อิชิตัน นำร่องโมเดลพัฒนาชุมชนต้นน้ำเผ่าอาข่าและขยายการช่วยเหลือไปสู่ลูกหลานเกษตรกรผู้ปลูกชา

  • 2.8K
  •  
  •  
  •  
  •  

ไร่ชาบนพื้นที่ อ.แม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เคยเป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นของชาวเขาเผ่าอาข่ามาก่อน แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หลังจากมีการนำพืชที่ถูกกฎหมายเข้ามาปลูกในพื้นที่ พร้อมกับการสนับสนุนและให้ความรู้แก่คนในชุมชน การปลูกฝิ่นก็ค่อยๆหายไป และแทนที่ด้วยการปลูกพืชไร่ที่ช่วยสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอย่างถูกกฎหมาย

ICHITAN-1

ส่วนภาคธุรกิจที่เข้ามาซัพพอร์ตและทำ CSR กับชุมชนเผ่าอาข่าแห่งนี้คือ ‘อิชิตัน กรุ๊ป’ เพราะอิชิตันใช้ใบชาจากพื้นที่นี้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำชาอิชิตัน  ซึ่งไร่ชา เป็นหนึ่งในเกษตรกรรมสำคัญของคนในชุมชนเผ่าอาข่า และตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา พื้นที่เกษตรกรรมชาในจังหวัดเชียงรายขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จาก 45,599 ไร่ ในปี 2547 เป็น 59,760 ไร่

แต่คุณเชื่อไหมว่า แม้จะเป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งปลูกชา แต่คนในชุมชน กลับได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำสะอาด โดยมีน้ำประปาภูเขาให้ใช้เพียงปีละ 2 เดือนเท่านั้น อีก 10 เดือนที่เหลือคือความยากลำบากในการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่

ICHITAN-2

อิชิตัน จึงเข้ามาพร้อมโมเดลพัฒนาชุมชนต้นน้ำในชื่อโครงการ “ชาคืนต้น” มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงระบบน้ำสาธารณูปโภคให้คนในพื้นที่มีน้ำใช้ตลอดปี โดย ตัน ภาสกรนที พร้อมทีมงานได้เข้าไปยังพื้นที่ โรงเรียนพญาไพรไตรมิตร ต.เทอดไท อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เป็นพื้นที่แรกที่เลือกเข้าไปพัฒนา เนื่องจาก “ชาคืนต้น” เป็นโครงการที่ต้องการจะขยายขอบเขตความรับผิดชอบไปให้ถึงกลุ่มลูกหลานของเกษตรกรผู้ปลูกชา ด้วยการสร้างโอกาสทางการศึกษา พร้อมพัฒนาระบบน้ำ  เพราะน้ำสะอาดคือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสุขอนามัยที่ดี

อิชิตันได้เข้าไปติดตั้งแท่นเจาะพื้นหินลึก 80 เมตร เป็นระดับความลึกที่สามารถนำน้ำบาดาลที่มีสะสมเพียงพอสำหรับการกินใช้ของทุกคนในโรงเรียนตลอดทั้งปี  และยังเหลือแบ่งปันไปยังชุมชนในหน้าแล้ง พร้อมกับสร้างอาคารอนุบาลหลังใหม่แทนอาคารเดิมที่อยู่ในสภาพทรุดโทรม และมอบอุปกรณ์การเรียนและอุปกรณ์กีฬาให้แก่นักเรียนทุกคน

ICHITAN-3

“การเข้ามาพัฒนาชุมชนเผ่าอาข่าถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบ ที่อิชิตันมีความยินดีช่วยเหลือ เพราะเกษตรกรชาวเขาเหล่านี้คือครอบครัวเดียวกับเรา นอกจากการช่วยสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกรกว่าหมื่นคนในพื้นที่ชุมชนต้นน้ำ มีรายได้ต่อครัวเรือนและต่อมวลรวมเพิ่มขึ้นแล้ว อิชิตันยังได้สนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัยด้านเทคโนโลยีการปลูกชามาโดยตลอด” ตัน ภาสกรนที กล่าว

ในปีต่อไป อิชิตันวางแผนจะขยายขอบเขตการพัฒนาและเข้าไปปรับปรุงคุณภาพชีวิตของเด็กนักเรียนประถม และมัธยม และชุมชนเพิ่มเติม และจะมีการว่าจ้างแรงงานในชุมชนเพื่อเป็นการสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง โดยยึดหลักการพัฒนาชุมชนต้นน้ำแบบครอบครัวเดียวกันให้เติบโตอย่างยั่งยืน

เมื่อชุมชนเผ่าอาข่าในจังหวัดเชียงราย ได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐและภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ในช่วง 10 ปีมานี้ รายได้ของเกษตรกรยกระดับขึ้นจาก 23,710 บาท ต่อปีต่อครัวเรือน ในปี 2549  เพิ่มขึ้นเป็น 127,010 บาท ต่อปีต่อครัวเรือน ในปี 2554 และยังคงการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

ICHITAN-4

ซึ่งในอดีต…นอกจากพื้นที่แห่งนี้จะปลูกฝิ่นแล้ว คนในพื้นที่ยังต้องจากครอบครัวไปไกลเพื่อไปเป็นแรงงานรับจ้างในเขตเมือง ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการที่ภาคธุรกิจเข้าไปช่วยเหลือนี้ จึงทำให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทุกคนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำเกษตรกรรมไร่ชา ซึ่งการว่าจ้างแรงงานในพื้นที่ทำให้คนในครอบครัวไม่ต้องห่างไกลกันเพื่อไปรับจ้างในเมือง

โครงการ “ชาคืนต้น” จึงเป็นอีกหนึ่งโมเดล CSR ของภาคธุรกิจที่สามารถแก้ไขปัญหาได้จริง และที่สำคัญคือ เป็นโมเดลระยะยาวที่สามารถขยายขอบเขตการพัฒนาออกไปได้เรื่อยๆในทุกปี เป็นการตอบโจทย์การทำ CSR ที่ไม่ใช่แค่สร้างแผนดำเนินการรับผิดชอบต่อสังคม แต่ต้องลงมือและดำเนินการตามแผนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนด้วย

ICHITAN-5


  • 2.8K
  •  
  •  
  •  
  •