Born to be Digital เหนือกว่าตั้งแต่แรกคิด 6 ปี ME by TMB ความสำเร็จคือการ ‘ให้’ ที่มากกว่า

  • 64
  •  
  •  
  •  
  •  

ด้วยพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคที่พึ่งพาเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันมากขึ้น การธนาคารก็เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมดังกล่าว ซึ่งในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาเราเห็นหลายๆ แบงก์ขยับตัวกันอย่างคึกคักในการก้าวเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลแบงก์กิ้ง อย่างไรก็ตาม ถ้าให้พูดถึงแบงก์เจ้าแรกที่ริเริ่มขึ้นก่อนใคร ประกาศตัวก่อนใครเลยก็ต้องเป็นแบรนด์ ME ดิจิทัลแบงก์กิ้ง ซับแบรนด์ของ TMB ซึ่งเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2012

metmb3

 

ย้อนไปเมื่อ 6 ปีที่แล้ว ME by TMB เปิดตัวบัญชีเงินฝากดิจิทัลภายใต้คอนเซ็ปต์  Self-Service Banking to Get More” บัญชีเงินฝากที่ให้ทำธุรกรรมด้วยตนเอง เพื่อผลตอบแทนที่มากกว่า จนถึงวันนี้นับว่าประสบความสำเร็จเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ทั้งจำนวนผู้เปิดบัญชี และจำนวนเงินฝากที่สูงขึ้นทุกปี ปัจจุบันมีลูกค้ารวมมากกว่า 300,000 บัญชี โดยในปี 2560 จำนวนลูกค้าใหม่ของ ME เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 21% และเติบโตต่อเนื่องตลอด 6 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 63% โดยจำนวนเงินฝากของ ME นั้นมีอัตราเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยถึง 41% และจำนวนลูกค้า ME คิดเป็น 5% ของพอร์ตลูกค้ารายย่อยทั้งหมดของ TMB ในขณะที่สัดส่วนของลูกค้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ที่ 73% และต่างจังหวัด 27% โดยมีสัดส่วนยอดเงินฝากเฉลี่ยประมาณ 150,000 บาทต่อบัญชี นับเป็นกลุ่มลูกค้าเงินฝากรายย่อยที่มีคุณภาพและมีทัศนคติที่ดีในการออมเงิน

จากความสำเร็จและการเป็นดิจิทัลแบงก์กิ้งต้นแบบ น่าศึกษาว่า 6 ปีที่ผ่าน ME ทำอย่างไรจึงเติบโตและก้าวย่างอย่างมั่นคง ทำให้เราต้องขอโอกาสพูดคุยกับ คุณขวัญหรือ มิ่งขวัญ พัฒนวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ส่งเสริมการตลาดลูกค้าบุคคล ทีเอ็มบี และ ME by TMB ซึ่งเพิ่งมารับตำแหน่งดูแล ME เต็มตัวเมื่อไม่นานมานี้ และจะเป็นผู้กำหนดทิศทางในอนาคตของ ME ต่อไป

mebytmb7

จากลูกค้าสู่ผู้บริหาร

คุณขวัญ กล่าวถึงการเข้ามารับตำแหน่งการดูแล ME อย่างเต็มตัวว่า ME by TMB ก่อตั้งมาเมื่อปี 2012 แต่ได้เข้ามาร่วมงานกับ TMB เมื่อปี 2014 ซึ่งตอนแรกไปทำในส่วน Corporate Communication ต่อมาก็ขยับมาทำRetail Marketing คือดูการตลาดให้กับรีเทลล์ทุกตัว กระทั่งปีที่แล้ว ME ก็ได้มาเป็นส่วนหนึ่งของ Retail  เลยทำให้ได้มาดูแล ME ด้วย อย่างแคมเปญที่ผ่านมา ME is More เราก็ได้มีส่วนในการทำงานเบื้องหลัง

