“ฟู้ดแพนด้า” สู้ศึก Food Delivery เปิด “ครัวอาหารสด” ดึงสตรีทฟู้ดร่วมแจม ปิดจุดอ่อนพื้นที่บริการ

  • 323
  •  
  •  
  •  
  •  

krua-foodpanda

ธุรกิจส่งอาหาร (Food Delivery) ในไทย ยังคงเป็นธุรกิจ Sunrise Market โดยมีปัจจัยบวกมาจากพฤติกรรมผู้บริโภค ต้องการความสะดวก – รวดเร็ว และมีวิถีชีวิตเร่งรีบ ประกอบกับเกิดผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Food Delivery ในรูปแบบแอปพลิเคชันเป็นจำนวนมาก สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของคนยุคนี้ ดำเนินการทุกอย่างผ่านสมาร์ทโฟน ตั้งแต่ทำธุรกรรมธนาคาร ไปจนถึงสั่งอาหาร

เมื่อ Demand และ Supply สอดคล้องกัน ยิ่งเขย่าให้ธุรกิจ Online Food Delivery ในไทย แข่งขันกันดุเดือด โดย “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” คาดการณ์ว่าธุรกิจนี้จะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 26,000 – 27,000 ล้านบาท และเติบโต 15% ขณะเดียวกันเมื่อตลาด Food Delivery ขยายตัว สร้างผลดีให้กับผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร ในการมีแพลตฟอร์ม “Food Delivery” เป็นตัวกลางในการเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น และกว้างขึ้น

หนึ่งใน Major Player ยุคบุกเบิกแอปพลิเคชัน Food Delivery อย่าง “ฟู้ดแพนด้า” (Foodpanda) ที่ 3 ปีที่แล้วได้ขยายกิจการให้แก่ Delivery Hero สตาร์ทอัพด้านการจัดส่งอาหาร และเมื่อปี 2560 ได้รีแบรนด์ครั้งใหญ่ จากใช้ Color Marketing สีส้ม เปลี่ยนเป็น “สีชมพู” เพื่อให้ดูโดดเด่น และสะดุดตาท่ามกลางคู่แข่งขันหลากหลายสี เช่น สีแดง สีเขียว สีส้ม ฯลฯ

ขณะที่ปีนี้ “Food Panda” เปิดโปรเจค “ครัว บาย ฟู้ดแพนด้า” (Krua by foodpanda) ด้วยการสร้างห้องครัวขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่โครงการ The Curve อ่อนนุช ซอย 17 ประกอบด้วยร้านอาหารดังทั้งหมด 7 ร้าน ได้แก่ คาลิเม็กซ์ เดรส ฮันเตอร์ โป๊ะเกะ ข้าวขาหมูเหม่งจ๋าย ร้านเอลวิสสุกี้ ยอดผัดไท และโกวนัน

Resize Krua05

 

3 เหตุผลสร้างครัวปรุงอาหารสด

 

จุดประสงค์ของการสร้าง “ครัว บาย ฟู้ดแพนด้า” ประกอบด้วย 4 เหตุผลหลัก คือ

1. เพื่อใช้ในการประกอบอาหารเท่านั้น และไม่มีพื้นที่ในการรับประทานอาหารข้างใน โดยลูกค้าสามารถสั่งอาหารได้ผ่านทางเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันของฟู้ดแพนด้า

2. การตั้งห้องครัว พร้อมทั้งดึงร้านอาหารสตรีทฟู้ดชื่อดังมาร่วมด้วย เป็น “Touch Point” สำคัญในการสร้างแบรนด์ “ฟู้ดแพนด้า” ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

3. เป็นการสร้างสาขาย่อยรูปแบบ Delco ที่ตั้งอยู่ตามชุมชนที่อยู่อาศัย หรือย่านที่มีคนอยู่หนาแน่น เพื่อใช้เป็นจุดทำอาหาร และเป็นจัดส่งอาหารเท่านั้น ซึ่งเป็นการทลายข้อจำกัดพื้นที่ให้บริหารของทั้งฝั่งผู้ประกอบการร้านอาหาร และฟู้ดแพนด้า

Resize Krua08

“โครงการนี้มีคอนเซ็ปต์ คือ การเปิดให้คู่ค้า (ร้านอาหาร) มาร่วมแชร์ครัวร่วมกัน โดยทางฟู้ดแพนด้าเป็นผู้อำนวยความสะดวกเรื่องการจัดสรรพื้นที่ อุปกรณ์เครื่องครัว และการจัดการระบบพื้นฐาน ร้านคู่ค้า 7 ร้านนี้สามารถใช้ห้องครัวที่จัดสรรโดยฟู้ดแพนด้าได้อย่างไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ในทางกลับกัน พวกเขาแบ่งเปอร์เซ็นต์การขายให้แก่ฟู้ดแพนด้า

สาเหตุที่เราตัดสินใจมาสร้าง “ครัว บาย ฟู้ดแพนด้า” เพราะเราต้องการเพิ่มตัวเลือกให้เเก่ผู้อยู่อาศัยในย่านสวนหลวง พระโขนงและวัฒนา ซึ่งมีความต้องการในการบริโภคมาก แต่มีตัวเลือกร้านอาหารที่ค่อนข้างจำกัด โดยลูกค้าสามารถเลือกอาหารจานโปรดได้จากร้านอาหารหลากหลายร้าน และสามารถมั่นใจได้ว่าอาหารที่เราส่งอร่อย สด ใหม่ เพราะเราพบว่าร้านอาหารบางร้าน ตั้งอยู่ไกล ทำให้การไปส่งอาหารเป็นได้ยาก เราจึงอยากนำร้านอาหารชื่อดังมาให้คนไทยเข้าถึงง่าย

ดังนั้น “ครัว บาย ฟู้ดแพนด้า” สาขาแรกในโครงการ The Curve อ่อนนุช จะรองรับผู้อยู่อาศัยในย่านสวนหลวง พระโขนง และวัฒนา สามารถสั่งอาหารจากครัว โดยไม่ต้องเสียค่าจัดส่งใดๆ ” คุณฟลอริส บอส ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการค้า บริษัท ฟู้ดแพนด้า (ประเทศไทย) จำกัด เล่าถึงที่มาของการทำโปรเจคห้องครัว

ขณะที่แผนในอนาคต เตรียมขยาย “ครัว บาย ฟู้ดแพนด้า” ไปยังพื้นที่อื่นของกรุงเทพฯ โดยยึดแนวคิด “ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในบริเวณที่มีตัวเลือกทางด้านอาหารจำกัด และเพิ่มโอกาสให้แก่คู่ค้า

Resize Krua 01

Resize Krua06


  • 323
  •  
  •  
  •  
  •  
WP
อยู่ในแวดวงนิตยสารธุรกิจการตลาดกว่าสิบปี สนุกและชอบติตตามเทรนด์ ไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ และอยากเรียนรู้เพิ่มเติมในแพลตฟอร์มดิจิทัล มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การตลาดและดิจิทัลร่วมกันนะคะ