สแกนวัฒนธรรมโรงหนัง กับ “อมตะ หลูไพบูลย์” เมื่อ “ลิโด” ไม่อยู่ “สกาลา” ก็คงไม่รอด

  • 173
  •  
  •  
  •  
  •  

ลิโด2

“อาคารที่ represent ถึงการเป็นตัวแทนวัฒนธรรมชัดเจนที่สุดอย่างสกาลา” อาจจะต้องถูกทุบทิ้ง!

เพราะวันนี้เป็นวันสุดท้ายที่ลิโด จะปิดทำการในวันนี้ (31 พ.ค. 2561) และผลกระทบ ก็จะส่งถึง “สกาลา” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สกาลาถือเป็นตัวแทนด้านความบันเทิง ตัวแทนด้านวัฒนธรรม ที่ยังเหลืออยู่ในเมืองไทย

อาคารแห่งนี้ represent ถึงการเป็นตัวแทนวัฒนธรรมที่ชัดเจนที่สุด ที่ยังหลงเหลืออยู่

มาฟังเรื่องราวจาก “แฟนพันธุ์แท้” ของสกาลา อดีตที่ผูกพัน มัธยมต้น เตรียมอุดม เย็นวันศุกร์ และวัฒนธรรมการดูหนัง จนถึงสถาปัตย์ จุฬาฯ และเจ้าของบริษัทสถาปนิก เกี่ยวข้องอย่างไรกับสกาลา

ถึงผ่านมา 10 ปี 20 ปี เขาก็ยังแวะเวียนไปดูหนัง สัมผัสกลิ่นไอ สัมผัสท่วงทำนอง และสัมผัสโรงหนังที่ยังมีชีวิต เป้นโรงหนังที่ตัวเองรักจนถึงทุกวันนี้

จากประสบการณ์ทำงาน และประสบการณ์ชีวิต เขามั่นใจ และยืนยันว่าอาคารแห่งนี้ represent ถึงการเป็นตัวแทนวัฒนธรรมที่ชัดเจนที่สุด ที่เหลืออยู่ในเมืองไทย

ข้อเท็จจริงที่สำคัญก็คือ สกาลา เป็นโรงหนัง Stand Alone อันสุดท้ายที่ยัง Working อยู่

ที่นี่คือโรงภาพยนต์ Stand Alone ที่ยังเหลืออยู่ Standing เป็นที่สุดท้าย และสวยที่สุดในเอเชีย

Marketingoops! ขอนำเสนอบทสนทนากับ คุณอมตะ หลูไพบูลย์ “แฟน” ที่เหนียวแน่นของสกาลาและสถาปนิกชื่อดัง 1 ใน 2 คนกับคุณทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ ที่ร่วมกันก่อตั้ง Department of Architecture สตูดิโอชั้นนำของเมืองไทย ที่มีผลงานโดดเด่น มีเอกลักษณ์ และดังไปไกลถึงต่างประเทศ

IMG_7665

ลิโดวันสุดท้าย

สิ้นเดือนนี้ (ก็คือวันนี้) แฟนๆ ของสยามสแควร์โดยเฉพาะลิโด จะต้องปิดตัวลง หลังจากยืนโรงฉายมานานกว่า 50 ปี มีการกล่าวคำอำลาด้วยกิจกรรมฉายภาพยนตร์ที่สามารถเรียกน้ำตา 2 เรื่องนั่นคือ Tonight, At Romance Theater รักเรา…จะพบกัน และ Kids on the Slope เพลงแรก รักแรก จูบแรก

วันสุดท้ายของลิโด ถูกจัดขึ้นพร้อมกับกิจกรรมอำลากับสุภาพบุรุษชุดเหลือง พนักงานเดินตั๋วหนังที่เป็นเอกลักษณ์ของโรงหนังแห่งนี้

ลิโดเปิดฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2511 ด้วยภาพยนตร์เรื่อง ศึกเซบาสเตียน (Games for San Sebastian) และปรับปรุงใหม่เป็นโรงหนังขนาดเล็ก (มัลติเพล็กซ์) 3 โรงเปิดทำการอีกครั้งในปี 2537 หลังจากเกิดเพลิงไหม้เมื่อ 16 มีนาคม 2536 ในยุคนั้นลิโดถือเป็นโรงหนังสำคัญคู่กับสยาม และสกาลา

รายได้ปัจจุบันของลิโดจะมาจาก 1 ค่าตั๋วและ 2 ค่าเช่าพื้นที่ร้านค้าย่อยด้านล่างโรงภาพยนตร์ ถือเป็นรายได้หลักที่ช่วยให้ลิโดอยู่ได้ และส่งความช่วยเหลือไปยังสกาลาให้อยู่กันได้ด้วย

