ในระหว่างมหกรรมโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส ประจำปี 2565 (Mobile World Congress 2022) หัวเว่ย (Huawei) ได้มอบหมายให้บริษัท ฟอร์เรสเตอร์ คอนซัลติง (Forrester Consulting) ทำการศึกษาและจัดทำรายงานเกี่ยวกับเครือข่ายขับเคลื่อนอัตโนมัติในชื่อ “การสร้างความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจดิจิทัลด้วยเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ” (Building Leading Digital Business Competitiveness with A Highly Autonomous Driven Data Center Network) โดยกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงดาต้าเซ็นเตอร์ระดับองค์กรไปสู่ดาต้าเซ็นเตอร์บนระบบคลาวด์ที่ทันสมัยในลักษณะของเครือข่าย “มัลติคลาวด์และไฮบริด” ในขณะที่เครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์กำลังเปลี่ยนจากระดับ 3 ไปสู่ระดับ 4 โดยรายงานฉบับนี้เรียกร้องให้มีการยกระดับระบบอัตโนมัติ พร้อมแนะนำวิธีการพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ระดับองค์กรให้ทำงานได้อย่างอิสระมากขึ้น
ฟอร์เรสเตอร์ได้ทำการสำรวจผู้นำด้านไอทีและผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านเทคนิคจากองค์กรขนาดใหญ่และขนาดกลางรวม 197 แห่งทั่วโลก เกี่ยวกับสถานะในปัจจุบัน ความท้าทาย และเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กร
เทคโนโลยีและโมเดลธุรกิจใหม่ขับเคลื่อนเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์สู่ความเป็นอิสระในระดับสูง
รายงานระบุว่า 61.9% ขององค์กรที่ตอบแบบสำรวจกำลังสร้างดาต้าเซ็นเตอร์โดยใช้คลาวด์แบบส่วนตัวและแบบไฮบริด โดยดาต้าเซ็นเตอร์ที่อยู่บนคลาวด์ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถบริการตนเองแบบออนดีมานด์ เข้าใช้งานได้อย่างทั่วถึง รวบรวมทรัพยากรได้อย่างครอบคลุม มีความยืดหยุ่น ตลอดจนมีความสามารถในการบริการที่ได้มาตรฐานและวัดผลได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยเครือข่ายขับเคลื่อนอัตโนมัติ ในขณะเดียวกัน การแข่งขันในตลาดที่ดุเดือดมากขึ้นและรูปแบบธุรกิจที่รวดเร็วทำให้ความต่อเนื่องของบริการและประสิทธิภาพแบบเรียลไทม์เป็นที่ต้องการอย่างมาก ความต้องการทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ยังต้องอาศัยความเป็นอิสระมากขึ้นในการวางเครือข่ายและการให้บริการอย่างรวดเร็ว รวมถึงการรับประกันความต่อเนื่องของบริการและป้องกันการหยุดชะงักของธุรกิจ
เครือข่ายที่ซับซ้อนมากขึ้นและเทคโนโลยีเครือข่ายที่ล้าสมัย คือความท้าทายที่สำคัญในการพัฒนาเครือข่ายขับเคลื่อนอัตโนมัติ
ภายหลังการประเมินตัวเอง องค์กรที่ตอบแบบสำรวจ 64% เชื่อว่าดาต้าเซ็นเตอร์ของตนอยู่ในระดับ 3 นั่นคือ เครือข่ายขับเคลื่อนอัตโนมัติแบบมีเงื่อนไข แม้ว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น คลาวด์คอมพิวติง ปัญญาประดิษฐ์ และเอสดีเอ็น จะช่วยให้เครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์สามารถยกระดับการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษาอัจฉริยะโดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม องค์กรต่าง ๆ ยังคงเผชิญกับความท้าทายมากมายในการใช้งานระบบอัตโนมัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนของการสร้าง รวมถึงการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษาที่ยังคงต้องอาศัยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและทักษะของพนักงานเป็นอย่างมาก ซึ่งถือว่าไม่มีประสิทธิภาพและเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย
ในความเป็นจริงแล้ว องค์กรส่วนใหญ่ต่างพึ่งพาโซลูชันของบรรดาผู้จำหน่าย (ครอบคลุมแผนการ กระบวนการ และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานระบบอัตโนมัติ) เพื่อให้เกิดการทำงานอัตโนมัติในระดับหนึ่งสำหรับเครือข่ายซิงเกิลคลาวด์และซิงเกิลดาต้าเซ็นเตอร์ แต่เนื่องจากดาต้าเซ็นเตอร์ระดับองค์กรมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เครือข่ายมัลติคลาวด์ เครือข่ายมัลติดาต้าเซ็นเตอร์ และเครือข่ายลูกผสมจึงกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ ซึ่งทำให้เครือข่ายมีความซับซ้อนขึ้นมาก ด้วยเหตุนี้ โซลูชัน เครื่องมือ และทักษะที่มีอยู่จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้
