[ข่าวประชาสัมพันธ์]
เทคโนโลยีทางการเงินหรือฟินเทค ทำให้การชำระเงินแบบไร้เงินสดเติบโตขึ้นอย่างมากมาย และรวดเร็วกว่าที่เคยเป็นมา การใช้บัตรเครดิตแบบไร้สัมผัส กระเป๋าเงินดิจิทัล เทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ และการพิสูจน์ตัวตน เป็นสิ่งที่แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว จนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเรา
ประเทศไทยกำลังพัฒนาตามแนวนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยมุ่งให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง (middle-income trap) และเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบใช้ความรู้เป็นพื้นฐาน โดยมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) รวมถึงแนวคิดริเริ่มอื่นๆ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์นี้เป็นตัวกำหนดกรอบในการพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และสังคมไร้เงินสด เนื่องจากในประเทศไทย ทั้งผู้บริโภค กิจการร้านค้าต่างๆ ตลอดจนหน่วยงานรัฐบาลต่างจะได้รับประโยชน์มากมายจากระบบชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น
มาสเตอร์การ์ด ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการจ่ายเงินระดับโลก เป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทขับเคลื่อนสังคมไร้เงินสดในประเทศไทย โดยเมื่อปีที่ผ่านมา (2560) มาสเตอร์การ์ดได้ร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย พันธมิตรในธุรกิจต่างๆ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อเปิดตัว QR Code มาตรฐาน ซึ่งเป็นมาตรฐานแพลตฟอร์มแบบเปิดและรองรับการทำงานร่วมกันระดับโลกเพื่อให้ร้านค้าและผู้บริโภคชาวไทยสามารถซื้อขายและจับจ่ายใช้สอยในระบบอีเปย์เมนท์ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย นอกจากนี้ยังเปิดตัว “พร้อมการ์ด เดบิต มาสเตอร์การ์ด” (PromptCard Debit Mastercard) ซึ่งเป็นบัตรเดบิตเพื่อการทำธุรกรรมและซื้อสินค้า (co-badged payment) ครั้งแรกในประเทศไทยภายใต้แบรนด์พร้อมการ์ด (PromptCard) เพื่อสนับสนุนนโยบายการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาลในปีเดียวกันอีกด้วย
จะเห็นว่า ปัจจุบัน เราได้สัมผัสกับนิยามใหม่ของการชำระเงินที่ให้ความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ระบบนี้ช่วยสร้างสังคมสมัยใหม่และเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ประโยชน์จากระบบมากยิ่งขึ้น การลงทุนที่สำคัญๆ ในด้านบริการชำระเงินจากสถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพทั้งหลายก่อให้เกิดโซลูชั่นมากมาย ตั้งแต่บัตรเอทีเอ็มไร้สัมผัสที่ช่วยให้คุณถอนเงินสดจากตู้ได้ด้วยสมาร์ตโฟน ไปจนถึงการใช้รหัส QR เพื่อการชำระเงิน และการใช้หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์เพื่อการให้บริการทางการเงิน
มุ่งสู่สังคมไร้เงินสด
แม้ว่าโครงสร้างพื้นฐานของระบบการชำระเงินที่ดีจะเป็นหัวใจสำคัญของการชำระเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่ความสามารถในการทำงานร่วมกันและข้ามระบบ (Interoperability) ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเพราะจะช่วยให้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ง่ายขึ้น ดังนั้น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนควรร่วมมือกันพัฒนาระบบที่สามารถทำงานร่วมกันได้ในวงกว้าง เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อที่ดีขึ้น และกระตุ้นให้ผู้ใช้อยากใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ในปีที่ผ่านมา ที่ประเทศสิงคโปร์ กรมการขนส่งทางบกและทรานสิตลิงก์ (สิงคโปร์) ได้ร่วมกันเปิดตัวระบบ ABT หรือ Account Based Ticketing สำหรับการเดินทางในระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งในขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงทดลองใช้ ระบบนี้จะช่วยให้ผู้โดยสารสามารถสแกนบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตมาสเตอร์การ์ดเพื่อชำระค่ารถไฟหรือรถโดยสารสาธารณะได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้บัตรโดยสารแบบเติมเงิน เมื่อเข้าที่แล้ว ระบบนี้จะสามารถปรับปรุงกระบวนการออกตั๋วโดยสารสาธารณะให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประหยัดเวลา เพิ่มความคล่องตัวและลดความหนาแน่นของผู้โดยสารที่สถานีรถโดยสารและ MRT เพราะผู้โดยสารไม่จำเป็นต้องหยุดชะงักอยู่ที่ประตูทางเข้าเพราะมีเงินในบัตรโดยสารไม่พอ หรือต้องเติมเงินอีกต่อไป
