ก้าวต่อไปของ “กัลฟ์” ผู้ผลิตและยกระดับพลังงานไทยสู่สากล

  • 556
  •  
  •  
  •  
  •  

บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ กลุ่มบริษัทกัลฟ์ (Gulf) เป็นหนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ของไทย ซึ่งมีโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนวียนหลายสิบแห่งกระจายไปทั่วประเทศตามขนาดของโรงไฟฟ้าที่มีตั้งแต่ไม่กี่เมกะวัตต์จนถึง 2,000 กว่าเมกะวัตต์  นอกจากนี้ยังผลิตและจำหน่ายไอน้ำ และน้ำเย็น รวมถึงขยายธุรกิจสู่การทำโครงสร้างพื้นฐานของประเทศด้วย

ปัจจุบัน กัลฟ์ จำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม ผ่านรูปแบบผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP)

นอกจากการผลิตไฟฟ้าแล้ว กลุ่มบริษัทกัลฟ์ ยังประเมินการลงทุนในแหล่งพลังงานอนาคตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงเชื้อเพลิงชีวภาพ พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียนต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับ ทิศทางพลังงานไทยในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ที่ต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนอย่างเหมาะสม รวมทั้งแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยในอนาคต

กัลฟ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดในปัจจุบันและเพื่ออนาคต

เป็นที่รู้กันว่าไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าและส่งออกพลังงาน โดยสามารถผลิตได้ทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แต่ผลิตได้น้อยกว่าความต้องการใช้ จึงต้องมีการนำเข้า ซึ่งมีแนวโน้มที่จะต้องนำเข้าพลังงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลในช่วงปี 2561 ประเทศไทยมีการนำเข้าพลังงาน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,098,763 ล้านบาท โดยมีการนำเข้าน้ำมันดิบมากที่สุด ดังนั้นการจัดการเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นวิธี การหนึ่ง ที่ช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานภายในประเทศ และลดมูลค่าการนำเข้าพลังงานได้ การวางแผนการผลิตไฟฟ้าจึงเป็นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต

กัลฟ์มีแผนการดำเนินงาน (Roadmap) เพื่อจัดหาพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด และก๊าซธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาแหล่งพลังงานสำหรับอนาคต ซึ่งรวมถึงเชื้อเพลิงชีวมวลและพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ มุ่งมั่นที่จะสร้างและพัฒนาโครงการแหล่งพลังงานที่มีมูลค่า โดยการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจต่างๆ ให้สอดคล้องผ่านความเป็นเลิศในการดำเนินงาน การดูแลเงินทุน และการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

มีการบริหารโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนต่างๆ เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งให้บริการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าแก่ลูกค้าทั้งภาครัฐ หรือ กฟผ. รวมทั้งภาคเอกชนในพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมหลักๆ ของประเทศไทย

นอกจากผลิตไฟฟ้า โครงการโรงไฟฟ้าบางแห่ง ยังผลิตไอน้ำและน้ำเย็น ให้กับกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม ให้บริการบริหารจัดการโครงการโรงไฟฟ้าต่างๆ ภายในกลุ่มบริษัท เริ่มตั้งแต่กระบวนการพัฒนาและก่อสร้างโครงการ จนถึงการบริหารจัดการภายหลังที่โครงการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว

จากทิศทางของพลังงานไทยที่จะยังคงไม่เปิดให้มีการประมูลโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (IPP) ในระยะอันใกล้จากกำลังการผลิตไฟฟ้าในประเทศมีมาก ภาพรวมด้านธุรกิจพลังงานไทยในปีหน้า เริ่มส่งสัญญาณออกไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น

กำลังผลิตติดตั้งระบบไฟฟ้าของประเทศไทย ณ วันที่ 31 พฤษภาคม ปี 2562 มีกำลังผลิตรวมของระบบทั้งสิ้น 42,834.50 เมกะวัตต์ แบ่งสัดส่วนกำลังการผลิตเป็น กฟผ. 14,565.58 เมกะวัตต์ (34.00 %) ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ 14,948.50 เมกะวัตต์ (34.90%) ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก 9,442.82 เมกะวัตต์ (22.05%) ซื้อจากประเทศเพื่อนบ้าน 3,877.60 เมกะวัตต์ (9.05%)

