บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด ผู้นำธุรกิจร้านอาหารชั้นนำของเมืองไทย เจ้าของแบรนด์ดัง บาร์บีคิวพลาซ่า ฌานา และเรดซัน โชว์ความสำเร็จพลิกเกมธุรกิจผ่านพ้นวิกฤติโควิดกวาดรายได้กว่า 2,700 ล้านบาทจาก 3 ไตรมาสแรกของปี 2565 ประกาศเดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน ผ่านแนวคิด Go Beyond ด้วย Triple Bottom Line: People, Profit และ Planet ในการเป็นมากกว่าธุรกิจที่แข็งแรง แต่ต้องดีกับทั้ง ‘มนุษย์ และดีกับโลก’ และสามารถสร้างผลกำไรเติบโตธุรกิจได้อย่างยั่งยืน โดยมีกลยุทธ์ 3GO Beyond เป็นสูตรลับความสำเร็จ พร้อม ตั้งเป้ารายได้ปี 2565 ทะลุ 3,500 ล้านบาท และปี 2568 ที่ 4,500 ล้านบาท
ปี 2565 สร้างรายได้มากกว่า 2,700 ล้าน เติบโตมากกว่าปีก่อน 80%
ชาตยา สุพรรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมของปี 2565 ถือได้ว่าเราได้ผ่านช่วงเวลาที่ท้าทายและสามารถพลิกสถานการณ์กลับมาสร้างรายได้และกำไรได้อย่างรวดเร็ว โดย 3 ไตรมาสที่ผ่านมา มีอัตราการ เติบโตสูงกว่าปี 2564 มากถึง 80% คิดเป็นรายได้ 2,700 ล้านบาท ถือว่าใกล้เคียงรายได้ก่อนสถานการณ์โควิดในปี 2563 โดยแบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจร้านอาหารในเครือ ได้แก่ บาร์บีคิวพลาซ่า 2,606 ล้านบาท ฌานา 9 ล้านบาท และรายได้จากธุรกิจอื่นๆ 85 ล้านบาท อาทิ ธุรกิจร้านรูปแบบใหม่ ธุรกิจต่างประเทศ ธุรกิจสินค้าสำเร็จรูป รวมไปถึงที่ได้มีการพัฒนาและต่อยอดจากความเชี่ยวชาญในธุรกิจร้านอาหารมาสู่การเปิดธุรกิจศูนย์ฝึกอบรมและศูนย์การเรียนฟู้ดแพชชั่น ที่ในปัจจุบันสามารถสร้างรายได้ โตกว่าปี 2564 ถึง 5 เท่า
“ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฟู้ดแพชชั่นสามารถพลิกสถานการณ์กลับมาสร้างรายได้ได้อย่างรวดเร็ว คือ การออกแบบระบบการทำงาน และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเรื่องเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถใช้ Data ในการตัดสินและออกโปรโมชันที่โดนใจลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว โดยปีที่ผ่านมาเราสามารถออกโปรโมชันได้มากกว่า 50 โปรโมชัน และแต่ละโปรโมชันมีความ Dynamic คือออกในช่วงสั้นๆ 7 วัน 14 วัน และ 30 วัน และ ปรับเปลี่ยนตามกลุ่มประเภทลูกค้าแบบ Personalize Offering บวกกับความร่วมแรงร่วมใจของทีมงานทุกฝ่ายในการปรับกลยุทธ์ธุรกิจในช่วงเวลาต่างๆ ได้รวดเร็วทันเวลา จึงทำให้ทันทีที่มีการคลายมาตรการเราก็สามารถสร้างสรรค์กิจกรรมกระตุ้นการขายได้ทันที”
5 Food Trend เพื่อสร้างความเข้มแข็งในอนาคต
สำหรับ Food Trend นี้เกิดขึ้นจาก 4 แกนสำคัญด้วยกัน ได้แก่
- ความต้องการเดิม
- ความต้องการใหม่
- นวัตกรรมที่เกิดจากการต่อยอด ใช้ระยะเวลาในการสร้าง 6 เดือน – 2 ปี
- นวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ ใช้เวลา 2 ปีขึ้นไปกว่าจะแล้วเสร็จ
-
Gastronomy Tourism ท่องเที่ยวสายกิน
เป็นการที่ผู้คนโหยหาการออกไปท่องเที่ยว และไปแสวงหาวัฒนธรรมการกินของต่างชาติ ซึ่งอาจจะเกิดจากการเที่ยวทิพย์ กินทิพย์ ซึ่งหลายประเทศเองก็จะโปรโมทเรื่องของ Gastronomy Tourism
-