สุดท้ายแล้ว เป้าหมายคือ การสร้างระบบเปิดและทำงานร่วมกันเพื่อช่วยให้ผู้โดยสาร ทั้งที่เป็นคนในประเทศหรือแม้แต่นักท่องเที่ยว ให้สามารถใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตเพื่อการเดินทางทั่วสิงคโปร์ได้อย่างคล่องตัว เหมือนกับระบบขนส่งสาธารณะในลอนดอนที่นำระบบการชำระเงินแบบไร้สัมผัสมาใช้อย่างประสบความสำเร็จ แนวคิดนี้จะสามารถเร่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภคให้หันมาใช้การชำระเงินแบบไร้สัมผัส ไม่ว่าจะเป็นที่ ร้านค้า ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ไปจนถึงสถานบันเทิงต่างๆ ความคุ้นชินในการใช้งานก่อให้เกิดความเชื่อใจ และวางใจในระบบชำระเงินแบบไร้สัมผัสมากยิ่งขึ้นว่าจะสามารถมอบความสะดวกสบาย และความคล่องตัวในแบบที่สังคมคนเมืองอัจฉริยะต้องการ
อีกตัวอย่างที่น่าสนใจ คือกระเป๋าเงินดิจิทัล เมื่อดูจากผลสำรวจการจับจ่ายใช้สอยผ่านระบบมือถือล่าสุดของมาสเตอร์การ์ด เราพบว่า ผู้บริโภคมีการจับจ่ายใช้สอยผ่านระบบกระเป๋าเงินดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นถึง 5 เท่าในระยะเวลาสี่ปีที่ผ่านมา กระเป๋าเงินดิจิทัลบางประเภทเป็นแบบที่สามารถจ่ายได้ทั้งผ่านระบบออนไลน์และผ่านแอพพลิเคชั่นโดยไม่ต้องสนใจว่าจะใช้แพลตฟอร์มของบัตรใด ความสะดวกจากอินเตอร์เฟซชำระเงินที่ทำงานร่วมกันได้ในลักษณะนี้ทำให้ผู้ใช้มีประสบการณ์การการจับจ่ายใช้งานที่ปลอดภัย คล่องตัว ซึ่งจะยิ่งขับเคลื่อนให้เกิดการยอมรับการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ในส่วนของผู้ค้านั้น รัฐบาลประเทศสิงคโปร์เปิดตัวโครงการ “SME Go Digital” เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ได้เริ่มเส้นทางสู่ความเป็นดิจิทัล และกระตุ้นให้ธุรกิจต่างๆ หันมาใช้เทคโนโลยีไร้เงินสด โปรแกรมนี้เป็นสิ่งดีที่จะช่วยให้กลุ่ม SME ได้พัฒนาความสามารถในเชิงดิจิทัลให้แข็งแกร่งขึ้น และเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น
มุมมองที่กว้างขึ้น
ความก้าวหน้าของระบบชำระเงินแบบไร้เงินสดในสิงคโปร์ในวันนี้ อาจไม่เหมือนกับที่อื่นๆ ในภูมิภาค แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ ประเทศต่างๆ และประชาชนในประเทศนั้นๆ เริ่มยอมรับและเห็นพ้องต้องกันแล้วว่า สังคมไร้เงินสดจะเป็นสังคมแห่งอนาคตอย่างแท้จริง
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกช่วยให้เราเห็นภาพและเข้าใจอย่างชัดเจนว่า สังคมแบบไร้เงินสดจะส่งผลอย่างไรบ้างต่อระบบเศรษฐกิจและต่อประเทศต่างๆ สำหรับประเทศที่ระบบเศรษฐกิจพัฒนาแล้วอย่างสิงคโปร์และออสเตรเลีย สังคมไร้เงินสดจะช่วยให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยที่คล่องตัว สำหรับกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างจีน อินเดีย และอินโดนีเซียนั้น การใช้ระบบการชำระเงินแบบดิจิทัลจะช่วยเปิดโอกาสให้กับชุมชนที่ด้อยโอกาสได้มีโอกาสมีความก้าวหน้าทางการเงิน
เป้าหมายคือ การสร้างโลกของการจับจ่ายใช้สอยแบบไร้เงินสดที่ปลอดภัยและสามารถเชื่อมต่อกันได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านประเทศและภาษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนระบบเปิดและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ซึ่งมาสเตอร์การ์ดมั่นใจว่า การไปสู่จุดมุ่งหมายนั้นอาจจะค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็เป็นก้าวที่มั่นคง และการไปถึงจุดหมายก็เป็นแค่เรื่องของเวลาเท่านั้น
ในช่วงสัปดาห์หน้า (19 – 20 มีค 2561) มาสเตอร์การ์ดยังเข้าร่วมในงาน Bangkok Fin Tech Fair 2018 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันการเงิน สมาคมธนาคารไทย สมาคมเทคโนโลยีด้านการเงิน บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายการชำระเงินระดับโลก หน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนกลุ่ม SMEs ในระหว่างวันที่ 19 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2561 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย โดย
มาสเตอร์การ์ดจะจัดบูธในหัวข้อ ‘มาสเตอร์การ์ดมีส่วนผลักดันเมืองอัจฉริยะอย่างไรบ้าง’ ซึ่งจะชี้ให้เห็นรูปแบบความร่วมมือที่เคยเกิดขึ้นและเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ได้ในแนวทางหลักๆ คือ
- การเดินทาง (Transit) – การจ่ายเงินระบบขนส่งมวลชนโดยไม่ใช้เงินสดและไม่มีข้อจำกัด ถึงแม้จะอยู่บนระบบที่แตกต่างกัน โดยจะให้ประสบการณ์การเดินทางที่สะดวกและราบรื่น ทั้งผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองและนักท่องเที่ยวจากต่างแดน
- การจับจ่ายใช้สอยประจำวัน (Everyday) – QR code ที่ช่วยให้ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อสามารถจับจ่ายใช้สอยได้โดยต้องกังวลว่าอยู่บนระบบที่ต่างกัน
- การค้า (Trade) – กรณีศึกษาการจ่ายเงินในกรณี B2B
[ข่าวประชาสัมพันธ์]