“ก่อนหน้านี้ เราเป็นเพียงลูกค้า ME พอได้เห็นโฆษณาก็ชอบมากเลยไปเปิดบัญชี จำได้ว่าที่เซ็นทรัลเวิลด์ ณ วันนั้นมันคือความแปลกใหม่ เราในฐานะลูกค้ารู้สึกว่ามันว้าวมากคือคิดได้ไง ทำทุกอย่างเป็นดิจิทัลแบงก์กิ้งหมดเลย แล้วก็ไม่มีขั้นตอนเยอะแยะด้วยก็เลยตัดสินใจไปเป็นลูกค้า”

ME คือวิชั่นที่คิดไว้ล่วงหน้า ก่อนเทรนด์ดิจิทัลแบงก์กิ้งจะบูม

เมื่อเปลี่ยนสถานะจากลูกค้ามาเป็นผู้ขับเคลื่อนแบรนด์เอง คุณขวัญเล่าถึงก้าวย่างที่มั่นคงของ ME ว่า เราเริ่มคนแรกก่อนใคร ที่บอกว่า ทำไมการธนาคารต้องเป็นแบบเดิมๆ ทำไมเราต้องเดินไปสาขา ทำไมเราไม่สามารถทำเองได้ทั้งๆ ที่มีเทคโนโลยีมากมายที่ตอบสนองการใช้ชีวิต ดังนั้น ME by TMB จึงเป็นการธนาคารรูปแบบดิจิทัล หรือ Digital Banking ซึ่งเป็น sub brand ของ TMB และยังเป็น Digital Vision Strategy ของ TMB  ซึ่งจะนำเสนอบริการในรูปแบบดิจิทัลเป็นหลัก และ ME ยังเป็นดิจิทัลแบงก์กิ้งแห่งแรกของไทย และกล้าที่จะฉีกทุกกฎการธนาคารรูปแบบเดิมๆ เราคิดได้ก่อน และคาดการณ์กระแสดิจิทัลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ก่อนตั้งแต่ 6 ปีที่แล้ว โดยเปิดตัวบัญชีเงินฝากดิจิทัลภายใต้คอนเซ็ปต์  “Self-Service Banking to Get More” บัญชีเงินฝากที่ให้คุณทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยตนเอง เพื่อผลตอบแทนที่มากกว่า

mebytmb4

“ดังนั้น ME by TMB จึงไม่ใช่แค่ผลิตภัณฑ์ แต่ ME คือ แบรนด์ที่ถูกสร้างด้วยกระบวนการสร้างแบรนด์ที่มีคอนเซ็ปต์ที่ชัดเจน และแตกต่างในเรื่องของ Process Bank เดเวลล็อปขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์ที่ชัดเจน ไม่ใช่การนำ Physical channel มา Digitize เพื่อตอบสนองลูกค้าเท่านั้น”

เหนือกว่าตั้งแต่ Thinking และพร้อมให้ในสิ่งที่มากกว่า

อย่างที่เกริ่นว่าหลายแห่งประกาศตัวความเป็นดิจิทัลแบงก์กิ้ง ในฐานะที่เป็นผู้ริเริ่มก่อน และสามารถดำเนินการได้อย่างไม่มีสะดุดเลย อะไรทำให้ ME ดำเนินการได้อย่างสมูธไร้รอยต่อมากๆ คุณขวัญ อธิบายว่า มันเป็นเพราะแนวคิดหรือ Thinking ตั้งแต่แรกเริ่มของเรา ที่อยากทำธนาคารรูปแบบใหม่ให้คนไทยได้ประโยชน์มากที่สุด เมื่อเราบอกว่าไม่จำเป็นต้องมีสาขาแต่ต้น เราก็ไม่ได้เน้นการขยายสาขา ไม่ใช่การที่เปิดไปก่อนแล้วค่อยปิดหรือลดสาขาลง แต่ทุกอย่างมันเริ่มตั้งแต่วันแรกที่เราประกาศว่าจะเป็น ดิจิทัล แบงก์กิ้ง