Digitalization การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหาร และจัดการ Data
ผู้บริโภคในยุคหลังโควิด มีความ Digitalized มากขึ้น แต่ไม่ใช่แค่การทำทุกอย่างบนมือถืออีกต่อไปแล้ว แต่สิ่งที่เป็น Digitalized ที่เป็น Mega Trends จริงๆ เป็นการทำสิ่งที่เรียกว่า Personalization คือการนำ Data มาประมวลผล แบบ AI เพื่อนำเสนอ Personalize Offering ให้โดนใจลูกค้ามากขึ้น และจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น มากขึ้นต่อไปเรื่อยๆ
-
Food Waste Rescue แก้ปัญหาขยะอาหาร
อาจจะเรียกได้ว่าเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษยชาติก็คือ Food Waste ซึ่งการบริหารจัดการ Food Waste ต้องผ่านความร่วมมือและใช้นวัตกรรมต่างๆ มากมาย ซึ่งภาคธุรกิจจำเป็นที่จะต้องบริหารจัดการ Food Waste ในปัจจุบันให้ดีกว่านี้ เพื่อโลกและคนรุ่นหลังของเราในอนาคต
-
NewTrition โภชนาการรูปแบบใหม่
ไม่ว่าจะเป็น Plant-based, Alternative proteins หรือ Nutrition ที่เหมาะกับบุคคลแบบเพอร์ซอนนอลไลซ์
-
New Revenue Model โมเดลรายได้ใหม่
แล้วนำหลายๆ เทรนด์ทั้งหมดที่กล่าวมา จะทำให้เห็นภาพว่า เราไม่สามารถขายอาหารในแบบเดิมๆ ได้อีกแล้ว เช่น ธุรกิจอาหารจะขายอาหารหน้าร้านได้แค่นี้ ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เกิดโมเดลใหม่ๆ ขึ้น เช่น การ Subscription เป็นต้น
ดังนั้น ด้วยเทรนด์ใหม่ๆ ทีเกิดขึ้นของธุรกิจอาหาร ฟู้ดแพชชั่นฯ จึงได้วางแนวทางในการดำเนินธุรกิจผ่านแนวคิดที่ว่า…
“จะดูแลผู้คน และโลกใบนี้ ให้มีความสุข ผ่านอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และการจัดการวงจรที่สมดุล ด้วย Data และ Innovation”
Go Beyond มากกว่าธุรกิจอาหาร
นอกจากนี้ ยังได้ประกาศวิสัยทัศน์สำคัญ ที่จะขับเคลื่อนองค์กรสู่การเติบโตที่ยั่งยืนด้วยแนวคิด Go Beyond ด้วย Triple Bottom Line ได้แก่ People, Profit และ Planet ในการเป็นธุรกิจที่ดีกับมนุษย์ ดีกับโลก พร้อมสร้างผลกำไรเติบโตธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
Profit: การสร้างผลกำไร ผ่าน 3 GO
Go Beyond Dine-in: เน้นการเสริมแกร่งให้แก่ธุรกิจร้านอาหารด้วย 3 แบรนด์ในเครือผ่านการยกระดับประสบการณ์ ทั้งประสบการณ์ ภายในร้าน (Physical Experience) และประสบการณ์ดิจิทัล (Digital Experience) การขยายโอกาสในการทานทั้งที่ร้าน (Togetherness dine-in) และที่บ้าน (Happiness at home) ด้วยการพัฒนาโมเดลร้านบาร์บีคิวพลาซ่าในรูปแบบ Digital Store และการนำเทคโนโลยีทันสมัยทั้ง การค้นหา จองคิว สั่ง จนถึงการชำระเงิน และเก็บคะแนน ร้านที่เป็น Cashless และ GON Bot เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่และความสะดวกสบายให้กับลูกค้า รวมถึงการขยายฐานลูกค้า ด้วยการออกเมนูใหม่ และโมเดลร้านแบบใหม่ใกล้ลูกค้ามากขึ้น เป็นต้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการสร้างความผูกพันของแบรนด์ บาร์บีก้อน ให้สร้างแรงบันดาลใจกับผู้คนอยู่เสมอ สุดท้ายคือการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มประเภทซอส ให้ลูกค้าสามารถนำไปสร้างความสุขได้ที่บ้าน