สกาลาที่เป็นโรงหนังในเครือเอเพ็กซ์ ที่หมดอายุสัญญาตั้งแต่ปี 2559 และจุฬา พร็อพเพอร์ตี้ ต่อสัญญาให้ปีต่อปี ปีที่แล้วเก็บค่าเช่าอัตราเดิม (ไม่ต้องจ่ายเงินสนับสนุนที่ต้องเสียรายปี) แต่อาจต้องเพิ่ม 5% ในปีหน้า

รายได้ของสกาลาจึงมาจากการฉายหนัง และการให้เช่าพื้นที่ในโรงเพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ ไม่มีร้านค้าย่อยที่จะช่วยสร้างรายได้ (อาจเป็นเรื่องช่วยเซฟโลเกชั่น เพื่อแฟนๆ ของสกาลา) เอเพ็กซ์ที่ประสบการขาดทุน จึงไม่ขอต่อสัญญาเช่าสกาลาต่ออีก

โรงหนังในเครือเอเพ็กซ์เฉพาะย่านสยามสแควร์มี 3 โรงคือ สยาม ฉายครั้งแรกเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2509 เจ้าของที่ขอคืนตั้งแต่ปี 2553 และขึ้นโปร์เจ็คเป็นสยามสแควร์วัน ใช้งบลงทุน 1,800 ล้าน, ลิโด ฉายครั้งแรกเมื่อ 27 มิถุนายน 2511 และสกาลาเปิดฉายครั้งแรกเมื่อ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2512 จนหมดสัญญาเมื่อปลายปี 2560 และเตรียมส่งคืนพื้นที่ในอนาคต

Image_be6b458

การปิดตัวลงในวันสุดท้ายของตำนานอย่างลิโด จะกระทบสกาลาอย่างไร หลังจากมีกระแสข่าวว่า มีการต่ออายุให้สกาลาออกไปอีก 2 ปี เราไปดูกัน

ลิโดไป สกาลาจะอยู่อย่างไร

“เมื่อลิโดไป สกาลาก็คงจะไม่รอด” คุณบี-อมตะ หลูไพบูลย์ Principal Department of Architecture เอ่ยคำแรก

คุณอมตะร่วมบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ความสำคัญและความทรงจำ ในฐานะผู้ใกล้ชิดและใช้ชีวิตร่วมกับทั้งลิโดและสกาลามาอย่างยาวนาน เริ่มดูหนังตอนพ่อแม่ปล่อยขึ้นรถเมล์ช่วงมัธยมต้น ตั้งแต่สมัยเตรียมอุดมศึกษา ทุกเย็นวันศุกร์ และแน่นอนว่าต้องเป็นสกาลา ลิโด ที่คุ้นเคย และยังต้องแวะโรงหนังดังอีกแห่งในยุคนั้น ซึ่งเป็นทางผ่านก่อนกลับบ้านนั่นคือ วอชิงตัน (ที่ถูกทุบทิ้งไปแล้ว)

สมัยนั้นจึงต้องเป็นสยาม ลิโด สกาลา แมคเคนนา เอเธนส์ หรือวอชิงตัน (ถ้าใครยังพอดูทัน) นั่งรถ, ลง, ดูหนัง แล้วค่อยกลับบ้าน

ในช่วงเรียนคณะสถาปัตย์ฯ จุฬา ยิ่งไม่ต้องบอกว่า คุณอมตะมีเวลามากมายให้กับสกาลาและลิโดอย่างไร และปัจจุบันทุกวันหยุดที่แทบจะหาเวลาไม่ได้ หรือจะติดงานออกแบบอย่างไร เขาก็ยังมีเวลาให้กับสกาลาอยู่เสมอ

คุณอมตะกล่าวว่า ก่อนตัวเองเกิดในช่วงปี 1960-1970 สยามแถวนี้ไม่มีอะไรเลย เมื่อมีโรงหนังสยามก็เป็นที่ฮือฮามาก 2 ปีต่อมาก็มีลิโดที่เป็น Stand Alone Cinema 1,000 ที่นั่ง จากนั้นอีก 2 ต่อมาก็มีสกาลาในปี 1969 ซึ่งเป็นปีที่ตรงกับวันเกิดของตัวเอง และถือเป็นไฮไลท์ของชีวิตผู้คนสมัยนั้น วันที่ฉายหนังพิเศษๆ คนดูจะแน่นมาก ผู้คนจะแต่งตัวสวย บางเรื่องฉายอยู่ 8-9 เดือน อยู่เรื่องเดียว

