นิยามของคำว่า ‘งานคราฟต์’ คืองานฝีมือที่เต็มไปด้วยอัตลักษณ์ เป็นการส่งผ่านประเพณี วัฒนธรรม และบอกเล่าเรื่องราวจากภูมิภาคนั้นๆ หลากหลายสไตล์ โดยงานหัตถศิลป์เหล่านี้ สามารถสร้างการรับรู้ที่มากขึ้น สู่สายตากลุ่มคนในทุกยุคทุกสมัยได้ ดังนั้น ผู้บริหารของ ICONSIAM จึงให้ความสำคัญกับผลงานสร้างสรรค์นี้ เกิดเป็น Vision & Mission ที่ต้องการสนับสนุน และสร้างความภาคภูมิใจกับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์คราฟต์ และได้ร่วมมือกับ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ให้การสนับสนุนด้านพื้นที่ ข้อมูล และด้านการเงิน รวมไปถึงเพิ่มช่องทางขายผ่าน KPLUS Market ให้เป็นตลาดคราฟต์ขนาดใหญ่ที่สุดในออนไลน์ จนเกิดเป็นการ re-branding ปรับโฉมสู่ ICONCRAFT โฉมใหม่ขึ้น
โดยความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อยกระดับงานคราฟต์ของไทย ให้ก้าวขึ้นสู่ความเป็นสากลมากขึ้น เสกพื้นที่แห่งโอกาสเพื่อหล่อหลอมเสน่ห์ของงานหัตถกรรมแบบไทยทั้งหมดสู่ความโมเดิร์น ให้กลายเป็น ‘นวัตศิลป์’ ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ที่หลงใหลในแฟชั่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และโด่งดังไปไกลถึงต่างแดนได้
ภายใต้คอนเซ็ปต์ใหม่ ‘Find your craft @ICONCRAFT’ สเปซแห่งงานคราฟต์ของไทยมุมมองใหม่ 2 แห่งด้วยกัน ที่ ชั้น 4 – 5 ไอคอนสยาม และ ชั้น 3 สยามดิสคัฟเวอรี่ ด้วยไอเดียน่ารักๆ สำหรับสาวกงานคราฟต์ และกลุ่มคนที่ไม่ได้อินกับงานคราฟต์ แต่เชื่อว่าจะหลงใหลและหลงรักโลกของคราฟต์มากขึ้น เพราะความเก๋ที่ร่วมสมัย ซึ่ง Craft community แห่งนี้เปิดให้มาตามหาความคราฟต์ในสไตล์ของเราง่ายขึ้น แบบรวมศูนย์ของที่ดีที่สุดจากทั่วประเทศ โดยที่ไม่จำเป็นต้องตระเวนไปตามที่ต่างๆ เพื่อให้ได้ the best quality craft อีกแล้ว
โฉมใหม่ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Find your craft @ICONCRAFT’
แม้ว่า ICONCRAFT จะเปิดตัวมาแล้วเกือบ 2 ปี แต่การปรับโฉมใหม่ครั้งนี้ ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Find your craft’ น่าสนใจตรงที่มีการแบ่งโซนตาม categories ของโปรดักซ์ต่างๆ ตามหมวดหมู่อย่างชัดเจน ง่ายต่อการตามหาสไตล์ในแบบของเรา ตัวอย่างเช่น
ICONCRAFT ที่ Siam Discovery ที่ถูกแบ่งเป็น 5 โซนสินค้า ดังนี้
- Zone coffee: GRAPH COFFEE FROM เชียงใหม่
- Zone Furniture and Flams
- Zone ผ้าครูช่าง
- Zone Ceramic / Lifestyle
- Zone Jewelry
ส่วน ICONCRAFT ที่ ICONSIAM มีทั้งหมด 7 โซนใหญ่ด้วยกัน ดังนี้
- Zone Home and decorative items
- Zone Furniture / Paya and others
