“Learn-Unlearn-Relearn” 3 คัมภีร์สุดยอดแห่งการอยู่รอดในยุค “Disruptive World”

  • 961
  •  
  •  
  •  
  •  

SEAC_1

Charles Roberts Darwin นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้เสนอทฤษฎีวิวัฒนาการเมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว เคยกล่าวไว้ว่า “สิ่งมีชีวิตใดที่สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดีที่สุด สิ่งมีชีวิตนั้นย่อมดำรงอยู่ได้”

ไม่ว่าโลกจะเคลื่อนตัวไปข้างหน้าอย่างไร…ทฤษฎีวิวัฒนาการดังกล่าว ยังคงเป็นจริงเสมอ และสามารถใช้ได้กับทั้งคน และองค์กรทุกขนาดธุรกิจ ยิ่งในยุค Disruptive Worldทุกสิ่งทุกอย่างหมุนเร็วขึ้น และเปลี่ยนแปลงเร็ว-แรงขึ้น ทั้งด้านเทคโนโลยี, พฤติกรรมผู้บริโภค การแข่งขันทางธุรกิจ รวมไปถึงการเรียนรู้ !! ชนิดที่ว่าใครยังคงยึดติดอยู่กับ “ความสำเร็จ” ในวันเก่าๆ หรือติดกับดัก Comfort Zone นั่นเท่ากับว่า คุณกำลังหยุดเดิน และรอวันโรยราจากไป…

เหมือนกับที่เราเห็นบทเรียนองค์กรยักษ์ใหญ่ ที่ในอดีตเคยเป็นเบอร์ต้นๆ ของโลก แต่เมื่อกาลเวลาหมุนเข้าสู่ยุคดิจิทัล กลับไม่ยอมกล้าเปลี่ยนแปลง แต่เลือกยึดติดวิธีการเดิมๆ ที่เคยทำสำเร็จในวันเก่าก่อน ผลที่สุดแล้ว องค์กรใหญ่ขนาดไหน ก็ไม่อาจต้านทานความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยที่เกิดขึ้นได้ จนต้องล้มหายไป

ดังนั้น หัวใจสำคัญที่จะทำให้ทั้งองค์กร และคน ดำรงอยู่ได้ท่ามกลางยุค Technology Disruption คือ ต้องรู้จักที่จะ “Learn – Unlearn – Relearn

เพราะทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คนเราไม่สามารถรู้ได้ทุกเรื่อง ดังนั้นหนทางช่วยบรรเทาภาวะความไม่รู้คือ “การหมั่นเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง” ทั้งการหาความรู้เพิ่มเติม และการเรียนรู้สิ่งที่เคยรู้แล้ว ด้วยมุมมองใหม่ แต่ขณะเดียวกันไม่ใช่แค่เรื่องการเรียนรู้ที่มีความสำคัญ “เรื่องการละทิ้งสิ่งที่เราเคยเรียนเคยเข้าใจมาก่อน” ก็มีความสำคัญเช่นกัน

ดังคำกล่าวของAlvin Tofflerนักเขียนชื่อดังชาวอเมริกากล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า คนที่ไม่รู้หนังสือในศตวรรษที่ 21 จะไม่ได้หมายถึงผู้ที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ แต่จะหมายถึงผู้ที่ไม่สามารถเรียนรู้ ละทิ้งความรู้เดิม แล้วเริ่มเรียนรู้ใหม่ต่างหาก

SEAC_2

ทำไม “Learn – Unlearn – Relearnเป็นหัวใจอยู่รอดในยุค Disruptive World ?!

ถึงตรงนี้หลายคนคงสงสัยว่า เพราะเหตุใด Learn – Unlearn – Relearnถึงเป็นเรื่องสำคัญในยุค Disruptive World ?!?

ต่อประเด็นนี้ คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (South East Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน และคร่ำหวอดในแวดวงการเรียนรู้มากว่า 27 ปี คลายข้อสงสัยว่า เรื่อง Learn – Unlearn – Relearn ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นแก่นรากของการสร้าง และพัฒนา Lifelong Learning Ecosystemซึ่งเป็นหนึ่งในคัมภีร์สุดยอดที่ทุกคนจำเป็นต้องรู้ ต้องเข้าใจ และเริ่มปฏิบัติ ซึ่งแปลว่าทุกคนต้องกล้าเริ่มทำอะไรต่างๆ บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า เราไม่รู้อะไรเลย ต้องไม่ ติดกับดักตัวเอง ยึดติดความสำเร็จหรือแนวทางเดิมๆ จนไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงที

แต่ทั้งนี้ Learn – Unlearn – Relearnไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่เราทุกคนเรียนรู้อยู่ในชีวิตประจำวัน อยู่ในทุกการกระทำ แต่เราอาจไม่ได้พิจารณาอย่างท่องแท้เท่านั้นเอง ซึ่งปัจจุบันทั้ง 3 คำนี้ เป็นเรื่องที่หลายคนพูดถึง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าในอดีต เราไม่เคยคิดว่ารถจะขับเองได้ ใครจะไปคิดว่าเราจะไปซื้อของโดยไม่พกเงินสดติดตัวได้ หรือใครจะไปคิดว่าพ่อค้าแม่ค้าในยุคดิจิตอลจะใช้ QR Code เพื่อจับจ่ายโอนเงินกันแล้ว

ยิ่งในยุค Disruption ที่มีแต่สิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ หรือเป็นสิ่งที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะเป็นไปได้ จนสามารถพลิกโฉมวิถีชิวิตของคนเรา หรือรูปแบบการบริโภคเปลี่ยนไปมากกว่า 360 องศา ทำให้ทุกคนจะอยู่ในสภาพเดิมที่คุ้นเคยกันมานานไม่ได้ !!

“การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น มาจากกระแส Disruption ส่งผลกระทบต่อเราในทุกๆ ด้าน ทั้งเรื่องไลฟ์สไตล์ เรื่องชีวิตส่วนตัว หรือเรื่องการดำเนินธุรกิจ การทำงาน นั่นแปลว่าสิ่งเดียวที่จะทำให้เราอยู่รอดหรือยิ่งไปกว่านั้นคือเติบโตในทุกๆ มิติ สิ่งจำเป็นและเร่งด่วน คือ เราต้องรู้จักที่จะ Learn Unlearn และ Relearn

SEAC_3

“การเรียนรู้ที่ถูกต้อง” ต้องมีครบ 3 องค์ประกอบ “Learn – Unlearn – Relearn

“การเรียนรู้” ไม่ใช่แค่การใส่ข้อมูลความรู้เข้าไปอย่างเดียว หากแต่การเรียนรู้ที่ถูกต้องประกอบไปด้วย 3 สิ่ง คือ 1. การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ (Learn) / 2. การไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยเรียนรู้มา หรือกล้าลบสิ่งเดิมๆ ทิ้งไป (Unlearn) / 3. การเรียนรู้สิ่งที่เคยรู้ด้วยมุมมองใหม่ๆ (Relearn)

Learn” หรือ “การหาความรู้เพิ่มเติม” หรือ “การรับรู้ข้อมูล” ผ่านการสังเกต การอ่านการได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ หรือการเรียนรู้ที่ผ่านวิธีการอื่นๆ อย่างการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นระหว่างกัน การแชร์ประสบการณ์ การวิเคราะห์และตกผลึกความคิดร่วมกัน เป็นต้น

ถือเป็นกระบวนการที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เราเกิดและดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทุกเหตุการณ์ในชีวิตต่างมีสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้ เมื่อเราได้เรียนรู้สิ่งใดเป็นครั้งแรก เราจะให้ความสนใจที่จะเรียนรู้เพื่อให้ได้มุมมองที่กว้างขึ้นและได้ข้อสรุปในสิ่งนั้น

Unlearn” คือการไม่ยึดติด ละทิ้งสิ่งที่เคยรู้มา พฤติกรรมนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรายอมเปิดรับมุมมองใหม่เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เรารู้อยู่แล้ว โดย Unlearn นับเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม Unlearn ไม่ได้หมายความเพียงแค่การลืมสิ่งที่เคยรู้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปฏิเสธความเชื่อของตนที่เคยยึดถือปฏิบัติมาก่อนหน้านี้ หรือเลิกยึดติดกับทฤษฎีที่ใช้กันมายาวนาน และก็ไม่ได้หมายความว่า เราต้องละทิ้งประสบการณ์ที่สั่งสมมาทั้งหมดหรือบอกว่าวิธีการที่เราใช้มาในอดีตนั้นไม่สามารถทำให้เราประสบความสำเร็จได้อีกต่อไปแล้ว แต่หมายถึงการกระตุ้นให้เราหมั่นเปิดรับแนวทางที่แตกต่างออกไปในการทำสิ่งต่างๆ

Relearn” คือการเรียนรู้สิ่งที่เราเคยรู้แล้วด้วยมุมมองใหม่ และตระหนักถึงคุณค่าของความรู้ที่เราได้รับจากมุมมองนั้นๆ นั่นหมายความว่า คนเราสามารถเรียนรู้บางอย่างในแง่มุมใหม่ได้เสมอ และเราสามารถพัฒนาความรู้และทักษะของเราได้ตลอดเวลา

SEAC_4

จะ “Unlearn” ได้ ต้องไม่ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว !!