เป็นจุดหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมาก

เขามองว่า “น่าสนใจมาก” และต้องให้ความสนใจเพราะเป็น “จุดหนึ่ง” ของประวัติศาสตร์ที่จะหายไป

Image_37dd1cb

“ผมรับได้ ของเก่าไป ของใหม่มา เป็นเรื่องปกติของชีวิต แต่สกาลาเป็นอันสุดท้ายแล้วนะ ที่ยัง Working อยู่ การมาดูหนังเป็น Destination ไม่ใช่ดูโรงหนังในช็อปปิ้งมอลล์ ซื้อของ เดินเหนื่อย ผ่านโรงหนัง มีหนังเรื่องอะไร แล้วเข้าไปใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง ต่างจากการดูหนังในโรง Stand Alone ที่ต้องตั้งอกตั้งใจ เตรียมตัวไปดู” เขากล่าว

การดูหนังจึงเป็น “กระดุม” ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย จำเป็นที่จะต้องเก็บ (กระดุม) เอาไว้ เพราะมันเป็นสิ่งที่เชื่อมอดีต มันจะไร้ราก ถ้ามันหลุดหายไป โรงภาพยนต์ Stand Alone สมัยนี้ ที่ยังมีตึก มีอาคาร ไม่มีอันไหนที่รวมส่วนประกอบเข้าด้วยกัน แล้วเรียกว่าเป็นโรงหนัง เหมือนกับลิโด สกาลา หรือกระทั่งโรงหนังสยาม ที่ไม่มีอยู่แล้ว

1604723_608361085884174_512082538_n

สกาลา Art Deco Style

สกาลา เป็นหนึ่งในโรงหนังที่สวยที่สุด ออกแบบมาประมาณ 50 กว่าปี ไม่ได้เก่าเป็นร้อยๆ ปี เป็นสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์น เดคเคอเรชั่นออกแนว Art Deco Style

ผมว่าเป็นโรงหนังที่สวยที่สุดในเมืองไทย มีบางเว็บไซต์ยกย่องว่า เป็นอีเวนท์ที่สวยที่สุดในเอชีย

พูดจริงๆ ผมเชื่อ เป็นช่วงชีวิตที่ define ผม มัธยมต้น เตรียมอุดม เย็นวันศุกร์ วัฒนธรรมการดูหนัง เป็นสิ่งที่ผมรัก อาจจะเป็นอันดับสองรองจากงานสถาปัตย์ ถ้าเป็น physique เป็นตัวตนที่จับต้องได้ก็เหลือแค่สกาลา เราไม่เทียบกับ SF ไม่ใช่ ผมคุ้นๆ กับหน้าพี่ๆ ขายของตรงนั้น เขียนบัตรตรงนี้ รวมทั้งพนักงานเสื้อเหลืองมาเป็นเวลา 20 กว่าปี

ผมโพสต์ครั้งแรกเดือนสองเดือนก่อน มีคนบอกว่าพูดทำเก๋ เคยดูหรือเปล่า สกาลา ผมเลยโพสต์ว่าถ้าดู 10 เรื่อง ปั้มครบ 10 ครั้ง ให้ดูฟรีอีก 1 เรื่อง ผมถ่ายให้ดู 50-60 อัน แสดงว่าผมดูมา 500-600 เรื่องแล้ว

ที่ดินตรงนี้ไพร์มมากกว่าสยามสแควร์วันเสียอีก สี่แยกปทุมวันเป็นจุดที่สำคัญมาก ทุนนิยมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อาชีพของผมขึ้นอยู่กับการสร้างสิ่งใหม่ๆ เจ้าของตรงนี้ไม่ใช่ Private หรืออยู่ในรูปบริษัท ที่ทำเพื่อ maximum profit แต่เป็นสถาบันการศึกษา

20180202_132353

เพราะฉนั้น agenda ไม่ต้องทำเพื่อธุรกิจ แต่ทำเพื่อการศึกษาเรียนรู้ วัฒนธรรมก็เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ผมคิดว่ามันจะดีอย่างมาก ที่จุฬาฯ จะพิจารณาหาทางบางอย่าง กับบางหน่วยงานหรือบางบริษัทเพื่อ keep อาคารสกาลา เก็บสถาปัตยกรรมนี้เอาไว้ เก็บวัฒนธรรมนี้เอาไว้ เพราะอาคารแห่งนี้ represent ถึงการเป็นตัวแทนวัฒนธรรมที่ชัดเจนที่สุดที่เหลืออยู่ในเมืองไทย

