รู้จัก Liberator แพลทฟอร์มปฏิวัติวงการหุ้นไทย กับการเปิดตัวใหญ่ด้วยสื่อ OOH ที่สร้างปรากฏการณ์ทั่วเมือง

  • 838
  •  
  •  
  •  
  •  

 

Liberator คืออะไร? หลายคนอาจจะได้คำตอบแล้ว หลังผ่านตากับสื่อโฆษณาของ Liberator ที่ได้เห็นบนท้องถนนในกรุงเทพฯ ที่มีมากมายจนเรียกได้ว่าเป็น “ปรากฏการณ์” ทั้งบิลบอร์ดบนทางด่วน หน้าจอ LED ขนาดยักษ์ริมถนนเส้นหลัก Lightbox บนฟุตบาท เรื่อยไปจนถึงสื่อโฆษณาบนถนนสาธารณะ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเรียกได้ว่าเป็นความสำเร็จของกลยุทธ์ในการใช้สื่อ Out of Home (OOH) ของ Liberator ที่ยังได้ผลดีอย่างยิ่งในยุคนี้ในการสร้าง Awareness ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างได้

 

 

Liberator คืออะไร?

ก่อนจะไปดูกลยุทธ์การใช้สื่อ OOH ของ Liberator ย้อนกลับไปทำความรู้จักที่มาที่ไปของแพลทฟอร์มน้องใหม่นี้กันก่อน สำหรับ Liberator เป็นแพลทฟอร์มการลงทุน จากบริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด ที่มาพร้อมกับสโลแกน “โลกลงทุนที่ทุกคนเท่ากัน” มีความหมายที่สื่อถึงการบริการแพลทฟอร์มเทรดหุ้นในลักษณะ Digital Brokerage ที่เปิดให้ผู้ใช้งานได้เทรดหุ้นฟรี แบบ “ไม่มีค่าคอมมิชชั่นแม้แต่บาทเดียว” ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนมือใหม่หรือมือเก่า ไม่ว่ารายเล็กหรือรายใหญ่

ขณะที่ Liberator เป็นแพลทฟอร์มของ บริษัท หลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด บริษัทที่เปิดเมื่อปี 2565 ด้วยทุนจุดทะเบียน 1,000 ล้านบาท โดยได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ก และใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ ส-1 แล้วจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ (SET) และ และสมาชิกกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ (SIPF) ด้วย

 

Liberator ดีกว่าแพลทฟอร์มอื่นอย่างไร?

หากพูดถึงการลงทุนในหุ้นแน่นอนว่าจะต้องหวัง “ผลกำไร” และผลกำไรเหล่านี้จะได้มากหรือน้อย นอกจากจะขึ้นอยู่กับความสามารถของนักลงทุนแล้วยังขึ้นอยู่กับ “ค่าคอมมิชชั่น” ที่มากน้อยแตกต่างกันไป ซึ่งค่าคอมมิชชั่นนั้น ”โบรกเกอร์” หรือ “แพลทฟอร์ม” ซื้อขายหุ้นก็จะคิดค่าธรรมเนียมกับนักลงทุนเป็นรายครั้ง และโดยส่วนใหญ่แล้วค่าธรรมเนียมสำหรับการตัดสินใจ “เทรดเอง” หรือส่งคำสั่งซื้อเองจะเริ่มต้นที่ราวล้านละ 800-1,500 บาท  และสำหรับการซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดของแต่ละโบรกเกอร์นั้นก็จะคิดค่า คอมมิชชั่นที่สูงถึงล้านละ 2,500 บาทต่อครั้งเลยทีเดียว

ยิ่งกว่านั้น ผู้ให้บริการหรือโบรกเกอร์ส่วนใหญ่จะคิดค่า คอมมิชชั่นที่ “ถูกลง” สำหรับนักลงทุนรายใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนมากๆในหลักหลายล้านบาท แต่จะเก็บค่า คอมมิชชั่นกับนักลงทุนรายย่อยในอัตราที่ “แพงกว่า” ซึ่งสิ่งนี้เราจะเรียกว่าเป็น “ความไม่เท่าเทียม” ก็ว่าได้

