เตือนคนที่รัก ระวัง 8 มุกฮิตมิจฉาชีพ Call Center พร้อมวิธีระวังตัวขั้นสุดด้วยโหมด MyMo Secure+ ในแอป MyMo

  • 4
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่าทุกวันนี้บรรดามิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์คอยโทร หาเรามากกว่าเพื่อนหรือแฟนเราเสียอีก แถมบางคนก็กดรับสายและอ่านข้อความโดยที่ไม่รู้ตัวจนถูกหลอกเงินไปก็ไม่น้อยเลย ที่สำคัญมิจฉาชีพยังมีมุกใหม่ๆ สรรหามาหลอกกันได้ไม่เว้นวัน

สถิติในปี 2566 จาก ‘Whoscall’ พบว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพวันละ 217,047 ราย มีคนรับสายจากมิจฉาชีพถึง 20.8 ล้านครั้ง และยังถูกหลอกลวงจากข้อความมากกว่า 58.3 ล้านข้อความ สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชีย  ที่สำคัญตัวเลขของเหยื่อยังคงเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2565 โดยมีผู้ถูกหลอกจากสายโทรศัพท์เพิ่มขึ้น 22% ข้อความเพิ่มขึ้น 17% มูลค่าความเสียหายสะสมรวมกว่า 53,875 ล้านบาท

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนว่าคนไทยยังหลงกลมิจฉาชีพได้ง่ายๆ เป็นภัยร้ายใกล้ตัวที่จำเป็นต้องหาทางระวังป้องกันและรู้เท่าทันสำหรับทั้งตัวเราเองและคนที่เรารัก โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มักตกเป็นเป้าหมาย และนี่คือ 8 กลโกงยอดฮิตของมิจฉาชีพ พร้อมวิธีป้องกันตัวที่เราควรจะเรียนรู้เอาไว้และนำไปเตือนคนที่เรารัก

 

 

8 มุกยอดฮิตมิจฉาชีพก่อนหลอกดูดเงิน!

1.อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร – มิจฉาชีพจะโทรมาแจ้งว่าบัญชีของเรามีปัญหา หรือมีธุรกรรมผิดปกติ หลอกให้เราบอกข้อมูลส่วนตัว รหัส OTP หรือโอนเงินไปยังบัญชีปลอดภัย สิ่งที่ต้องสังเกต ก็คือ “ธนาคารไม่มีนโยบายโทรขอข้อมูลส่วนตัว” หากมีข้อสงสัยให้ติดต่อธนาคารโดยตรงผ่านช่องทางที่เป็นทางการ

2.อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ขนส่ง – มิจฉาชีพจะโทรมาแจ้งว่าเรามีพัสดุตกค้าง หรือพัสดุมีสิ่งผิดกฎหมาย หลอกให้เราบอกข้อมูลส่วนตัวหรือ โอนเงินเพื่อดำเนินการต่างๆ วิธีสังเกตก็คือให้เราตรวจสอบสถานะพัสดุด้วยตัวเองผ่านช่องทางของผู้ให้บริการขนส่งของจริง อย่าหลงเชื่อกดลิงก์ที่บุคคลอื่นส่งมา

3.อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ – แอบอ้างว่าเราเกี่ยวข้องกับคดีความ หรือมีชื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับบัญชีธนาคารหรือกิจกรรมผิดกฎหมายในจังหวัดต่างๆที่ไกลจากเรา หลอกให้เราโอนเงินเพื่อประกันตัว หรือเพื่อตรวจสอบบัญชี บางครั้งวิดีโอคอลปลอมตัวเป็นตำรวจจัดฉากเหมือนนั่งอยู่ในสถานีตำรวจเลยทีเดียว วิธีสังเกตก็คือ ตำรวจจะไม่ติดต่อทางโทรศัพท์เพื่อแจ้งข้อกล่าวหาหรือขอข้อมูลส่วนตัว หากมีข้อสงสัยสามารถไปติดต่อสถานีตำรวจในท้องที่ได้โดยตรง

4.อ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากร – มิจฉาชีพจะโทรมาแจ้งว่าเรามีปัญหาภาษี หรือค้างชำระภาษี โดยเฉพาะในช่วงต้นปีที่เป็นฤดูกาลของการชำระภาษี มิจฉาชีพจะโทรมาหลอกให้เราโอนเงินเพื่อชำระภาษี หรือให้ข้อมูลส่วนตัว วิธีสังเกตคือ กรมสรรพากรจะติดต่อผ่านหนังสือราชการ ดังนั้นอย่าหลงเชื่อการติดต่อทางโทรศัพท์ที่ขอข้อมูลส่วนตัว และเราสามารถตรวจสอบข้อมูลภาษีที่เราต้องชำระได้ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากรโดยตรง

5.อ้างว่าเราเป็นผู้โชคดีได้รางวัล- มิจฉาชีพจะโทรมาแอบอ้างว่ามาจากบริษัทเอกชนหรือบริษัท e-commerce ชื่อดัง แจ้งว่าเราได้รับรางวัลใหญ่ หลอกให้เราโอนเงินค่าธรรมเนียม ค่าภาษี หรือค่าดำเนินการต่างๆให้ไปก่อน วิธีสังเกตก็คือ อย่าหลงเชื่อการแจ้งรางวัลที่เราไม่ได้ร่วมสนุกจริง หากมีข้อสงสัยให้ตรวจสอบกับผู้จัดกิจกรรมโดยตรงได้เพราะหากได้รับรางวัลจริงทุกอย่างสามารถทำได้แบบต่อหน้าไม่มีการทำผ่านโทรศัพท์

6.อ้างว่าเป็นคนรู้จัก- มิจฉาชีพจะโทรมาแกล้งถามว่า “จำได้ไหมว่าใคร” หรือ “จำเสียงเราได้หรือเปล่า” หลอกให้เราบอกชื่อไปเอง จากนั้นก็จะสวมรอยเป็นคนรู้จัก แล้วหาเรื่องขอยืมเงิน วิธีสังเกต หากไม่แน่ใจว่าเป็นใคร ให้ลองถามคำถามที่เฉพาะเจาะจง ที่คนรู้จักเท่านั้นจะตอบได้ อย่าหลงเชื่อเพียงแค่เสียง เพราะมิจฉาชีพอาจใช้เทคโนโลยีปลอมแปลงเสียงที่ปัจจุบันสามารถทำกันได้แล้ว

7.อ้างเป็นพนักงานจากเครือข่ายโทรศัพท์ – มิจฉาชีพจะโทรมาเสนอโปรโมชันพิเศษ หรือแจ้งว่าเรามียอดค้างชำระ หลอกให้เราบอกข้อมูลส่วนตัว หรือโอนเงิน วิธีสังเกตก็คือให้เราติดต่อผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ของเราโดยตรงเพื่อตรวจสอบข้อมูล อย่าหลงเชื่อข้อเสนอที่ดูดีเกินจริง

8.อ้างเป็นนักลงทุนหลอกลงทุน – มิจฉาชีพจะชักชวนให้เราลงทุนในโครงการที่ไม่มีอยู่จริง หรือให้ผลตอบแทนสูงเกินจริง หลอกให้เราโอนเงินลงทุน วิธีสังเกตให้ตรวจสอบข้อมูลของบริษัทหรือโครงการลงทุนอย่างละเอียด อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาที่เกินจริง

สิ่งที่สำคัญที่สุดในทุกกรณีก็คือ อย่า add LINE หรือช่องทางติดต่ออื่นใดจากคนที่เราไม่รู้จักเด็ดขาด! และอย่ากดลิงก์แปลกปลอมที่มิจฉาชีพส่งมา เพราะลิงก์เหล่านี้อาจนำเราไปสู่เว็บไซต์ปลอม แอปพลิเคชันหลอกลวง โดยเฉพาะโปรแกรมควบคุมโทรศัพท์มือถือของเราได้ทั้งหมดเหมือนกับเราปลดล็อคโทรศัพท์แล้วยื่นโทรศัพท์มือถือให้กับคนร้ายเข้าไปโอนเงินหรือทรัพย์สินต่างๆจากสมาร์ทโฟนของเราออกไปได้อย่างง่ายดาย

 

รู้ทันกลโกง ป้องกันภัยมิจฉาชีพได้ด้วยเทคโนโลยี

 

การป้องกันการตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ “สติ” คือสิ่งสำคัญที่สุดรวมไปถึง “การรู้เท่าทันกลโกง” ดังนั้นนอกจากตัวเราเองแล้วก็ต้องเตือนคนที่เรารักให้ระวังเอาได้ด้วย ระลึกไว้เสมอว่า เบอร์แปลก หลอกคุย ตัดสายทิ้ง ลิงก์ไม่กด นอกจากนี้ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีหลากหลายวิธีการที่เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญไม่ให้เราตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ เช่น แอปพลิเคชัน Whoscall ที่เราสามารถติดตั้งไว้ในเครื่องเราให้ช่วยระบุเบอร์โทรแปลก และบล็อกสายและข้อความมิจฉาชีพได้ นอกจากนี้เรายังสามารถระมัดระวังตัวเองได้ด้วยการเปิดโหมดความปลอดภัยที่บางธนาคารติดตั้งมาให้อย่างเช่นล่าสุดธนาคารออมสินมีโหมดนี้ให้เลือกใช้งานได้ในแอป MyMo แล้ว

