ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลังการเปิดประเทศ ผู้คนออกมาใช้ชีวิตข้างนอกบ้านมากขึ้น ในขณะที่สถานการณ์ของโรคระบาดเริ่มรับมืออยู่ ส่งอาณิสงฆ์ให้สื่อนอกบ้าน Out of home ดีดตัวแรง ล่าสุด ข้อมูลจาก Mindshare เปิดเผยว่า สื่อ Outdoor ปี 2021 มีมูลค่าสูงถึง 7,800 ล้นบาท ขณะที่ปี 2022 คาดการณ์ว่าจะเติบโตขึ้นถึง 8.7% หรือมีมูลค่าสูงถึง 10,000 ล้านบาทเลยทีเดียว นี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้แบรนด์และธุรกิจหันมาจับสื่อนอกบ้านมากขึ้น
ล่าสุด บาร์บีคิวพลาซ่า เจ้าพ่อปิ้งย่างเองก็ไวจับเทรนด์นี้ได้เป็นอย่างดี ตัดสินใจลงเล่นกับสื่อ OOH แบบดิจิทัล เปิดตัวครั้งแรกกับแคมเปญแนวใหม่ ในคอนเซ็ปต์ “GON SHAPON ตรุษจีนนี้ ลุ้นของดีแค่สแกน!” สร้างความสนุกสนานบนสถานีรถไฟฟ้า BTS ด้วยสื่อดิจิทัลนอกบ้าน ในรูปแบบ “Programmatic Digital Out of Home” ที่เปลี่ยนจอโฆษณาบนสถานีรถไฟฟ้า ให้กลายเป็น “ตู้กาชาปอง” ตามหาไข่นำโชคบาร์บีกอน โดยการสแกน QR Code บนสื่อโฆษณา ที่จะทำให้ได้รับอั่งเปาต้อนรับตรุษจีนและลุ้นกินบาร์บีคิวพลาซ่าฟรีตลอดปี เริ่มไปแล้วและมีไปถึงวันที่ 30 มกราคม บนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสจำนวน 16 สถานี ทั้งสายสุขุมวิทและสายสีลม
รัฐ ตระกูลไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด กล่าวถึงไอเดียเบื้องหลังของแคมเปญ “GON SHAPON” ว่า เราเห็นการเปลี่ยนแปลงในช่วงที่เปิดประเทศ ผู้คนออกมาใช้ชีวิตข้างนอกบ้านมากขึ้น สื่อประเภท Out of home (OOH) ก็เริ่มกลับมาเป็นที่สนใจ ในขณะที่ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไปชอบอะไรที่เพอร์ซันนอลไลซ์ (Personalized) มากขึ้น ไม่ชอบโฆษณาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเขา ดังนั้นเมื่อเราต้องการให้เกิดความสนใจ ต้องสร้าง Call to action ได้การทำสื่อในแบบเพอร์ซันนอลไลซ์จึงสำคัญมากในปัจจุบัน เราเลยเลือกเทคโนโลยีทีเรียกว่า Programmatic Digital Out of Home มาใช้ในแคมเปญนี้ ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นครั้งแรกของกลุ่มร้านอาหารที่เลือกเทคโนโลยีนี้มาเล่นกับสื่อนอกบ้าน ในขณะที่มุมของแพล็ตฟอร์มหรือโลเคชั่น สาเหตุที่เราเลือกทั้ง 16 สถานีเพราะเรามองว่าเป็นพื้นที่ที่รวมของ 4 กลุ่มเพอร์โซนาที่เราต้องการ ได้แก่ กลุ่มเด็กนักเรียนนักศึกษา กลุ่มคนทำงาน กลุ่มบ้านและคอนโด และกลุ่มช้อปปิ้งมอลล์ ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มีความแตกต่างกัน โดยที่เราคุยกับเขาได้บนพื้นฐาน Based of location ซึ่งทำให้เมสเสจที่ส่งไปนั้นแตกต่างกันทั้งตามพื้นที่และช่วงเวลา