“จะเห็นได้ว่าทุกแบงค์ก็ใช้คำว่า Digital Banking เหมือนกัน เพราะมันกลายเป็นส่วนหนึ่งของบริการที่ทุกแบงก์กำลังพยายามเพิ่มให้กับลูกค้า  แต่เรากล้าที่จะบอกว่าเราเป็นดิจิทัลแบงก์กิ้งอย่างแท้จริงและให้มากกว่า ตั้งแต่เมื่อ 6 ปีที่แล้ว จากการเปิดตัวแบรนด์ ME ซึ่งเข้ามาเริ่มจุดกระแสในเรื่องของเทรนด์ดิจิทัลแบงก์กิ้งเป็นแบรนด์แรกในประเทศไทย จนได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่แก่วงการธนาคาร  ภายใต้คอนเซ็ปต์ Self-Service Banking to Get More”

แต่เรามีความโดดเด่นที่เหนือกว่า ด้วยการส่งบัญชีเงินฝากดิจิทัลที่ให้ทำธุรกรรมด้วยตนเอง เพื่อให้ได้สิ่งที่มากกว่า ทั้งดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป แบบไม่ซ่อนเงื่อนไข ปลอดภัยกว่า และสะดวกกว่า ถูกออกแบบมาให้รองรับการทำธุรกรรมทางการเงินได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยที่ไม่ต้องไปสาขา ไม่ว่าจะเป็น ฝาก โอน เช็คยอดเงิน และเช็คดอกเบี้ยสะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ แอปพลิเคชัน และบริการ call center ที่ช่วยคุณทำธุรกรรมการเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง แม้การปลดล็อครหัสการเข้าสู่ระบบ ก็ทำได้เลย

mebytmb6

เพราะฉะนั้นเราจึงกล้าพูดว่าเราเป็น Truly digital banking อย่างครบครัน ตั้งแต่ตอนคิด Process ไปถึงการใช้งานในชีวิตประจำวัน และยังคงพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้ลูกค้า ME ได้มากกว่าเสมอ ภายใต้คอนเซปต์ Always get MORE with ME” โดยใช้กลยุทธ์หลัก คือ Customer centric ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ความต้องการของลูกค้า ดังนี้

  • More Benefit รับดอกเบี้ยสูง ไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆ
  • More Convenient สะดวกสบาย สูงสุด กับการเป็นบัญชีเดียวที่สามารถทำธุรกรรมผ่าน call center, internet และ mobile application
  • More Safe ปลอดภัยสูงสุดกับระบบบัญชีแบบปิด ใครก็เอาเงินคุณไปไม่ได้
  • More services & products โดยนำเสนอบริการหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้ลูกค้าสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น ไม่ว่า ME จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่อะไรออกมา ลูกค้า ME ต้องได้มากกว่าเสมอ

พร้อมเสมอสำหรับ e-KYC อนาคตของดิจิทัลแบงก์กิ้ง

อีกสิ่งที่น่าสนใจของก้าวต่อไปในความเป็นดิจิทัลแบงก์กิ้ง ซึ่งคุณขวัญระบุว่า อนาคตอันใกล้นี้ มีความเป็นไปได้ที่จะเกิด e-KYC (Electronic Know Your Customer) หรือการแสดงตัวตนแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันไทยเรายังทำไม่ได้ เพราะกฎระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังไม่อนุมัติ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในอนาคตจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน และทาง ME by TMB เราก็พร้อมอยู่ตลอดเวลากับเทรนด์ทางเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นไปข้างหน้า

