“แสนสิริ – ดีแทค – ยูนิลีเวอร์” จับมือพันธมิตร 3 องค์กรต้นแบบแห่งความหลากหลายและความเท่าเทียม ภายใต้การสนับสนุนของ UNDP พร้อมวางโร้ดแมปร่วมกัน 3 ปี

  • 60
  •  
  •  
  •  
  •  

 

“การปฏิบัติในเรื่องความเท่าเทียม ควรจะต้องอยู่ในหัวใจของผู้บริหารทุกคน”

เศรษฐา ทวีสิน ซีอีโอ แสนสิริ

 

เดือนมิถุนายนของทุกปี ไม่ใช่แค่เดือน Pride Month หรือ เดือนแห่งการสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศของ LGBTQ+ ทั่วโลก แต่ทุกวัน คือ ความเท่าเทียมของแสนสิริ ปี 2565 นี้ แสนสิริ สะท้อนได้จาก การแสดงออกในปีที่ผ่านมาๆ มา โดยก่อนหน้านี้ ปี 2021 แสนสิริก็สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการตลาด ด้วยความกล้าที่จะสื่อถึงเรื่องความเท่าเทียมผ่านโลโก้แบรนด์ ด้วยการลดเปลี่ยนโลโก้จากเดิมที่มีลักษณะเป็นแนวนอน 5 ขีด ลดเหลือ 2 ขีด เป็นเครื่องหมายเท่ากับ (=) ซึ่งแสดงถึงความเท่าเทียมในธีม Live Equally ส่วนปี 2020 มีการเปลี่ยนโลโก้ให้เป็นสีรุ้ง

 

 

และปีนี้ (2022) แสนสิริ ก้าวไปอีกขั้น ด้วยการเป็น องค์กรแรกในประเทศไทย ที่มุ่งสร้างความเท่าเทียม โดยเป็น 1 ใน 200 เทียบชั้นบริษัทชั้นนำทั่วโลก ที่ได้ร่วมลงนามในสัญญา UN Global Standards of Conduct for Business โดยมีการจับมือ “ดีแทค” และ “ยูนิลีเวอร์” พันธมิตรระดับโลกองค์กรต้นแบบด้านความเท่าเทียม สานต่อแคมเปญ Live Equally เราเท่ากัน ฉันเท่าเธอ” ภายใต้การสนับสนุนของ UNDP ปีที่ 3 ผลักดันสร้างบรรทัดฐานใหม่สนับสนุนความเท่าเทียมและความหลากหลาย ทั้งในองค์กรให้กับพนักงานและสังคมไทยร่วมกัน ปูแผนโรดแมป 3 ปี เพื่อ “สร้างสังคม ที่ความเท่าเทียมกลายเป็นมาตรฐานในทุกมิติ”

เศรษฐา ทวีสิน ประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แสนสิริ เชื่ออย่างแน่วแน่ว่า ทุกมิติของชีวิต คือ เรื่องความเท่าเทียม เราให้ความสำคัญในด้านนี้อย่างจริงจรังและขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม โดยเป็นสะพานเชื่อมต่อพันมิตรที่มีวิสัยทัศน์เดียวกัน เพื่อผลักดันส่งเสริมความเท่าเทียมในทุกมิติและความหลากหลายในสังคมไทย แสนสิริ ขอบคุณพันธมิตรในปีนี้ ที่เห็นคุณค่าของความเท่าเทียมและความหลากหลายที่ทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญ ซึ่งเราหวังว่า การร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของการจุดประกายให้ภาคส่วนอื่นๆ เปิดกว้างยอมรับความหลากหลายในสังคมและสร้างความเท่าเทียมในทุกมิติจนกลายเป็นมาตรฐานสังคมมากขึ้น

 

