เมื่อพูดถึง Future of food หรือ ‘อาหารแห่งอนาคต’ เชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะนึกถึง ‘Plant-based’ ผลิตภัณฑ์เนื้อที่ทำจากพืชผักและธัญพืช ซึ่งกำลังได้รับความนิยมและเติบโตอยู่ทั่วโลก เพราะนอกจากสามารถตอบเทรนด์ของผู้คนในเรื่องการกินดีอยู่ดี และใส่ใจสุขภาพที่มากขึ้นแล้ว ยังช่วยในเรื่องรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ด้วย
สาเหตุที่ทำให้ Plant-based มาแรง หลายคนอาจคิดว่า มาจากการเติบโตของกลุ่ม Vegetarian หรือมังสวิรัติ คนไม่กินเนื้อสัตว์แต่ยังกินและใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ หรือมาจากกลุ่ม Vegan คนที่ไม่กินเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น นม ไข่
ทว่าแท้จริงแล้วการเติบโตของ Plant-based หลัก ๆ มาจากการเติบโตของพฤติกรรมรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Flexitarian กลุ่มมังสวิรัติยืดหยุ่น เนื่องจากมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ขณะที่กลุ่ม Vegetarian มีอยู่ประมาณ 4% ของประชากรโลก และกลุ่ม Vegan ที่แม้จะเป็นเทรนด์ที่มีการเติบโตมากโดยเฉพาะฝั่งโลกตะวันตก แต่มีอยู่เพียง 2% ของประชากรโลก ซึ่งถือเป็นเปอร์เซ็นต์น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนคนทั่วโลก
Flexitarian คือใคร และมีไลฟ์สไตล์อย่างไร
Flexitarian คือ กลุ่มผู้บริโภคที่พฤติกรรมหลีกเลี่ยง หรือพยายามลดการบริโภคเนื้อสัตว์ให้น้อยลง บางครั้งครอบคลุมไปถึงนมจากสัตว์และไข่ด้วย ทว่าไม่ได้เคร่งครัดเหมือนกลุ่ม Vegan และ Vegetarian โดยพฤติกรรมคนกลุ่มนี้จะเลือกกินบางอย่าง ไม่กินบางอย่าง กินบางมื้อ ไม่กินบางมื้อ ฯลฯ ซึ่งการบริโภคดังกล่าวเป็นไปตามเทรนด์ของผู้คนที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพ การกินดีอยู่ดี รวมถึงตระหนักถึงสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า โดยข้อมูลวิจัยพบว่า 29% ของผู้บริโภคทั่วโลกมีพฤติกรรมแบบนี้
สำหรับในประเทศไทยจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างคนไทยกว่า 2,000 คน มีพฤติกรรมการเว้นเนื้อสัตว์แบบ Flexible อยู่ 28% บางคนไม่กินเนื้อวัว สัตว์ใหญ่ หรือสัตว์ปีก บางคนเว้นเนื้อสัตว์ในเดือนเกิดหรือวันเกิด ในวันพระ หรือเว้นในบางมื้อ
แล้วอะไรเป็นปัจจัยให้เกิดการบริโภคแบบนี้ คำตอบที่พบมีด้วยกันหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้
- 86% อยากสุขภาพดีขึ้น
- 31% เพราะเหตุผลทางศาสนา และความเชื่อต่างๆ
- 19% ต้องการควบคุมน้ำหนัก
- 11% การเว้นเนื้อเพื่อช่วยลดโลกร้อนและช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อม
จากการพูดคุยเชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง ยังพบว่า คนที่ต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ รู้สึก ‘คลิก’ กับการงดทานเนื้อสัตว์แบบ Flexitarian มากกว่า Vegan และ Vegetarian เพราะทำได้ง่าย ไม่ต้องทนทรมานกับอาการ ‘โหยหรืออ่อนเพลีย’ จากการงดเนื้อสัตว์ต่อเนื่องยาวนาน แล้วมา ‘ตบะแตก’ กลับมากินแหลกแบบไม่ยั้ง เพราะทนอดมานานเกินไป
นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างยังรู้สึกว่า การเว้นเนื้อสัตว์เป็นช่วงๆ ทำให้มีความเปลี่ยนแปลงต่อร่างกายที่ดีขึ้นชัดเจนทั้งสุขภาพกายและใจ เช่น น้ำหนักตัวลดลง ระบบขับถ่ายดีขึ้น ส่งผลให้ผิวพรรณดีขึ้น และยังลดความกังวลต่อการเกิดโรคที่เกิดจากการกินเนื้อแดงมากเกินไป เช่น โรคมะเร็ง ความดันโลหิต โรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง
ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นถึงการใส่ใจสุขภาพและการเลือกกินดีอยู่ดีของผู้คนในยุคปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นหนึ่งเทรนด์ที่มาแรงขึ้นเรื่อย ๆ
MEAT ZERO ตอบทุกโจทย์ความต้องการกลุ่ม Flexitarian
อย่างไรก็ตาม แม้ Flexitarian จะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่น่าสนใจ และมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนตลาด Plant-based Meat จนมีหลายแบรนด์พยายามนำเสนอโปรดักท์ที่ตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มนี้ แต่ตลาดดังกล่าวก็ยังมีความท้าทายหลายเรื่องที่แบรนด์ต่าง ๆ ต้องแก้โจทย์ให้ได้
เพราะจากการพูดคุยกับกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมแบบ Flexitarian พบว่า อาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์หาซื้อได้ยากตามห้างร้านทั่วไป , รสชาติยังไม่ถูกปาก , มีราคาแพง และเมนูมีให้เลือกไม่หลากหลาย ดูซ้ำซากจำเจ
ด้วยเหตุนี้ ‘บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)’ หรือ ‘CPF’ ผู้นำด้านอุตสาหกรรมอาหารที่ประกาศเดินหน้าสู่บริษัทนวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้บริโภคทั่วโลก จึงได้จับมือกับบริษัทด้าน Plant-based ระดับโลกอย่าง Fuji Oil จากประเทศญี่ปุ่น ในการทรานฟอร์มความรู้ด้านต่าง ๆ สำหรับนำมาพัฒนาแบรนด์ MEAT ZERO ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืชแบบพร้อมทานและพร้อมปรุง ภายใต้คอนเซปต์ ‘SMALL ACTIONS, MILLION IMPACT – แค่เริ่ม…โลกก็เปลี่ยน’
โดยแบรนด์ดังกล่าวผลิตจากนวัตกรรมที่เป็นเอกสิทธ์เฉพาะที่เรียกว่า ‘PLANT-TEC หรือ ‘เทคนิคการสร้างรสสัมผัสพืชเสมือนเนื้อสัตว์’ เพื่อพัฒนาโปรดักท์ที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์การกินดีอยู่ดี รักษ์โลก และสามารถแก้ pain point ทั้งหมดของกลุ่ม Flexitarian
เริ่มจากรสชาติที่อร่อยถูกปาก เนื่องจากผลิตจากนวัตกรรมที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของบริษัท ด้าน Plant-based ระดับโลก บวกกับ Know how และความเชี่ยวชาญด้านอาหารของ CPF ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นครัวของโลก เมื่อใครได้ลองผลิตภัณฑ์ MEAT ZERO แล้ว แทบจะไม่เชื่อว่า ที่กินอยู่นี่ ไม่ใช่เนื้อสัตว์?’
แต่กว่าจะออกมาเป็น MEAT ZERO ก็ ‘ไม่ใช่เรื่องง่าย’ เพราะต้องใช้เวลาพัฒนานานกว่า 2 ปี ผ่านการทดลองมากกว่า 2,000 ครั้ง รวมไปถึงต้องใช้นักวิจัยและทีมงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารของ CPF กว่า 100 คนในการทำให้โปรดักท์ของ MEAT ZERO เป็น ‘พืช..อร่อยแบบเนื้อสัตว์’ ได้อย่างน่าอัศจรรย์และออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด นอกจากนี้ด้วยผลิตภัณฑ์ทุกรายการทำจากพืช ปราศจากคอเลสเตอรอล มีไฟเบอร์ และมีปริมาณโปรตีนสูงเทียบเคียงการบริโภคเนื้อสัตว์ จึงดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค
ในส่วนของความหลากหลายของเมนูและราคานั้น ทาง MEAT ZERO จะมีโปรดักท์ที่คัดมาแล้วว่าเป็น ‘เมนูยอดนิยม’ และมี ‘ราคาเอื้อมถึง’ สามารถจ่ายได้อย่างสบายกระเป๋า โดยเฉพาะเศรษฐกิจในยุคโควิด-19 แบบนี้ ไม่ว่าจะเป็น โบโลน่าจากพืช เบอร์เกอร์หมูจากพืช ข้าวกะเพราเนื้อจากพืช ในราคา 35-45 บาท , นักเกตไก่จากพืช เนื้อบดจากพืช หมูกรอบจากพืช สำหรับพ่อบ้านแม่บ้านปรุงเป็นเมนูอาหารในครอบครัว วางจำหน่ายในราคา 79 บาท
ส่วนสถานที่วางจำหน่าย เพื่อแก้ pain point ที่กลุ่ม Flexitarian ต้องเผชิญก่อนหน้านี้ ทาง MEAT ZERO เลือกวางในช่องทางที่เข้าถึงได้ง่ายและมีสาขากระจายอย่างทั่วถึง ได้แก่ 7-Eleven , แมคโคร , โลตัส และตามห้างร้านชั้นนำอื่นๆ ฯลฯ
วางเป้าหมาย 1 ใน 3 ผู้นำตลาดเนื้อทางเลือกของโลก
ดังนั้น MEAT ZERO ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับกลุ่ม Flexitarian โดยทาง CPF ตั้งเป้าหมายสำหรับแบรนด์นี้ไว้ต้องเป็น 1 ใน 3 ผู้นำตลาดเนื้อทางเลือกของโลก เคียงคู่ Impossible Meat และ Beyond Meat รวมถึงเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาให้ CPF เป็นบริษัทอาหารแห่งอนาคตหรือ Food Tech Company อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งดูแล้วสามารถบรรลุเป้าหมายได้ไม่ยาก และ MEAT ZERO ถือเป็นการสร้างจุดเปลี่ยนที่น่าจับตามอง ตามคอนเซปต์ของแบรนด์ที่ว่า SMALL ACTIONS, MILLION IMPACT – แค่เริ่ม…โลกก็เปลี่ยน
‘เพราะ MEAT ZERO เชื่อว่า การรุดไปข้างหน้าของโลก มักเริ่มต้นจากแรงบันดาลใจของคนตัวเล็กๆ เพียงหนึ่งหรือไม่กี่คน และแม้ในตอนแรกแรงบันดาลใจอาจเป็นเพียงฝัน แต่การเริ่มลงมือทำ จะสร้างพลังขับเคลื่อนโลกไปข้างหน้าอยู่เสมอ’