เขาน่าจะพยายามมากๆ มันมีแน่นอน ทางออกที่จะไม่ทุบสกาลา ต้องอาศัยอะไรบ้าง

อย่างแรก เจ้าของที่ต้องวินวินที่จะทำสิ่งนี้เพื่อประเทศ เพื่อกรุงเทพฯ เพื่อสยามสแควร์ เพื่อคนไทย ไม่ใช่เพื่อตัวเลข ซึ่งจุฬาฯ รวยพออยู่แล้ว มีพร็อพเพอร์ตี้มากมาย จำนวนมหาศาลในสามย่านมิดทาวน์ แต่ตรงนี้เก็บไว้ก่อน ผมเชื่อว่าคนในจุฬาฯ เห็นค่ามันมาก ไม่อยากจะทุบ ทุบสกาลาเถอะ ไม่มีใครพูด มันกระดาก

แต่มันยอมรับว่า การจะให้เครือเอเพ็กซ์อยู่ได้ ตึกต้องได้รับการช่วยเหลือ พอยท์หลักอาคารต้องมีต่อไป พอยท์รอง อยู่ต่อไปเพื่อใคร จะเป็นอะไร ถ้าให้บริหารต่อไปเอเพ็กซ์ก็คงยินดี แต่จุฬาฯ เอาลิโดคืนไปแล้ว ตอนนี้ไม่ได้มีสถานะเป็นของเอเพ็กซ์  ถ้าพูดว่าลิโดเป็นสถาปัตย์ฯ ที่ดีไหม พูดไม่ได้

เอเพ็กซ์อยู่ได้ด้วยลิโด แต่จุฬาฯ อยากได้คืน เป็นที่ทำการค้าได้  ผมฟังก็เข้าใจ แต่ลิโดมันทำให้สกาลาอยู่ได้ มีเงินมีรายได้จากค่าเช่า จากการที่เอเพ็กซ์เป็นผู้บริหารทั้งลิโดและสกาลา ถ้าไม่ช่วยเหลือ เอาลิโดคืน สกาลาก็อยู่ไม่ได้

มีการพูดกันว่า สกาลาสำคัญเท่าวัดพระแก้วหรือ ถ้าคุณจะพูดว่าสถาปัตยกรรมไทย จะเรียกว่าสำคัญ ต้องไปเทียบวัดพระแก้ว พูดยังงั้นไม่ได้ ถ้ายังงั้นก็ต้องทุบทิ้งทั้งประเทศ

20180202_132257

Stand Alone และยัง Standing

ที่นี่เป็นโรงภาพยนต์ Stand Alone ที่เหลืออยู่และ Standing เป็นอันสุดท้าย สวยที่สุดในเอเชีย

มีอะไรผ่านเข้ามาที่นี่มากมาย ราชวงศ์ต่างๆ มากมายในไทย ก็มาดูหนังที่นี่ ผมว่าจริงๆ แล้ว ความทรงจำเป็นสิ่งมีค่า ถ้าเกิดว่าโตมาโดยไม่มีความทรงจำเลย  แล้วตัวตนคุณคืออะไร

ผมไม่ได้พูดว่าผมเป็นคนรุ่นเก่า ความจริงค่อนข้างเป็นคนรุ่นใหม่นิดนึง (หัวเราะ)

แต่ของบางอย่างเป็นสิ่งที่มันจำเป็น หรือที่มันไม่อยู่ ถ้าตรงนี้จำเป็นต้องถูกแทนที่ด้วยสิ่งที่สำคัญ weigh กันดู ว่าควรจะแทนที่ด้วยอะไร จริงหรือ คุณจะทุบสิ่งนี้ เพื่อสร้างช้อปปิ้งอีกช้อปปิ้งหนึ่งจริงๆ หรือ มีขนมขาย อย่างมากก็มีที่ติวฟิสิกส์ ถ้าจะใช้ฟังก์ชั่นแค่นี้ มันมีพื้นที่อีกหลายพันหลายหมื่นตารางเมตร ผมนึกไม่ออกว่าคุณจะมีอะไร ที่บอกว่าจะมาแทนตรงนี้ แล้วมีค่าเหมือนตรงนี้ แล้ว weigh กันดูว่า มีค่าพอที่จะทุบตรงนี้ ถ้าบอกได้ก็บอกมา

