อีกเรื่องใหญ่ที่ในอนาคตอาจมีผลไม่แพ้ Facebook ลด Organic Reach เมื่อ Google เริ่มประกาศใช้ระบบ Mobile First Indexing บันทึกและเก็บข้อมูลเว็บไซต์ที่อ่านบนจอมือถือก่อนเว็บไซต์ที่อ่านบนจอคอมพิวเตอร์
ประกาศจาก Google เริ่มใช้ Mobile First Indexing อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่
ทำไมต้อง Mobile First Indexing?
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะ Google บอกแนวคิดนี้ไว้แล้วเมื่อปี 2015 ที่คนหันมาดูเว็บไซต์บนมือถือมากขึ้น ในขณะที่คนเปิดเว็บไซต์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์น้อยลง เวลาคนอ่านคอนเทนต์ในเว็บไซต์บนมือถือก็อยากให้คอนเทนต์โหลดเร็ว อ่านง่าย ไม่ซับซ้อน เมื่อพฤติกรรมการเสพย์คอนเทนต์ของคนทั่วโลกเปลี่ยนไป Google เลยต้องการให้เว็บไซต์ที่อ่านบนมือถือง่ายมีความสำคัญมากขึ้น เวลาคนกำลังค้นหาสิ่งที่ต้องการ ก็อยากเข้าเว็บฯที่ออกแบบมาเพื่อเปิดดูบนมือถือได้ง่าย แทนที่จะเป็นเว็บฯที่ออกมาสำหน้าหน้าจอคอมฯแต่ไม่ใช่หน้าจอมือถือ
การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านมือถือแซงหน้าเดสก์ท็อปเมื่อปลายปี 2016
เปอร์เซนต์ทราฟฟิคจากมือถือของ Google แซง Yahoo ไปเมื่อปี 2015
คนใช้อินเตอร์เน็ตผ่านมือถือบน Google เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ควรเตรียมรับมือกับ Mobile First Indexing ทันทีหรือไม่?
ขึ้นอยู่กับเว็บไซต์ของเราว่าถูกสร้างมาแบบไหน ถ้าลองเข้าไปดู Best Practice ของ Google เว็บฯรูปแบบต่อไปนี้จะได้รับผลกระทบจาก Mobile First Indexing
1. เว็บฯที่ทำ URL แยกเป็นเว็บสำหรับดูบนมือถือโดยเฉพาะ
2. เว็บฯที่เนื้อหารูปแบบคอนเทนต์ปรับไปตามดีไวซ์ที่เปิด
3. เว็บฯที่มีเพจทั้งในรูปแบบ AMP และ ไม่ใช่ AMP
*AMP (Accelerated Mobile Pages) คือเพจที่ใช้ HTML เขียนขึ้นโดยมี Google และ Twitter เป็นคนพัฒนาให้เป็นเพจที่เปิดอ่านง่าย (คล้าย Facebook Instant Article)
สรุปคือ เว็บฯที่มีการเขียน Code เองจะได้รับผลกระทบ ทางแก้เบื้องต้นคือทำเนื้อหาให้เหมือนกันไม่ว่าจะเปิดจากอุปกรณ์ไหน หรือ URL ไหนก็ตาม รวมถึงหัวข้อและคำบรรยายเวลา Google แสดงผลในหน้าค้นหาด้วย
ส่วนเว็บฯที่ใช้บริการสำเร็จรูปทำอย่างเช่น WordPress หรือ Blog ต่างๆ อาจไม่ได้รับผล แต่ไม่ใช่จะรอด หากเว็บฯของเราเปิดบนมือถือแล้ว คนอ่านยังต้องมานั่งซูมดูตัวอักษร ดูรูปอยู่ เว็บฯของเราอาจจะเปิดบนมือถือได้ แต่มันเป็นมิตรกับคนอ่านหรือไม่ นั่นอีกเรื่องหนึ่ง เว็บไซต์ที่เป็นรูปแบบ Responsive เว็บฯถูกออกแบบให้ปรับได้ตามขนาดของหน้าจอ ก็จะได้ทำให้ Mobile First Indexing เป็นพิเศษ เว้นแต่มั่นใจว่าคนเข้ามาเว็บไซต์ส่วนใหญ่ชอบเปิดบนหน้าจอคอมฯหรือแบรนด์ของธุรกิจเรา “สตรอง” พอว่าอย่างไรคนก็ยอมเปิดเว็บฯมาดูของเราเป็นประจำอยู่แล้ว จะไม่ใส่ใจก็ได้ (แต่จะฟังดูประมาทไปหน่อย)
เรามักจะคิดว่าแค่เปิดเว็บฯบนมือถือได้แบบด้านซ้ายก็พอแล้ว แต่ที่จริงคนอ่านต้องมานั่งซูมรูป ซูมตัวอักษร ทำให้ User Experience ดูไม่ดีเท่าเว็บฯที่ปรับตามภาพด้านขวามือ
ควรให้มั่นใจว่าเนื้อหาทั้งในรูปแบบของเดสก์ท็อปและบนมือถือเหมือนกัน เวลาออกแบบเว็บฯอย่าคิดแค่บนหน้าจอคอม แต่ต้องบนหน้าจอมือถือด้วย
Google จะเริ่มลดอันดับเว็บไซต์ที่ไม่ได้ปรับเป็นแบบเว็บฯดูบนมือถือทันทีเลยหรือไม่?
