“ไมโครซอฟท์” ตีโจทย์ SME ไทยห่างเทคโนโลยีเพราะห่วงราคา เปิดกลยุทธ์หั่นราคา ดันคลาวด์ยกระดับธุรกิจ

  • 57
  •  
  •  
  •  
  •  

MS_1

ในอดีต ปัญหาหลักในการเข้าถึงเทคโนโลยีอาจเป็นเรื่องความเชี่ยวชาญที่แต่ละองค์กรมีแตกต่างกัน องค์กรใหญ่มีแผนกหรือบุคลากรสนับสนุนงานเทคนิคคอยดูแล แต่กับ SME ผู้ประกอบการรายย่อยหรือรายเล็ก อาจมีเรื่องดังกล่าวเป็น Pain Point ในการดำเนินงาน เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ จนทำให้ไม่กล้าเข้าถึงเทคโนโลยี กระทั่งยุคดิจิทัล…ที่เครื่องไม้เครื่องมืออำนวยความสะดวกทางธุรกิจมีมากขึ้น ขั้นตอนการใช้งานก็ถูกย่อยให้ง่าย ตอบสนองวัตถุประสงค์การใช้งานได้ดีขึ้น แต่ผู้ประกอบการรายย่อยบางส่วนก็ยังยึดติดและมีทัศนคติแบบที่เรียกว่า “กลัวเทคโนโลยี” ซึ่งนอกจากจะกลัวรูปแบบที่ยุ่งยากแล้ว หลายคนยังกลัวว่าเครื่องไม้เครื่องมือที่จะใช้สร้างโอกาสทางธุรกิจนั้น จะทำให้องค์กรต้องเสียงบประมาณราคาแพง เกินกว่าศักยภาพของ SME จะเอื้อมถึง

ท่ามกลางความกังวล (ไปล่วงหน้า) ของบรรดา SME คุณเชื่อหรือไม่ SME ไทย คือกลุ่มธุรกิจที่สร้าง GDP (มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม) ให้ประเทศเราถึง 42.4% สะท้อนถึงการเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการเติบโตของไทย

Digital Transformation คืออนาคต! คาดพยุง GDP ไทยแตะ 3 แสนล้านบาทในอีก 3 ปี

ท่ามกลางการกล่าวอ้างถึงประโยชน์และโอกาสจากการที่ภาคธุรกิจจะได้รับจากตัวช่วยทางเทคโนโลยี ทางไมโครซอฟท์ และ IDC บริษัทวิจัย ได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2564 การปฏิรูปธุรกิจด้วยนวัตกรรมดิจิทัล หรือ Digital Transformation นั้น จะสามารถขับเคลื่อน GDP ประเทศไทยให้เติบโตเฉลี่ย 3.7% ต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าการคาดการณ์ของธนาคารโลกราว 0.4% คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2.95 แสนล้านบาททีเดียว ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการสร้างโอกาสทางธุรกิจ

MS_2

ขนาดองค์กรไม่มีผลต่อความได้เปรียบ แนะ SME พัฒนาเพื่อสร้างโอกาส

เกี่ยวกับประเด็นความได้เปรียบทางธุรกิจ คุณสมศักดิ์ มุกดาวรรณกร ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจองค์กร ขนาดกลาง ขนาดย่อม และบริหารพันธมิตร บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้แสดงมุมมองว่า ในปัจจุบัน ทุกธุรกิจต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันสูง แต่ต้องยอมรับว่าขนาดขององค์กรไม่ได้บ่งชี้ถึงความสามารถและความได้เปรียบทางธุรกิจที่จะส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรแต่อย่างใด

ท่ามกลางตลาดที่กำลังเดินหน้าไปด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีดิจิทัล การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ผู้ประกอบการ SME จะต้องมุ่งพัฒนาปัจจัยหลัก 5 ประการเพื่อเร่งการพัฒนาขององค์กร ได้แก่ ศักยภาพในการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างว่องไว (agility) ความน่าเชื่อถือ (trustworthiness) ความสามารถในการขยายหรือหดตัวตามสภาวะทางธุรกิจ (scalability) การตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในตลาด (responsiveness) และความสามารถในการสร้างสรรค์ (inventiveness) ซึ่งการที่ธุรกิจ SME จะสามารถปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลให้สำเร็จ จำเป็นต้องมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เริ่มต้นจากเครื่องมือการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ช่องทางการติดต่อสื่อสารและประสานงานอย่างคล่องตัว และระบบที่มีรากฐานปลอดภัย

เรื่องนี้สอดคล้องกับผลวิจัยของไมโครซอฟท์ที่ระบุว่า ผู้ประกอบการไทยคาดหวังว่าเทคโนโลยีจะสามารถสร้างความแตกต่างได้มากที่สุดในด้านการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบใหม่ๆ และการรักษาฐานลูกค้าเดิม รวมถึง การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การเพิ่มอัตรากำไร และการสร้างรายได้เพิ่มเติมจากผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่เดิม แต่ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการจำนวนมากจะตระหนักถึงบทบาทและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการนำนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ แต่กลับมีธุรกิจเพียง 7% ที่ประสบความสำเร็จในฐานะผู้นำเชิงกลยุทธ์การปฏิรูปธุรกิจ ขณะที่อีก 93% ยังคงมีสถานะเป็นผู้ตาม

