สำหรับคนเริ่มสร้างธุรกิจโดยเฉพาะ “สตาร์ทอัพ” คงจะได้ยินเรื่องของ ESG กันบ่อยครั้งในความหมายของการทำธุรกิจที่ไม่เน้นเรื่องผลกำไรเพียงอย่างเดียวแต่จะต้องเน้นเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) ด้วย มีเสียงบอกกล่าวแนะนำกันอย่างต่อเนื่องว่า “สตาร์ทอัพ” จะต้องทำ ESG เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รอไม่ได้ ในขณะที่ผู้บริโภคก็ให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ
คำถามสำคัญก็คือ “จะทำ ESG อย่างไร?” เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าสร้างผลกำไรและไม่เป็นภาระให้กับธุรกิจที่ยังอาจจะไม่ได้มีกำลังหรือทรัพยากรมาก บทความนี้ Marketing Oops! จะมาเล่าให้ฟังถึงแนวทางที่สามารถทำได้และสามารถเริ่มต้นได้เลยอย่างเป็นรูปธรรม รวมไปถึงทำความรู้จักกับ Corporate Venture Capital Fund ของธนาคารกสิกรไทยอย่าง บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด (Beacon VC) ที่สามารถช่วยสนับสนุนสตาร์ทอัพให้ทำ ESG ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ESG คืออะไร?
ESG เป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน โดยไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว โลกทุกวันนี้ตื่นตัวขึ้นเพราะผลกระทบจากปัญหาภาวะโลกรวน (Climate Change) ที่รุนแรงขึ้น ดังนั้นโลกธุรกิจที่เป็นหนึ่งในภาคส่วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดจึงต้องตื่นตัวในเรื่องนี้มากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ESG นั้นครอบคลุมใน 3 เรื่องด้วยกัน โดย E ย่อมาจาก “Environmental” – เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ, การใช้พลังงาน, ทรัพยากรธรรมชาติ, การจัดการขยะ, การจัดการมลพิษ S ย่อมาจาก “Social” – เกี่ยวกับด้านสังคม เช่น สุขภาวะของชุมชนท้องถิ่น, การค้าที่เป็นธรรม, สวัสดิภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง รวมถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม และ G ย่อมาจาก “Governance” – เกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลในธุรกิจ เช่น การมีระบบการบัญชีที่โปรงใสและถูกต้อง, ให้ความสำคัญกับความหลากหลายและซื่อตรงในการดำเนินธุรกิจ มีความรับผิดชอบกับผู้ถือหุ้น เป็นต้น
กติกาของ ESG คือการชวนให้ภาคธุรกิจหันกลับมาทบทวนการทำธุรกิจ และการดำเนินงานของตนเองตลอดจน Supply Chain ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดว่ากระทบกับ ESG ตรงไหนบ้างเพื่อให้นักลงทุนเข้าใจความเสี่ยงของการลงทุนกับบริษัทที่ส่งผลกระทบต่อเรื่อง ESG หากบริษัทหนึ่งมีกำไรสูง แต่มีกิจกรรมที่ส่งผลกระทบกับกติกาที่โลกกำลังให้ความสำคัญอย่าง ESG ก็จะถูกมองในแง่ลบและอาจไม่ได้เลือกลงทุนในบริษัทเหล่านั้นได้
เทรนด์การลงทุนไหลสู่ ESG