แน่นอนว่า Layer ของความสำคัญ มันมีดีกรีแตกต่างกันไปหมด ตึกเรียนเก่าสมัยมัธยม เป็นไม้ แต่ต้องทุบ ถ้า unique ว่าเป็นตึก 6 ชั้นเพื่อมีเด็กมากขึ้น ไม่มีใครว่าอะไร แต่ว่าคุณจะสร้างอะไรแทนตรงนี้ ตอบได้มั้ยว่ามีอะไรสำคัญกว่า

ถ้าตอบไม่ได้ ไม่เห็นมีความจำเป็นที่จะต้องไม่อยู่ ถ้าตรงนี้ไม่สามารถสร้างเงินได้มากมาย มีหน่วยงานไหน อาจารย์ท่านไหน คนๆ ไหน ที่ถูกประเมินว่า ทำหน้าที่บกพร่อง ไม่สามารถได้เงินจากตรงนี้ ตรงนี้จะทำเงินมากหรือน้อย ก็ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน จุฬาฯ มีเงินมากมาย

ถ้าตรงนี้มีสิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรม เช่น หอภาพยนต์ มาอยู่ตรงนี้ ฉายตรงนี้ หนังคลาสสิค อินดี้ นีชมาร์เก็ต ทำให้ตรงนี้เป็นศูนย์รวมวัฒนธรรม ภาพยนต์ โลเกชั่นมันได้ เป็นหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์วัฒนธรรมร่วมสมัยไทย

Image_4724950

ทางออกสกาลา

ผมว่า ต้องรวมกันตั้งประเด็นว่า เราจะเก็บอาคาร แล้วทำไงดี ถ้าจะให้ เอเพ็กซ์ อยู่ จะอยู่ได้ยังไง ต้องลดค่าเช่า เอาค่าเช่าจริงหรือ ถ้าเอาสกาลาไว้ ในเชิงการค้า เป็น Utopia อยู่ไปฟรีๆ พูดยาก ต้องหาทาง Sustain ต้องเก็บส่วนดีของอาคารนี้ไว้ให้ได้ ตรงนี้ทั้งตึกไม่ใช่ดีหมด แต่โถงตรงนี้ โครงสร้างนี้ ปูนปั้นตรงนั้น แชนเดอร์เลียร์ ตัวเธียร์เตอร์ มันต้องเก็บเอาไว้

ตึกนี้มีพื้นที่อีกมากมาย เช่น ตึกแถว ร้านเบเกอรรี่ ซอยด้านข้างถึงถนนสุดด้านหลังทางเข้าที่จอดรถฝั่งตรงข้าม BMK ถ้าทำสถาปัตย์ใหม่ โดยเก็บส่วนที่ต้องเก็บซึ่งมีแค่ 1 ใน 3 ที่เหลือทำใหม่เลย

แต่ที่ต้องทำให้ดีเพื่อให้ตอบสนองต่อโลเกชั่นนี้ และมีโปรแกรมที่ยั่งยืน Sustain ทางธุรกิจเข้ามา และเอื้อต่อคาแรคเตเอร์ที่มีอยู่ คือ เพชรหัวแหวน นั่นก็คือ สกาลา

เพราะนี่คือตัวแทนด้านความบันเทิง วัฒนธรรมซึ่งดึงดูดคนทั้งหมด หลากหลายกลุ่มอายุ

คีย์หนึ่งของสกาลา คือ ไม่เหมือนส่วนอื่น ของสยามสแควร์ ที่เป็นกลุ่มเด็กมาติวหนังสือ เป็นกลุ่มวัยรุ่น

แต่สกาลาดึงดูดคนได้มากกว่านั้น หลากหลายกว่า มีชาวต่างชาติด้วย

วัฒนธรรมที่ยังหลงเหลือ

ผมคิดว่าต้องมีหน่วยงานที่แตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานที่มาจากหอภาพยนต์ หรือ เอเพ็กซ์เอง หรือแม้กระทั่งเป็นบริษัททั่วไป เซ็นทรัล กรุ๊ป เบียร์ช้าง เรามาสร้างสิ่งที่อยู่ยั่งยืนให้สกาลากัน Active ที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ และทำให้สกาลาอยู่ได้อย่างดี ไม่ตาย มีหลากหลายแนวทาง เช่น จัดฉายหนังที่นีชมาร์เก็ตอย่างต่อเนื่อง และมี schedule ชัดเจน

ผมเคยมาดูหนังที่สกาลา เรื่อง คลีโอพัตรา ที่มีเอลิซาเบธ เทย์เลอร์ ในบทบาทของพระนางคลีโอพัตราคนแรก คนเต็ม!