Liberator มองเห็นถึง “ความไม่เท่าเทียม” นั้นจึงเปิดบริการแพลทฟอร์มเทรดหุ้นที่สร้างโอกาสให้นักลงทุนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันด้วยการคิดค่าคอมมิชชั่น 0%

โครงสร้างรายได้หลักของ Liberator ในปีแรกมาจาก ผลิตภัณฑ์การเงินที่เพิ่มขึ้นมา โดยการทำหน้าที่เป็น Custodian ช่วยดูแลทรัพย์สินให้กับลูกค้าของบริษัท เนสท์ติฟลาย จำกัดกับธุรกิจ P2P Lending ภายใต้ชื่อแอปพลิเคชั่น “StockLend” ที่ให้บริการธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์รายแรกในประเทศไทย และผลิตภัณฑ์การเงินอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นมาในอนาคตไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อ Margin, Underwriting, กองทุน, เทรดหุ้นต่างประเทศ และอื่นๆ ในอนาคต

แม้ Liberator จะเป็นแพลทฟอร์มเทรดที่ไม่คิดค่าคอมมิชชั่น แพลทฟอร์มแรกในไทย แต่ในต่างประเทศโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาก็มีแพลทฟอร์มลักษณะนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Fidelity, Webull, Vanguard, TD Ameritrade, Interactive Brokers หรือ Robinhood เป็นต้น และแน่นอนว่าการเกิดขึ้นของ Liberator ในประเทศไทยย่อมเป็นการ “เพิ่มทางเลือก” ในการลงทุนให้เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มนักลงทุนรุ่นใหม่ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในเวลานี้

 

สื่อสารผ่าน OOH สร้างปรากฏการณ์ทั่วเมือง

นอกจากแนวคิดทางธุรกิจของ Liberator ที่น่าสนใจแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือการใช้สื่อโฆษณาเพื่อสื่อสารไปให้ถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยสื่อโฆษณาแบบ Out of Home (OOH) แม้จะเป็นสื่อแบบ “คลาสสิค” ที่เราเห็นมาตลอดชีวิตแต่ก็ยังเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพและถูกเลือกใช้มากขึ้นในปัจจุบัน

 

 

เทรนด์ดังกล่าวสอดคล้องกับตัวเลขจากรายงานของ Nielsen ที่พบว่าสื่อ OOH ยังคงเป็นสื่อที่สร้างรายได้มากเป็นอันดับ 3 ในประเทศไทยรองจาก “สื่อทีวี” และ “อินเตอร์เน็ต” นอกจากนี้สื่อ OOH ยังเติบโตสวนกระแสคือโตถึง 56% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่รายได้จากสื่อทีวีนั้นลดลงอย่างต่อเนื่อง และสื่อ OOH ยังได้รับการคาดการณ์ว่าจะเติบโตต่อเนื่องไปเรื่อยๆในอีก 3 ปีข้างหน้า การเติบโตดังกล่าวเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่า OOH สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพจนมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

 

สื่อสารตรงถึงกลุ่มเป้าหมาย

นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ Liberator เลือกใช้กลยุทธ์การสื่อสารผ่าน OOH ด้วย Message ที่ง่ายและอ่านเข้าใจใน 3 วินาที ด้วยข้อความ Tagline อย่าง “Liberator เทรดหุ้นฟรีไม่มีค่าคอม” รวมถึง “Liberator โลกลงทุนที่ทุกคนเท่ากัน” อย่างที่เราเห็นได้จากบิลบอร์ดขนาดใหญ่บนทางด่วน, Digital Screen บนอาคารสูง, Lightbox บนท้องถนน, ป้ายโฆษณาบนรถขนส่งสาธารณะ รวมถึงป้ายโฆษณาในสนามบินหลายแห่ง