สิ่งที่คนทำสตาร์ทอัพ ต้องรู้ก็คือเทรนด์การลงทุนในระดับโลกซึ่งเวลานี้ขยับเข้าสู่เรื่อง ESG มากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างตลาดหุ้น S&P500 ของสหรัฐมีบริษัทสัดส่วนกว่า 90% แล้วที่มีการเปิดเผยรายงานด้านความยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์จาก Global ESG Assets ด้วยว่า ยอดเงินลงทุนในเรื่อง ESG ทั่วโลกจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 53 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2025 นี้ด้วย
ในขณะที่ข้อมูลของ Ernest & Young ผู้ตรวจสอบบัญชียักษ์ใหญ่ของโลก ยังเปิดเผยด้วยว่าเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมามีนักลงทุนถึง 26% เลือกที่จะไม่ลงทุนกับผู้ที่ไม่สามารถให้ความชัดเจนในนโยบายด้าน ESG ของตัวเองได้ นอกจากนี้ยังพบด้วยว่ามี Hedge Fund ที่ทำการสำรวจ 56% และ Venture Capital ถึง 20% ให้ความสำคัญกับการนำเกณฑ์ ESG มาประกอบการพิจารณาลงทุน อีกทั้งบริษัทที่มีการเปิดเผยรายงานด้านความยั่งยืนตั้งแต่ปี 2007-2021 เป็นต้นมา มีแนวโน้ม “ให้ผลตอบแทนสูงกว่า” อย่างมีนัยสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
สถาบันทางการเงินไทยเดินหน้า ESG
แนวโน้มเรื่อง ESG เหล่านี้เป็นเหตุผลให้เราเห็นการหลั่งไหลของเงินทุนผ่าน Venture Capital รวมไปถึงสถาบันการเงินทำ Green Finance หรือ Green Bond มากขึ้นเรื่อยๆ และไม่เฉพาะในต่างประเทศแต่ธนาคารในไทยก็เช่นธนาคารกสิกรไทย อย่างที่คุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวไว้ในส่วนหนึ่งของ Net Zero Commitment เอาไว้ว่า ธนาคารกสิกรไทย เตรียมเงินไว้ 1-2 แสนล้านบาทเพื่อเงินให้สินเชื่อและลงทุนเพื่อความยั่งยืน ซึ่งในงบประมาณนี้ก็มีส่วนนึงที่ให้ทาง Beacon VC จัดตั้งเป็นกองทุน Beacon Impact Fund ลงทุนโดยตรงในบริษัทสตาร์ทอัพหรือผ่านกองทุนเงินร่วมลงทุนที่แสวงหาผลกำไร เพื่อการพัฒนาโซลูชั่นสร้างผลกระทบเชิงบวกในมิติ ESG
ESG เรื่องที่ “สตาร์ทอัพ” ต้องไม่มองข้าม
การสร้างธุรกิจ “สตาร์ทอัพ” ที่ต้องพึ่งพาการ “ดึงดูดนักลงทุน” นอกจากโมเดลธุรกิจจะต้องมีแนวโน้มเติบโตได้ดีแล้ว ปัจจุบันเรื่องสำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่องการทำ ESG ของสตาร์ทอัพนั้นๆด้วย โดยในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาเรื่อง ESG มีความสำคัญมากขึ้นสำหรับนักลงทุนบางกลุ่ม เพราะนักลงทุนจะเรียกขอข้อมูลอีกชุด ที่เรียกว่า Non-Financial Data หรือ Environmental Data, Social Data และ Governance Data เพื่อใช้พิจารณาว่าองค์กร หรือ สตาร์ทอัพ เหล่านั้นนั้นปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากหรือไม่ องค์กรทำอย่างไรกับ Supplier ของตน องค์กรสร้างขยะเกินความจำเป็นหรือไม่ เพราะข้อมูลเหล่านี้จะส่งผลกระทบกับแนวโน้มการเติบโตในโลกยุคปัจจุบันด้วยเช่นกัน ดังนั้นการไหลมาของเม็ดเงินลงทุนก็ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทมีข้อมูล ESG เปิดเผยออกมาหรือไม่นั่นเอง นอกจากนี้ ESG ยังจะเป็นโอกาสที่โดดเด่นอันใหม่ของธุรกิจสตาร์ทอัพที่ควรสนใจเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างมาก