ผู้สูงอายุ 60-80 ปี มากัน 40 กว่าคน มาเป็นคู่ มากันเอง หรือมากับลูกหลานอายุ 20 กว่าปีมีหมด ไม่รู้ใครพาใครมา หลานชายพาย่า หรือยายพาหลานมา ปกติคนอายุ 60-70 ปี เขาไม่ค่อยเข้าโรงหนังกันแล้ว เพราะไม่ชอบเสียงดัง รำคาญ หรือต้องเข้าห้องน้ำบ่อย

แต่วันนั้นมาทุกช่วงอายุ ฝรั่งก็มา เอสแพ็ค ก็มาผมว่าวันนั้น น่าจะมีถึง 500-600 คน มันบอกได้ชัดเจนว่า ถ้าคุณมีโปรแกรมที่นีช และมีกลุ่มคนที่อยากมาดูอยู่แล้ว  และมีต่อเนื่อง จะดีมาก เช่น หนังคลาสิค เที่ยงวันเสาร์, ญี่ปุ่น อนิเมชั่น มีนิชชัดๆ คือถ้าบอกว่า เย็นวันจันทร์ มีหนังยุโรป วันอังคารมีหนังญี่ปุ่น เกย์หรือเลสเบียน หรืออะไรก็แล้วแต่

ถ้าเป็นผมเห็น ตายละ จะเอาเวลาไหนทำงานวะเนี่ย!

ไม่จำเป็นเลยต้องเป็นหนังเหมือน SF หรือ Major ซึ่งตอนนี้ฉายเหมือนกัน แต่ถูกกว่า พูดเลยเขาไม่สนใจเรื่องเงิน แต่ต้องเอาหนังที่ๆ อื่นไม่มี มา เชื่อเลยว่าคนจะมา

20180202_123449

ความสำคัญ?

พูดถึงเรื่อง “ความสำคัญ” ของบางอย่างไม่มีความสำคัญทางธุรกิจ ของบางอย่างไม่จำเป็นที่จะมีความสำคัญ รูปปั้น Sculpture ไม่มีความสำคัญทางธุรกิจ แต่มันจะมีค่าทางจิตใจ ของบางอย่าง ตึกบางตึก มีความสำคัญทางศาสนา ต่อให้ไม่มีการเข้าไปใช้สอย เช่น สถูป ไม่มีฟังก์ชั่นเกิดขึ้น แต่ว่ามีความสำคัญไหม มีความสำคัญเหมือนกัน (พอพูดถึงผมเจ็บมาก)

ผมไม่ได้เปรียบเทียบสกาลา กับสถาบันทางศาสนานะ เปล่าเลย

ฟังก์ชั่นของสกาลา สามารถฉายหนังร่วมสมัย เปิดตัว (อีเวนท์) อะไรก็ได้ ผมว่ามันทำให้ Balance ของสี่แยกนี้ (ปทุมวัน) ดีขึ้นด้วย

MBK มีช้อปปิ้ง มีคนต่างชาติจำนวนมาก ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี ไฮโซมาเต็ม Why not มีวัฒนธรรม Complete 4 แยกนี้ ไม่ใช่แค่มีช้อปปิ้ง 4 ด้าน คนไทยต้องการช้อปปิ้ง มากขนาดนี้จริงๆ หรือ

จุฬาฯ ให้สัมภาษณ์ว่า ไม่อยากทุบเลย แต่จะทำยังไงได้ ก็ในเมื่อเอเพ็กซ์จะไป แต่ถ้าเอาลิโดไปแล้ว ตัดแข้งตัดขา เขาก็อยู่ไม่ได้

20180202_123434

ลิโด ผมก็เสียดาย แต่ในแง่สถาปัตย์ ถ้าไม่อยู่ ยังพอทำใจได้ แต่สำหรับสกาลามัน heart broken มากเลย

สกาลาได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมยอดเยี่ยมดีเด่นแห่งประเทศไทย จากสมาคมสถาปนิกสยาม ได้รับมอบจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระองค์เสด็จมามอบรางวัลนี้ ให้โดยพระหัถต์

ผมอยากจะรู้ว่าใครอยากจะทุบตึกที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  ทรงให้รางวัล ใครจะทุบตึก