ดาต้าเซ็นเตอร์ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นภายในครั้งเดียว องค์กรที่ตอบแบบสำรวจ 50.8% ระบุว่ายังคงใช้เครือข่ายและอุปกรณ์เก่าจำนวนมากในขณะที่ขยายและสร้างโครงสร้างพื้นฐานดาต้าเซ็นเตอร์ อย่างไรก็ตาม สถาปัตยกรรมเครือข่ายเดิมไม่มีความยืดหยุ่นและพัฒนาได้ช้า ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะทำให้เครือข่ายรุ่นเก่าทำงานอัตโนมัติ สิ่งนี้ส่งสัญญาณปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่ง นั่นคือ การหาทางฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีที่ล้าสมัยเพื่อปกป้องการลงทุนในอดีตที่ผ่านมา
แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดและความร่วมมือช่วยเร่งการพัฒนา
ฟอร์เรสเตอร์แนะนำว่า องค์กรต่าง ๆ ต้องกำหนดเป้าหมายและแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนาเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์ให้ทำงานอัตโนมัติ โดยอ้างอิงสถานะและกลยุทธ์ในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังสามารถเรียนรู้จากแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรม โดยเครือข่ายอัตโนมัติต้องอาศัยเทคโนโลยีทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครือข่าย สถาปัตยกรรมคลาวด์แบบไฮบริด หรือระบบอัตโนมัติ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากสำหรับองค์กรที่จะบรรลุผลสำเร็จได้ด้วยตนเอง วิธีการแก้ปัญหาคือการดึงจุดแข็งของพันธมิตรเพื่อเร่งให้เกิดการทำงานอัตโนมัติและนำหน้าคู่แข่งอยู่เสมอ
หัวเว่ย คลาวด์แฟบริก 3.0 เครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์ขับเคลื่อนอัตโนมัติระดับ 3.5
เมื่อไม่นานมานี้ โทลลี กรุ๊ป (Tolly Group) ผู้ให้บริการทดสอบและตรวจสอบรับรองบุคคลที่สามชั้นนำระดับโลก ได้ทำการเปรียบเทียบโซลูชันเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์แบบไฮเปอร์คอนเวิร์จ หัวเว่ย คลาวด์แฟบริก 3.0 (Huawei CloudFabric 3.0 Hyper-Converged Data Center Network Solution) กับโซลูชันดาต้าเซ็นเตอร์เอสดีเอ็น (SDN) ที่ใช้งานเป็นหลักในปัจจุบัน โดยโซลูชันของหัวเว่ยทำคะแนนได้ 3.51 ซึ่งสูงกว่าโซลูชันเอสดีเอ็นที่ได้คะแนน 2.8 นอกจากนั้นยังเป็นโซลูชันเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์ขับเคลื่อนอัตโนมัติระดับ 3.5 เพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับการรับรองโดยโทลลี กรุ๊ป
หัวเว่ย คลาวด์แฟบริก 3.0 ซึ่งเป็นโซลูชันเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์แบบไฮเปอร์คอนเวิร์จ มอบการทำงานอัตโนมัติตลอดวงจรชีวิต รวมถึงความสามารถด้านการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษาแบบอัจฉริยะสำหรับเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์ โดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยมากมาย เช่น กรอบการตั้งโปรแกรมแบบเปิด แพลตฟอร์มประสานบริการ ดิจิทัลทวิน และกราฟความรู้ ซึ่งทำให้หัวเว่ย คลาวด์แฟบริก 3.0 สามารถจัดการเครือข่ายมัลติดาต้าเซ็นเตอร์ เครือข่ายมัลติคลาวด์ และเครือข่ายลูกผสมจากส่วนกลาง จัดเตรียมบริการภายในไม่กี่วินาที ดำเนินการจำลองและยืนยัน ตลอดจนระบุตำแหน่งข้อบกพร่องระหว่างแอปพลิเคชันและเครือข่าย โซลูชันนี้ช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนานวัตกรรมการบริการที่คล่องตัว และนำไปสู่การให้บริการแบบเรียลไทม์ ทั้งนี้ หัวเว่ย คลาวด์แฟบริก 3.0 ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น การเงิน รัฐบาล องค์กรขนาดใหญ่ และผู้ให้บริการโทรคมนาคม เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลขององค์กรต่าง ๆ และช่วยให้ลูกค้าประสบความสำเร็จทางธุรกิจ
มหกรรมโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส ประจำปี 2565 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึง 3 มีนาคม ณ เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน โดยหัวเว่ยได้ร่วมนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชันต่าง ๆ ที่บูธ 1H50 ในฟีรา กรัน เวีย ฮอลล์ 1 (Fira Gran Via Hall 1) ทั้งนี้ ด้วยการร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่าย ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และผู้นำทางความคิดจากทั่วโลก เราได้เจาะลึกประเด็นต่าง ๆ เช่น แนวโน้มของอุตสาหกรรม แบบจำลอง GUIDE เพื่อนำทางสู่อนาคต และการพัฒนาสีเขียว เพื่อวาดภาพเครือข่ายดิจิทัลแห่งอนาคต สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://e.huawei.com/en/events/huawei-enterprise-mwc-2022