ทุกวันนี้ในการตลาดที่มีการแข่งขันที่สูงมาก และทุกคนมีการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างมากมาย มีการใช้ Data และ AI เข้ามาช่วยในการทำการตลาด แต่ด้วยการที่แบรนด์มีความเข้าใจในวิธีคิดและจิตวิทยาของกลุ่มเป้าหมายที่ลึกซึ้ง สามารถทำ Neuro Marketing เพื่อทำให้เกิด Emotional Engagement ได้ด้วย 7 วิธีนี้ที่จะทำให้นำหน้าคู่แข่งเพิ่มขึ้น
1. ทำให้ผู้ใช้มีความสุข : โดยการ Craft ช่วงเวลาแห่งความสุขของผู้บริโภคขึ้นมา เพราะด้วยความสุข ความพึงพอใจเพียงเล็กน้อย ก็อาจจะสามารถเปลี่ยนความประทับใจต่อแบรนด์ได้ทันที การที่แบรนด์สนใจที่จะออกแบบ ใส่ใจในความพึงพอใจเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้จะทำให้แบรนด์นั้นสร้างความประทับใจ สร้างความสนุก อารมณ์ที่ดีขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายได้ เช่นการมีไอศครีมราคาพิเศษตอนท้าย ของแถม หรือแม้กระทั่งการออกแบบเกม gimmick เล็ก ๆ ตอนที่ดาวน์โหลด หรืออินเทอร์เนตไม่มาใน Browser ก็ได้
ข้อดีคือ ทำให้เกิดการตอบสนองในเชิงบวก และทำให้เกิดการกลับมาใช้งานใหม่ มีการแชร์ออกไป และทำให้ความพึงพอใจสูง
2. ทำให้เห็นความพยายาม : ด้วยการทำให้ผู้บริโภคได้มองเห็นว่า แบรนด์เรามีความพยายามมากที่สุดที่จะทำให้ผู้บริโภคมากแค่ไหน เพื่อทำให้ผู้บริโภคมีมุมมองที่จะให้คุณค่าที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้รู้ว่าสินค้าและบริการนั้นมีความคุ้มค่า หรือเกินคุ้มมากแค่ไหนผ่านการกระทำของแบรนด์ที่ทำให้เห็นเบื้องหลังนั้นออกมาว่ามีความยากแค่ไหนนั้นเอง ข้อดีคือ ทำให้เห็นได้ว่า ทำไมคุณต้องมาเป็นลูกค้าของแบรนด์นี้ และแบรนด์ทำเพื่อผู้บริโภคให้มีความพึงพอใจสูงสุด ทำให้ได้รับความเชื่อใจและคุณค่าที่จะจ่ายเพิ่มมากขึ้น
3. ใช้หน้า : มนุษย์นั้นมีสัญชาตญาณอย่างนึงคือ สมองจะบังคับให้โฟกัสที่หน้าของคนก่อนทุกครั้ง ทำให้แบรนด์สามารถใช้หน้าคนนี้เพื่อดึงดูดความสนใจ และกระตุ้นให้เกิด Empathy ขึ้นมาได้ โดยการให้หน้านั้นหันไปมองข้อความที่สำคัญ จะทำให้คนหันไปมองข้อความนั้นแทน การใช้ภาพคนจริง ๆ จะดึงดูดได้มากกว่าเพราะรู้สึกจริงกว่า และหน้านั้นต้องมีอารมณ์ที่กระตุ้นอารมณ์ของกลุ่มเป้าหมายได้ ข้อดีคือ สร้างปฏิสัมพันธ์ได้ทันที และทำให้เกิดการเชื่อมต่อทางอารมณ์ ทำให้แบรนด์ดูมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น
