‘มาลี กรุ๊ป’ เดินเกม Diversify สู่ธุรกิจใหม่ ตั้ง ‘เอ็มเอเอส’ ดูแล R&D กลุ่ม HVA โดยเฉพาะ เพื่อกรุยทางเร่งโตในอนาคต

  • 41
  •  
  •  
  •  
  •  

หลังจากปี 2559 ที่ผ่านมาได้รีแบรนด์จาก ‘มาลีสามพราน’ มาเป็น ‘มาลี กรุ๊ป’ พร้อมกับวางทิศทางเติบโตต่อจากนี้ในคอนเซปต์  Growing Well Together ล่าสุดทางมาลี กรุ๊ป ได้ตั้ง ‘บริษัท มาลี แอพพลายด์ ไซเอ็นซ์ จำกัด’ หรือ เอ็มเอเอส มาดูแลการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่ม HVA เพื่อเดินเกม Diversify ธุรกิจเป็นครั้งแรก

เพราะมองว่าการอยู่ในตลาดมานาน 40 ปี หากยังอยู่ในกรอบเดิม ๆ การเดินต่อไปในอนาคตจะเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะกรอบที่อยู่นั้น คือ ตลาดน้ำผลไม้ที่อยู่ในภาวะติดลบมาตลอด 7 ไตรมาสด้วยแล้ว ยิ่งเป็นประเด็นให้ทาง บริษัท มาลี กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) พยายามแก้โจทย์เพื่อให้ธุรกิจเดินต่อไปได้ในอนาคต และเป็นการเดินต่อแบบยั่งยืนด้วย

โดยเป้าหมาย คือ การเป็นผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มระดับโลก ภายใต้คอนเซปต์ Growing Well Together ที่เน้นสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ ทั้งผู้บริโภค – พนักงาน – เกษตรกร – สิ่งแวดล้อม

รุ่งฉัตร บุญรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาลี กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าเป้าหมายที่วางไว้จะบรรลุไม่ได้ หากไม่มีหน่วยงานที่ดูแลด้านวิจัยและพัฒนาโดยเฉพาะ ทำให้ตั้งบริษัท มาลี แอพพลายด์ ไซเอ็นซ์ จำกัด หรือ เอ็มเอเอส ขึ้นมา สำหรับดูแลการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในกลุ่ม HVA (High Value Added Products)

“เรามองว่า การที่มาลี กรุ๊ปจะโตได้แบบยั่งยื่น ต้องDiversified ไปธุรกิจอื่น ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม HVA เพราะสร้างรายได้สูง แต่ไม่ว่าจะ Diversify อย่างไร เราจะยังคงเดินใน Call Business ของมาลี คือ อาหารและเครื่องดื่มที่สร้างรายได้ให้เราอยู่ราว 90%ตอนนี้”

Roongchat-Malee Group

โฟกัส 4 คลัสเตอร์หลัก

ท้งนี้ เอ็มเอเอสจะโฟกัสใน 4 คลัสเตอร์ ได้แก่ Cluster H (Health & Life-Science Products) การคิดค้นผลิตภัณฑ์ในการทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น

Cluster E (Environment & Energy) การเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่มีของเหลือทิ้ง หรือ Zero waste เพื่อเสริมความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

Cluster V (Visionary Sciences & Advanced Materials) การคิดค้นพัฒนาวัสดุอัจฉริยะหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบาจากวัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อเป็นวัสดุทางเลือก

Cluster I (Internet of Thing & Service หรือ IoT) เป็นการรองรับโลกยุคใหม่ ซึ่งเป็นเรื่อง Big Data สำหรับสื่อสารและเชื่อมโยงอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ ตลอดจนจัดการข้อมูลขององค์กรและข้อมูลทางการตลาด

อย่างไรก็ตาม ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมบางตัวต้องใช้เวลาพัฒนา 3-4 ปี ดังนั้นแผนระยะสั้นของเอ็มเอเอส จึงเริ่มจากการพัฒนาโปรดักท์สำหรับผู้บริโภคออกมา เนื่องจากใช้เทคโนโลยีไม่ซ้ำซ้อน โดยตั้งเป้าว่า จะมีโปรดักท์ออกปีละ 3 ตัว

Vintico packshot 2

ประเดิมโปรดักท์ตัวแรกไปแล้ว ได้แก่ ‘วินติโค’  น้ำส้มสายชูหมักจากน้ำมะพร้าวแท้ 100% ที่นำน้ำมะพร้าวส่วนเกินจากการผลิตน้ำมะพร้าวพร้อมดื่ม ที่เกิดจากการใช้ไม่หมดหรือคุณภาพไม่ถึงที่จะไปผลิตเป็นน้ำมะพร้าวพร้อมดื่ม ซึ่งโปรดักท์ตัวนี้จะเน้นส่งออกในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น เยอรมัน อังกฤษ ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น เพราะเป็นตลาดที่รู้จักและมีการใช้โปรดักท์ตัวนี้แพร่หลายอยู่แล้ว

ขอประเมินผล 2 ปี

จากนั้นสเต็ปต่อไป ถึงจะเริ่มพัฒนาโปรดักท์ในกลุ่ม HVA โดยโฟกัสโปรดักท์ที่จะเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า ซึ่งกลุ่มที่สนใจคือ personal care และ cosmetic คาดว่า จะเริ่มดำเนินการภายในปีหน้า

 “ในปีนี้จะเห็นโปรดักท์ที่พัฒนาอีก 2-3 ตัว คือ อาหารเสริม และขนมขบเคี้ยวที่ดีต่อสุขภาพ โดยปีนี้ที่แน่ ๆ คือ รายได้ต้องครอบคลุมรายจ่ายของเอ็มเอเอสที่ปัจจุบันอยู่ที่ 30 ล้านบาท จากนั้นต้องกลายเป็น Profit Center

ส่วนเอ็มเอเอส จะสร้างการเติบโตให้กับมาลี กรุ๊ปแค่ไหน ต้องรอดูหลังจากนี้ 2 ปี แต่เชื่อว่า จะทำให้เราเติบโตได้อย่างยั่งยืนแน่นอน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาลี กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ทิ้งท้าย

cats

 


  • 41
  •  
  •  
  •  
  •