เรื่องนี้ตอกย้ำผ่านมุมมองของคุณธนพงษ์ ณ ระนอง Managing Director จาก Beacon VC เจ้าของโครงการ KATALYST By KBank หนึ่งในโครงการที่มีส่วนช่วยผลักดันวงการสตาร์ทอัพไทย ซึ่งได้กล่าวไว้ในงาน ESG A Lasting Game Changer – Exclusive Startup Meetup By KATALYST ว่า Beacon VC ที่ลงทุนกับสตาร์ทอัพ ก็เริ่มมองหาบริษัทสตาร์ทอัพที่สามารถสร้างPositive Impact ในวงกว้างได้ จึงเป็นที่มาของการตั้ง Beacon Impact Fund และก็ไม่จำเป็นที่จะเป็นสตาร์ทอัพสายตรงของการทำ ESG ก็ได้ อาจจะเป็นสตาร์ทอัพที่สร้างแพลตฟอร์ม หรือเครื่องมือ ต่างๆเพื่อสนับสนุนให้สตาร์ทอัพเจ้าอื่นๆสามารถอื่นทำ ESG ได้ดีขึ้นก็ได้เช่นกัน
ESG คือโอกาสของสตาร์ทอัพ ไม่ใช่แค่ Buzz Words
โอกาสสำหรับสตาร์ทอัพที่ทำ ESG อย่างจริงจังมีอยู่มากมาย โดย McKinsey & Company บริษัทที่ปรึกษายักษ์ใหญ่ของโลกเปิดเผยผ่านงานวิจัยเอาไว้ว่าการทำ ESG จะช่วยสร้างการเติบโตจากการ “เปิดตลาดใหม่ๆ” ในการทำธุรกิจโดยเฉพาะในภูมิภาคยุโรปที่เน้นเรื่อง Sustainability Index กับบริษัทที่จะเข้าไปทำตลาดมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถช่วย “ลดต้นทุนการผลิต”, “ป้องกันการโดนแบน” หรือโดนลงโทษจากกฎหมายตามมาตรฐานของประเทศต่างๆที่จะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต
นอกจากนี้ในแง่ของความยั่งยืนขององค์กรเองการหันมาใส่ใจ ESG อย่างจริงจังจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรสามารถ “ดึงดูด Talent” โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาทำงานกับองค์กรได้มากขึ้นและการใส่ใจในเรื่อง ESG จะช่วยให้องค์กรมองถึงการ “แข่งขันในระยะยาว” มากกว่าการแสวงหากำไรระยะสั้นที่ไม่ยั่งยืน และแน่นอนที่สุดคือจะได้รับ “การสนับสนุนจากผู้บริโภค” ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น เช่นเดียวกับการ “ดึงดูดเงินลงทุนและการสนับสนุนจากภาครัฐ”
คุณธนพงษ์ แห่ง Beacon VC ก็กล่าวไว้ด้วยว่า โอกาสที่โดดเด่นของธุรกิจสตาร์ทอัพในเรื่องของESG อีกอย่างที่อยากให้ตระหนักไว้ อยู่ที่การเข้าไปมีส่วนร่วมกับองค์กรต่างๆ เพื่อช่วยในการดำเนินงานใน Scope 3 หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่อยู่เหนือการควบคุม เพราะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในส่วนนี้เป็นผลมาจากกิจกรรมจากสินทรัพย์ที่องค์กรไม่ได้เป็นเจ้าของหรือควบคุม แต่องค์กรมีผลกระทบทางอ้อมต่อมูลค่าของมัน จึงเป็นโอกาสสำหรับสตาร์ทอัพ ในการหันมาสนใจในเรื่องของ ESG โดยเฉพาะการนำเสนอเครื่องมือเพื่อตอบโจทย์เรื่องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในScope 3 ของภาคธุรกิจต่างๆ
“บางครั้งคนอาจจะกลัวว่าเป็นแค่ Buzz Words แต่จากที่ได้ไปงานสัมนาด้าน ESG ต่างๆ ถ้าเราเข้าไปดูในฝั่งนักลงทุน จะเห็นว่านักลงทุนที่มาในงาน ESG จะเป็นนักลงทุนจากสถาบันที่มีการก่อตั้งมานานแล้ว และมีความที่จริงจังในการลงทุนมาก เชื่อได้ว่าเรื่อง ESG จะเป็นการลงทุนที่เป็น Long Term Investment มากๆ” คุณธนพงษ์ระบุ
สตาร์ทอัพเริ่มต้นปรับตัวสู่ ESG ได้อย่างไร?
