ผู้คนในยุคนี้เข้าถึงกันง่ายและเร็วขึ้นผ่านโลกโซเชียล
ความสะดวกสบายบางครั้งอาจกลายเป็นดาบสองคม โดยเฉพาะสำหรับเด็กๆ ที่โลกใบนี้อาจซับซ้อนแยบยล เพราะมีความหลากหลายของผู้คน
สิ่งที่พ่อแม่กังวลยามที่เด็กๆ จับสมาร์ทโฟนก็คือ คำถามที่ว่า ปลอดภัยไหม ใช้เครื่องมืออะไร connect กับใคร ดูอะไรอยู่ และสิ่งที่ดูช่วยในการเรียนรู้ได้อย่างไร
ผู้ปกครองมีความต้องการที่อยากจะควบคุมเนื้อหา และส่องความต้องการของเด็กๆ
เทคโนโลยีจึงได้ถูกพัฒนาเป็นตัวช่วยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง
ลอเรน เช็ง ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ของ Facebook ซึ่งเดินทางมาจากสำนักงานใหญ่ของ Facebook จากแคลิฟอร์เนีย และเข้ามาลอนช์แอปพลิเคชั่น Messenger Kids อย่างเป็นทางการในประเทศไทย เป็นประเทศที่ 5 ของโลก แต่เป็นประเทศแรกในเอเชีย ต่อจากสหรัฐฯ แคนาดา เม็กซิโก และเปรู ที่เปิดตัวไปแล้วก่อนหน้านี้
ซึ่งเช็งมั่นใจว่า Messenger Kids จะเป็นแอปที่ตอบโจทย์ทั้ง 2 ฝ่าย คือพ่อแม่สามารถควบคุมดูแล และเด็กๆ ก็จะมีความสนุกสนาน สร้างสังคมของพวกเขา เมื่อเด็กเริ่มใช้แอป เพื่อนๆ ก็จะตามมาคุยด้วย เป็นสังคมที่พ่อแม่คอยดูแลได้เป็นอย่างดี
เช็งเป็นคุณพ่อลูก 3 ที่มีความสนใจในเรื่องเทคโนโลยีกับเด็กและเยาวชน และเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในฝ่ายการจัดการกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนแพลตฟอร์ม และการกลั่นแกล้งกันในโลกโซเชียลของหน่วยงาน Facebook
เขากล่าวว่า ก่อนการพัฒนาโปร์ดักส์ เปิดตัวแอปพลิเคชั่นนี้ในประเทศไทย ทุกสิ่งย้อนกลับไปยังกลุ่มพ่อแม่ โรงเรียน เพื่อเรียนรู้ความต้องการ โดยเฉพาะพ่อ หรือแม่ ที่เป็นผู้เลี้ยงเดี่ยว พ่อแม่ที่ทำงานในกองทัพ อยู่คนละที่กับลูก หรือพ่อแม่ที่เดินทาง 3-4 สัปดาห์โดยไม่ได้อยู่บ้าน แต่ต้องการสื่อสารกับลูก
“โจทย์ที่จะปรับปรุงโปร์ดักส์ ให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร นอกเหนือจากการรับฟังจากพ่อแม่ ทีมงานยังได้ดูผลศึกษาจากตัวเลขจากสมาคมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก รับฟังและรวบรวมความคิดเห็น”
“สิ่งหนึ่งที่พ่อแม่ยุคดิจิทัลมีเหมือนกันก็คือ ต้องการแอปพลิเคชั่นที่ช่วยให้เด็กๆ สามารถติดต่อกับพ่อแม่ และเพื่อนของพวกเขา แต่ขณะเดียวกัน สิ่งที่พ่อแม่กังวลก็คือ พวกเด็กๆ จะใช้ tech อะไรในการสื่อสาร ผู้ปกครองจะตามทันไหม พ่อแม่อยากจะรู้สิ่งที่เด็กๆ สื่อสาร อยากรู้ว่าเนื้อหานั้นปลอดภัยแค่ไหน”
“ประเด็นที่พูดคุยกันไม่ใช่เรื่องใหม่ของ Facebook แต่มีการทำงานอย่างเข้มข้นกับกลุ่มพาร์ทเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญที่เรียนรู้และพัฒนา Skill ต่างๆ เกี่ยวกับเด็ก”
“เราไม่สามารถซ่อน Tech กับพวกเด็กๆ ไว้ได้ เมื่อพวกเขาเติบโตขึ้นไปอีกก็จะเรียนรู้อีก เพราะฉนั้นเราจะต้องมานใจว่าจะสร้างสิ่งที่ขาญฉลาด เหมาะสมสำหรับพวกเขา ให้รู้ว่าลูกๆ คุยอยู่กับใคร” เช็ง กล่าว
