ดูเหมือนช่วงนี้ Deepfake กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถกเถียงถึงความแตกต่างระหว่าง Deepfake และเทคโนโลยี AI ซึ่งอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ สั้นๆ คือเทคโนโลยี AI เป็นการใช้เทคโนโลยีมาประมวลผล วิเคราะห์และคาดการณ์ ขณะที่ Deepfake เป็นการนำเทคโนโลยี AI มาซ้อนทับอีกที ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากไปทั่วโลก แม้แต่ประเทศไทยเองก็ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง:
ทำความใจ AI ที่อาจยังเข้าใจคลาดเคลื่อน ไขข้อข้องใจ Virtual Artist จาก Deepfake คือ AI หรือไม่? |
แต่ด้วยความฉลาดของ AI ทำให้การ Deepfake มีความแนบเนียนและเหมือนจริงมาก จนถึงขนาดที่แทบจับไม่ได้เลยว่านี่คือ Deepfake หรือภาพคนตัวจริง ซึ่งมีโอกาสที่จะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดและหมายถึงการก่ออาชญากรรมทางโลกไซเบอร์ (Cyber Crime)
นั่นจึงทำให้ประเทศจีน หนึ่งในประเทศที่มีการใช้ AI มากที่สุดในโลก ต้องมีการออกกฎใหม่สำหรับผู้ให้บริการเนื้อหาที่มีฟังก์ชันในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใบหน้าและเสียง โดยหน่วยงานของจีนที่มีชื่อว่า Cyberspace Administration of China (CAC) ได้กำหนดให้บุคคลได้รับความคุ้มครองจากการถูกแอบอ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากการปลอมแปลงในเชิงลึก โดยเป็นการดัดแปลงภาพที่แยกออกจากต้นฉบับแทบไม่ได้ และถูกนำไปใช้ในการบิดเบือนหรือให้ข้อมูลที่ผิด
โดยกฎดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 10 มกราคม 2023 เนื่องจากมีการพบว่าบริการ Deepfake ได้รับความนิยมอย่างมากและมีแนวโน้มที่จะถูกนำไปใช้อย่างผิดกฎหมาย ทั้งนี้กฎใหม่ดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อลดความเสี่ยงที่จะมีการนำบริการดังกล่าวไปใช้ในทางหลอกลวงเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหรือให้ข้อมูลที่ผิด

และหากรูปแบบ Deepfake ได้รับความนิยมมากขึ้นทั่วโลก ก็เป็นไปได้ที่หลายประเทศอาจจะมีการตั้งกฎเกณฑ์ใหม่ เพื่อป้องกันและปราบปรามการนำ Deepfake ไปใช้ในทางที่ผิด
Source: Reuters