ผลกระทบหลังดีล ‘นิสสัน – ฮอนด้า’ ล่ม! กับกระแสข่าวปิดโรงงานหลายแห่งรวมถึงไทย – 2 ค่ายยานยนต์จะหาทางออกอย่างไร?

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

การเจรจาระหว่างฮอนด้า ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น และนิสสัน ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายที่ 3 ได้รับการประกาศในเดือนธันวาคม รวมไปถึงมีข่าวว่าจะดึง “มิตซูบิชิ มอเตอร์” มาร่วมดีลด้วย แต่ในไม่ช้าก็ตึงเครียดด้วยความขัดแย้งเรื่องดุลอํานาจในข้อตกลง ต้องดับวูบลงเพราะ “ฮอนด้า” เสนอที่จะทําให้ “นิสสัน” เป็นบริษัทในเครือ

นักวิเคราะห์มองว่าความร่วมมือดังกล่าวมีความสําคัญอย่างยิ่งสําหรับผู้ผลิตรถยนต์ เนื่องจาก BYD ซึ่งเป็นเจ้าตลาดรถยนต์รายใหญ่ของจีน รวมถึงผู้ผลิต EV ของจีนรายอื่น ๆ กลืนกินส่วนแบ่งการตลาดด้วยรถยนต์ที่โฉบเฉี่ยวและเต็มไปด้วยซอฟต์แวร์มากมาย

มากไปกว่านั้น ผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นยังต้องเผชิญกับภัยคุกคามเพิ่มเติมจากภาษีศุลกากรในสหรัฐอเมริกาสําหรับยานพาหนะที่พวกเขานําเข้าจากเม็กซิโก ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สําคัญอีกด้วย

สำหรับ “นิสสัน” นับเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ ที่มีปัญหามากที่สุดในหลาย ๆ ด้าน โดยไม่เคยฟื้นตัวอย่างเต็มที่จากวิกฤตและความวุ่นวายด้านการจัดการที่เกิดจากการจับกุมและขับไล่อดีตประธาน Carlos Ghosn ในปี 2018

“ฮอนด้าค่อนข้างมั่นใจและมีความได้เปรียบมากกว่า ในขณะที่นิสสันอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ค่อยดี แต่ตอนนี้ พวกเขาไม่มีซึ่งพาร์ทเนอร์แล้ว” Christopher Richter นักวิเคราะห์รถยนต์ของญี่ปุ่น ที่โบรกเกอร์ CLSA กล่าว

มีรายงานว่า เมื่อพฤหัสบดีที่ผ่านมาทาง “นิสสัน” ได้มีการปรับลดการคาดการณ์ทั้งปี (full-year forecast) เป็นครั้งที่สาม และรายงานผลประกอบการไตรมาสที่สาม ลดลงอย่างมากอีกครั้ง โดยระบุว่าจะเร่งโครงการฟื้นฟูที่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว

พร้อมกับที่มีกระแสข่าวว่า ขณะนี้บริษัทตั้งเป้าที่จะปิดโรงงานในประเทศไทยภายในเดือนมิถุนายน และโรงงานอีก 2 แห่งซึ่งไม่ได้ระบุชื่อ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยกล่าวว่าจะลดตำแหน่งงาน 9,000 ตําแหน่งและลดกําลังการผลิตทั่วโลกลง 20%

อย่างไรก็ตาม ข่าวดังกล่าว ก็ยังไม่ได้ยืนยันอย่างเป็นทางการ พร้อมกับที่สื่อของไทยบางสำนัก อ้างแหล่งข่าวระดับสูงระบุว่า ไม่มีการปิดโรงงานที่ไทย (https://autolifethailand.tv/nissan-factory-thailand/)

Makoto Uchida ซีอีโอของ Nissan กล่าวในงานแถลงข่าวว่าการยุติอาการป่วยเป็นปัญหาเร่งด่วนที่สุด “ถ้าผมเห็นทิศทางในสิ่งนี้จะเกิดขึ้น ผมจะพร้อมที่จะส่งต่อให้กับคนต่อไปอย่างแน่นอน” เขากล่าวถึงการเปลี่ยนแปลง ”

นิสสัน กล่าวว่าจะแสวงหาความร่วมมือใหม่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวน และจะให้ข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับการพลิกฟื้นภายในหนึ่งเดือน

แหล่งข่าวยังระบุว่า ในเดือนธันวาคม นิสสัน จะต้องลดกําลังการผลิตเพิ่มเติมในประเทศจีน ซึ่งดําเนินกิจการโรงงาน 8 แห่งผ่านการร่วมทุนกับ Dongfeng Motor ซึ่งได้ระงับการผลิตที่โรงงานฉางโจวแล้ว โดยเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงาน

นอกจากนี้ ยังมีกระแสข่าวที่ว่า ทางนิสสันเปิดกว้างที่จะเจรจาทํางานร่วมกับพันธมิตรรายใหม่ โดยมีชื่อของ Foxconn จากไต้หวัน แต่ก็ยังไม่ชัดเจน โดยทาง ซีอีโอของ Nissan ระบุว่า Nissan และ Foxconn ไม่ได้เจรจาในระดับผู้บริหาร

ด้าน Young Liu ประธาน Foxconn กล่าวเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า บริษัทฯ ของเขาจะพิจารณาเข้าถือหุ้นใน Nissan แต่เป้าหมายหลักยังเป็นเรื่องของความร่วมมือ

นักวิเคราะห์มองเรื่องผลของการรวมกัน โดยยังไม่เห็นว่าการจับมือจะสามารถสู้กับเทคโนโลยีจากฝั่งจีนได้ โดย Tang Jin นักวิจัยอาวุโสของ Mizuho Bank ตั้งคําถามว่าความร่วมมือด้านเทคโนโลยีระหว่างฮอนด้าและนิสสันจะมีประสิทธิภาพเพียงใด “ความร่วมมือเช่นนี้มีผลเพียงเล็กน้อยเมื่อปัญหาของพวกเขาคือวิธีป้องกันตัวเองจากความเร็วที่รวดเร็วปานสายฟ้าของ Tesla และ BYD”

ก่อนหน้านี้หุ้น Nissan พุ่งขึ้นมากกว่า 60% และหุ้น Honda พุ่งขึ้นประมาณ 26% ในช่วงปลายเดือนธันวาคมหลังจากมีการรายงานการเจรจาควบรวมกิจการครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม กําไรเหล่านั้นลดลงเหลือ 21% สําหรับ Nissan และ 11% สําหรับ Honda มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของนิสสันตอนนี้น้อยกว่าฮอนด้าเกือบห้าเท่า ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 7.5 ล้านล้านเยน (48.6 พันล้านดอลลาร์) แต่เมื่อในอดีต 10 ปีที่แล้ว ทั้งคู่มีมูลค่าประมาณ 4.6 ล้านล้านเยน

Source
https://www.reuters.com/business/autos-transportation/nissan-honda-set-update-relationship-after-merger-talks-stall-2025-02-12/
https://www.businessinsider.com/nissan-honda-call-off-50-billion-merger-2025-2


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!