แน่นอนที่สุดสิ่งที่สตาร์ทอัพต้องทำก็คือการศึกษาเรื่อง ESG อย่างถ่องแท้ เริ่มตั้งแต่เรื่อง “E” สิ่งแวดล้อมที่ปัจจุบันโลกรอไม่ได้แล้วเพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตสภาพภมิอากาศที่ไม่สามารถจินตนาการได้ ในเรื่องนี้สตาร์ทอัพสามารถเริ่มต้นจากการเรียนรู้ก่อนว่ากิจกรรมของธุรกิจ “ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเท่าไหร่” เพื่อการรายงานผลอย่างเป็นรูปธรรม มีปัจจัยหรือผลกระทบจากมาตรฐานทั้งในและต่างประเทศอย่างไรบ้างจากกิจกรรมเหล่านั้นเพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละช่วงเวลา และบางครั้งอาจต้องอาศัยความร่วมมือกับพันธมิตรตลอด Supply Chain ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละแนวทางสามารถเปลี่ยนแปลงได้เพราะเทคโนโลยีไม่หยุดนิ่ง เช่นเดียวกับกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ในมุมที่กว้างขึ้น ธุรกิจอาจเริ่มต้นจากการลดส่วนสูญเสียในกระบวนการผลิต แยกขยะและนำวัสดุอุปกรณ์เหลือทิ้งมาใช้ซ้ำหรือรีไซเคิล วางแผนก่อนการใช้สิ่งต่างๆ เลือกใช้วัสดุหรือวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประหยัดไฟฟ้าและน้ำ การใช้ไฟฟ้าช่วง Off-Peak ที่ค่าไฟต่อหน่วยต่ำ เปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนผ่านการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในโรงงาน การออกแบบเส้นทางการใช้รถยนต์ เปลี่ยนรถยนต์น้ำมันเป็นรถยนต์ไฟฟ้า การลดการขนส่งเที่ยวเปล่า การใช้โซลูชั่นหรือเทคโนโลยีเพื่อลดความสิ้นเปลือง เรื่องเหล่านี้สามารถค่อยๆทำตามความสามารถและต้องไม่ลืมว่าจากจะทำ ESG ได้นั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือธุรกิจจะต้องเดินหน้าต่อได้ด้วยผลกำไรนั่นเอง
นอกจากเรื่อง “สิ่งแวดล้อม” แล้วเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่อง “S” หรือ “สังคม” เรื่องที่คนรุ่นใหม่ไล่ตั้งแต่ Gen Y, Gen Z ไปถึง Gen Alpha ให้ความสำคัญมากขึ้น มีความคาดหวังมากขึ้นว่าธุรกิจหรือแบรนด์ที่จะจ่ายเงินให้นั้นจะต้องมีควรมรับผิดชอบต่อสังคมเช่น การเป็นองค์กรที่ไม่กดขี่และเอารัดเอาเปรียบพนักงาน มีนโยบายส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน รวมไปถึงการเคารพต่อความหลากหลายทางเพศ อายุ ชาติพันธุ์ เช่นการให้สวัสดิการฟิสเนส สวัสดิการผ้าอนามัยฟรีสำหรับผู้หญิง หรือแม้แต่ การเปิดโอกาสให้ลางานเพื่อไปแปลงเพศได้เป็นต้น เรื่องเหล่านี้ สตาร์ทอัพสามารถดูว่าคนที่อยู่ใน Ecosystem เดียวกันทำอะไรกันอยู่บ้าง สามารถ “เลียนแบบ” สิ่งดีๆโดยเฉพาะ Best Practice จากคนที่ทำสำเร็จมาแล้วมาปรับใช้ สามารถมองหาจากเรื่องเล็กๆ ก่อนที่จะก้าวไปสู่เรื่องที่ใหญ่ขึ้นต่อไป
อีกมิติที่ถูกพูดถึงไม่มากนักในเรื่อง ESG ก็คือ G หรือ ธรรมาภิบาล เพราะอาจจะเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยากแต่จริงๆแล้วไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่คิด เรื่องของธรรมาภิบาลคือการขับเคลื่อนการดำเนินงานในองค์กรให้มีความโปร่งใสตรวจสอบได้เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น มีโครงสร้างการกำกับดูแลที่ดี เรื่องนี้เป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะสร้างความมั่นใจให้กับสังคมและผู้บริโภคได้เพราะองค์กรที่มีโครงสร้างองค์กรที่โปร่งใส สามารถจัดการการคอรัปชั่นในองค์กรและปฏิบัติกับพนักงานอย่างเป็นธรรม องค์กรนั้นก็จะได้รับความเชื่อมั่นจากพนักงาน คู่ค้าและแน่นอนที่สุดก็คือความเชื่อมั่นและแรงสนับสนุนจากลูกค้าต่อไป
Beacon VC พร้อมสนับสนุนสตาร์ทอัพคว้าโอกาสจาก ESG