- Create More Occasion สร้างสรรค์โอกาสให้มากขึ้นด้วยผ่านประสบการณ์สนุกของมื้ออาหาร, ผ่านร้าน GON EXPRESS, ผ่านโปรดักส์ที่สามารถนำไปทำเองได้ที่บ้าน เช่น เนื้อสดจากก้อน, น้ำจิ้มบาร์บีคิวในตำนาน ฯลฯ , สร้างประสบการณ์ K-Soft Power โดยร้านเรดซัน, ส่งมอบอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถสั่งมากินที่บ้านได้ผ่านการเดลิเวอรี่
- Enhance Experience ด้วยการรีโนเวทร้านดีไซน์ใหม่ 50 แห่ง เพิ่มในปี 2023 และเปิดอีก 30 สาขาใหม่เพิ่ม สร้างประสบการณ์ Digital Store อีก 40 สาขาปีห้า และเปิดร้าน Cashless และร้านที่ใช้โรบ็อท
- สร้าง GON Fan Base เพิ่มขึ้น โดยการสร้างวาลูเพิ่มขึ้น ครีเอทเมนูและโปรดักส์ใหม่ๆ ฯลฯ ผ่าน Data และ CRM ใช้กลยุทธ์ Personalized Offering
Go Beyond Thailand: การขยายธุรกิจในแนวกว้าง คือการขยายสาขาไปยังตลาดต่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ประเทศมาเลเซีย โดยปีนี้ได้ขยายฝั่งมาเลเซียตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศกัมพูชา และประเทศล่าสุด ลาว โดยเฉพาะที่ลาวจะเป็นสาขา standalone ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยเปิดมา โดยใช้พื้นที่กว่า 800 ตารางเมตร ปัจจุบันมีสาขารวมกว่า 30 สาขา และในปี 2565 มีรายได้รวมของสาขาในต่างประเทศ กว่า 425 ล้านบาท
สำหรับปัจจุบันมีสาขาอยู่ มาเลเซีย 27 แห่ง อินโดนีเซีย 4 แห่ง กัมพูชา 9 แห่ง ลาว 3 แห่ง สิงคโปร์ 2 แห่ง เวียดนาม 1 แห่ง และฟิลิปปินส์ 1 แห่ง รวม 7 ประเทศ กับการเพิ่มขึ้น 47 สาขาในเซาท์อีสต์เอเชีย และตั้งเป้ารายได้อยู่ที่ 800 ล้านในปี 2568
การบุกตลาดต่างประเทศจะใช้กลยุทธ์ WinWin โดยดำเนินการผ่านในทั้งรูปแบบ Localization , ผ่านการมี Partnership และ Sub-Licensing เพื่อการขยายการเติบโตที่รวดเร็ว พร้อมนำ Thainess ซึ่งเป็น Soft Power บุกตลาดต่างประเทศ อาทิ การนำหมูกระทะ หรือน้ำซุปก๋วยเตี๋ยวเรือ ไปเปิดตลาดต่างประเทศ รวมไปถึงจะนำรูปแบบดิจิทัลออนไลน์ไปใช้ในต่างประเทศด้วย
Go Beyond Food Industry: การต่อยอดความสำเร็จและความเชี่ยวชาญด้านคนสู่ธุรกิจอื่นๆ เช่น การเปิดให้บริการศูนย์การเรียนฟู้ดแพชชั่น เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งในปีการศึกษา 2565 มีจำนวน 310 คน และศูนย์ฝึกอบรมฟู้ดแพชชั่น เปิดสอนหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารตั้งแต่ปี 2564 โดยใน 3 ไตรมาสปีนี้ มีผู้ผ่านการอบรมรวมกว่า 10,000 คน
โดยการเปิดหลักสูตรผู้เพื่อให้องค์กรพัฒนาพนักงานและธุรกิจกร้านอาหร คาดว่าจะเป็นอีกรายได้ที่จะไปได้สำหรับฟู้ดแพชชั่นในอนาคต
People : เก่ง ดี สุข
การบริหารธุรกิจที่ให้ “คน” มาเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยแนวคิดองค์กรแห่งความสุขผ่านกลยุทธ์ “เก่ง ดี สุข” เพื่อสร้างสรรค์วงจรแห่งความสุขที่ยั่งยืน ผ่านการพัฒนาศักยภาพ ความสามารถ ทักษะของบุคลากรในองค์กรให้เป็นคนมีคุณภาพของสังคม และการสร้างความเท่าเทียมในเรื่องการเข้าถึงศึกษา ด้วยการเสริมวุฒิการศึกษาคนในองค์กรด้วยโครงการ “ทุนสานฝัน” และ “ก้อนรักเรียน” ภายใต้การเปิดศูนย์การเรียนฟู้ดแพชชั่นในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในระดับวุฒิ ปวช. และสร้างความร่วมมือกับวิทยาลัยทักษิณา บริหารธุรกิจในระดับวุฒิ ปวส.
