เมื่อสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้ทุกคนจำเป็นต้องหันมาดูแลและใส่ใจสุขภาพเป็นพิเศษ หนึ่งในทางเลือกของการดูแลตัวเองและบ้านเรือน ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้ของหลายๆ คน คือการเลือกใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคมาช่วยเสริมสุขอนามัยและเพิ่มความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
แม้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคจะเป็นอีกแนวทางในการช่วยป้องกัน ลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนควรตระหนัก และมีความสำคัญอย่างมาก คือเราจำเป็นต้องเข้าใจถึงคุณสมบัติ และความแตกต่างของน้ำยาฆ่าเชื้อแต่ละประเภท ที่อาจมีส่วนผสมที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน
ที่สำคัญแม้จะแบรนด์เดียวกัน แต่ก็ยังมีสารประกอบที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อลักษณะการใช้งานแต่ละประเภทที่ไม่เหมือนกัน แต่ยังเป็นอันตรายหากนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์หรือรูปแบบการใช้งานอีกด้วย
“เดทตอล” เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่ผู้บริโภคมักนิยมใช้ในการฆ่าเชื้อโรคในเวลานี้ เนื่องจากสามารถหาซื้อได้ไม่ยาก แต่เชื่อว่าผู้บริโภคหลายคนอาจสังเกตได้ว่า เดทตอลแต่ละขวดระบุชื่อผลิตภัณฑ์ไม่เหมือนกัน และรายละเอียดบางส่วนที่หน้าฉลากบรรจุภัณฑ์แตกต่างในบางจุด
นั่นเพราะจริงๆ แล้วเดทตอลนั้นมีผลิตภัณฑ์ 2 ประเภทหลักๆ นั่นคือ Dettol Antiseptic Liquid และ Dettol Hygiene Multi-use Disinfectant ซึ่งแต่ละประเภทเองก็มีความแตกต่างด้านคุณสมบัติการใช้งานต่างกัน
วันนี้เราจึงอยากแนะนำว่าผลิตภัณฑ์เดทตอลแตกต่างกันอย่างไร และประโยชน์ใช้สอยทั้งสองตัวแตกต่างกันแค่ไหน ตลอดจนวิธีการใช้เป็นความรู้เบื้องต้น เพื่อที่ครั้งต่อไปเราจะได้หยิบเลือกใช้กันอย่างเหมาะสมนั่นเอง
สำหรับเดทตอลประเภทแรก นั่นคือ “เดทตอล แอนตี้เซพติก ลิคควิท” (Dettol Antiseptic Liquid ) เราจะขอเรียกง่ายๆ ว่า น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เดทตอล เป็นผลิตภัณฑ์ที่เรามองหาได้สะดวกที่ร้านขายยาโดยทั่วไป ซึ่งจุดสังเกตง่ายๆ คือที่หน้าบรรจุภัณฑ์จะมีรูปมงกุฎสีฟ้าอยู่ตรงกลางฉลากด้านบน
สำหรับเดทตอล แอนตี้เซพติก ลิคควิท ถือเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่มีองค์ประกอบของสารฆ่าเชื้อ Chloroxylenol มีคุณสมบัติ คือ สามารถฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและไวรัสที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อได้ 99.9% โดยสารฆ่าเชื้อ Chloroxylenol นี้ ได้รับการทดสอบแล้วว่า สามารถฆ่าเชื้อโคโรน่าไวรัสได้ และยังเป็นสารที่ได้รับการแนะนำโดย National Environment Agency ประเทศสิงคโปร์
เดทตอล แอนตี้เซพติก ลิคควิท นั้นมี คุณสมบัติฆ่าเชื้อโรค โดยยังคงเป็นมิตรต่อผิวคนเรา จึงสามารถใช้ชำระล้างบาดแผล ฆ่าเชื้อบนแผลสัตว์กัดหรือแมลงต่อย ขจัดรังแค ผสมน้ำอาบเพื่ออนามัยส่วนตัว รวมถึงใช้ฆ่าเชื้อโรคเครื่องมือ เครื่องใช้ส่วนตัวต่าง ๆ ที่ใช้ประจำวัน ตลอดจนใช้ในทางการแพทย์และการผ่าตัด ทั้งยังใช้แช่เสื้อผ้าเพื่อฆ่าเชื้อโรค รวมถึงเช็ดพื้น และเช็ดหรือแช่อุปกรณ์ทำความสะอาด แนะนำให้ใช้กับผิวหนังภายนอกร่างกายเท่านั้น ไม่แนะนำให้ใช้ บ้วนปาก
สำหรับวิธีใช้ เดทตอล แอนตี้เซพติก ลิคควิท ที่ถูกวิธีนั้น ให้ผสมเดทตอลกับน้ำตามอัตราส่วนเพื่อฆ่าเชื้อโรค ดังต่อไปนี้
1.ฆ่าเชื้อโรค แผลสด แมลงสัตว์กัดต่อย และเครื่องมือเครื่องใช้
- ขนาด 50ml ใช้น้ำยา 2 ฝา ผสมน้ำ 240 มล.
