หนึ่งในความท้าทายของผู้ประกอบการไทย ที่ปั้นธุรกิจมาถึงจุดหนึ่ง คือการขยายตลาดออกไปนอกประเทศ โดยเริ่มต้นจากตลาดอาเซียน ที่ไม่เพียงเป็นภูมิภาคที่กำลังเนื้อหอม จากการเติบโตของเศรษฐกิจที่ร้อนแรง เป็นตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพ ด้วยจำนวนประชากรทั้งอาเซียนที่มีอยู่ราว 700 ล้านคน ด้วยทำเลที่ตั้งที่เอื้อต่อการขนส่งสินค้า และพฤติกรรมผู้บริโภคที่คล้ายคลึงกัน
แต่อุปสรรคใหญ่ของผู้ประกอบการไทยในการไปเจาะตลาดต่างประเทศ คือ ต้องมีพันธมิตรธุรกิจที่ไม่เพียงพร้อมให้การสนับสนุนเรื่องเงินทุน แต่ยังต้องการความเชี่ยวชาญและเครือข่ายที่เอื้อต่อการขยายธุรกิจ กรุงศรี ในฐานะธนาคารไทยที่มีเครือข่ายครอบคลุมในอาเซียนมากที่สุด ด้วยเครือข่ายครอบคลุม 9 ใน 10 ประเทศของอาเซียน จึงได้จัดงาน Japan-ASEAN Startup Business Matching Fair 2024 ชวนนักธุรกิจในอาเซียนรวมถึงไทย และญี่ปุ่น ร่วมพบปะสตาร์ทอัพกว่า 60 ราย จาก 6 ประเทศ เพื่อต่อยอดธุรกิจร่วมกัน
ภายในงาน นอกจากจะมีการพบปะของนักธุรกิจและสตาร์ทอัพ ซึ่งสร้างโอกาสในการจับคู่ธุรกิจกว่า 400 คู่ภายในวันเดียวแล้ว ยังมีการแนะนำ 3 แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสำคัญในอาเซียน ที่ถือเป็นตลาดดิจิทัลที่สำคัญของ 3 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซีย เพื่อเป็นตัวช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเจาะตลาดเวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซียได้แบบไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ แต่มีแพลตฟอร์มระดับท็อปของประเทศนั้นๆ ในการขยายตลาดผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ ที่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากอัตราการเข้าถึงและใช้งานอินเทอร์เน็ตของอาเซียนที่สูงถึง 90% และประชากรราว 350 ล้านคน จาก 700ล้านคนในอาเซียนยังมีสมาร์ทโฟนใช้
ทั้งนี้แต่ละแพลตฟอร์มของแต่ละประเทศจะมีจุดเด่นอย่างไร แล้วโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการเจาะตลาดอาเซียนอยู่ตรงไหน บทความนี้จะพาไปเจาะลึกเพื่อหาคำตอบ
Karavan ดิจิทัลเกตเวย์สู่เวียดนาม
ถ้าพูดถึงหนึ่งในประเทศที่กำลังเนื้อหอมในอาเซียนเวลานี้ ต้องหลีกทางให้เวียดนามซึ่งมีประชากรเกือบ 100 ล้านคน โดย 70% ของประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มวัยแรงงานที่มีกำลังซื้อ บวกกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามอย่างรวดเร็ว ทำให้ตลาดเวียดนามกลายเป็นจุดหมายที่น่าสนใจ และดึงดูดนักลงทุนต่างชาติจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI)
สำหรับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่กำลังมาแรงของเวียดนาม คือ Karavan ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2021 มีเจ้าของเป็นคนไทย เป้าหมายหลักของ Karavan คือ ต้องการนำเทคโนโลยีเข้าไปพลิกโฉมระบบค้าปลีกดั้งเดิมที่ทั้งซับซ้อนและไม่เป็นระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากเดิมที่ 70% ของร้านขายของชำ (ร้านโซห่วย) รวมไปถึงธุรกิจ Horeca เช่น ร้านอาหาร และร้านกาแฟ จะสั่งซื้อสินค้าต่างๆ ผ่านตัวกลาง เช่น ร้านขายส่ง (Wholesaler) หรือ ผู้จัดจำหน่ายรายย่อย (Sub-Distributor) แทนจะสั่งซื้อผ่านเจ้าของแบรนด์หรือตัวแทนจัดจำหน่ายโดยตรง (Supplier) ทำให้บางครั้งเกิดปัญหาการจัดส่งสินค้าที่ล่าช้า และต้นทุนสินค้ามีราคาสูง ขณะที่ฝั่งเจ้าของแบรนด์หรือตัวแทนจัดจำหน่ายโดยตรงก็ไม่สามารถควบคุมราคาต้นทุนได้