 

 

โดย Liberator เลือกจุดที่มีจำนวนรถโดยสารสูงและการจราจรหนาแน่นที่บางพื้นที่มียอดสถิติ Eyeball มากถึงหลักล้านครั้งต่อเดือน เรียกได้ว่าเข้าถึงไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมาย สอดคล้องกับ Insight ของกลุ่มเป้าหมายที่ Liberator พบว่ากลุ่มคนเล่นหุ้นที่กว่า 80% จะใช้ชีวิตและเดินทางอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล และกลยุทธ์ใช้สื่อลักษณะนี้นับเรื่องกล้าหาญเนื่องจากเป็นการการพลิกตำราการสื่อสารการตลาดที่ไม่มีบริษัทหลักทรัพย์แห่งใดเคยทำมาก่อน

 

พรีเซ็นเตอร์ตัวแทนกลุ่มลูกค้า

อีกกลยุทธ์ที่น่าสนใจก็คือการเลือกพรีเซ็นเตอร์ที่ไม่เพียงแต่ดึงดูดความสนใจจากผู้คนได้เพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนตัวตนของลูกค้าในแต่ละกลุ่มด้วยไม่ว่าจะเป็น “มาดามเดียร์ – วทันยา บุนนาค” หญิงเก่งที่คร่ำหวอดในแวดวงสังคมและมีผลงานสนับสนุนเรื่องความเท่าเทียมและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้กับสังคม สอดคล้องกับแนวคิดของ Liberator ที่ต้องการสร้างความเท่าเทียมในกลุ่มลูกค้าในเรื่องค่าคอมมิชชั่น 0% ไม่ว่าจะรายเล็กหรือรายใหญ่

 

 

อีกหนึ่งตัวแทนของกลุ่มนักลงทุนทั่วไปที่แม้จะไม่ได้โดดเด่นเรื่องการลงทุนมากนักแต่จะต้องฉลาดคิดและฉลาดเลือกนั่นก็คือ “คุณกวาง อรการ จิวะเกียรติ” ผู้ประกาศข่าวที่ผู้คนได้เห็นผ่านหน้าจอโทรทัศน์ทุกๆวัน เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ ที่สามารถสร้างภาพลักษณ์ด้านความน่าเชื่อถือส่งไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี รวมไปถึง “คุณเบิร์ท มานิตย์ ศรายุทธิกรณ์” ตัวแทนของคนรุ่นใหม่ ที่ประสบความสำเร็จด้านการลงทุนในตลาดหุ้น เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะ Influencer ด้านการลงทุนในหุ้นและสินทรัพย์อื่นๆ มีผู้ติดตามมากมายและมีภาพลักษณ์ที่ดีสามารถ represent ความเป็น Digital Brokerage ของ Liberator ได้เป็นอย่างดี

 

 

นั่นคือกลยุทธ์ในการสื่อสารทางการตลาดของ Liberator ผ่าน OOH ที่ยังทรงประสิทธิภาพ ในแบบที่ไม่มีบริษัทหลักทรัพย์ใดเคยทำมาก่อน และยังสร้าง “ปรากฏการณ์” ที่ดึงความสนใจจากนักลงทุนด้วย Tagline ที่เข้าใจง่ายใน 3 วินาที พร้อมกับพรีเซ็นเตอร์มาเป็นตัวแทนของลูกค้านักลงทุนได้แบบตรงใจ ไม่นับโมเดลธุรกิจที่แตกต่างและเข้าถึงใจของนักลงทุน ด้วยกลยุทธ์เหล่านี้ก็เชื่อว่า Liberator จะสามารถเดินไปถึงเป้าหมายในการหาลูกค้าจากยอด Monthly Active User ในจำนวน 10% หรืออย่างต่ำ 50,000 รายภายในสิ้นปี 2023 ได้ไม่ยากนัก


  • 838
  •  
  •  
  •  
  •