สำหรับ ความ Personalized ของ Programmatic Digital Out of Home สามารถที่จะเลือกยิงเมสเสจได้แตกต่างตามโลเคชั่น และช่วงเวลาที่จะส่งข้อความไปให้ผู้บริโภค เช่น ย่านที่มีโรงเรียนเยอะก็จะส่งข้อความอีกแบบหนึ่ง ส่วนย่านที่เป็นกลุ่มคนทำงานก็จะมีข้อวามความอีกแบบหนึ่ง รวมไปถึงช่วงเวลาที่ส่งข้อความก็แตกต่างกันด้วย เพื่อสร้างความรู้สึกว่าข้อความดังกล่าวได้สร้าง Call to Action ส่งไปกระตุกใจผู้บริโภคได้ดีกว่าข้อความทั่วๆ ไป
นอกเหนือจากเรื่องของการเลือกใช้สื่อนอกบ้านแบบดิจิทัลที่มีความเพอร์ซอนนัลไลซ์แล้ว เราก็ต้องไม่ลืมเอสเซจสำคัญของเราได้แก่ “บาร์บีก้อน” หรือพี่ก้อน ที่จะต้องพาผู้คนไปพบกับความสนุกสนาน ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็เคยมีแคมเปญคล้ายกันแต่จัดที่ร้านคือ “แคมเปญล่าไข่” ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีเช่นกัน ดังนั้น รูปแบบที่เราเลือกคือการชวนให้ผู้บริโภคลุ้นไปกับการเล่นเกม (Gamification) แบบหมุนกาชาปอง เพื่อให้เกิดช่วงเวลาที่ได้เอ็นเกจกับผู้คน
สำหรับแคมเปญนี้ ทั้งการใช้เทคโนโลยีสื่อใหม่และการซื้อพื้นที่สื่อบนบีทีเอสรวม 16 สถานี ใช้งบประมาณในแคมเปญนี้ไปทั้งหมด 1.5 ล้านบาท พร้อมกับมีการตั้งเป้าหมายไว้ว่า น่าจะได้ยอดเซลล์กลับมา 8-10 ล้านบาท ได้สมาชิกใหม่หรือลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 20% และคาดว่าจะได้อิมเพรสชั่นอยู่ที่ 4 ล้านอิมเพรสชั่น นอกจากนี้ ในส่วนอื่นเช่นการเก็บพฤติกรรมผู้บริโภคต่างๆ นั้นก็สามารถนำไปต่อยอดในเรื่องอื่นได้ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าและผู้บริโภคต่อไป
.
GON SHAPON ให้ลุ้นโชค 2 ต่อ
- ต่อที่ 1 สแกนลุ้นรับคูปอง บนสื่อบนสถานีรถไฟฟ้า BTS ส่วนลดสูงสุดถึง 500 บาท (สามารถสแกนได้วันละ 1 ครั้ง ต่อ 1 เลขสมาชิก และตลอดระยะเวลากิจกรรมสูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง) และนำส่วนลด GON SHAPON มาใช้เป็นส่วนลดในการทานอาหารที่หน้าร้าน เมื่อทานอาหารตั้งแต่ 1,000 บาท (จำกัด 1 สิทธิ์ / 1 เลขสมาชิก / 1 ใบเสร็จ)
- ต่อที่ 2 มีสิทธิ์ลุ้นรับ Voucher รับประทานทานอาหารที่ร้านบาร์บีคิวพลาซ่าฟรีทั้งปี มูลค่า 24,000 บาท จำนวน 5 รางวัล รวมมูลค่ารวมกว่า 120,000 บาท)
ประกาศรางวัลวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.00 น. ณ บาร์บีคิวพลาซ่า สาขาฟิวเจอร์พาร์ครังสิต
ส่วนสื่อโฆษณาดิจิทัลตามสถานีรถไฟฟ้าทั้ง 16 สถานี ได้แก่ สถานีอโศก, ช่องนนทรีย์, พญาไท, ศาลาแดง, เพลินจิต, สถานีสยาม, พร้อมพงษ์, ชิดลม, อารีย์, แบริ่ง, อ่อนนุช, อุดมสุข, วงเวียนใหญ่, อนุเสาวรีย์ชัยฯ, สนามกีฬาแห่งชาติ และหมอชิต