รวมถึงจับมือกับมหาวิทยาลัยหอการค้าพัฒนาหลักสูตร Passion Lab เพื่อพัฒนาทักษะในทุกด้านให้บุคลากรในองค์กร พร้อมด้วยการส่งเสริมให้บุคลากรเป็นคนดีของสังคมผ่านการทำกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ และการเสริมสร้างความสุขด้วยรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นเข้ากับไลฟ์สไตล์ของผู้คนปัจจุบันแบบ Hybrid workplace & new flexible benefits
Planet: ตั้งเป้าปี 2050 Net Zero 0%
การลดผลกระทบต่อโลกและสิ่งแวดล้อม โดยตั้งเป้าเป็นองค์กรที่ลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 30% ภายในปี 2030 และจะเป็นองค์กรที่บรรลุเป้าหมาย การปล่อก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน ปี 2050 (Net Zero Emissions by 2050)
ตั้งเป้าปี 2568 สร้ายรายได้ 4,500 ล้าน พร้อมเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
สำหรับเป้าหมายทางธุรกิจของฟู้ดแพชชั่นในปี 2565 ได้ตั้งเป้าการเติบโตไว้ที่ 3,500 ล้านบาทพร้อมคาดการณ์ว่าในปี 2566 ฟู้ดแพชชั่นจะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 3,800 ล้านบาท และปี 2568 ที่ 4,500 ล้านบาท
ด้วยการขยายโอกาสการรับประทานให้มากกว่าการนั่งรับประทานที่ร้านและในห้างฯ โดยมีการการขยายโมเดลร้านในรูปแบบ GEX (Gon Express) การขายแบบเดลิเวอรี่ที่เข้ากับไลฟ์สไตล์แบบใหม่รวมถึงการออกผลิตภัณฑ์ GON Product ซอสบาร์บีคิว ที่ล่าสุดได้รับการตอบรับดีเกินคาดหลังทดลองทำตลาดบนออนไลน์ นอกจากนี้ ยังมีแผนขยายสาขาในประเทศไทยรวมทุกแบรนด์มากกว่า 30 สาขา และการขยายสาขาในต่างประเทศเพิ่มอีก 4 สาขา เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีแผนการปรับรูปแบบร้านบาร์บีคิวพลาซ่าด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้เพื่อความสะดวกสบายของลูกค้า ได้แก่ Platform Line @GonGang ที่สามารถให้บริการ สิทธิประโยชน์สมาชิก การสะสม-แลกคะแนน การสั่งซื้อเดลิเวอรี่ การซื้อ voucher รวมถึงการสอบถามโปรโมชันต่างๆ การใช้หุ่นยนต์ GON Bot มาให้บริการภายในร้าน เพื่อให้บริการใน 60 สาขา การปรับปรุงสาขาเดิมกว่า 50% ของสาขาทั้งหมดให้เป็นสาขาที่ไม่ต้องใช้เงินสด (Cashless) พร้อมด้วยการเปิด Digital Store ที่ลูกค้าจะได้สัมผัสประสบการณ์ดิจิทัลตั้งแต่จองคิวถึง สั่ง จนถึงการชำระเงิน และเก็บคะแนน แห่งแรกที่สีลม คอมเพล็กซ์ โดยพัฒนาระบบร่วมกับ Hato Hub ซึ่งเป็นเทคโนโลยีพาร์ทเนอร์และตั้งเป้าจะเปิด Digital Store ทั้งหมด 40 สาขา ภายในปี 2566
“สถานการณ์ที่ผ่านมาทำให้พวกเราแข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม และให้บทเรียนมากมาย รวมถึงการเปิดประตูบานใหม่ในการทำธุรกิจของฟู้ดแพชชั่น ทั้งการขายเดลิเวอรี่ การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ การเปิดธุรกิจด้านการศึกษา และการสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ของการทานอาหารให้กับผู้คนในทุกมิติ รวมถึงการทบทวนแนวคิดธุรกิจสู่การขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืนที่จะสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจ ผู้คน และสังคม” นางชาตยา กล่าวทิ้งท้าย