Messenger Kids เป็น Stand Alone App แยกออกจาก Facebook สามารถใช้ได้กับ IOS Android และ Amazon เปิดตัวครั้งแรกที่สหรัฐฯ ในปี 2017
โดยหัวใจสำคัญของ Messenger Kids ก็คือ การเข้ามามีส่วนร่วมของพ่อแม่ควบคุมทุกขั้นตอน พ่อแม่เป็นผู้ดำเนินการ และพ่อแม่ต้องกดอนุมัติก่อน เด็กๆ ถึงจะ connect กับผู้อื่นได้ พ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง จะเป็นผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจในการตอบรับคำขอเป็นเพื่อน จากผู้ใช้งานทุกคนที่ส่งคำขอเข้ามา
Messenger Kids ถูกออกแบบขึ้นมาโดยคำนึงถึงความต้องการของคุณพ่อคุณแม่ชาวไทย เพื่อให้เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารกับลูกๆ ที่ดีขึ้น และปลอดภัยยิ่งขึ้น
แอปพลิเคชั่นนี้จะให้บริการบนแท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนของเด็กๆ ซึ่งสามารถควบคุมผ่านบัญชีผู้ใช้งาน Facebook ของพ่อแม่
ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับคุณปู่คุณย่า หรือคุณตาคุณยายผ่านวิดีโอ ติดต่อกับลูกพี่ลูกน้องที่อยู่ไกลกัน หรือจะส่งรูปภาพที่ตกแต่งเอง เพื่อให้กำลังใจคุณแม่ เมื่อต้องอยู่ทำงานดึก
Messenger Kids สามารถเปิดโลกใบใหม่แห่งการสื่อสาร ผ่านช่องทางออนไลน์ ให้กับครอบครัวในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
แอปพลิเคชั่นนี้ถูกพัฒนาขึ้น โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งในด้านความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ ความปลอดภัย การสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ
การให้พ่อแม่สามารถเป็นผู้ควบคุมการใช้งาน และฟีเจอร์ต่างๆ ที่ให้ความรู้และเสริมทักษะทางสังคมเชิงบวก
ทั้งนี้ Messenger Kids ไม่มีโฆษณาอยู่บนแพลตฟอร์ม และข้อมูลต่างๆ จะไม่ถูกนำไปใช้เพื่อการโฆษณา นอกจากนี้ ยังเป็นแอปพลิเคชั่นที่ไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่มีข้อเสนอให้จ่ายเงินเพื่อซื้อฟังก์ชั่นพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติมของแอปพลิเคชั่นนี้
การให้ครอบครัวเชื่อมต่อกันได้อย่างปลอดภัย เป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เพราะอินเตอร์เน็ตกลายมาเป็นสื่อยอดนิยมในกลุ่มเด็ก และเข้ามาแทนที่สื่อโทรทัศน์
โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่เริ่มมีความคุ้นเคยและมีความรู้เชิงดิจิทัลสูงขึ้นโดยพบว่าร้อยละ 98 ของเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-14 ปี เลือกใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่าโทรทัศศน์และเกือบร้อยละ 50 ของเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี มีการใช้งานอินเตอร์เน็ต
นอกจากนี้ การใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย มักจะเชื่อมโยงกับการใช้งานสมาร์ทโฟนอยู่เสมอ จึงไม่น่าแปลกใจที่ร้อยละ 73 ของเด็กไทย จะเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆ ผ่านสมาร์ทโฟนของพวกเขา