เป็นระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่กัลฟ์ ได้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมการผลิตพลังงานไฟฟ้า นับตั้งแต่นั้นมาก็ประสบความสำเร็จในการประมูลโรงไฟฟ้าเอกชนทั้งรายใหญ่และรายเล็กอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งมั่นที่จะเติบโตและรักษาระดับการเป็นผู้นำในการผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก กัลฟ์ เอสอาร์ซี (GSRC) เปิดดำเนินการในปี 2564 ซึ่งจะทำให้กลุ่มบริษัทกัลฟ์ มีโรงไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตแห่งเดียวสูงถึง 2,500 เมกะวัตต์ โดย GSRC เป็นโรงไฟฟ้า IPP โครงการแรกในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 1 อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี มูลค่าโครงการประมาณ 50,000 ล้านบาท ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า 25 ปี กับ กฟผ. ที่ได้รับการสนับสนุนวงเงินจากกลุ่มสถาบันการเงิน 12 แห่ง เป็นจำนวน 38,000 ล้านบาท

กัลฟ์ปักหมุดลงทุน ตปท. ยกระดับพลังงานไทยสู่สากล

กลุ่มกัลฟ์ โดยบริษัท กัลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง จำกัด ยังขยายธุรกิจไปยังประเทศต่างๆ โดยเข้าร่วมทุน 45% ในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติในประเทศโอมาน มูลค่า 483 ล้านเหรียญสหรัฐ ขนาด 326 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ Duqm ประเทศโอมาน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563 – 2565

(จากซ้ายไปขวา) Mr. Sultan bin Hamad Al Burtmani (Executive Managing Director – Oman Gas Company S.A.O.C) Mr. Isam Al Zadjali (CEO – Oman Oil Company S.A.O.C) นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF นางพรทิพา ชินเวชกิจวานิชย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

นอกจากนี้ กัลฟ์ ยังได้เจรจาร่วมทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ขนาด 460 เมกะวัตต์ มูลค่าการลงทุนประมาณ 766 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในประเทศเวียดนาม และเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในเวียดนาม 2 แห่ง ได้แก่ TTC01 และ TTC02 ได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว และยังมีโครงการที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาอีก 2 แห่ง จึงเห็นได้ว่า กัลฟ์ ยังคงพัฒนาโครงการด้านพลังงานเพื่ออนาคตอย่างไม่หยุดยั้ง

คุณสารัชถ์ รัตนาวะดี เข้าพบ เหวียน ซวน ฟุค นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เพื่อหารือเกี่ยวกับการสนับสนุนพลังงานทดแทน

เมื่อรวมทุกบริษัทย่อยและบริษัทร่วมทุนภายใต้เครือข่ายของกลุ่มบริษัทกัลฟ์ โดยปัจจุบันบริหารและพัฒนากำลังการผลิตติดตั้ง ทำให้ปัจจุบันกัลฟ์มีการลงทุนโรงไฟฟ้ารวม 33 โครงการ ใน 3 ประเทศ และมีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งรวม 11,910 เมกะวัตต์ ถือเป็นผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้ารายใหญ่ของไทย ซึ่งในปี 2562 นี้ เรามองเห็นภาพการเติบโตของกัลฟ์จากการลงทุนในต่างประเทศได้อย่างชัดเจน โดยมองโอกาสการลงทุนในกลุ่มประเทศ CLMV ที่นอกเหนือจากเวียดนามด้วย ทั้งในสปป.ลาว และเมียนมาร์ เนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัวอย่างมาก ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ โดยที่รูปแบบการลงทุนจะชัดเจนมากขึ้นในปีนี้ ทั้งโครงการโซลาร์ฟาร์มและพลังงานลม

