Meme คอนเทนต์แนวใหม่ เข้าถึงใจผู้บริโภค ได้จริงหรือไม่? ร่วมไขข้อข้องใจกับ Digimusketeers

  • 192
  •  
  •  
  •  
  •  

ช่วง Lockdown ที่ผ่านมา เป็นเครื่องมือพิสูจน์ได้กลาย ๆ ว่า คนไทยเป็นคนสนุกสนาน มีคอนเทนต์สดใหม่เกิดขึ้นมากมาย ทั้งครีเอท ทั้งสนุกสนาน ให้เราได้อมยิ้มอยู่ในทุก ๆ วัน ทวีคูณกับช่วง Covid-19 มีผู้ใช้งานอินเตอร์เนตเพิ่มสูงขึ้น ทำให้คอนเทนต์เจ๋ง ๆ โกไวรอลได้อย่างรวดเร็วเลยทีเดียวเชียว

คุณภคศุภ เพ็ชรดี ประธาน กรรมการ บริษัท ดิจิมัสเกตเทียส์ จำกัด ผู้ประกอบการธุรกิจดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง การตลาดออนไลน์ยุค 4.0 ได้ให้ความเห็นต่อกระแส เทรนด์มีมไวรัล “มีมคอนเทนต์เป็นเครื่องมือการตลาดที่ดีมาก แต่มีข้อจำกัดอยู่พอสมควร” หากใครต้องการใช้มีม ทำ Brand Awareness ห้ามพลาดบทความนี้

ต้องย้อนพูดถึงเทรนด์คอนเทนต์สมัยยุคบุกเบิกโซเชียลมีเดียคงหนีไม่พ้นคอนเทนต์แนว Gag แก๊กเป็นการ์ตูนตลกต่อบทสนทนาระหว่างตัวละครสั้น ๆ จบในตอนเดียว ในยุคสมัย 9GAG โด่งดัง ผู้คนให้เกิดกระแสกดไลก์ชดแชร์แก๊กมากมาย ในยุคต่อมาเป็นยุคทองของวิดีโอหนังสั้นไวรัล

หลักการของ วิดีโอไวรัลคือการเชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ ผ่าน Key Message ที่แบรนด์ต้องการจะสื่อวิดีโอที่ได้รับความสนใจโดยส่วนใหญ่ จะมีการสร้างจุดร่วมเชื่อมโยงเนื้อหาเข้ากับประสบการณ์ + ภูมิหลังของผู้ชม เพื่อดึงอารมณ์ร่วมให้คล้อยตามและอินไปกับเรื่องราวของวิดีโอ

Meme Creative Content เครื่องมือการตลาดออนไลน์ยุคใหม่

Meme (มีม) คือ ต้องเล่าจากความเดิมในประวัติศาสตร์ มีมถูกบัญญัติขึ้นโดย Richard Dawkins มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า Mimena แปลว่า การลอกเลียนแบบ ในสมัยก่อนให้นิยามมีมไว้ว่า เป็นการส่งต่อข้อมูลทางวัฒนธรรมที่ส่งต่อกันเป็นทอด ๆ

ในปัจจุบันมีการนิยามความหมายใหม่ให้มีมเป็นคอนเทนต์ของเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะทางผ่านวิดีโอสั้น ๆ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ข้อความ ที่สามารถอุปมา อุปมัย แทนสิ่งหนึ่งด้วยสิ่งหนึ่ง ที่ทุกคนเห็นร่วมแล้วเข้าใจร่วมกัน ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ

หลักการของคอนเทนต์มีมก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับวิดีโอไวรัล โดยหลักการพื้นฐานคือ การสร้างจุดร่วมกันระหว่างประสบการณ์ผู้ชมและเนื้อหาของมีม

จุดเด่น

  • เป็นคอนเทนต์ที่ไวรัลได้ง่าย
  • เนื้อหาเข้าใจได้ง่าย
  • มีความตลก

จุดด้อย

  • ต้องมีประสบการณ์ร่วมกัน เท่านั้นถึงจะเข้าใจตรงกัน
  • ใส่รายละเอียดเนื้อหาได้น้อย

จากข้อเปรียบเทียบด้านบนในทางการสร้าง Brand Awareness ด้วยมีมเป็นเครื่องมือที่น่าสนใจมากเนื่องจากเป็นคอนเทนต์ที่ก่อให้เกิดไวรัลได้ง่าย มีความตลกที่เข้ากับวัฒนธรรมความชอบของชาวไทยส่วนใหญ่ แต่อาจมีปัญหาเรื่องความเข้าใจเนื้อหาที่ผิดพลาด เนื่องจากเนื้อหาสาระสำคัญของมีมใส่ได้น้อย และต้องมีประสบการณ์ หรือภูมิหลังของแต่ละคนในการแปลความหมาย

ดังนั้นมีมจะไม่สามารถเล่นประเด็นที่ลึกซึ้งได้ เนื้อหาจำเป็นต้องมีความ Mass (มีคนสนใจร่วมเป็นวงกว้าง)  จึงจะสามารถผลักคอนเทนต์ให้ไวรัลได้ ในส่วนนี้ต้องอาศัยการทำ Research หาประเด็นความสนใจของกลุ่มเป้าหมายว่าเป็นกลุ่มคนประเภทไหน ช่วงอายุเท่าไหร่ มีความชอบอะไรบ้าง มีความสนใจประเด็นอะไร และอื่น ๆ อีกมากมาย

ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถใช้ Big Data และเครื่องมือของการตลาดออนไลน์อย่าง Social Mornitoring เป็นทางลัดที่ช่วยให้เรารู้ถึงพฤติกรรม และความสนใจของกลุ่มเป้าหมายในโลกออนไลน์ได้ รวมถึงการมีประสบการณ์การวางกลยุทธ์ในการปล่อยคอนเทนต์ให้ ถูกช่องทาง ถูกช่วงเวลา ก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะในจุดนี้จะเป็นแรงผลักให้ คอนเทนต์เราถูกเสิร์ฟถึงมือกลุ่มเป้าหมายของเราได้อย่างตรงจุด

สรุป มีมเป็นอีกหนึ่ง Content Marketing ที่น่าสนใจทีเดียว เหมาะสมกับการนำมาต่อยอดในการทำแคมเปญต่าง ๆ ที่ต้องการสร้างการรับรู้ ให้ผู้คนรู้จักตัวแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ อย่างเป็นวงกว้าง มีมอาจเป็นตัวช่วยในเรื่องการของการสร้าง Branding ให้กับแบรนด์ได้ด้วย

หากคุณต้องการให้เพิ่มช่องทางเติบโตให้ธุรกิจ ด้วยการตลาดออนไลน์ ดิจิมัสเกตเทียส์ พร้อมให้คำปรึกษาโดยทีมงานประสบการณ์กว่า 10 ปี ดิจิมัสเกตเทียส์ digimusketeers.co.th


  • 192
  •  
  •  
  •  
  •