สงครามการค้าหรือแค่การเมือง? จับต้นชนปลาย ทำไมผู้บริหารระดับสูงของ HUAWEI ถึงถูกจับ

  • 1.2K
  •  
  •  
  •  
  •  

เมิ่ง

ไม่กี่วันที่ผ่านมา คงได้เห็นข่าวฉาววงการไอทีกันมาแล้วบ้าง เมื่อนางเมิ่ง หว่านโจว (Meng Wanzhou) หัวหน้าคณะเจ้าที่การเงิน ลูกสาวของผู้ก่อตั้งบริษัทสมาร์ทโฟนชื่อดัง แบรนด์หัวเว่ย (HUAWEI) ถูกจับ!! เหตุดังกล่าวทำเอาหลายคนถึงกับอึ้งกิมกี่ ว่าหนึ่งในผู้บริษัทระดับสูงขนาดนั้นถูกจับได้อย่างไร โดนข้อหาอะไร ทำไมสหรัฐฯ ถึงสั่งบุกจับ เพื่อไม่ให้เกิดการสันสน จึงขอสรุปประเด็นสำคัญ ให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายๆ และสามารถตามต่อเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ดังนี้

ก่อนเข้าเรื่องขอปูทางสักเล็กน้อยเกี่ยวกับจีนและสหรัฐ ซึ่งมันจะเชื่อมโยงกับแบรนด์หัวเว่ยภายในหลัง เป็นที่รู้กันว่าประเทศจีนกับสหรัฐอเมริกาต่างแข่งขันกันสุดฤทธิ์สุดเดช เพื่อที่จะขึ้นเป็นมหาอํานาจทางเศรษฐกิจระดับโลก ซึ่งการแข่งขันดุเดือนขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขีดสุดเมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 ทั้งจีนและสหรัฐฯ ต่างสร้างกำแพงภาษี ขึ้นราคาสินค้าจากทั้งสองฝั่งอย่างไม่ลดละ ขณะเดียวกัน แบรนด์หัวเว่ยจากประเทศจีนก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องไปทั่วโลก ซึ่งการค้าขายระหว่างประเทศสำหรับแบรนด์หัวเว่ยนั้น ไม่ใช่แค่การส่งออกสมาร์ทโฟนเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งออกวัสดุอุปกรณ์ไอทีอื่นๆ รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ลำ้สมัยออกสู่ทั่วทุกสารทิศเช่นกัน กลายเป็นเครือข่ายใยแมงมุมเลยก็ว่าได้ ปัจจุบันแบรนด์หัวเว่ยถือเป็นแบรนด์ทรงอิทธิพลระดับโลก แข่งขันกันอย่างสูสีกับแอปเปิ้ลและซัมซุง

เมื่อหัวเว่ยเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางและสินค้าของแบรนด์ได้กระจายไปทั่วโลก ทำให้สหรัฐฯ เกิดการระแวงแบรนด์หัวเว่ยที่เป็นสินค้าจากจีน กลัวว่าจะถูกดักเก็บข้อมูล เช่นเดียวกับประเทศจีนที่หวาดระแวงสหรัฐฯ จนไม่ยอมให้ประชาชนภายในประเทศแตะต้องเบราเซอร์ชื่อดังอย่าง Google ความระแวงดังกล่าวของสหรัฐฯ ดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม่กี่ปีที่ผ่านมา หน่วยความมั่นคงของสหรัฐฯ เริ่มประกาศแบนสินค้าจากหัวเว่ย โดยอ้างความมั่นคงของประเทศ ด้านหัวเว่ยก็ออกมาชี้แจงว่าการกระทำของสหรัฐฯ ช่างไม่เป็นธรรมเอาเสียเลย ออกแนวใส่ร้ายป้ายสีด้วยซ้ำ ถึงอย่างนั้น ดูเหมือนสหรัฐไม่ยักจะสนสักเท่าไหร่ และประกาศแบนอย่างต่อเนื่อง ห้ามทหารทุกคนใช้แอปพลิเคชั่นจากจีนในการติดต่อสื่อสาร ซึ้งแอปฯ หนึ่งในนั้นที่ถูกสั่งห้าม คือ WeChat

“เมิ่ง หว่านโจว” เป็นใคร ทำไมถึงถูกสั่งจับ ?