“เรื่องของการที่ภาคธุรกิจ ใช้เป็น Marketing tools ขายของ อันนี้เป็นอะไรที่ก็เข้าใจได้ แต่ละบริษัทก็มีวิธีในการแตกต่างกันไป หากว่าทำแล้วขายของได้ด้วยก็เป็นผลพลอยได้ อันนี้ โอเค. แต่ผมว่าถ้าหากทำเป็น Marketing tools แต่ทำเพียงแค่ฉาบฉวย ผมว่า UNDP ควรต้องมีบทบาทสำคัญมาก ในการที่จะเข้ามากำกับดูแล (regulate) ให้เมคชัวร์ว่าได้มีการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง เพราะการปฏิบัติในเรื่องความเท่าเทียม ควรจะต้องอยู่ในหัวใจของผู้บริหารทุกคนอยู่แล้ว ผมเชื่อว่ามีหลายๆ บริษัทซึ่งอาจจะทำเท่ากับแสนสิริ หรือยูนิลีเวอร์ หรือดีแทค หรืออาจจะทำมากกว่าด้วยซ้ำ แต่ไม่ได้ถูกเชิญมาโดย UNDP เพื่อจับมือกัน หรือมาให้คำรับรองว่าเขาได้ทำถูกต้อง ดังนั้น เชื่อมั่นว่าจากการจับมือร่วมกันครั้งนี้ต่อไป นอกจาก 3 องค์กรในวันนี้แล้ว ก็จะมีเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ อย่างแน่นอน”

 

ระยะเวลากว่า 6 ปีที่ผ่านมา แสนสิริ เป็นองค์กรผู้นำอสังหาริมทรัพย์ของประเทศที่มุ่งมั่นยืนหยัดส่งเสริมความเท่าเทียมและเปิดกว้างรับความหลากหลายอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน ภายในองค์กรครอบคลุมตั้งแต่พนักงานและครอบครัว โดยเป็น องค์กรแรกในไทย และ 1 ในกว่า 200 บริษัทชั้นนำทั่วโลก อาทิ ไมโครซอฟต์ กูเกิ้ล โคคา-โคล่า เน็ตฟลิกซ์ และไนกี้ ที่ได้ร่วมลงนามในสัญญา UN Global Standards of Conduct for Business ภายใต้การสนับสนุนของ UNDP เปิดกว้างรับพนักงาน LGBTQ+ และปฏิบัติงานอย่างเท่าเทียม

ล่าสุดปีนี้ กับการมอบสวัสดิการสำหรับพนักงานที่มีความหลากหลายในองค์กร ได้แก่ ลาสมรส ไม่เกิน 6 วันต่อปี, ลาผ่าตัดแปลงเพศ ไม่เกิน 30 วันต่อปี, ลาฌาปนกิจคู่ชีวิต ไม่เกิน 15 วันต่อปี, ลาเพื่อดูแลคู่ชีวิตและบุตรบุญธรรม ไม่เกิน 7 วันต่อปี นอกจากนี้ ยังครอบคลุมไปถึงคู่ชีวิตของพนักงาน อาทิ วัคซีนทางเลือก ประกันสุขภาพ และอื่นๆ ตลอดจนร่วมกับพันธมิตรคู่ค้าหลากหลายธุรกิจชั้นนำ ธุรกิจ SMEs และธุรกิจระดับโลก ภายใต้วิสัยทัศน์เดียวกัน ผลักดันความเท่าเทียมจากในองค์กร เพื่อสังคมไทยที่มีความเท่าเทียมกันในทุกมิติ ได้แก่ความเท่าเทียมของการยอมรับกลุ่ม LGBTQ+  ในที่ทำงานและการผลักดันนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมในองค์กร ความเท่าเทียมของทุกคนหรือลูกค้าในการมีบ้านได้ง่ายขึ้น ร่วมมือกับ 8 พันธมิตรธนาคาร เปิดกว้างให้ทุกคู่ชีวิตเป็นเจ้าของบ้านแสนสิริได้อย่างเท่าเทียม ความเท่าเทียมของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจกลุ่ม SMEs  ที่ควรได้รับการช่วยเหลือจากทุกภาคส่วน ตลอดจน ความเท่าเทียมการเข้าถึงสิทธิ์ลงทุนเพื่อสร้างรายได้ของทุกคนและทุกระดับ และล่าสุดกับ 2 รางวัล บทพิสูจน์ความมุ่งมั่น แสนสิริผู้นำองค์กรต้นแบบด้านความเท่าเทียม ได้แก่ รางวัลชมเชย Human Rights Award ปี 2565 จากกรมคุ้มครองสิทธิ กระทรวงยุติธรรมและ รางวัลองค์กรเครือข่ายตัวอย่างด้านการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 

นายเรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (United Nations Development Programme: UNDP) กล่าวว่า “UNDP มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่แสนสิริตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมประเด็นความหลากหลาย ความเท่าเทียมและการมีส่วนร่วม ตลอดจนริเริ่มความร่วมมือกับดีแทคและยูนิลีเวอร์เพื่อผลักดันค่านิยมและหลักการเหล่านี้ในบริษัท และ ในสังคมไทย UNDP จะทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจในการส่งเสริมความหลากหลายและการมีส่วนร่วมของ LGBTQ + ในที่ทำงาน เพื่อไม่ให้ใครต้องถูกทิ้งไว้ข้างหลังในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”

 

นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ที่ดีแทค เรายึดมั่นในมาตรฐานสูงสุดด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงการขับเคลื่อนความหลากหลายและการมีส่วนร่วม (diversity & inclusion) ทั้งในระดับองค์กรและสังคม ผ่านบริการเครือข่ายของเรา รวมถึงการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ อาทิ นโยบายลาคลอด 6 เดือน ซึ่งประกาศใช้ครั้งแรกปี 2559 และนโยบายสวัสดิการเท่าเทียมสำหรับคู่รักเพศเดียวกัน ประกาศใช้ในปี 2564 ในการจับมือกับแสนสิริและยูนิลีเวอร์ครั้งนี้ ดีแทคมุ่งหวังที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับองค์กรธุรกิจอื่นๆ ในประเทศไทย นำเอานโยบายด้านความหลากหลายและการมีส่วนร่วมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของหลักการดำเนินธุรกิจ ซึ่งสะท้อนออกมาเป็นการดำเนินงานของดีแทคในสามมิติ ได้แก่ แนวคิด #Inclusivedtac ดีแทคเชื่อว่าความเท่าเทียมและความหลากหลายนั้นเริ่มต้นจากการเปิดให้ทุกคนในองค์กรเข้ามามีส่วนร่วม, แผนธุรกิจ ‘ดีทั่วดีถึง ดีไปด้วยกันทุกคน (Good for All, Good Together)’ เพื่อช่วยให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงบริการการเชื่อมต่อได้มากยิ่งขึ้น และโครงการ Safe Internet เสริมสร้างภูมิคุ้มกันออนไลน์และสอนให้เด็กและเยาวชนใช้ประโยชน์จากโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย และปกป้องตนเองจากภัยออนไลน์ รวมถึงการกลั่นแกล้งออนไลน์ (ไซเบอร์บูลลี่) ซึ่งครูหยิบยกไปขยายผลต่อในรั้วโรงเรียน และ ‘ข้อปฏิบัติร่วมเพื่อหยุดการไซเบอร์บูลลี่’ ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวทางในการหยุดยั้งการกลั่นแกล้งออนไลน์ในโรงเรียน

 

ณัฏฐิณี เนตรอำไพ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า ความเท่าเทียม (Equality) คืออุดมคติที่ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ในขณะที่ความเสมอภาค (Equity) คือหนทางในการทำให้เกิดความเท่าเทียมกัน ในฐานะบริษัท ยูนิลีเวอร์สามารถเลือกที่จะให้ความเสมอภาค นี่คือเหตุผลที่เราให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์หาอุปสรรคในโครงสร้างของเราที่ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมหรือเสมอภาค ทั้งนี้ เพื่อลดอุปสรรคอย่างยั่งยืนผ่านนโยบาย แนวทางปฏิบัติ และมาตรการของเรา ยูนิลีเวอร์ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการของเราในการสร้างโฆษณา การสรรหาพนักงาน การประเมินประสิทธิภาพและศักยภาพ การประเมินผลเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ การพิจารณาค่าตอบแทน และปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบในทางลบที่มาจากความไม่เท่าเทียมหรือเสมอภาค