4. scarcity : มนุษย์มีจิตวิทยาที่กลัวการพลาดโอกาส ทำให้การสร้างความขาดแคลนจะทำให้เกิดการะกระตุ้นความรู้สึกอยากได้อย่างด่วนขึ้นมา หรือไม่อยากเสียโอกาสขึ้นมา พร้อมการกระทำอย่างทันที เช่นการที่จองที่พัก แล้วมีลดราคาทันที หรือเหลือไม่กี่ห้อง ที่กระตุ้นให้เราจองที่พัก ข้อดีคือ การที่สามารถสร้าง Conversions ได้ทันที และทำให้เกิดความรู้สึก Exclusive ที่ได้ดีลดี ๆ ขึ้นมาทันที
5. personalization : การสร้าง personalization ทำให้เกิด Endowment effect หรือที่เข้าใจว่าเป็น IKEA effect โดยการให้ผู้บริโภคนั้นสามารถสร้าง personalization ของตัวเองขึ้นมาได้ ทำให้เกิดความรู้สึกการมีส่วนร่วมในการสร้าง และกลายมามีความรู้สึกเป็นเจ้าของทันที และตีมูลค่าที่มีมากขึ้นทันที ข้อดีคือ สามารถสร้างให้เกิด Retention ที่มีระยะยาวนานมากขึ้น ทำให้ยากต่อการที่จะเลิกใช้งานเพิ่มมากขึ้น และทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์มากขึ้นเพราะเป็นของที่ตัวเองสร้าง ลงทุน ลงแรงในการสร้างขึ้นมา จนสุดท้ายเมื่อมีความภูมิใจในการสร้างก็จะเกิดการแชร์ออกไป เพื่อโชว์ว่าของตัวเองดีแค่ไหนขึ้นมา
6. เล็กไปใหญ่ : ด้วยการใช้จิตวิทยา foot in the door effect โดยการให้ผู้บริโภคยอมรับในการร้องขอเล็ก ๆ น้อย ที่จะเป็นจุดเริ่มไปสู่การตกลงในข้อเสนอที่ใหญ่เพิ่มขึ้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิทยาโดยการให้เปลี่ยนพฤติกรรมที่เล็ก ทีละน้อยจนทำให้ได้ผลที่ต้องการออกมา ในระหว่างทางนั้นก็ต้องคอยให้กำลังใจ และกระตุ้นให้มีการใช้งานค่อเนื่อง ทำให้กลุ่มเป้าหมายมองเห็นความสำเร็จของตัวเองขึ้นมา ข้อดีคือ ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ที่ลงลึกขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นนิสัยในการใช้สินค้าและบริการ สร้างความเชื่อมั่น เชื่อใจในการที่จะตกลงข้อเสนอใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และทำให้เกิดการรู้สึกว่าการลงแรง ใช้งานไปนั้นคุ้มค่า
7. loss aversion : มนุษย์เรานั้นมีสัญชาตญาณที่เรียกได้ว่า กลัวการสูญเสีย มากกว่าการที่จะได้รับ ตัวอย่างเช่น เรารู้สึกเสียใจมากกว่าในการเสียเงิน 100 บาท เมื่อเทียบกับอารมณ์การได้รับเงิน 100 บาท หรืออารมณ์สูญเสียมีความรู้สึกเป็น 2 เท่าของอารมณ์การได้รับ ทำให้แบรนด์ที่สามารถเอาความรู้สึกว่าการสูญเสียมาเล่นตอนแรกใช้งานจะทำให้ผู้บริโภครู้สึกไม่คุ้มที่จะเลิกใช้งานได้ทันที ข้อดีคือ สามารถลดการเลิกการใช้งานได้ขึ้นมา และเปลี่ยนให้ผู้บริโภคมาลองใช้งานผ่าน Free Trial ได้ผ่านการลดความรู้สึกเสียเงิน และทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อใจเพิ่มมากขึ้นในการใช้งาน ในการมีความโปร่งใสในการชี้แจงว่า ตรงไหนฟรีตรงไหนไม่ฟรี และผู้บริโภคจะได้อะไรจากการใช้งานนี้