“เดิมในช่วงแรก ME มีอยู่ 5 สาขา เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในการมายืนยันตัวตน เพราะว่าเราต้องมาให้เห็นหน้ากันก่อนในการเปิดบัญชีครั้งแรก ซึ่งเป็นข้อกำหนดของ ธปท. แต่หลังๆ มาเราเริ่มเห็นเทรนด์ว่ามันไม่จำเป็นแล้ว เราก็เลยเหลือสาขาเดียวที่เซ็นทรัลเวิร์ล และจนถึงวันนี้ก็พิสูจน์แล้วว่าเราได้นำเทรนด์ก่อนใครและเริ่มต้นก่อนใคร เราพร้อมมานานแล้ว ถ้าเมื่อไหร่ที่ระบบพร้อม ธปท.อนุมัติME ก็สามารถที่จะลอนช์ได้ทันทีเลย”

สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่มากขึ้น

เราเห็นภาพรวมของการเติบโตตลอด 6 ปีที่ผ่านมาของ ME แล้วแต่ก้าวต่อไปนับจากนี้จะมีอะไรบ้าง คุณขวัญ บอกว่า 6 ปีที่ผ่านมาของเราเติบโตอย่างต่อเนื่อง เรามีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 20% ทุกปี มีการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 63% มีลูกค้าอยู่ประมาณ3 แสนราย มีจำนวนเงินฝากเฉลี่ยอยู่ประมาณ 150,000 บาทต่อบัญชี โดยที่ลูกค้าเราอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 18-45 ปี ถึง 80% ซึ่งนับว่าเป็นคนรุ่นใหม่ถึงวัยทำงาน

ฉะนั้นสิ่งที่เราจะมูฟต่อไป เราก็คิดว่าจะทำอย่างไรดีที่จะตอบโจทย์ลูกค้าให้มากขึ้น ซึ่งพบว่าลูกค้ามีความต้องการในการทำธุรกรรมอย่างอื่นด้วย เช่น อยากโอนเงินต่างแบงก์ ดังนั้น เมื่อตรุษจีนที่ผ่านมาเราก็ประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมในการโอนต่างธนาคาร จากเมื่อก่อนให้โอนฟรี 2 ครั้งต่อเดือน แต่ตอนนี้ก็จะให้โอนฟรีเลยไม่จำกัดจำนวนครั้ง

นอกจากนี้ จากที่เรามีบัญชีเพื่อการออมแล้ว เร็วๆ นี้ก็จะมี ‘บัญชีเพื่อใช้’ เป็นบัญชีไว้สำหรับการจ่ายบิลค่าน้ำค่าไฟ เป็นบัญชีที่แยกออกมา แต่จะอยู่ในรูปแบบดิจิทัลเช่นเดิม แล้วต่อไปในอนาคตก็จะมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีก เช่น กองทุน หรือการคุ้มครอง ฯลฯ เพราะฉะนั้นขอให้ติดตามกันต่อไป

มิติใหม่ของแบงก์กิ้งกับการสนับสนุนวงการแฟชั่น

และในเมื่อกลุ่มเป้าหมายของ MEby TMB คือคนรุ่นใหม่ที่มีอายุน้อย และทันสมัย ดังนั้นล่าสุด ME ได้ร่วมเป็นสปอนเซอร์ให้กับรายการ The Face Thailand S4 All Stars ซึ่งถือว่าเป็นแบงก์กิ้งแรกที่ได้เข้าไปร่วมในรายการด้านบิวตี้และแฟชั่น อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

mebytmb9

คุณขวัญ เล่าว่า ที่ผ่านมาแต่ละแคมเปญของ ME จะมีสีสันตลอด และไม่ค่อยเหมือนกับแคมเปญของแบงก์ทั่วๆ ไป เราจะมีความล้ำและมีความยูนีคไปกว่าที่อื่น ด้วย Brand Personality ของ ME คือเป็นคนฉลาด สมาร์ท เท่และมีสไตล์ ดังนั้น เราจึงเห็นว่าการเข้าไปเป็นสปอนเซอร์รายการนี้ ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าของเราดูอยู่เยอะน่าจะช่วยในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น พร้อมทั้งขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้นอีกด้วย