ผมไม่เชื่อว่าจุฬาฯ จะตัดใจทุบตึก ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงมอบรางวัลให้ มันมีทางที่ทำให้พื้นที่ที่มากกว่านี้ 2 เท่าของตรงนี้ จะ generate รายได้ โดยใส่โปรแกรมที่ถูกต้อง อีเว้นท์กี่ชั้นอยากสร้างก็สร้าง แต่ตึกตรงนี้ควรอยู่ ไม่ว่าจะกลมกลืนหรือ contrast ให้คำนึงถึงสกาลาที่อยู่ด้วยอย่างเหมาะสม space นี้อาจเลี้ยงตัวเองได้

ถ้าทำได้ สกาลาจะอยู่ได้ในปี 2018 และอยู่ต่อไปได้เรื่อยๆ เม็ดเงินจะมาจากพื้นที่ด้านหน้าและด้านข้างมากกว่า

หน่วยงานไหนจะเป็นเจ้าภาพในการดีเวลลอปสิ่งนี้ ตรงๆ ผมอยากให้เป็นหน่วยงาน private ซึ่งมาเช่าที่จุฬาฯ มาดีเวลลอปไปด้วยกัน จุฬาฯ ต้องให้เรทในการเช่ากึ่งๆ subsidize ตรงนี้ แล้วเอากำไรจากตรงนั้น ไม่สามารถคิดว่า พื้นที่เท่านี้ กำไรต้องเท่านี้ ในโจทย์ TOR ต้องบอกว่า คนที่มา ต้อง keep ส่วนนี้ ใน proposal ต้องสร้างรายได้มาบาลานซ์กัน  จุฬาฯ คงจะได้เงินกลับไป ไม่มากก็น้อย

TheMIST-exterior1

ผลงาน TheMIST ที่ประเทศจีนของคุณบี

ไม่ได้มาหางาน

ผมไม่อยากจะพูดว่า ผมอยากทำงานนี้ อยากจะมาหางาน เหมือนผมออกมาหางาน

ผมนั่งเฉยๆ ก็มีงาน ผมปฏิเสธงานทุกอาทิตย์

แต่ถ้ามีโอกาส จะเป็นงานที่ทำเสร็จแล้วตายตาหลับ เป็นงาน personnel ทำด้วยใจ และต้องใช้พลังอย่างสูงมาก ไม่ต้องจ้างก็ได้ ทำแบบ at cost ก็ทำ พูดตรงๆ เหมือน “ตี้” (คุณทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ) ทำห้องสมุดจุฬาฯ แทบไม่เอาอะไรเลย

ทีนี้ผมจะทำ ถ้ามีองค์กรไหน หรือมีดีเวลลอปเปอร์อยากจะทำ ผมยินดี ไม่ต้องจ้างก็ได้ มาคุยก็ได้ หน่วยงานที่น่าจะมามากเลยคือ หอภาพยนต์

กลุ่มสถาปนิกเห็นความสำคัญของสกาลา แต่พูดกลางๆ จุฬาฯ ไม่ใช่ตัวร้ายของเรื่องนี้ เปล่าเลย ผมเชื่ออย่างนั้นจริงๆ

ลิโด ถูกจุฬาฯ ยึดคืนลิโดไปแล้วในวันนี้ เอเพ็กซ์ก็ไม่อยู่ สกาลาแห่งนี้ก็จะทรุดโทรมลง ซักวันที่ยังคิดอะไรไม่ออก ก็จะบอกว่าอันตราย จะตกใส่หัว ทุบไปให้หมดแล้วกัน ในที่สุดกาลเวลาก็จะเป็นอย่างนี้ ไม่ได้ตั้งใจว่าจะให้เป็น แต่กาลเวลาจะทำให้เกิดอย่างนั้น ซึ่งน่าเสียดายสุดๆ

TheMIST-exterior2

ส่วนตัวผมเห็น Opportunity ทางการค้าของพื้นที่นี้ มันน่าจะทำได้

สยาม Shopping experience ต้องมีแตกต่างกัน หรูๆ รวยๆ  กินชา Harrods คุณก็ไปทางนั้น

ช้อปปิ้งแบบเป็นซอยๆ ออกเดินที่โน่น ที่นั่น ที่นี่ ของที่เข้ามาก็ไม่เหมือนของแบรนด์เนม เป็น Hand made เด็กทำมาขาย เป็น informalmarket มันจำเป็นที่ต้องมีตลาดนี้ ตามเตนท์ ตามพลาซ่า คนที่มีการค้าขายแบบ informal การค้าบนโซเชียล มีเดีย หาของตามไอจี กลุ่มเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ ฟรีแลนซ์ บุคลิกนั้นน่าจะเข้ากับทางฝั่งนี้

