลกมาปรับใช้ในราคาที่สมเหตุสมผลเป็นอย่างมาก ซึ่งแต่ก่อนคนอาจจะคิดว่าคนมีเงินเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ในการเข้าถึงการศึกษาที่ดี แต่ YourNextU มาเปลี่ยนความเชื่อเหล่านี้เสียใหม่ และเป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างโลกเก่า และโลกใหม่ ซึ่งในโลกใหม่จะมีงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ดังนั้นคนต้องติดอาวุธตัวเองด้วยวิธีคิดแบบใหม่”

ที่มา: www.weforum.org


  • 796
  •  
  •  
  •  
  •