 

MyMo Secure+ ปลอดภัย มั่นใจทุกธุรกรรม

ปัจจุบันธนาคารต่างๆ ก็เริ่มพัฒนาระบบเพื่อช่วยไม่ให้เราตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพได้ง่าย โดยเฉพาะแอป MyMo ของธนาคารออมสิน ก็เพิ่งเปิดตัวโหมดใหม่ที่เรียกว่า MyMo Secure+ โหมดความปลอดภัยขั้นสูงในแอป MyMo ที่ช่วยปกป้องเงินของเราได้จากมิจฉาชีพ ด้วยฟีเจอร์เด็ดๆ เช่น

  • ไม่สามารถโอนเงินไปยังบัญชีผู้อื่นได้: โอนได้เฉพาะบัญชีของตัวเองเท่านั้น ดังนั้นแม้เราจะตกเป็นเหยื่อและตั้งใจจะโอนเงินออกไปก็จะไม่สามารถทำได้
  • โอนเงินไปบัญชีตนเองต่างธนาคารได้: แม้จะไม่สามารถโอนไปบัญชีคนอื่นได้แต่ก็ยังสามารถโอนไปบัญชีของเราเองที่อยู่ต่างธนาคารได้
  • ชำระค่าสาธารณูปโภค: ไม่เท่านั้นยังสะดวกสามารถจ่ายบิล ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ได้ง่ายๆเหมือนใช้งาน MyMo ในโหมดปกติ
  • จำกัดวงเงินทำรายการรายวัน: อุ่นใจมากขึ้นกับการกำหนดวงเงินได้เอง ควบคุมการใช้จ่าย ไม่ให้สูญเสียเงินจำนวนมากในคราวเดียว
  • ปิดโหมด MyMo Secure+ ได้ที่สาขาธนาคารเท่านั้น: มั่นใจ ปลอดภัย ไม่มีใครแอบปิดโหมด หรือหลอกให้เราปิดโหมดได้เพราะต้องไปปิดโหมดนี้ที่สาขาของธนาคารเท่านั้น อย่างน้อยช่วยยื้อเวลาและได้ตั้งสติยั้งคิดก่อนได้

สรุปแล้วก็คือโหมดนี้นอกจากเราจะใช้เองได้แล้วเรายังสามารถนำไปตั้งค่าให้กับแอปพลิเคชั่น MyMo ของผู้สูงอายุคนที่เรารักที่มีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ในเวลาที่เราไม่อยู่ โดยจำกัดไว้เฉพาะการทำธุรกิจที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันเท่านั้นและตั้งกำแพงป้องกันผู้ไม่หวังดีเอาไว้อย่างแน่นหนานั่นเอง

 

MyMo Secure+ สมัครง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว!

 

สำหรับการเปิดใช้งานโหมด MyMo Secure+ ทำได้ง่ายๆ ด้วยการเปิดแอป MyMo > กดแบนเนอร์ “MyMo Secure+” > อ่านรายละเอียดและกด “สมัครใช้งาน” > อ่านข้อกำหนดและเงื่อนไข > กด “ยอมรับ” จากนั้นก็ทำตามขั้นตอนการยืนยันตัว สแกนใบหน้าก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ได้รับปลอดภัยแบบขั้นสุดแล้ว

ดังนั้นสำหรับใครที่มีบัญชีธนาคารออมสินสามารถเปิดใช้งาน MyMo Secure+ ได้ตั้งแต่วันนี้ เพื่อความปลอดภัยทางการเงินของคนที่รัก สามารถดาวน์โหลดแอป MyMo ได้ที่ https://apps.apple.com/th/app/mymo-by-gsb-mobile-banking/id987047466 สำหรับ iOS และที่ https://play.google.com/store/apps/details?id=com.mobilife.gsb.mymo&pcampaignid=web_share สำหรับ Android

 

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ MyMo และ MyMo Secure+ ได้ที่ https://www.gsb.or.th/online_service/mymo/#mymosecureplus

 

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ GSB Contact Center 1115 และติดต่อข่าวสารอื่นๆ ได้ที่ www.gsb.or.th หรือ Facebook : GSB Society

 

#เตือนแล้วนะตัดสายทิ้งลิงก์ไม่กด

#เป็นลูกค้าเราเท่ากับช่วยสังคม

#MyMoSecurePlus


  • 4
  •  
  •  
  •  
  •