TheMIST-interior1

TheMIST-interior2

โมเดลสำหรับสกาลา

เราสามารถสร้าง Space ของที่ฮิตมากๆ ตาม Instagram สามารถมามีหน้าร้านเล็กๆ ตรงนี้ได้ บางทีการมีหน้าร้านมันทำให้คุณได้ลอง จริงๆ ซื้อเสื้อตาม Instagram ก็ต้องนัดเจอกัน ถ้าไม่ใช่ของที่ชิฟส่งไปเลย คนที่ไม่ได้ช้อปปิ้งตามช้อปปิ้งอย่างผม นี่อาจไม่ใช่คำตอบตรงนั้น

มันมีโมเดลพิเศษอื่นๆ ที่สามารถใช้ Space ตรงนี้ แต่ไม่ใช่คนจากพารากอนหรือสยามดีส แต่คือ เด็กวัยรุ่น มาเรียนหนังสือ พ่อแม่ที่ส่งลูกเรียน 3 ชั่วโมง คนที่มาดูหนัง มาร่วมอีเวนท์ที่สกาลา กลุ่ม Experience ระหว่าง 50-60 ปีรวม mix ต่างชาติและสนใจวัฒนธรรม

เมื่อมองเห็นหน้ากลุ่มกลุ่มนี้แล้ว ชัดขนาดนี้แล้ว ก็สามารถหา Product และ Service มาtailor-made ให้คนกลุ่มนี้ได้ มีเงินด้วย

มาช่วยกันคิดก็ได้ เชื่อว่าสามารถสร้างเป็นสถาปัตยกรรมดี ถึงดีมากได้

มันอาจเป็นการร้อน (อากาศ) ผมเถียงสุดฤทธิ์ เดินตามซอกซอย มันเป็นวัฒนธรรมเอเชีย มีมาแต่ไหรแต่ไร ปัญหาของการเดิน เราสามารถออกแบบให้แก้ปัญหาได้ เราคงไม่อยากได้สิ่งที่เป็น Monotone สำหรับเมืองๆ หนึ่งไปอย่างนั้นเสียทั้งหมด (ช็อปปิ้ง)

มันมีมาร์เก็ตแน่นอน ถ้าตรงนี้ใช้ดึงคนไม่เคยมา ก็ต้องมา ฝรั่งก็จะมา ทำได้แน่นอน ด้วยขนาดนี้มีจำนวนมากพอที่จะเป็น magnet กลายเป็น “ย่าน” mix ครีเอทีฟเข้าไปหน่อย ออกแบบให้มี 2 ชั้น ไม่ใช่คิดแต่จะทุบทิ้ง แล้วมีร้านกาแฟ (Off record ) ชั้น 2 ชั้น 3 เป็นช็อปแบ่งเป็นล็อคๆ

“อมตะพร้อมจะทิ้งงานอื่น ลดเวลางานอื่น น้องๆ ที่ออฟฟิศก็รู้ว่าผมอิน ถ้างานได้ทำ น้องๆ คงยินดีมากๆ” เขากล่าว

hilton pattaya-lobby&bar1

hilton pattaya-lobby&bar2

ผลงาน hilton pattaya

เน้นคุณภาพงาน ไม่เน้นปริมาณ

ผลงานออกแบบของสตูดิโอแห่งนี้ อาทิ โครงการรีสอร์ท Six Senses เกาะสมุย ที่ได้รางวัลรีสอร์ทที่ดีที่สุดในโลก โดยนิตยสาร Condé Nast Traveler รวมทั้งรางวัลยอดเยี่ยมจากสมาคมสถาปนิกสยาม

sunone-exterior1

sunone-exterior2

ผลงาน Sunone

ผลงานที่โดดเด่นอื่นๆ ก็เช่น อาคาร Sunone, ร้านอาหาร Zense กรุงเทพฯ, The Commons คอมมูนิตีมอลล์ ทองหล่อ, รีสอร์ทศาลา ภูเก็ต, ล็อบบี้บาร์และร้านอาหารในโรงแรมฮิลตัน พัทยา ฯลฯ

sala phuket-villa1

sala phuket-villa2

sala phuket

ผลงานที่ได้รางวัลจากสมาคมสถาปนิกสยาม อย่าง The Commons ได้รับรางวัล Highly Commended Award (รองชนะเลิศอันดับ 1) ในประเภท Shopping Category จาก WAF (World Architecture Festival) เมื่อปี 2016 ที่เมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี

Commons-1

Commons-4

Commons-2

Commons-3

Commons-5

ผลงาน The Commons

cr. ภาพ FB Apex, Nantakwang Sirasoontorn

 


  • 173
  •  
  •  
  •  
  •