- Zone ผ้าครูช่าง
- Zone Jewelry เครื่องทอง และ อื่นๆ
- Zone Thai Spa
- Zone Apparel and Accessories
- Zone ปฐม ออร์แกนิค
ผลงานความประณีตเหล่านี้จะถูกถ่ายทอดโดยตรง มาจากช่างฝีมือรุ่นใหญ่ และออกเดินทางจากชุมชนคราฟต์ มาสู่หัวใจคนเมือง สำหรับคนรุ่นใหม่หัวใจแฟชั่นน่าจะชอบอะไรที่เก๋ๆ เพราะเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับ รวมไปถึงเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ คือ การเดินทางอย่างหนึ่งของเรา เป็นการสะท้อนตัวตนจาก character หนึ่งสู่ character หนึ่งตามประสบการณ์ของคนนั้นๆ
‘Craft Hero’ ปั้นยอดฝีมือไทยสู่ระดับอินเตอร์
นอกจากนี้ ยังมีความเอ็กซ์คลูซีฟแบบคราฟต์ไทยโมเดิร์นที่ไม่เหมือนใคร ภายใต้คอนเซ็ปต์เดียวกัน นั่นคือ ‘Find your craft : Craft Hero’ สุดยอดนักคิด นักสร้างสรรค์ ทั้งหมด 16 คนซึ่งสามารถพบได้ที่ ICONCRAFT โดยแรงบันดาลของพวกเขาตกผลึกมาเป็นผลงานชิ้นเอก จากความเชื่อว่า คราฟต์ คือ จิตวิญญาณของความเป็นไทยที่สืบสานรุ่นสู่รุ่น และต้องการรวมพลังคราฟต์สู่สายตาโลก สร้าง Branding ให้กับคนไทย ประเทศไทย ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
โดย Craft Hero ทั้งหมด 16 คน ได้แก่ คุณ ชนนิกานต์ แซไซย กับแบรนด์ Kakkatoon, คุณคริสเตียน เลวินเซน กับแบรนด์ Siam maya chocolate, คุณวิชชุกร โชคดีทวีอนันต์ กับแบรนด์ Home studio shop, คุณสุภาวดี แก้วคำ กับแบรนด์ Siam drip co, คุณอังคาร อุปนันท์ กับแบรนด์ Angsa, คุณเอก ทองประเสริฐ กับแบรนด์ Collector Project, คุณนายพงศกร ทองสุข กับแบรนด์ Char, คุณฐิตาภา ตันสกุล และ ลูเซีย เปราโก กับแบรนด์ Storie of silk and silver, คุณสุนัดดา นรสาร กับแบรนด์ Mamawell, คุณพลิษฐ์ หงสุชน กับแบรนด์ บุญยรัตน์ ไทยคราฟต์, ณิชภัค ต่อสุทธิ์กนก และวนัส โชคทวีศักด์ กับแบรนด์ Luck you, คุณภิรดา เสนียวงษ์ ณ อยุธยา กับแบรนด์ Trimode.c, คุณรมณ มณีเนตร กับแบรนด์ Hoolk, คุณธัญญ์นภัส กิ่งสุวรรณ กับแบรนด์ Thorr, คุณนันทสิริ อัสสกุล กับแบรนด์ โขมพัสตร์/khom และ คุณโม จิรชัยสกุล กับแบรนด์ Mo Jirachai
ทั้งนี้ เราจะลองหยิบยก Craft Hero ให้รู้จัก และเข้าใจถึงแรงบันดาลใจของพวกเขา 5 คน ว่าพวกเขาหลงใหลอะไรในความเป็นคราฟต์ อย่างแบรนด์แรก ‘Angsa (อังศา)’ แบรนด์คราฟต์โดยคุณอังคาร อุปนันท์ ลูกหลานของช่างศิลปหัตถกรรมโลหะเครื่องเงิน จากจ.เชียงใหม่ ที่เชิดชูในศิลปะยัดลาย (Filigree) หรือการร้อยหรือต่อตะขอเกี่ยวโลหะชิ้นเล็ก ดัดให้เป็นเครื่องประดับแบบยัดลาย มีแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งผลิตเครื่องประดับทำด้วยมือมากว่า 50 ปี