เรากำลังสร้างสถานที่ทำงานที่ให้ความเท่าเทียมกัน ซึ่งสนับสนุน เพิ่มขีดความสามารถ และตระหนักถึงคุณค่าขั้นพื้นฐานของผู้คนจากทุกเอกลักษณ์ ภูมิหลัง และทุกสายอาชีพ ยูนิลีเวอร์ประเทศไทย มีผู้จัดการระดับกลางขึ้นไปที่เป็นผู้หญิงมากถึง 66% และทำงานกับ SME ที่หลากหลาย 131 บริษัท ซึ่งหมายถึงมีเป็นเจ้าของ ผู้จัดการ และบริหารโดยสมาชิกของกลุ่มที่หลากหลาย เช่น ผู้หญิง LGBTQI+ คนพิการ หรือ ชนกลุ่มน้อย 51% หรือมากกว่า เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงทักษะ แหล่งเงินทุน เครือข่ายธุรกิจผ่านโครงการพัฒนา SMEs เพื่อยกระดับความสามารถของ SMEs ที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามาเป็นคู่ค้าทางธุรกิจกับยูนิลีเวอร์ ยูนิลีเวอร์มุ่งมั่นที่จะยกระดับมาตรฐานการครองชีพทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) สร้างโอกาสผ่านการไม่แบ่งแยก และเตรียมชุมชนให้พร้อมสำหรับการทำงานในอนาคตผ่านโครงการความหลากหลายของคู่ค้า เราเชื่อว่าความเสมอภาคคือผลลัพธ์ ที่สามารถรับประกันได้ว่าความสำเร็จของเราได้มาจากการรับฟังความคิดเห็น การสร้างทักษะ และประสบการณ์ชีวิตที่หลากหลายของพนักงานและคู่ค้าเรา”

 

นอกจากนี้ ในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ จะเป็นครั้งแรกของการประกาศจุดยืน เรื่องความเท่าเทียมทุกมิติร่วมกัน ในรูปแบบทาวน์ฮออล์ พร้อมกันของทั้ง 3 องค์กร ได้แก่ แสนสิริ, ดีแทค และยูนิลีเวอร์ ด้วย ซึ่งจะเปิดโอกาสให้พนักงานที่รวมกันแล้ว 15,000 คนได้ร่วมเข้าใจในเป้าหมายเดียวกันของการนำพาองค์กรไปสู่ความเท่าเทียมที่แท้จริง

 

พันธกิจระยะยาว 3 ปี “แสนสิริ” จับมือ “ดีแทค” และ “ยูนิลีเวอร์”ความร่วมมือในการผลักดันสู่ความเท่าเทียมทุกมิติในสังคมไทย ประกอบด้วย เป้าหมายระยะสั้น ปีที่ 1 : เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับ Diversity & Inclusion ที่จัดโดย UNDP อาทิ Roundtable Discussion on LGBTI Inclusion in Thai Business: The Economic Environment และอื่นๆ แบ่งปันองค์ความรู้ และกรณีศึกษา ที่แต่ละองค์กรได้ลงมือปฏิบัติ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานเกี่ยวกับความเท่าเทียม ตลอดจนเข้าร่วมในเวทีสาธารณะ และเวทีที่มีหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.), กรมคุ้มครองสิทธิ กระทรวงแรงงาน เพื่อผลักดัน ต่อยอด และสร้าง Ecosystem เรื่องความเท่าเทียม เป้าหมายระยะกลาง ปีที่ 2: ประยุกต์องค์ความรู้ เพื่อสร้างบรรทัดฐาน และแนวทางปฏิบัติร่วมกัน อาทิ สวัสดิการเพื่อความหลากหลาย เชื่อมต่อโครงการคู่ค้าทางธุรกิจ (Supply Chain) เพื่อสนับสนุนความเท่าเทียมให้กับพันธมิตรทางธุรกิจ, ผู้รับเหมา, คู่ค้า, และอื่นๆ ร่วมงานเสวนา หรือให้ความรู้ร่วมกันบนเวทีสาธารณะ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ภาคธุรกิจ และสังคม ตลอดจน ขยายวงกว้างของการรณรงค์เรื่องความเท่าเทียม จากเรื่องเพศ ไปยังเรื่องอื่นๆ อาทิ เด็กและเยาวชน, สตรี, ผู้พิการ, รวมถึง ผู้สูงอายุ และ เป้าหมายระยะยาว ปีที่ 3: ร่วมมือทำแคมเปญเกี่ยวกับ Diversity & Inclusion รวมถึงการสร้างแคมเปญต้นแบบ ที่สามองค์กรริเริ่ม และพัฒนาร่วมกัน


  • 60
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!