MS_3

มีความเป็นไปได้ว่าประเด็นดังกล่าว ได้กลายเป็นไอเดียเริ่มต้นให้ไมโครซอฟท์พัฒนาบริการ Office 365 เพื่อสามารถตอบโจทย์เบื้องต้นของการทำธุรกิจ SME ในประเด็นเครื่องมือการทำงาน ช่องทางการติดต่อสื่อสาร และระบบที่ปลอดภัย เพื่อยกระดับการปฏิบัติงานของธุรกิจทุกขนาดให้มีมาตรฐานเทียบเท่าองค์กรใหญ่ ผ่านบริการรูปแบบต่างๆ อาทิ บริการอีเมลสำหรับธุรกิจ พื้นที่จัดเก็บและแชร์เอกสารบนคลาวด์ด้วยบริการ OneDrive for Business แพลตฟอร์มการประชุมออนไลน์และทำงานเป็นทีมด้วย Skype for Business และ Microsoft Teams และอื่นๆ

เปิดกรณีศึกษา สำนักงานกฎหมายกับเทคโนโลยียกระดับ SME

ยกตัวอย่าง บริษัท สำนักกฎหมายสากล ธีรคุปต์ จำกัด ซึ่งถือเป็น SME ที่ใช้บริการ Office 365 เพื่อยกระดับการทำงานสู่สำนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่ทำงานด้วยความคล่องตัว กับการพิสูจน์ประสิทธิภาพ Office 365 กับภารกิจทีมที่ปรึกษาด้านกฎหมายและภาษีอากร ครอบคลุมงานด้านตลาดทุน การควบรวมกิจการ ภาษี และอื่นๆ ไม่ใช่แค่การใช้บริการพื้นฐานด้านการติดต่อสื่อสารและประสานงาน แต่รวมถึงเครื่องมือที่คุ้นเคยในการสร้าง แก้ไข และจัดการเอกสารต่างๆ ที่ต้องเข้ามาสนับสนุนธุรกิจ

โดย ดร.อนุพันธ์ กิจนิจชีวะ หุ้นส่วนอาวุโส สำนักกฎหมายสากลธีรคุปต์ เล่าว่า ความท้าทายหลักในการทำงานของสำนักกฎหมาย คือการทำงานที่ต้องแข่งกับเวลา ควบคู่กับความถูกต้องแม่นยำตามตัวบทกฎหมาย ขณะที่เนื้องานในแต่ละกรณีก็มีรายละเอียดแตกต่างกัน ทำให้เราต้องอาศัยความสามารถของทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่อาจออกทำงานภาคสนามได้แบบตัวคนเดียว หรือทำงานประสานไปกับทีม โจทย์ข้อสำคัญจึงอยู่ที่การทำงานให้คุ้มค่ากับเวลามากที่สุด คล่องตัวที่สุด ทั้งส่วนของลูกค้าและทีมงาน รวมถึงการเก็บรักษาข้อมูลของเราและลูกค้าให้ปลอดภัย ซึ่ง Office 365 สามารถตอบโจทย์ทั้งหมดได้อย่างครบถ้วน ด้วยมาตรฐานระดับโลกด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่ครอบคลุมตั้งแต่ศูนย์ข้อมูลบนคลาวด์ไปจนถึงการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อน

MS_4

“ไม่ใช่แค่เครื่องมือพื้นฐานทั่วไปอย่าง Word, Excel หรือ PowerPoint เรายังนำแอปพลิเคชัน Visio มาใช้ทำแผนภาพในรูปแบบเฉพาะทาง เช่น กรณีการปรับโครงสร้างองค์กรหลังควบรวมกิจการ เป็นต้น ส่วนในด้านของการติดต่อสื่อสารและประสานงานภายในบริษัท และเรากำลังพิจารณาใช้ Teams แอปพลิเคชันสำหรับการทำงานเป็นทีมที่มีคุณสมบัติรอบด้านเข้ามาใช้งาน เพื่อดึงศักยภาพของทุกคนในองค์กรออกมาอย่างเต็มที่”

ไมโครซอฟท์หั่นราคา Office 365 หนุน SME ไทยเสริมแกร่งธุรกิจ

เพื่อสนับสนุน SME ไทย ตามพันธกิจของไมโครซอฟท์ ประเทศไทย และขยายโอกาสให้ผู้ประกอบการได้พัฒนาศักยภาพในการดำเนินงาน ไมโครซอฟท์ ได้ประกาศปรับราคาโซลูชันประเภทต่างๆ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ SME ไทยได้ทดลองใช้บริการจาก Office 365 สำหรับการอำนวยความสะดวกและสร้างโอกาสใหม่ๆ แก่ธุรกิจ ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม อาทิ บริการ Office 365 Business Essentials ที่รวมระบบพื้นฐานการใช้งานอย่างอีเมล คลาวด์แชร์ไฟล์ และการประชุมทางไกล พร้อมด้วยแอปพลิเคชัน Office สำหรับอุปกรณ์แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน ด้วยการปรับลดลง 50% เหลือ 2.50 เหรียญสหรัฐ หรือราว 82 บาทต่อเดือนต่อผู้ใช้งาน รวมถึงบริการ Office 365 Business Premium ที่สามารถตอบโจทย์ได้ครบครันขึ้นด้วยแอปพลิเคชัน Office สำหรับเครื่องพีซีเต็มรูปแบบ พร้อมโซลูชันที่ออกแบบให้ตรงกับความต้องการของธุรกิจขนาดเล็กโดยเฉพาะอย่าง Bookings และ Outlook Customer Manager ในราคาลด 20% เหลือ 10 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 327 บาทต่อเดือนต่อผู้ใช้งานอีกด้วย ซึ่งผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการ Office 365 สำหรับภาคธุรกิจได้ที่ https://aka.ms/ContactMicrosoftTH


  • 57
  •  
  •  
  •  
  •