แบรนด์ที่ 2 ‘Siam Drip Co’ โดยคุณสุภาวดี แก้วคำ ที่เริ่มแรงบันดาลใจมาจากการคิดนอกกรอบจากสิ่งที่แตกหัก เช่นของสะสมที่ทำจากดริปเปอร์ เซรามิก หรือ พลาสติกที่แตกหักง่าย ให้กลายเป็นไอเดียของสะสมที่ทำมาจากดริปเปอร์ที่ทนทานกว่าเดิม ทนร้อน ทนหนาว ทนแดด และมีน้ำหนักเบา
ส่วนแบรนด์ที่ 3 ‘Siammaya chocolate’ โดยคุณคริสเตียน เลวินเซน ที่ลองนำเมล็ดโกโก้หลักของเชียงใหม่มาทำเป็นช็อกโกแลต และเพิ่มความสนุกสนานด้วยผลไม้ และเครื่องเทศผสมเข้าไปในช็อกโกแลต จนมีรสชาติช็อกโกแลตที่โดดเด่นจากคนอื่น กลายเป็นสินค้าแนะนำให้ซื้อบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซหลายแห่ง
แบรนด์ที่ 4 ‘บุญยรัตน์ ไทยคราฟต์’ โดยคุณพลิษฐ์ หงสุชน จากนครศรีธรรมราช เป็นธุรกิจกระเป๋าที่ดำเนินมากว่า 30 ปี ร่วมมือพัฒนาและวิจัยกับชาวบ้านท้องถิ่นให้สินค้าทันสมัย และทนทานขึ้น จนกลายเป็นสินค้า OTOP 5 ดาว และได้รับรางวัลชนะเลิศ DEmark สาขา Lifestyle จากกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งสินค้าไม่ได้จำหน่ายแค่ในไทย แต่ส่งออกไปต่างประเทศหลายแห่งด้วย
และแบรนด์ที่ 5 ที่จะหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างจากทั้ง 16 Craft Hero ก็คือ ‘Mamawell’ แบรนด์ของคุณ สุนัดดา นรสาร จากกรุงเทพฯ ที่ปิ๊งแรงบันดาลใจมาจากการทำงานวิทยานิพนธ์ ลองนำเศษวัสดุจากสิ่งทอมาสร้างเป็นโปรดักซ์ใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มให้ใหม่อีกครั้ง จนสามารถเนรมิตเศษชุดว่ายน้ำให้เป็นกระเป๋าเก๋ๆ ได้
นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง 5 ใน 16 inspirations ที่คุณจะได้เห็นจากสเปซ ICONCRAFT โลกใบใหม่ที่จะเปิดพื้นที่กว้างทางความคิด และลบล้างความรู้สึกที่ว่าคราฟต์คือ สินค้าชุมชนล้าหลังไปได้เลย และด้วยความที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของงานคราฟต์ในแบบไทยๆ เหมือนเป็นการส่งต่อความรู้สึก วัฒนธรรม และประเพณีหลายๆ แบบ ซึ่งไม่ใช่แค่งานฝีมือ แต่คราฟต์ คือ วิถีชีวิตของนักผลิตด้วย
ดังนั้นนอกจากที่ ICONCRAFT จะเป็นพื้นที่บอกเล่าเรื่องราว story ต่างๆ ของงานคราฟต์ในแต่ละชิ้น ยังเป็นพื้นที่แห่งโอกาสที่ผู้ประกอบการจะสร้างแบรนด์ให้กับตัวเองได้ รวมไปถึงให้ผู้บริโภคได้เข้าใจ ที่มาที่ไปของไอเดียความคราฟต์เหล่านั้น อีกทั้งยังเป็นจุดคัดกรองความ The best ของโปรดักซ์ชิ้นนั้นๆ ที่เข้าถึงทุกคนได้ง่าย และสิ่งเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ คือ อาจเป็นพื้นที่จุดประกายความคิดของนักประดิษฐ์ และนักสร้างสรรค์คนรุ่นใหม่ๆ อีกมากมายก็ได้