กัลฟ์ ตั้งเป้าว่าจะมีรายได้เติบโตประมาณ 60% ในปี 2562 หรือราว 3.3 หมื่นล้านบาท จากปี 2561 และคาดว่าในปี 2564 กัลฟ์จะมีรายได้แตะที่ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้ กัลฟ์ ก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ที่สุดของไทยและมีกำลังการผลิตมากที่สุดในปี 2567

สารัชถ์ รัตนาวะดี นำ กัลฟ์ จาก Best Deal of The Year สู่ธุรกิจเพื่อความยั่งยืน

นอกจากการได้รับรางวัลธุรกรรมทางการเงินยอดเยี่ยมในตลาดทุน (Best Deal of The Year) จากงาน SET AWARDS 2018  แล้ว กัลฟ์ ซึ่งนำโดยคุณสารัชถ์ รัตนะวดี ยังมีความตั้งใจที่จะดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการช่วยเหลือสังคมในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านกีฬา สาธารณสุข การศึกษา และสิ่งแวดล้อม อาทิ การเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของการแข่งขันไทยแลนด์ กอล์ฟ แชมเปี้ยนชิพ (Thailand Golf Championship: TGC) การแข่งขันรายการใหญ่ในเอเชียนทัวร์ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในรายการแข่งขันกอล์ฟที่มีชื่อเสียงที่สุดของทวีป ทางด้านฟุตบอล นอกจากจะเป็นผู้สนับสนุนหลักในการถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซีย จนหลายคนสงสัยว่า กัลฟ์ทำธุรกิจอะไร ทำไมจึงต้องมาเกี่ยวข้องกับฟุตบอล ในข้อเท็จจริงที่ผ่านมาผู้บริหารของธุรกิจผลิตพลังงานอย่าง กัลฟ์ ได้สนับสนุนสโมสรฟุตบอลในไทยลีกมาอย่างต่อเนื่อง บนความตั้งใจด้านการตอบแทนสังคม เพื่อให้โครงการด้านกีฬาเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นความชื่นชอบส่วนตัวเรื่องกีฬาของคุณสารัชถ์ รัตนาวะดี กัลฟ์ ยังได้ร่วมสนับสนุนด้านงบประมาณในการจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ทั้งการจัดโครงการ Gulf Football Camp ชาร์จพลังปลุกฝันนักเตะเยาวชน ร่วมกับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เพื่อปรับปรุงสนามฟุตบอลที่มีสภาพทรุดโทรมในชุมชน และคัดเลือกเยาวชนไทย 4 คน ไปฝึกซ้อมกับทีมดอร์ทมุนด์ ที่ประเทศเยอรมนี เมื่อเมษายนที่ผ่านมา และโครงการกัลฟ์ เซาท์เทิร์น ซูเปอร์ลีก 2019 ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเสริมสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่ สนับสนุนสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนก้าวสู่การเป็นนักกีฬาฟุตบอลอาชีพและทีมชาติ และลดปัญหายาเสพติด

นอกจากนี้ ในด้านสาธารณสุข กลุ่มบริษัท กัลฟ์ ยังมอบเงิน 10 ล้านบาท สนับสนุนโครงการก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ ในปี 2561 และมอบเงินให้แก่โรงพยาบาลหลายแห่งทั่วประเทศ เพื่อนำไปจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์อีกด้วย ส่วนการทำโครงการเพื่อสังคมด้านอื่นๆ ของกัลฟ์ยังมีอีกมาก ซึ่งสามารถหาอ่านข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.gulf.co.th

ความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศจะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องมีการวางแผนการผลิตไฟฟ้าในอนาคตให้เพียงพอในทุกพื้นที่ โดยการปรับเปลี่ยนแผนพัฒนาพลังงานของประเทศ (พีดีพี) เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นเดียวกับธุรกิจของกัลฟ์ ที่ที่มีการเตรียมพร้อมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นพลังสำคัญในการสนับสนุนภาคธุรกิจและภาคสังคมของประเทศไทย


  • 556
  •  
  •  
  •  
  •