ถือว่ามีการเติบโตสวนกระแสสื่ออื่น ๆ สำหรับเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัล ซึ่งสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ DAAT ได้เผยถึงภาพรวมการใช้งบโฆษณาดิจิทัลของไทยช่วงครึ่งแรกของปี 2561 มีการใช้เม็ดเงินสื่อนี้ 6,684 ล้านบาท ส่วนทั้งปีคาดการณ์จะอยู่ที่ 14,973 ล้านบาท เติบโต 21% สูงกว่าตั้งเป้าไว้เมื่อต้นปี
ปัจจัยที่ทำให้สื่อดิจิทัลเติบโต หลัก ๆ มาจากการ
–สินค้าและแบรนด์ต่าง ๆ หันมาใช้งบกับสื่อดิจิทัลมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการสร้างการรับรู้ และเพิ่มยอดขาย โดยเฉพาะการเพิ่มยอดขาย เพราะสินค้าและแบรนด์ต่าง ๆ เห็นผลจากการใช้ชัดเจน
– เจ้าของสื่อดิจิทัล ได้มีการพัฒนาคอนเทนท์ โปรดักท์ และเทคโนโลยีใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้ง Facebook , Line , YouTube รวมถึงผู้ประกอบการของไทยเอง
– การเติบโตของอีคอมเมิร์ซ จากพฤติกรรมการชอป ออนไลน์ของคนไทยที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ช่องทางร้านค้า และห้างต่าง ๆ มีการพัฒนาช่องทาง Omni-channel มากขึ้น
สำหรับกลุ่มสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ใช้งบโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มการสื่อสาร กลุ่มสกินแคร์ กลุ่มธุรกิจธนาคาร และกลุ่มผลิตภัณฑ์เดลี่ โปรดักท์ โดยกลุ่ม
ส่วนแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมจากผู้ลงโฆษณาและนักการตลาด ยังคงเป็น Facebook และ YouTube ที่ครองส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ราว 50% ของเม็ดเงินโฆษณาทั้งหมด
โดย Facebook เป็นแพลตฟอร์มอันดับ 1 ที่มีผู้ใช้เงินสูงสุด อยู่ที่ 4,479 ล้านบาท ตามมาด้วย YouTube 2,690 ล้านบาท และ Display 1,517 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม มีดิจิทัลหลายแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมในการใช้เม็ดเงินโฆษณาที่น่าสนใจ อาทิ Twitter จากการมีผู้ใช้มากขึ้นและทาง Twitter มีการพัฒนาหลาย ๆ อย่างแบบต่อเนื่อง , Instagram ในการทำหน้าที่ Inspiration และสามารถปิดการขายได้ดี
สำหรับความท้าทายของวงการดิจิทัล มาร์เก็ตติ้งในไทย ก็คือ บุคลากรที่ไม่เพียงพอ และต้นทุนในการผลิตที่สูง แม้ว่า ไทยจะมีจุดแข็งในเรื่องคุณภาพและฝีมือ โดยเฉพาะในเรื่องcreativity แต่ปัจจุบันมีหลายประเทศได้ขยับคุณภาพและฝีมือเข้ามาใกล้กับไทย ในราคาที่ถูกกว่า ซึ่งเป็นโจทย์ให้คนในแวดวงนี้ต้องมีการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อคงจุดแข็งในเรื่อง creativity ไว้ให้ได้