“มองว่า The Face เป็นรายการที่กลุ่มเป้าหมายเราดูอยู่ นอกจากนี้ รูปลักษณ์ของรายการมันก็เข้ากับBrand Personality และที่สำคัญคือเห็นว่าแบงก์กิ้งไม่เคยเข้าไปเลย เราสามารถทำให้แบงก์กิ้งเป็นแฟชั่น เป็นเรื่องสนุก เป็นเรื่องใกล้ตัวลูกค้ามากขึ้นไปอีก ซึ่งมันตอบโจทย์ความเป็นไลฟ์สไตล์ที่จะทำให้มันมากขึ้นในปีนี้ และที่สำคัญในส่วนของมาร์เก็ตติ้งแคมเปญเราก็หวังที่จะดึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เข้ามาด้วย ฉะนั้น ขอให้รอดูว่าเขาจะเสนอความเป็น ME by TMB ได้มากขนาดไหน”

ทิศทางที่จะเห็นในปี 2018 ของ ME

สำหรับทิศทางที่เราจะเห็น ME ในปี 2018 คุณขวัญระบุว่า แน่นอนว่าเราจะยังสานต่อในคอนเซปต์ที่ว่า Always Get MORE with ME เพราะคิดว่าการที่ทำเองก็ควรจะได้มากกว่า ซึ่งเรานำต้นทุนพวกนี้มาให้ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ

mebytmb10

สอง คือเราจะเน้นการสื่อสารแคมเปญที่มีความเป็นไลฟ์สไตล์มากขึ้น เพราะเราทราบว่าลูกค้าส่วนใหญ่ของเราคือกลุ่มคนรุ่นใหม่ กลุ่มคนที่ชอบเทคโนโลยี ดังนั้น ลูกค้าเราอยู่ตรงไหนเราก็จะพาตัวเองไปตรงนั้น เช่น การสปอนเซอร์ ให้กับรายการ The Face Thailand S4 All Stars ซึ่งตรงกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้าเรามากขึ้น สาม จะลอนช์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาเพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่อยากจะทำอะไรด้วยตัวเอง เช่น อยากไปแบงก์ได้ 24 ชม. หรือเวลาคนทำงานเลิกดึกก็ยังจะสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ หรือต้องการความง่ายๆ ไม่ต้องเก็บบุ๊คแบงก์หลายๆ บุ๊คแบงก์ อยากให้ทุกอย่างอยู่บนแอปพลิเคชั่นเดียว หรืออยู่บนแค่โทรศัพท์อย่างเดียว แค่โทรกริ๊งเดียวทุกอย่างก็ทำได้

อัดแคมเปญออนไลน์เต็มแม็กซ์ 80%

ความเป็นดิจิทัลแบงก์กิ้งของ ME ทำให้สัดส่วนในการใช้การตลาดผลักดันไปสื่อออนไลน์มากขึ้น คุณขวัญ ระบุว่า แน่นอนว่าส่วนใหญ่เราจะลงไปที่ดิจิทัลมีเดียเกือบจะ 100% เลย แต่ปีที่แล้วแคมเปญ ME is MORE – มากกว่าถ้าเป็น ME” จากที่เราเห็นว่าหนังมันดีมากเสียจนเราอยากเอามาฉายทางทีวีด้วย ก็เลยตัดส่วนหนึ่งเพื่อไปลงสื่อทีวี

mebytmb1

แต่ปีนี้ก็น่าจะอยู่ที่ 80% เพราะยังมีบางสื่อที่เราอยากจะเอาไว้ Remind คนบนสื่ออื่นๆ ไว้บ้าง เช่น การสปอนเซอร์ อย่างที่กล่าวไป หรือลงปรินท์แอดบางอัน หรือแม้แต่ OOH ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเราก็ยังเห็นอยู่ เรียกว่าเราจะไปยังที่ๆ มีกลุ่มเป้าหมายอยู่ทุกที่นั่นเอง

