เวลานี้ทุกคนคงได้รู้กันแล้วว่าวิกฤต Climate Change คือของจริง เวลานี้ไม่ใช่แค่เรื่องของโลกร้อนแล้วแต่เรียกได้ว่า “โลกเดือด” สิ่งนี้ถูกพร่ำบอกในทุกเวทีเสวนาที่จัดต่อเนื่องกันมาหลายปี เราได้ยินวลีอย่าง “วิกฤต Climate Change มาถึงแล้ว”, “องค์กรต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด”, “การดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนรอไม่ได้”หรือ “ความยั่งยืนคือโอกาสใหม่ทางธุรกิจ” และอีกมากมายที่เป็นเสียงสะท้อนก้องออกมาในโลกธุรกิจ
คำถามสำคัญก็คือการที่จะทำสิ่งเหล่านี้ให้สำเร็จ ทำให้ธุรกิจอยู่รอดในวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้อย่างไร? จะรับมือกับกฎข้อบังคับต่างๆอย่างไร? Carbon credit คืออะไร? รวมไปถึงท่ามกลางวิกฤตนี้จะสามารถมองมุมกลับสร้างธุรกิจใหม่ที่สร้างความเติบโตได้อย่างไรในแบบที่เหมาะสมกับธุรกิจของเรา? ในเรื่องเหล่านี้ยังไม่มีใครเคยจัดให้มีหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างจริงจังและสามารถนำไปลงมือปฏิบัติต่อได้เลย
นั่นจึงกลายเป็นจุดกำเนิดให้ สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร (RISE) ออกแบบหลักสูตรมารองรับความต้องการนี้ภายใต้ชื่อ หลักสูตร Sustainability Transformation Xponential หรือ STX โดยมีการเปิดตัวหลักสูตรอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีการจัดเวทีสัมมนาเป็น Pre-Session ของหลักสูตร STX โดยมีเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเสวนาถ่ายทอดมุมมองการทำธุรกิจบนเส้นทางความยั่งยืนท่ามกลางวิกฤติสภาพภูมิอากาศในยุคปัจจุบัน
คุณเกียรติชาย ผู้อำนวยการองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก กล่าวว่า วิกฤตสภาพภูมิอากาศ สร้างความเสี่ยงมากมายให้แก่โลกไม่ว่าจะเป็นอากาศแปรปรวน ร้อนสุดขั้วจนเกิดคลื่นความร้อน ฝนตกรุนแรงน้ำท่วมในพื้นที่ที่ไม่ควรเกิด ปัญหาไฟไหม้ป่า ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาเหล่านี้ส่งผล กระทบโดยตรงต่อระบบ Ecosystem ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต อุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่ในอนาคตหากยังไม่เร่งปรับตัวจะได้รับผลกระทบเต็มๆ เพราะ วิกฤตสภาพภูมิอากาศ ส่งผลมาถึงระบบซัพพลายเซน อย่างเลี่ยงไม่ได้
ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้หลายประเทศ เริ่มที่จะออกมาตรการเพื่อทำการ Adoption หรือ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามที่ประชุม COP : Conference of the Parties เป็นการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะ EU ที่เริ่มมีการออกควบคุมคาร์บอนไดออกไซด์ในการขนสินค้าข้ามแดน ด้านสหรัฐอเมริกาเริ่มมีการตื่นตัว และกำหนดให้การปล่อยคาร์บอน์ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นหนึ่งในข้อตกลงที่จะทำการค้าระหว่างองค์กร ดังนั้นการค้าการลงทุนนับจากนี้จะต้องดำเนินการตามมาตรการใด ๆ ก็ตามแต่เพื่อที่จะเป็นการลดอัตราการปล่อยคาร์บอนออกไซด์ เพื่อสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions) วันนี้ภาคธุรกิจปฏิเสธที่จะไม่ทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของโลกใบนี้ไม่ได้อีกแล้ว เพราะหากไม่เร่งดำเนินการจะทำให้ธุรกิจของเราหลุดออกเทรนด์ และมีโอกาสการต่อยอดกับต่างประเทศไทยได้ลดน้อยลง
คุณธนวัฒน์ จากบริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ระบุด้วยว่าการที่จะลดคาร์บอน หรือ ก๊าซเรือนกระจกนับจากนี้องค์กรจะต้องเริ่มปรับเปลี่ยนตัวเอง โดยเฉพาะการหาเทคโนโลยีมาดิสรัปชัน ด้วยการทำการจัดเก็บคาร์บอน และตรวจวัดการปล่อยคาร์บอน เพื่อให้รู้ว่าปล่อยไปเท่าไหร่ และจะต้องหามาชดเชยเท่าไหร่ โดยที่ผ่านมาไมโครซอฟท์ได้ให้ความสำคัญกับการวางกลยุทธ์ตาม SDGs คือการให้ความสำคัญในด้านพลังงาน ด้านน้ำ และด้านการปล่อยของเสีย เป็นอย่างมาก แน่นอนว่าต่อไปองค์จะไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบหรือ วิกฤตสภาพอากาศ เพราะเราอยู่ใน Ecosystem ดังนั้นการทำธุรกิจจะต้องคำนึงถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอน เพื่อช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้