นางเมิ่ง หว่านโจว ลูกสาวของ เหริน เจิ้งเฟย (Ren Zhengfei) ผู้ก่อตั้งแบรนด์หัวเว่ยและอดีตเคยเป็นวิศวกรของกองทัพจีน สำหรับเมิ่ง หว่านโจว ปัจจุบันดำลงตำแหน่ง หัวหน้าคณะเจ้าที่การเงินของหัวเว่ย เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. มีข่าวการจับกุมตัวนางเมิ่ง ที่นครแวนคูเวอร์ของแคนาดา โดยทางการสหรัฐฯ เป็นคนออกคำสั่งดังกล่าว ซึ่งข้อหาที่โดนก็คือ ละเมิดมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ นางเมิ่งมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เปิดบริษัทที่มีชื่อว่า “สกายคอม” เพื่อลักลอบทำธุรกิจกับอิหร่าน

ศาลสูงสุดแห่งบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ชี้ว่า บริษัท สกายคอม เป็นบริษัทย่อยของหัวเว่ย จัดตั้งขึ้นเพื่อทำการค้ากับอิหร่าน ด้านนางเมิ่ง โต้กลับว่า สกายคอมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหัวเว่ยแต่อย่างใด ซึ่งจุดนี้นั่นเองที่ทางสหรัฐเป็นกังวล หากสกายคอมเกี่ยวข้องกับหัวเว่ยจริง ย่อมส่งผลต่อการดักเก็บข้อมูลในสหรัฐฯ และเป็นไปตามที่ทางการทหารสหรัฐฯ เชื่อมาตลอด

ทางการสหรัฐฯ ค่อนข้างซีเรียสกับเรื่องมาตรการคว่ำบาตร เพราะไม่ใช่แค่กระทบต่อสหรัฐฯ แต่ยังกระทบต่อความมั่นคงระดับโลก (การเมืองล้วนๆ) ส่งผลให้นางเมิ่ง กลายเป็นผู้ร้ายข้ามแดน และได้ถูกส่งตัวไปยังสหรัฐอเมริกา หลังเกิดเหตุการณ์จับกุม ทางประเทศจีนได้ออกมาประท้วงการกระทำของสหรัฐฯ ว่าทำเกินกว่าเหตุ สถานทูตจีนพร้อมเดินหน้าปกป้องสิทธิตามกฎหมายอย่างเต็มกำลัง

สำหรับในชั้นศาล ศาลระบุว่า นางเมิ่งได้แสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อสาธารณะ โดยบริษัทสกายคอมถูกตั้งมาเพื่อใช้ในการฉ้อโกงและบังหน้าหลายกรณี (ข้อมูลยังไม่เปิดเผยว่ามีเรื่องอะไรบ้าง) หากศาลพิพากษาว่าผิดจริง นางเมิ่งอาจรับโทษจำคุกสูงสุดยาวนานกว่า 30 ปี ในสหรัฐฯ ปัจจุบันศาลยังไม่อนุญาตให้ประกันตัว เพราะกลัวว่าจะเกิดการหลบหนี ซึ่งความคืบหน้าต่อจากนี้ศาลจะเปิดเผยเพิ่มเติมต่อในวันจันทร์ที่จะถึงนี้

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันหัวเว่ยไม่ได้ถูกทางการสหรัฐฯ จับตาเพียงประเทศเดียว ยังโดนประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ห้ามใช้บริการ 5G ที่กำลังจะมาถึง ล่าสุดประเทศญี่ปุ่นประกาศระงับการซื้อสินค้าจากหัวเว่ย อ้างความมั่นคงของประเทศ โดยจะมีการทบทวนอีกครั้งในวันที่ 10 ธันวาคม นี้ และรัฐบาลอังกฤษเอง ก็เริ่มเฝ้าระวังการใช้สินค้าจากหัวเว่ยเช่นกัน ศูนย์ความมั่นคงด้านไซเบอร์แห่งชาติ (National Cybersecurity Centre) เริ่มวางมาตรการก่อนการตัดสินใจใช้เครือข่าย 5G ของหัวเว่ย แต่ทั้งนี้ อังกฎษเองก็ยังอยากสานสัมพันธ์ที่ดีกับจีนอยู่ โดยการเตรียมถอนตัวจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป 

FYI

มาตรการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐฯ เกิดจากการที่ประเทศอิหร่านพยายามประกาศทดสอบขีปนาวุธอย่างต่อเนื่อง แม้อิหร่านจะทำข้อตกลงนิวเคลียร์กับสหรัฐฯ ในปี 2015 แล้วก็ตาม ส่งผลให้สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์ และใช้มาตรการคว่ำบาตรกับอิหร่านเต็มกำลัง

ที่มา : BBCYahooJapan, CNBCtheguardian

รูปภาพ : scmp.com


  • 1.2K
  •  
  •  
  •  
  •  
Roboots
Tech Savvy Lv.14