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว Karavan จึงพัฒนาเว็บไซต์และแพลตฟอร์มเพื่อให้ร้านขายของชำและธุรกิจ Horeca สั่งซื้อสินค้าจากแบรนด์หรือตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าโดยตรงได้ง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว แถมยังเป็นวันสต็อปเซอร์วิช มีคลังเก็บสินค้า และระบบโลจิสติกส์ ที่พร้อมจัดส่งสินค้าถึงหน้าประตู มีการพัฒนาระบบชำระเงินผ่าน QR Code และระบบจุดขาย (POS) เพื่ออำนวยความสะดวก พร้อมพัฒนาระบบหลังบ้านในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อให้แบรนด์หรือตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าโดยตรง นำไปวิเคราะห์ยอดขาย ขณะเดียวกันยังช่วยร้านค้าทำการตลาด
ปัจจุบัน Karavan มีร้านค้าในระบบมากกว่า 50,000 ร้านค้า มีแบรนด์และตัวแทนจำหน่ายที่อยู่ในเครือข่ายกว่า 90 แบรนด์ ทั้งแบรนด์ระดับโลก แบรนด์ท้องถิ่น และแบรนด์ยักษ์ใหญ่ของไทย อย่าง CP และ คาราบาว สำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีสินค้า และอยากเจาะตลาดเวียดนาม Karavan สามารถซัพพอร์ตได้ตั้งแต่ข้อมูลอินไซต์การตลาด ระบบคลังสินค้าและโลจิสติกส์ ทีมขายและบริการหลังการขาย
Nham24 ซูเปอร์แอปสัญชาติกัมพูชา
กัมพูชา ถือเป็นอีกตลาดที่หลายคนคาดไม่ถึงว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซจะมีการเติบโตที่โดดเด่น นับตั้งแต่เกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะในส่วนของการค้าข้ามพรมแดน (cross-border trade) ยังเป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตอีกมาก จึงถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการนำสินค้าไปเจาะตลาดกัมพูชา
สำหรับแอปพลิเคชันที่ถือเป็นดาวรุ่นในกัมพูชา คือ Nham24 ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2019 เป้าหมายหลักของ Nham24 คือ การนำเสนอบริการที่หลากหลาย เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้คนในยุคดิจิทัล ด้วยการเป็นซูปเปอร์แอปที่มีบริการที่พร้อมตอบโจทย์ในทุกมิติของการใช้ชีวิตในแอปเดียว ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งอาหาร ที่มีร้านค้าแบรนด์ดังเป็นพันธมิตรมากกว่า 17,000 ราย, บริการเรียกรถ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการเข้าร่วมมากว่า 10,000 ราย ให้บริการครอบคลุมใน 6 เมือง ,บริการส่งของ ให้บริการครอบคลุมใน 19 เมือง, บริการจองตั๋วเครื่องบินและโรงแรม ตลอดจนบริการจอง E-Ticketing ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสวนสนุก หรือบัตรคอนเสิร์ต, บริการสั่งดอกไม้, บริการส่งของ ด้วยบริการที่ครอบคลุม สมเป็นซูเปอร์แอปนี้เอง ทำให้ ปัจจุบัน Nham24 กลายเป็นแอปที่ได้รับความนิยม และมีผู้ใช้งานมากกว่า 1 