“ด้วยจำนวนผู้ใช้งาน Facebook ชาวไทยที่มีมากกว่า 51 ล้านคนต่อเดือนนั้น ทำให้เราต้องการที่จะสร้างประสบการณ์การใช้งานเชิงบวกที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน รวมถึงการตอบสนองความต้องการของพ่อแม่ ที่ต้องการเชื่อมต่อกับบุตรหลานอย่างสม่ำเสมอ ในสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยและได้รับการควบคุม” เช็ง กล่าว
Messenger Kids จะมีฟีเจอร์ช่วยให้เด็กๆ เชื่อมต่อกับครอบครัว เมื่อบัญชีผู้ใช้ถูกสร้างขึ้นโดยพ่อแม่ เด็กๆ จะเริ่มพูดคุยผ่านวิดีโอแบบตัวตัวต่อ หรือเป็นกลุ่มกับเพื่อนๆ หรือผู้ใช้ที่พ่อแม่อนุมัติการเชื่อมต่อ โดยหน้าจอหลักจะแสดงรายชื่อผู้ใช้ทั้งหมด ที่พ่อแม่อนุญาตให้ติดต่อกับลูกๆ และแสดงให้เห็นว่า ใครกำลังออนไลน์อยู่ในตอนนั้น
นอกจากการติดต่อผ่านวิดีโอ เด็กๆ ยังส่งรูป วิดีโอ หรือข้อความไปหาเพื่อนๆ ที่พ่อแม่อนุญาต และญาติผู้ใหญ่ได้ และบุคคลนั้นก็จะได้รับข้อความผ่านแอปพลิเคชั่น Messenger ปกติของพวกเขา
ในคลังรูปภาพจะรวบรวมภาพเคลื่อนไหวแบบ GIF กรอบรูป สติกเกอร์ หน้ากาก และอุปกรณ์การวาดรูปที่ถูกคัดเลือกเป็นพิเศษให้เหมาะกับเด็กๆ โดยเฉพาะ ช่วยให้การตกแต่งรูปภาพและเนื้อหา การแสดงออกถึงบุคลิกภาพและความเป็นตัวของตัวเองได้อย่างสนุกสนาน
Messenger Kids ช่วยให้พ่อแม่ควบคุมการใช้งานแอปของลูกได้ดียิ่งขึ้น โดยพ่อแม่จะเป็นผู้ควบคุมรายชื่อผู้ติดต่อของเด็กๆ ทั้งหมด โดยที่เด็กจะไม่สามารถเชื่อมต่อกับผู้ใช้งานอื่นๆ ที่พ่อแม่ไม่อนุมัติได้ พ่อแม่จะเป็นผู้ควบคุมบัญชีผู้ใช้ของลูกและบุคคลที่พวกเขาติดต่อผ่านแผงการควบคุม Messenger Kids จากแอปพลิเคชั่น Facebook หลักได้
ขั้นตอนการเริ่มต้นใช้งาน
ทุกบัญชีผู้ใช้ของเด็กบน Messenger Kids จะต้องสร้างขึ้นโดยพ่อแม่ การสร้างบัญชีผู้ใช้ Messenger Kids ทำได้ผ่าน 4 ขั้นตอนคือ
ดาวน์โหลด:ขั้นแรกพ่อแม่ดาวน์โหลดแอป Messenger Kids บนอุปกรณ์ของลูก
อนุมัติการใช้: พ่อแม่จะต้องอนุมัติการใช้แอปให้กับเด็กๆ โดยยืนยันอุปกรณ์ของบุตรหลานด้วยการเข้าสู่ระบบผ่านบัญชีผู้ใช้ Facebook และรหัสของพ่อแม่เอง ขั้นตอนนี้จะไม่เป็นการสร้างบัญชีผู้ใช้ Facebook ให้กับเด็ก หรือทำให้เด็กสามารถเข้าสู่ระบบบัญชีผู้ใช้ Facebook ของพ่อแม่ได้แต่อย่างใด
สร้างบัญชี:สร้างบัญชีผู้ใช้ให้กับบุตรหลานด้วยการใส่ชื่อของพวกเขาเท่านั้น หลังจากขั้นตอนนี้ พ่อแม่สามารถคืนอุปกรณ์ให้กับเด็กๆ และเริ่มต้นใช้งานแอปพลิเคชั่นในการติดต่อกับคนในครอบครัวและเพื่อนๆ ที่พ่อแม่อนุญาตได้
เพิ่มเพื่อน:การเพิ่มเพื่อนในรายชื่อผู้ใช้ที่พ่อแม่เป็นผู้ควบคุมนั้น พ่อแม่สามารถไปที่แผงควบคุมสำหรับ Messenger Kids จากแอปพลิเคชั่น Facebook หลักของตัวเอง จากนั้นคลิกที่ “เพิ่มเติม” (More) ซึ่งอยู่ที่ด้านขวาล่างของแอปพลิเคชั่น Facebook หลัก และคลิก “Messenger Kids” เพื่อไปยังหมวด “สำรวจ” (Explore)