ในขั้นตอน Unlearn” และ Relearn” มักเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน เพราะว่าเคล็ดลับของการเรียนรู้ที่จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ ความเต็มใจ และยินดีที่จะยอมละทิ้งสิ่งที่เคยเรียนรู้มา แล้วลองค้นหาวิธีการใหม่ๆ มาทดแทน แม้ว่าวิธีการนั้นๆ จะเคยนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 องค์ประกอบของการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ยากสุด คือ ทักษะในเรื่องของการ Unlearn” เพราะหลายๆ ครั้งคนเราอาจจะตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจทำตัวเหมือนเป็นน้ำที่เต็มแก้ว ถึงแม้ว่าเราจะได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ มา แต่ทว่าเรายังคงกลับไปใช้กระบวนการเดิม ซึ่งแปลว่ามันก็ไม่มีประโยชน์ที่จะ Learn อะไรใหม่ๆ

กรณีศึกษาขององค์กรที่ Unlearn ตัวเองตลอดเวลา คือ Apple ถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 4 ทศวรรษแล้ว แต่ยังคงเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกที่ได้รับการกล่าวขานในเรื่อง “นวัตกรรม” สินค้าที่ไม่มีใครทำมาก่อน

เบื้องหลังความสำเร็จด้าน “นวัตกรรม” ของ Apple หนึ่งในนั้นมาจาก “วัฒนธรรมองค์กร” ที่ให้ความสำคัญอย่างมากกับเรื่อง “Unlearn” โดยสอนให้คนในองค์กรไม่ยึดติดว่าเราเจ๋ง หรือว่าเราเก่งกว่าใคร เพราะหากคิดว่าเจ๋งแล้ว ดีแล้ว ก็จะไม่คิดค้นสิ่งที่ดีกว่าออกมา ซึ่งตรงนี้เห็นได้ชัดจากคำกล่าวของ “Steve Jobs” ที่บอกให้คนใน Apple ควรคิดอยู่เสมอว่า “Stay Hungry, Stay Foolish” หรือ จงกระหายและทำตัวให้โง่ตลอดเวลาเพื่อกระตุ้นให้ตนเองอยากเรียนรู้นั่นเอง

การที่เราจะ Unlearn ได้ เราต้องคว่ำแก้วน้ำของเราก่อน ต้องรู้สึกกระหายก่อนที่องค์กรจะส่งพนักงานไปเรียนสิ่งใหม่ๆ เพื่อให้เขาพร้อมเติมเต็มอะไรใหม่ๆ เข้ามา เพราะหากเราไม่คว่ำแก้วของเรา แน่นอนว่าเราก็คงไม่อยากเรียนรู้

นอกจากนั้นในฐานะทุกคนที่ร่วมขับเคลื่อนองค์กร การสร้าง “Lifelong Learning Ecosystemให้เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ ทุกตารางเมตรในการดำเนินชีวิตเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เราต้องเร่งสร้างเวทีให้เกิดการทดลอง ลงมือทำ ให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการ Learn Fast, Fail Fast and Move Forward ได้อย่างรวดเร็วเพื่อความก้าวหน้าของตัวเรา และองค์กร

เรื่อง “Learn – Unlearn – Relearnเป็นคีย์หลักสำคัญที่ “SEACให้ความสำคัญ และเป็นสิ่งที่เราพยายามผลักดันให้ทุกคนที่อยู่ในยุค Disruption เข้าใจ และนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตและใช้กับวิธีการทำงานของตนเอง เพื่อสร้างรูปแบบการคิด สร้าง mindset สร้างระบบ และวัฒนธรรมของการเรียนรู้ Lifelong Learning Ecosystem

เพราะเราเชื่อว่าทุกคนไม่ต้องการหยุดนิ่งในการพัฒนาศักยภาพชีวิตและการเรียนรู้ ทุกคนต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงในตัวเอง องค์กร และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงของ Disruption นี้คุณอริญญาสรุปทิ้งท้าย

ใครที่อยากศึกษาแนวคิด “Lifelong Learning Ecosystem” เพิ่มเติม คลิ๊กดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Facebook : SEAC Thailand และ www.seasiacenter.com


  • 961
  •  
  •  
  •  
  •