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม นอกจาก Nham24 จะโดดเด่นในการเป็นแอปตัวกลางในการให้บริการด้านต่างๆ ยังมีอีกสองธุรกิจดาวรุ่งภายใต้ Nham 24 นั่นคือ Nham24 Shops แพลตฟอร์ม E-Commerce ที่เชื่อมต่อผู้ซื้อและผู้ขายไว้ด้วยกัน คล้ายๆ Lazada และ Shopee และ Nham24 Groceries แพลตฟอร์ม Quick Commerce ที่เป็นเหมือนร้านขายของชำบนโลกออนไลน์ เน้นขายเฉพาะสินค้าในหมวดที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต เน้นบริการส่งไวภายใน 1 วัน
ทั้งสองแพลตฟอร์มจะให้บริการอยู่บนแอป Nham24 ที่มีฐานผู้ใช้หลักล้านอยู่แล้ว จึงถือเป็นโอกาสของเจ้าของธุรกิจในการพาสินค้าเข้าถึงฐานลูกค้ามหาศาล และยังหมดกังวลเรื่องปัญหาในการขนส่งสินค้า เพราะสามารถใช้บริการจัดส่งสินค้าของ Nham24 ที่มีความเชี่ยวชาญในการขนส่งอยู่แล้ว แถมยังมีทีมงานหลังบ้านช่วยดูแลบริการหลังการขาย เพิ่มความอุ่นใจให้เจ้าของแบรนด์ ที่นำสินค้ามาจำหน่ายผ่าน Nham24 Shops และ Nham24 Groceries ได้เป็นอย่างดี
Ralali ออนไลน์มาร์เกตเพลสที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย
ปิดท้ายด้วยอินโดนีเซีย ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 270 ล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียนและเป็นอันดับสี่ของโลก อีกทั้งประชากรกลุ่มใหญ่ในประเทศยังเป็นชนชั้นกลางในวัยทำงาน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจทั้งการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ นอกจากนี้ยังมีอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เนตอยู่ที่ 80% ในปี 2024 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 85% ในปี 2027
โดยผู้ให้บริการ Online Marketplace ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในอินโดนีเซีย คือ Ralali ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2013 ตลอด 11 ปีที่ผ่านมา Ralali มุ่งมั่นที่จะช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ เติบโตโดยนำเสนอแพลตฟอร์มออนไลน์และบริการที่หลากหลาย ทั้งนี้ Ralali เริ่มต้นจากการเป็นตัวกลางที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายผ่านช่องทางออนไลน์ (Online Market Platform) จากนั้น จึงต่อยอดสู่ Ralali Agent เพื่อช่วยลูกค้าขยายเครือข่ายไปยังฐานลูกค้าที่กว้างขึ้น และ RBiz ให้บริการทั้งคลังสินค้าและโลจิสติกส์ ก่อนจะขยายไปสู่ Ralali Plus เสนอบริการทางการเงินเพื่อสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ Ralali Connect แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ B2B ที่ช่วยให้ธุรกิจจัดการการจัดซื้อจัดหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ Ralali REDS นำเสนอโซลูชันการตลาดดิจิทัล โฆษณา และการผลิตเนื้อหา และล่าสุด Ralali Food Ventures: แพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับอาหารพร้อมทานและพร้อมเสิร์ฟ Ralali Food Ventures ช่วยให้ร้านอาหารและผู้ประกอบการอาหารเข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ และเพิ่มยอดขาย เรียกได้ว่า ภายใต้อาณาจักรของ Ralali มีบริการที่หลากหลายไม่แพ้ Nham 24 ของกัมพูชา เพียงแต่ของ Ralali จะเป็นการเพิ่มความหลากหลายให้ธุรกิจมากกว่าในเชิงบริการ เพื่อให้ระบบนิเวศธุรกิจมีความสมบูรณ์มากขึ้น