บทบาทในการสนับสนุนสตาร์ทอัพเพื่อคว้าโอกาสจากการทำ ESG นั้น Beacon VC เน้นไปที่การ “ลงทุน”, “ให้ความรู้” และสร้าง “Community” ในส่วนของ “การลงทุน” ที่เป็นบทบาทหลักของ Beacon VC ในเรื่องนี้ก็คือการจัดตั้ง Beacon Impact Fund โดยมีเงินลงทุนเริ่มต้น 1,200 ล้านบาท หรือประมาณ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับสตาร์ทอัพที่ Beacon VC มองหาจะเกี่ยวข้องกับเรื่องดังต่อไปนี้
คลิกอ่าน ธนาคารแรกในไทย! KBank อัดงบ 1,200 ล้านส่ง “บีคอนวีซี” เปิดตัว Beacon Impact Fund ลงทุนสตาร์ทอัพด้าน ESG ใน 3 ปี ฝังลิงค์ข่าว https://www.marketingoops.com/news/biz-news/kbank-beacon-impact-fund/ )
นอกเหนือจากการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นแก้ปัญหาด้าน ESG แล้ว Beacon VC คอยมองหาโอกาสในการสร้างความร่วมมือและพูดคุยกับสตาร์ทอัพที่ได้ลงทุนไปแล้ว หรือ Portfolio Company ต่างๆ เพื่อผลักดันแนวคิดแห่งความยั่งยืนและสนับสนุนพฤติกรรมเชิงบวกให้แก่บริษัทสตาร์ทอัพและพนักงานของสตาร์ทอัพเหล่านั้นอีกด้วย
ปัจจุบัน Beacon Impact Fund ได้ร่วมลงทุนโดยตรงกับธุรกิจสตาร์ทอัพและผ่านกองทุนเงินร่วมลงทุนเพื่อสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพทั่วโลก ไปแล้ว 4 ราย ได้แก่
- Algbra ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเงิน (Financial Service) จากสหราชอาณาจักร ผู้พัฒนาPlatform เพื่อให้ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศอังกฤษสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่สอดคล้องกับหลักทางศาสนาได้
- Wavemaker Impact ธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่มีเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก (Global Carbon Emission) ลงร้อยละ 10 และยังเป็นธุรกิจร่วมสร้างกลุ่ม Startup (Venture Builder) ทางด้าน Climate Tech เจ้าแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- Quona Opportunity Fund ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ผู้นำด้านการลงทุนเพื่อสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) ผ่านการลงทุนใน Innovative Fintech Startup ในระบบเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ให้สามารถเข้าถึง ได้รับโอกาส และประโยชน์จากบริการทางการเงิน
- กองทุน Siam Capital เป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นโดย คุณสิตา จันทรมังคละศรี ผู้เป็นนักลงทุนหญิงชาวไทยที่สั่งสมประสบการณ์ในด้านการลงทุน เน้นการลงทุนที่จะช่วยเป็นส่วนนึงในการทำให้การบริโภคอย่างยั่งยืน หรือที่คุณสิตาเรียกว่า Concious Consumption เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการลงทุนในบริษัท Startup หลากหลายแขนง
Beacon VC ยังมีแผนการลงทุนโดยตรงในสตาร์ทอัพไทยผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านโซลาร์รูฟ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการอีก 1 ราย ทำให้ภาพรวมครึ่งแรกของปี 2566 กองทุน Beacon Impact Fund ให้เงินลงทุนเพื่อความยั่งยืนไปแล้วรวมทั้งสิ้น 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 320 ล้านบาท จากที่ตั้งเป้าหมายการลงทุนทั้งปี 2566 ตั้งไว้ที่ 400 ล้านบาท
ส่งต่อ “ความรู้” เพื่อสตาร์ทอัพเติบโตด้วย ESG
ในส่วนของการ “ให้ความรู้” บรรดาสตาร์ทอัพ Beacon VC มีการจัดกิจกรรมต่างๆเช่น งานสัมมนาและหลักสูตรอบรมเข้มข้นประจำปีอย่าง KATALYST Startup Launchpad 2023 ที่บรรจุหัวข้อเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจเรื่อง ESG และ sustainability สำหรับสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายนปีนี้
ในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาก็มีงานสัมมนาร่วมกับ Wavemaker Impact หนึ่งใน Portfolio Beacon VC ซึ่งเป็น ธุรกิจ Venture Builder ทางด้าน Climate Tech เจ้าแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia) ที่รวบรวมผู้มีประสบการณ์เพื่อให้คำแนะนำให้ความรู้กับธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยมีการนำองค์ความรู้ด้านการทำธุรกิจ Climate Tech จากประเทศสิงค์โปรมาเผยแพร่ให้กับประเทศไทย
ต่อด้วยในเดือนธันวาคม Beacon VC ก็กำลังจะจัดงานสัมมนาสำหรับสตาร์ทอัพที่อยู่ภายใต้โครงการ KATALYST เกี่ยวกับการจัดการธุรกิจเรื่อง ESG ร่วมกับสถาบัน SASIN จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Singapore Management University เเละ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และยังมีการทำวิจัยที่เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ Carbon Post Tax และ Sustainable Finance ให้สตาร์ทอัพได้ศึกษาและนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจต่อไปด้วย
สร้าง “Community” ผ่าน Climate Tech Club
เทคโนโลยีที่จะมาแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศหรือ Climate Tech เป็นส่วนหนึ่งในเรื่องของ ESG และด้วยตลาด Climate Tech ในไทยเติบโตสูงขึ้นภาคเอกชนและบริษัทต่างๆ ต้องการโซลูชั่นมาแก้ปัญหาเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ ในขณะที่สตาร์ทอัพ หรือ SME ที่พัฒนาโซลูชั่น Climate Tech ก็มีข้อจำกัดในการเข้าสู่ตลาด และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ปัญหาเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นให้ Beacon VC ร่วมมือกับพันธมิตรหลายภาคส่วน จัดตั้ง Climate Tech Club ขึ้นโดยมีเป้าหมายให้เกิด Value Chain ของอุตสาหกรรมทางด้าน Climate Tech ในประเทศไทยและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ตลาด Climate Tech เดินหน้าและพาประเทศสู่ Net Zero ในปี 2065 ต่อไป
สำหรับ Climate Tech Club ก็จะเป็นอีกกลไกหนึ่งที่จะช่วยให้ สตาร์ทอัพที่ทำ ESG โดยเฉพาะด้าน Climate Tech ได้มีเวทีให้โชว์ของ เพื่อให้เกิด Community ที่ทำให้ทุกคนได้เข้ามาพบเจอกัน ปรึกษาหารือกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและตลาดให้เดินหน้าต่อไปได้ ช่วยพัฒนาตลาด Climate Tech ให้เติบโตทั้งในและต่างประเทศ ช่วยส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และพัฒนากลไกจากภาครัฐเพื่อให้อุตสาหกรรม Climate Tech เดินหน้าต่อไปได้
ในเรื่องนี้คุณธนพงษ์ เองก็เน้นย้ำบทบาทของ Beacon VC ด้วยว่า ตอนนี้บริษัทในประเทศไทยที่ต้องการคนทำเรื่องเหล่านี้มีจำนวนมาก Beacon VC เองไม่เพียงแค่ลงทุนเท่านั้น แต่ก็ยังพยายามสร้าง Ecosystem ขึ้นมาเพื่อทำให้สตาร์ทอัพไทยมองเห็นโอกาสและเข้ามามีส่วนร่วมเนื่องจากเรามองว่ามีโอกาสตรงนี้อยู่ ถึงเป็นที่มาของการสร้าง Climate Tech Club ขึ้นนั่นเอง
ทั้งหมดนี้คือภาพรวมความสำคัญของ ESG ที่สตาร์ทอัพควรให้ความสำคัญเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต รวมไปถึงวิธีการทำ ESG ในกระบวนการดำเนินธุรกิจของ สตาร์ทอัพ ที่สามารถเริ่มต้นทำได้ทันทีให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม และที่สำคัญก็คือบทบาทของธนาคารกสิกรไทย ในฐานะ Beacon VC ให้สามารถช่วยสนับสนุนสตาร์ทอัพทั้งในแง่ของการลงทุน ให้ความรู้ และสร้าง Community เพื่อให้สตาร์ทอัพโดยเฉพาะในไทยเติบโตไปพร้อมกับการทำ ESG ได้อย่างแท้จริง