‘ธุรกิจเครื่องดื่ม’ ในตลาดประเทศไทยหากจะพูดว่าเป็น Red Ocean หรือตลาดที่มีการแข่งขันสูงก็คงไม่ผิด เพราะปัจจุบันมีหลากหลายแบรนด์ที่เข้าสู่ตลาดนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีมูฟเมนต์น่าสนใจอย่าง‘แบรนด์ D7’ (ดีเซเว่น) ของบริษัทไทยแอทลาสโกลบอล ฟูด จำกัด ซึ่งอยู่ในตลาดนี้มานานกว่า 16 ปีแล้ว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากพูดถึงเกี่ยวกับ D7 คือ การ comeback ตลาดด้วยการจับตลาด Blue Ocean เน้นไปที่การแข่งขันในด้านความต้องการ ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ตัดสินใจเข้าสู่ตลาด ‘คอมบูชะ’ สินค้าน้องใหม่ล่าสุด
ทำความรู้จัก D7 แบรนด์นี้มีดีอะไร?
อย่างที่เกริ่นไปว่า D7 ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเซียนในตลาดเครื่องดื่มของไทยก็ว่าได้เพราะก่อตั้งบริษัทขึ้นตั้งแต่ปี 2549 ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท โดยจุดเริ่มต้นของแบรนด์ D7 มาจากการที่ คุณสมบัติ อรรถสกุลชัย ผู้บริหารมองว่าตลาดกาแฟในไทยมีความน่าสนใจ และจัดว่าเป็นประเภทเครื่องดื่มที่มีผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ ขณะที่การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยเกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงความต้องการซื้อที่มีความหลากหลายมากขึ้น ครอบคลุมทั้งกลุ่มคนทำงาน, กลุ่มคนใช้แรงงาน และกลุ่มนักศึกษา
ดังนั้นจะเห็นว่า D7 ได้มีการพัฒนาสูตรมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังยกระดับรสชาติกาแฟกระป๋องให้ถูกใจผู้บริโภค นอกจากนี้ D7 ยังคำนึงถึงคุณประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพผู้ดื่มเป็นสำคัญด้วย
ด้วยความที่ผู้บริหารของแบรนด์ D7 มีแนวคิดที่ไม่เคยหยุดพัฒนาและต้องการปรับสูตรประเภทเครื่องดื่มอยู่เสมอ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ได้อย่างทั่วถึง ดังนั้นในปัจจุบันภายใต้แบรนด์ D7 มีเครื่องดื่มในตลาดทั้งหมด 4 ประเภทด้วยกัน ทั้ง D7 แลคโต น้ำองุ่นขาวผสมนมเปรี้ยว ที่เหมาะกับทุกวัยดื่มได้ง่ายๆ เป็นรสเปรี้ยวแบบโยเกิร์ต, D7 กาแฟและชาไทย กระป๋องพร้อมดื่มที่รสชาติเข้มข้นติดลิ้น, D7 Kurve ชาไทยที่มีวิตามิน B และไฟเบอร์ 8000 มก. ซึ่งเหมาะมากกับคนที่ขับถ่ายไม่ปกติ ให้ชาไทยไปช่วยปรับสมดุลของลำไส้ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และน้องใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาด ‘D7 คอมบูชะ ชาหมักผสมไฟเบอร์ 7000 มก. พร้อมวิตามิน B และ D’ ที่กำลังมาแรงมากๆ
D7 comeback จับตลาด ‘คอมบูชะ’ เพื่อคนรุ่นใหม่กลุ่มเฮลตี้
เรียกว่าเป็นการ comeback ได้ถูกจังหวะกับกระแสสุขภาพที่มาแรงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 เพราะการหันมาจับตลาดเฮลตี้ของ D7 ครั้งนี้ เห็นได้ชัดว่าต้องการเจาะไปที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ ดูได้จากการเลือกพรีเซ็นเตอร์ที่เป็น คุณโบว์ เมลดา สุศรี ที่ให้เป็นสัญลักษณ์ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้นผ่านตัวคอมบูชะนี้
