เผยธุรกิจ 3 มาแรงปี 2559 พร้อมแนะแนวทางผู้ประกอบการยุคใหม่

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

ThinkstockPhotos-480855852-highlight

มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เผยกลุ่มธุรกิจมาแรงในปี 2559 เน้นธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางการเงิน สุขภาพ และนวัตกรรมที่เกี่ยวกับอาหาร

อาจารย์กิตติชัย ราชมหา อาจารย์ประจำภาควิชาผู้ประกอบการและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียนกำลังนับถอยหลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้ตลาดสินค้าและบริการเปิดกว้างมากขึ้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นโอกาสอันดีในการพัฒนาและขยับขยายธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการตลาดภายใต้สภาวะแวดล้อมการแข่งขันในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยกลุ่มธุรกิจที่จะมาแรงเป็นพิเศษในปี 2559 นั้น มี 3 กลุ่มธุรกิจ ดังนี้

1.ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการเงิน (Financial Technology)

เธฃเธนเธ›เธ˜เธธเธฃเธเธดเธˆเธเธฒเธฃเน€เธ‡เธดเธ™

การทำธุรกิจและการใช้ชีวิตทุกวันนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงิน ดังนั้นการนำเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมทางการเงินให้ง่ายขึ้น ย่อมเป็นโอกาสและความน่าสนใจใหม่สำหรับสตาร์ทอัพเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ และเมื่อพิจารณาข้อมูลย้อนหลังไป 3 ปี พบว่า มูลค่ามวลรวมของธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยีฟินเทคเกี่ยวข้อง (FinTech StartUp) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มอัตราเติบโตแบบก้าวกระโดดในอนาคตอย่างชัดเจน

2.ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการแพทย์ (Healthcare and Wellness)

เธฃเธนเธ›เธ˜เธธเธฃเธเธดเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž

เป็นอีกกลุ่มที่น่าจับตามองในปี 2559 เนื่องจากมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิต ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการแพทย์ เช่น ยารักษาโรค อุปกรณ์การแพทย์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ นวัตกรรมด้านสุขภาพ ล้วนเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจหลักที่ภาครัฐให้การสนับสนุน และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการให้บริการสุขภาพของภูมิภาค (Medical Hub) โดยในปี 2557 ที่ผ่านมามีชาวต่างชาติเข้ารับบริการสุขภาพในประเทศไทยถึง 1.2 ล้านครั้ง สร้างรายได้เข้าประเทศ 107,000 ล้านบาท (ที่มา: กระทรวงสาธารณสุข และ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)

3.ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหาร (Food Innovation)

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

เป็นธุรกิจที่มีความน่าสนใจและมีกระแสของการเติบโตไม่น้อยในปี 2559 ที่ใกล้เข้ามา เหตุเพราะเป็นกลุ่มธุรกิจที่ถือว่า ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการแข่งขันในตลาดอาเซียน ซึ่งหากมีการประยุกต์เอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเสริมด้วยแล้ว จะยิ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า นอกจากนี้ความเข้มแข็งและมุ่งเน้นผลักดันส่งเสริมจากภาครัฐในอุตสาหกรรมด้านอาหารและนวัตกรรมอาหาร เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการที่มีส่วนส่งผลต่อความสำเร็จและโอกาสเติบโตของอุตสาหกรรมด้านอาหารในปีหน้า เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่มีการสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งในด้านการให้ความรู้เพิ่มเติมในการวิจัยและพัฒนา เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการเปิดตลาดต่างประเทศ โดยในปี 2557 ที่ผ่านมาจำนวนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่มมีมากกว่า 370,000 ราย สร้างมูลค่ารวมกว่า 628 ล้านบาท (ที่มา: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม)

การปรับตัวของผู้ประกอบการไทย

ผู้ประกอบการต้องประยุกต์ใช้หลักการของสตาร์ทอัพเข้าสู่ธุรกิจ นั่นคือ การไม่หยุดนิ่ง คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา และการเพิ่มนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าสู่ธุรกิจ โดยผู้ประกอบการยุคใหม่ที่ต้องการประสบความสำเร็จนั้นจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ มุ่งมั่นตั้งใจ ริเริ่มสร้างสรรค์ วางแผนธุรกิจเป็น และกล้าเสี่ยงที่จะลงทุน

และในปี 2559 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นโอกาสที่ดีในการขยายธุรกิจ ต้องปรับตัวเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งที่มีมากขึ้นหลายเท่าตัว ฉะนั้นหากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต้องคิดในมุมมองแบบนักธุรกิจสตาร์ทอัพให้ได้ ด้วยการคิดค้นสินค้าและบริการที่แปลกใหม่ตลอดเวลา ต้องมองหานวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ สิ่งที่ผู้ประกอบการยุคใหม่ตระหนักในการดำเนินธุรกิจ 4 ประการ คือ

1. ความมุ่งมั่นตั้งใจ (Entrepreneurial Intention)  ความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำธุรกิจ พร้อมที่จะยืนหยัดต่อสู้และมีทั้งความตั้งใจและเข้าใจธุรกิจที่ทำ และมีตัวชี้วัดเป็นความมุ่งมั่นในการนำเงินมาเริ่มลงทุนทำธุรกิจ

2. ความคิดริเริ่มธุรกิจ (Business-Idea Initiate) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในด้านการทำธุรกิจเป็นต้นกำเนิดที่สำคัญของจุดขายของธุรกิจ โดยเฉพาะการคิดแบบนวัตกร (Innovator) ที่จะใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นตัวส่งเสริมธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดมากขึ้น

3. ความรู้ด้านการวางแผนและสร้างตัวแบบธุรกิจที่มีความเป็นไปได้จริงและมีมูลค่าเพิ่ม (Value-Added Business Model and Plan) ผู้ประกอบการยุคใหม่จะเป็นต้องมีความรู้ด้านการทำธุรกิจและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น รู้กลุ่มลูกค้า ผลิตภัณฑ์ ความต้องการของตลาด คู่แข่งในตลาด เป็นต้น เพื่อใช้ในการร่างแผนธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งรัฐบาลและเอกชนให้ความรู้ในเรื่องเครื่องมือของผู้ประกอบธุรกิจ (Business Model) อย่างแพร่หลาย

4. ความเป็นคนรักที่จะเสี่ยงและเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆ (Risk and Challenge Lover) โดยหลังจากการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ความใจสู้และกล้าเสี่ยงถือเป็นหัวใจสำคัญของคนทำธุรกิจ และเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการที่ต้องการประสบความสำเร็จไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยการใช้ความใจสู้และกล้าเสี่ยงนั้น ต้องมีการศึกษาข้อมูลจากงานวิจัยและสถิติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ


  •  
  •  
  •  
  •  
  •