คำตอบคือยังไม่ปรับ อย่างที่เกริ่นไว้ การประกาศ Mobile First Indexing คือการเริ่มบันทึกเว็บไซต์ไว้เฉยๆ แต่ยังไม่ได้จัดอันดับอะไรใหม่ครับ เพียงแต่อัลกอริธึ่มตัวนี้ มันจะเริ่มบันทึกเว็บไซต์ที่อ่านบนจอมือถือก่อนแค่นั้นเอง
ฉะนั้นเว็บไซต์ไหนที่ปรับเป็นรูปแบบบนมือถือแล้วแต่ยังไม่ถูกบันทึกโดย Mobile First Indexing ของ Google หรือเว็บไซต์ที่ยังเป็นแบบเปิดบนหน้าจอคอมฯอยู่ ก็ไม่ได้หมายความว่าอันดับใน Google จะลดลงเว็บฯพวกนี้เลย เว็บฯแบบดูมือถือได้และโดน Google บันทึกไว้แล้วก็ยังไม่ได้เปรียบในเรื่องของอันดับใน Google ในตอนนี้
แต่อีก 4 เดือนจากนี้ เว็บไซต์ไหนโหลดบนมือถือช้า โดนลดอันดับบน Google แน่นอน
แต่อย่างไหนเรียกว่าช้า จากงานวิจัยของ Google พบว่า เว็บฯไหนโหลดบนมือถือช้ากว่า 3 วินาที คนก็ปัดหนีแล้ว ใครที่อยากรู้ว่าเว็บฯของตัวเองโหลดเร็วแค่ไหนบนมือถือ เข้าไปที่เว็บฯ testmysite.thinkwithgoogle.com และ search.google.com/test/mobile-friendly เลย มันจะรายงานผล และรายงานจุดแข็งจุดบกพร่องของเว็บฯส่งไปที่อีเมลของเราไม่ถึงชั่วโมง
ฉะนั้นคอนเทนต์บนเว็บไซต์ไม่ใช่แค่มีคุณภาพ แต่ต้อง “โหลดเร็ว” ด้วย คอนเทนต์บนเว็บฯต้องเสพย์ง่าย กระซับ เพราะไม่แน่ว่าในอนาคต Google อาจให้เว็บพวกนี้อยู่ในอันดับการค้นหาต้นๆ ฉะนั้นรูปที่ใหญ่หรือมีความละเอียดสูงเกินความจำเป็น ใส่วีดีโอ ใส่แบนเนอร์ ใส่ลูกเล่นอย่างสไลด์รูปภาพ เอฟเฟกท์ที่ใส่ไว้ให้เปิดแล้วดูสวยก็ควรปรับ เพราะมันอาจจะดูสวยเวลาเปิดบนหน้าจอคอมฯ แต่เวลาเปิดบนมือถือ เอฟเฟกท์พวกนี้อาจไม่ปรากฎให้เห็นเลย
กลายเป็นโค้ตที่ถ่วงเวลาโหลดเว็บเปล่าๆครับ
Copyright © MarketingOops.com