Next ถัดไป คือการตอบสนองให้ครบวงจรทางการเงิน

สำหรับทิศทางในอนาคตของ ME ผู้บริหารสาวคนเก่ง ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ถ้าเป็นในแง่ของการตลาด เราก็ต้องการขยายฐานลูกค้าใหม่ให้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 20%นอกจากนี้ก็ต้องทำให้ทั้งลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่พอใจกับผลิตภัณฑ์และบริการของเรามากขึ้น และที่สำคัญคือ มีการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของเราไปใช้

mebytmb3

“ดังนั้น Next ถัดไปของเราคือ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เซอร์วิสใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้เขาทำอะไรได้มากกว่านั้นอีก จะต้องได้มากกว่านี้ไม่ว่าเขาจะทำอะไร เช่น ทำธุรกรรม หรือความคุ้มครอง หรืออยากลุงทุน ถือเป็นโอกาสมากกว่า ที่จะขยายจากแค่ผลิตภัณฑ์เดียวให้มันครบทุกธุรกรรทางการเงิน ครบทุกไลฟ์สไตล์ของการเงิน ให้เกิดความครบถ้วนมากยิ่งขึ้น”

ความท้าทายที่แท้ทรู คือการตอบสนองความต้องการลูกค้า

กับความท้าทายที่เกิดขึ้นตลอด 6 ปีที่ผ่านมาและการก้าวเดินไปข้างหน้า คุณขวัญมองว่า ตอนนี้นับว่าเป็น Timing ที่ดีมากๆ เพราะผู้บริโภคเปิดกว้างมากขึ้นกว่า 6 ปีที่แล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ถ้าจะมาคุยกันว่าไม่มี book bank จะทำยังไงก็คงกังวลมากกว่า แต่ ณ วันนี้ทุกคนเข้าใจดิจิทัลแบงก์กิ้งมากขึ้น ลูกค้าเปิดรับกล้าใช้โมบายแบงก์กิ้ง ไม่กลัวเทคโนโลยี ดังนั้น ส่วนตัวคิดว่ามันคือโอกาสที่ดีมากๆ สำหรับวงการธนาคาร

มันเป็นความท้าทายอยู่แล้วล่ะ ที่ต้องผลักตัวเองให้นำหน้าไปอีก เพราะก่อนหน้านี้เราเริ่มมาก่อนแล้ว แต่ทีนี้จะทำยังไงให้เราก้าวไปอีกขั้น ซึ่งถือว่า ME เราก็มีพื้นฐานที่ค่อนข้างแน่น แข็งแกร่งอยู่ เพราะเรามาตั้งแต่ต้น แต่ความท้าทายที่แท้จริงคือ การตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้มากกว่านี้ เพราะฉะนั้นในแง่ของ TMB เอง ก็มองว่า ME เป็นแบรนด์ที่เป็นดิจิทัล วิชั่นของ TMB  เป็น strategy ที่จะผลักดันสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับวงการธนาคาร นั่นคือสิ่งที่ TMB หวังไว้กับตรงนี้”

เป็นเรื่องจริงที่เมื่อผู้คนเปิดใจใช้เทคโนโลยีมากขึ้น วงการธนาคารก็ต้องไม่พ้นที่จะปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคเช่นกัน แต่ในยุคที่การแข่งขันสูง และทุกแบงก์ต่างก็ประกาศตัวว่าคือดิจิทัลแบงก์กิ้งตัวจริง อะไรล่ะคือตัววัดความสำเร็จที่แท้จริงได้ เชื่อว่านี่ยังคงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้นของศึกดิจิทัลแบงก์กิ้ง เราต้องต้องตามยาวๆ กันต่อไปว่าใครจะพิชิตศึกนี้ได้สำเร็จ

Copyright © MarketingOops.com


  • 64
  •  
  •  
  •  
  •