ปัจจุบัน Ralali มีผู้ใช้กว่า 1.9 ล้านคน โดยมองว่ากลุ่มธุรกิจที่จะเป็น Growth Engine คือ Food Tech และ Bio Tech ซึ่งในปี 2023 มูลค่าตลาดอาหารและเครื่องดื่มอยู่ที่กว่า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะแตะแสนล้านเหรียญสหรัฐในปี 2029 ดังนั้นจึงขยายธุรกิจ Ralali Food เพื่อเป็นตัวช่วยผู้ประกอบการอาหาร และผู้ผลิตอาหาร ผ่าน 4 บริการหลัก ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิต ที่มาพร้อมนวัตกรรมในการผลิตอาหารกว่า 200 เมนู ให้มีอายุการเก็บรักษา 18-20 เดือน, การเข้าถึงแหล่งเงินทุน, การตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร และ ช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านเครือข่ายอันทรงพลังของ Ralali ที่พร้อมเป็นกุญแจสำคัญพาผู้ประกอบการไทยปลอดล็อกสู่ตลาดอินโดนีเซีย
ก้าวสู่อาเซียนอย่างมั่นใจกับกรุงศรี
ทั้งหมดนี้คือ 3 แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสำคัญในอาเซียน ที่น่าจะเป็นประตูแห่งโอกาสบานสำคัญให้ผู้ประกอบการไทยที่อยากไปตีตลาดอาเซียน อย่างไรก็ตาม การจะขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ นอกจากจะต้องการตลาดที่มีศักยภาพและช่องทางที่ตอบโจทย์กับสินค้า การมีพันธมิตรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ ถือเป็นอีกรากฐานสำคัญในการปูทางธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง และยั่งยืน
ถ้านึกถึงหนึ่งในพาร์ตเนอร์ที่โดดเด่นและมีศักยภาพแข็งแกร่งในอาเซียน ต้องยกให้กรุงศรี ซึ่งไม่เพียงเป็นบริษัทในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) กลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก แต่ยังมีเครือข่ายในต่างประเทศทั้งสิ้น 6 บริษัท กระจายอยู่ใน 5 ประเทศ ประกอบด้วย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา และสปป. ลาว หากรวมกับเครือข่ายของ MUFG ในอาเซียนด้วยแล้ว กรุงศรีจะมีเครือข่ายครอบคลุม 9 ใน 10 ประเทศของอาเซียน ทำให้กรุงศรีเป็นธนาคารไทยที่มีเครือข่ายครอบคลุมในอาเซียนมากที่สุด (Network) และแข็งแกร่งที่สุด
ด้วยความโดดเด่นนี้เอง ทำให้นอกจากกรุงศรีจะพร้อมเป็นผู้ช่วยด้านการเงิน ยังมุ่งมั่นส่งต่อคุณค่าจากเครือข่ายที่มีไปยังลูกค้า ด้วยการพัฒนาโซลูชันและแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ รวมทั้งเชื่อมโยงลูกค้าธุรกิจชาวไทยกับพันธมิตรทางธุรกิจที่เชื่อถือได้เข้าด้วยกันผ่านเครือข่ายของธนาคารที่มีอยู่ในอาเซียนและญี่ปุ่น เอาเป็นว่าสำหรับผู้ประกอบการไทยที่อยากก้าวไกลสู่อาเซียน โอกาสที่จะ GO ASEAN with krungsri มาถึงแล้ว เพราะกรุงศรีพร้อมเป็นพาร์ตเนอร์นำความพร้อม ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและโซลูชันที่สั่งสมมาอย่างยาวนานมาช่วยผู้ประกอบการไทยพิชิตเป้าหมายไปด้วยกัน
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ #GOASEANwithkrungsri
https://www.krungsri.com/th/asean