สำหรับแนวทางการทำธุรกิจในรูปแบบ Sustainability ของไมโครซอฟท์มีการทำระบบข้อมูลผ่านมาตรการ 5R ได้แก่ Record , Report, Reduce, Remove และ Replace ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะให้สามารถรู้สถานะคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ของตนเองและปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนได้ตรงตามเป้าหมายได้
ด้านคุณศุภชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กร อธิบายถึงการสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน เปลี่ยนวิกฤตสภาพอากาศ เป็นโอกาส ทางธุรกิจในประเทศไทยไว้ว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศกลายเป็นเมกะเทรนด์ขนาดใหญ่ของโลกรองลงมาจาก AI การทำธุรกิจบนแนวทาง sustainability ไม่ได้เป็นการทำเพราะกระแสทางการตลาดอีกต่อไป เพราะนับจากนี้ทุกองค์จะต้องมีแนวทางที่ทำธุรกิจบนความยั่งยืนที่เป็นมากกว่าการแยกขยะ โดยจะต้องเป็นแนวทางที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดท่ามกลาง วิกฤตสภาพภูมิอากาศ ความเปลี่ยนแปลงนี้คือองค์กรจะต้องสร้างโอกาสจากความเปลี่ยนแปลง และทำให้ธุรกิจเดิมอยู่รอดไปด้วย
โดยแนวทางแรกที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตไปได้คือ ทุกองค์กรจะต้องรู้จักตัวเองก่อน รู้ก่อนว่าขณะนี้เราปล่อยคาร์บอนออกไปทำร้ายโลกเท่าไหร่ จากนั้นจึงหาวิธีการลดคาร์บอนที่ปล่อยที่ออกไปด้วยการวางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ ดังนั้นภาคธุรกิจจะต้องหาวิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการทำธุรกิจรูปแบบ Sustainability แต่จะต้องอยู่บนพื้นฐานที่จะทำให้ธุรกิจเดิมอยู่รอด และสร้างธุรกิจใหม่ด้วยความยั่งยืน เพราะแน่นอนว่าเราหนีไม่พ้นวิกฤตสภาพอากาศครั้งนี้ และจะต้องทำตามข้อตกที่ประเทศไทยเสนอต่อการประชุม COP ในปีที่ผ่านๆมาด้วย
คุณศุภชัย ระบุว่าด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดจึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ RISE เชื่อว่าภาคธุรกิจอาจจะยังสับสนและจับต้นชนปลายไม่ถูกไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นออกแบบธุรกิจบนความยั่งยืนอย่างไร ดังนั้นหลักสูตร Sustainabiblity Tranfromation Xponential หรือ STX จะเป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่จะเข้ามาช่วยนำทางให้แก่ภาคธุรกิจได้เดินไปสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยองค์ความรู้ทั้งหมดจะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนความยั่งยืนในองค์กร และทำให้องค์กรในประเทศไทยกลายเป็นองค์กรชั้นนำในการทรานฟอร์มสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน
สำหรับการเรียนการสอนนั้นจะมีคนเก่งๆที่เชี่ยวชาญในเรื่องนี้มาถ่ายทอดความรู้เป็นจำนวนมากในจำนวนนั้นมีบุคคลระดับโลกอย่าง Marc Buckley ที่ปรึกษาองค์กรสหประชาชาติ (UN) เรื่อง Climate Change, ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล ผู้อำนวยการสถาบัน Carbon Institute for Sustainability จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Paul Ark ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน climate tech fund จาก The Radical Fund รวมถึง Ingo Puhl ผู้ร่วมก่อตั้งและ MD จาก South Pole เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ทำงานผลักดันด้าน Climate Change ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนในไทยมากมาย
สำหรับการเรียนการสอนจะเป็น Work Shop Base ที่เน้นการลงมือทำเรียนทั้งหมด 10 ครั้งเพื่อให้ผู้เข้าเรียนสามารถทำความเข้าใจกับโอกาสที่ซ่อนอยู่ในวิกฤต Climate Change และหาโอกาสสร้างธุรกิจใหม่ที่ทำได้จริง และการเรียนการสอนครั้งนี้จะมีการติดตามการลดการปล่อยก๊าซที่นำไปทำจริงจากการเรียนรู้ในหลักสูตร เพื่อนำไปรวมในเป้าหมายของ RISE ซึ่งนอกจากเป้าหมายในการผลักดันในเกิดการเพิ่ม GDP ของประเทศอีก 1 % แล้ว ยังประกาศเป้าหมายลดอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนในประเทศไทยให้ได้อีก 1% ด้วยนั่นเอง
สำหรับบรรดาผู้บริหารองค์กรต่างๆที่สนใจจะเรียนรู้ในเรื่องการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน เตรียมพร้อมรับมือและเปลี่ยนผ่านธุรกิจเพื่อรับมือกับปัญหา Climate Change รับมือกับกฎระเบียบใหม่ๆและการสร้างธุรกิจใหม่จาก Climate Business Opportunity สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.stx.riseaccel.com/ ได้เลย