ทั้งนี้ D7 คอมบูชะมีจุดเด่นน่าสนใจหลายอย่างที่อยากหยิบมาเล่า เพื่ออย่างน้อยๆ ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อทานเราควรต้องรู้ประโยชน์ หรือรายละเอียดของสินค้านั้นๆ ก่อน เช่น
- เป็นชาหมักคอมบูชะที่หมักนานถึง 30 วันเพื่อให้ได้จุลินทรีย์ที่ดีที่สุด อีกทั้งยังทำให้กรดอะซิติกมีปริมาณมากขึ้นด้วย (ช่วยยับยั้งเอนไซม์ที่ทำให้เกิดมะเร็ง, คอเลสเตอรอลในเลือด)
- ใช้ใบชาอู่หลง เพราะมีสี กลิ่น รสชาติที่ต่างจากใบชาชนิดอื่น ให้ความรู้สึกเหมือนคอมบูชะจากแหล่งกำเนิด
- เพิ่มวิตามิน B ช่วยในเรื่องการบำรุงประสาท, สมอง, ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
- เพิ่มวิตามิน D ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม
- เพิ่มไฟเบอร์พรีไบโอติก 7000 มก. เป็นตัวช่วยเรื่องการปรับสมดุลทางเดินอาหาร และกระตุ้นให้การขับถ่ายดีขึ้น
Comeback ทั้งที วิธีการกลับเข้าสู่ตลาดของ D7 ถือว่าน่าสนใจโดยเลือกที่เครื่องดื่มสุขภาพชาหมักคอมบูชะที่มี 2 รสชาติที่คิดว่าน่าจะเข้ากับปากคนไทยได้ง่าย ก็คือสีเขียว (รสออริจินัล) กับสีฟ้า (รสผสมนมเปรี้ยว) นอกจากนี้ราคาจำหน่ายยังเป็นมิตรกับคนไทย เพียงกระป๋องละ 30 บาทเท่านั้น ซึ่งถ้าเทียบกับแบรนด์คอมบูชะอื่นๆ ในแง่ของคุณภาพและรสชาติที่ใกล้เคียงกัน ราคาสูงกว่าอยู่ที่ประมาณ 80-200 บาททีเดียว
จะว่าไปทั้งราคา, รสชาติที่ถูกปาก และผู้บริโภคก็ได้ประโยชน์ไปเต็มๆ พูดง่ายๆ คือ D7 คอมบูชะมีจุดที่ดึงดูดผู้บริโภคในตลาดอยู่แล้ว แต่ด้วยความที่เป็นมูฟเมนต์ใหม่ของ D7 ดังนั้น การใช้กลยุทธ์การตลาดจึงน่าสนใจไม่แพ้กัน
โดยทางผู้บริหารเปิดเผยว่า D7 ใช้การตลาดเชิงรุกเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในทุกช่องทาง ทั้งสื่อ TV, สื่อ Out of Home (ป้ายโฆษณาทั่วกรุงเทพ) และสื่อ Online รวมไปถึงการปรับกิจกรรมต่างๆ ของแบรนด์ D7 ให้เข้ากับยุคและกระแสในปัจจุบันมากขึ้น ที่สำคัญต้องมุ่งไปที่กิจกรรมแปลกใหม่ ผู้บริโภคมีส่วนร่วม อย่างน้อยๆ ก็ช่วยสร้างความรู้สึกในเชิงบวกต่อแบรนด์มากกว่าเดิม
สำหรับช่องทางการจำหน่ายเราสามารถหาซื้อได้หลากหลายช่องทาง เช่น 7-Eleven ทุกสาขา, Lotus, Makro, ส่วนช่องทางออนไลน์หาซื้อได้ที่ shopee และ Lazada
สิ่งที่เห็นจากการ comeback ของแบรนด์ D7 ครั้งนี้ เรามองว่าต่อให้ธุรกิจเครื่องดื่มจะมีการแข่งขันสูงแค่ไหน แต่การขยับตัวในแต่ละครั้งของแบรนด์จำเป็นต้องหาช่องทาง และโอกาสที่จะทำให้เข้าไปอยู่ในกลุ่มผู้บริโภคได้มากที่สุด ซึ่งนอกจากตัวโปรดักส์ที่ต้องน่าสนใจและอยู่ในกระแสความต้องการแล้ว กลยุทธ์การตลาดเป็นเรื่องจำเป็น และที่สำคัญต้องใช้กลยุทธ์ที่เหมาะกับสินค้าและจังหวะของตลาดในแต่ละช่วงด้วย