- ขนาด 100ml, 5L ใช้น้ำยา 1 ฝา ผสมน้ำ 240 มล.
- ขนาดอื่นๆ ใช้น้ำยา 1 ฝา ผสมน้ำ 420 มล.
2.ผสมน้ำอาบเพื่อฆ่าเชื้อโรคใช้อัตราส่วน 1:200
3.การขจัดรังแค ซัก/แช่เสื้อผ้า
- ขนาด 50ml ใช้น้ำยา 2 ฝา ผสมน้ำ 480 มล.
- ขนาด 100ml, 5L ใช้น้ำยา 1 ฝา ผสมน้ำ 480 มล.
- ขนาดอื่นๆ ใช้น้ำยา 1 ฝา ผสมน้ำ 840 มล.
4.ป้องกันการติดเชื้อทั่วไป เช่น เช็ดพื้น
- ขนาด 100ml, 5L ควรใช้น้ำยา 5 ฝา ผสมน้ำ 5 ลิตร
- ขนาดอื่นๆ ใช้น้ำยา 6 ฝา ผสมน้ำ 5 ลิตร
5.การล้างอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้
- ขนาด 100ml, 5L ใช้น้ำยา 5 ฝา ผสมแอลกอฮอล์ 70% 600 มล.
- ขนาดอื่นๆ ใช้น้ำยา 1 ฝา ผสมแอลกอฮอล์ 70% 420 มล.
สำหรับเดทตอลอีกขวดที่หน้าตาดูคล้ายกัน แต่ความจริงแล้วแตกต่างกัน นั่นคือ “เดทตอล ไฮยีน มัลติยูส ดิสอินแฟคแทนท์” (Dettol Hygiene Multi-use Disinfectant) หรืออาจเรียกว่า ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคอเนกประสงค์ เดทตอล จุดที่สังเกตง่ายๆ คือเป็นสูตรที่ไม่มีมงกุฎสีฟ้าอยู่บนฉลาก สีผลิตภัณฑ์จะอ่อนกว่า น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เดทตอล
โดยสูตรนี้แม้จะสามารถฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ได้ถึง 99.9% มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคเทียบเท่ากับ “น้ำยาฆ่าเชื้อโรคเดทตอล” ด้านบนเช่นเดียวกัน แต่ไม่สามารถนำมาใช้กับผิวหนังโดยตรงได้ ที่สำคัญผู้บริโภคจะสามารถมองหาและซื้อ เดทตอล ไฮยีน มัลติยูส ดิสอินแฟคแทนท์นี้ ได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป
ส่วนวิธีใช้ที่เหมาะสมคือ ใช้สำหรับพื้นผิวทั่วไป ผสม 4.5 ฝา (1 ฝา=21 มล.) ต่อน้ำ 2 ลิตร ทิ้งไว้นาน 10 นาที แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด กรณีสำหรับการซักผ้า ให้ผสมปริมาณ 2 ฝา (1 ฝา=21 มล.) ต่อน้ำ 2 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 10 นาที เพื่อการฆ่าเชื้อโรค ก่อนซักตามปกติ
สรุปได้ว่า นอกจากรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันแล้ว ทั้งสองประเภทสามารถฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ได้ 99.9% เช่นเดียวกัน โดยเดทตอลทั้งสองประเภทจะเกิดสารละลายขุ่นขาวทันทีเมื่อผสมน้ำเช่นเดียวกัน จึงสามารถใช้ฆ่าเชื้อโรคทั้งที่ติดอยู่ในเสื้อผ้า หรือนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมอื่นๆ เช่น การฆ่าเชื้อโรคในอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเครื่องใช้ส่วนตัว เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก Dettol Thailand