ชมสุดยอดภาพถ่าย-วิดีโอแมลงไทย เปิดพลังผลงานโบแดงประกวดภาพถ่ายแมลงครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศ

  • 692
  •  
  •  
  •  
  •  

 

ประสบความสำเร็จอย่างสวยงามสำหรับโปรเจ็กต์ที่เชฟรอน และ SPRC ได้ร่วมมือกับพันธมิตรหลายฝ่ายเพื่อนำเสนอโลกแห่งแมลงที่มักถูกมองข้าม ในการประกวดภาพถ่ายแมลงครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทย นั่นคือ “Exploring Thailand’s Insect Diversity: Photo Competition” หรือโครงการประกวดถ่ายภาพ “ความหลากหลายของแมลงประเทศไทยในป่าและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา”

 

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทภาพถ่าย ระดับมัธยมต้น
ชื่อผลงาน: อัญมณีมีขีวิต
ด.ช. กวินภพ ไชยยางพานิช ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

 

การประกวดนี้ไม่เพียงทำให้ประชาชนได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพด้วยการถ่ายภาพแมลง และสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ใกล้ตัว แต่สุดยอดภาพถ่ายและวิดีโอเรื่องราวแมลงไทยที่ถูกส่งมาร่วมโครงการล้วนสามารถส่งพลัง ทำให้ภาพที่สวยงามสามารถสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนใส่ใจสิ่งแวดล้อมโดยเริ่มต้นจากสัตว์เล็กจิ๋วในธรรมชาติ ซึ่งไม่เพียงช่วยไฮไลท์ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ยังยกระดับทรัพยากรทางการศึกษาวิทยาศาสตร์ได้ด้วย

 

 

ท่ามกลาง 3,000 ผลงานที่ถูกส่งเข้ามาชิงรางวัล ภาพถ่าย 19 ภาพและวิดีโอ 19 ชิ้นสามารถคว้ารางวัลในการแข่งขันระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวะ และบุคคลทั่วไป โดยทั้ง 38 ชิ้นงานนี้ถือเป็นผลงานชิ้นโบแดงจากการประกวดภาพถ่ายแมลงครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทย ที่จะส่งเสริมความเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นว่าสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเหล่านี้สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมอย่างไร

 

รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทภาพถ่าย ระดับมัธยมต้น
ชื่อผลงาน: ผีเสื้อ
นาย อาห์ฟิซ ตันหยงอุตง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนศรีฟารีดาบารูวิทยา จังหวัดยะลา

 

รางวัลชนะเลิศอันดับ 3 ประเภทภาพถ่าย ระดับมัธยมต้น
ชื่อผลงาน: Grasshopper
นาย พนัส เจริญเศรษฐกุล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี

 

หากไม่มีแมลง ระบบนิเวศจะพังทลาย

ไอเดียของการประกวดนี้วนเวียนอยู่กับแมลงตัวน้อยที่มีบทบาทสำคัญในโลกของเรา แม้จะไม่มีใครสังเกตเห็น แต่ทั้งผีเสื้อ ผึ้ง และแมลงอื่น ๆ มักทำหน้าที่เป็นบารอมิเตอร์มีชีวิตที่สามารถชี้วัดระดับความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้นได้ โดยการมีหรือไม่มีแมลงนั้นสามารถบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพดิน ความบริสุทธิ์ของน้ำ และรูปแบบสภาพอากาศ ซึ่งหากไม่มีแมลง ระบบนิเวศก็จะพังทลาย ส่งผลต่อการผลิตอาหาร  น้ำที่สะอาด ดินที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก และอากาศที่ดี

เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเนื่องจากแมลงตัวจิ๋วล้วนมีส่วนสนับสนุนการเจริญเติบโตของต้นไม้ ดอกไม้ และพืชอื่น ซึ่งในทางกลับกัน ต้นไม้และดอกไม้เหล่านี้ก็เป็นอาหารและที่อยู่อาศัยสำหรับสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด สายใยแห่งความสัมพันธ์อันซับซ้อนนี้ทำให้สิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์สามารถอยู่ร่วมกันได้ ทำให้เกิดระบบนิเวศที่เชื่อมโยงถึงกันที่ชาวโลกได้เห็นรอบตัว

 

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทภาพถ่าย ระดับมัธยมปลายและอาชีวะ
ชื่อผลงาน: โฉบผ่าน
นาย ธรรมบุญ อุยยานนวาระ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนรุ่งอรุณ กรุงเทพฯ

 

รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทภาพถ่าย ระดับมัธยมปลายและอาชีวะ
ชื่อผลงาน: ชีวิตอันน่าเศร้าของจักจั่น
นาย ภากร ศรีรัตนประพันธ์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา(ศึกษาศาสตร์) จังหวัดขอนแก่น

 

รางวัลชนะเลิศอันดับ 3 ประเภทภาพถ่าย ระดับมัธยมปลายและอาชีวะ
ชื่อผลงาน: ธรรมชาติของห่วงโซ่อาหาร
นาย ภูวริณ สุชาติบุญมาก ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จังหวัดระยอง

 

พลังภาพ สร้างความตระหนักรู้

เพื่อสร้างความตระหนักรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพและสุขภาพของระบบนิเวศ การแข่งขันที่ไม่เหมือนใครจึงเกิดขึ้นในชื่อโครงการประกวดถ่ายภาพ “ความหลากหลายของแมลงประเทศไทยในป่าและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา” ซึ่งเป็นหนึ่งกิจกรรมภายใต้โครงการ “เติมพลังรักษ์ยั่งยืน สู่ผืนป่าไทย Foster Future Forests”

การส่งเสริมความรู้ด้านสะเต็มศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพด้วยการประกวดนี้ ไม่เพียงทำให้เกิดการเรียนรู้พฤติกรรมของแมลงที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ แต่ยังเปิดกว้างให้ผู้สนใจได้ชมความงามที่สร้างสรรค์จากธรรมชาติผ่านเลนส์กล้อง โดยโครงการนี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง 7 พันธมิตร ได้แก่

  • บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด
  • บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน)
  • สมาคมส่งเสริมการพัฒนาแรงงานต้นกำเนิดเพื่ออนาคต (IAFSW)
  • สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ความสำคัญของโปรเจ็กต์นี้คือเป็นการจัดประกวดภายถ่ายแมลงครั้งแรกของประเทศ ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดีเพราะมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมกว่า 3,000 ผลงาน โดยได้มีการประกาศผลและมอบรางวัลแก่ผู้ชนะไปในงานวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ประจำปี 2567  ที่จัดโดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อวันอังคารที่ 9 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา

 

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทภาพถ่าย บุคคลทั่วไป
ชื่อผลงาน: แมลงตัวเล็กในป่าใหญ่
คุณ ชนินทร์ เธียรวิวัฒน์นุกูล

 

รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทภาพถ่าย บุคคลทั่วไป
ชื่อผลงาน: รังตัวอ่อน
คุณ สุปัญญา จงประเสริฐ

 

รางวัลชนะเลิศอันดับ 3 ประเภทภาพถ่าย บุคคลทั่วไป
ชื่อผลงาน: ตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้สีขาว
คุณ วิศาล น้ำค้าง

นอกเหนือจากภาพสวย คือทรัพยากรทางวิทยาศาสตร์

ผลงานที่ได้รับคัดเลือกนอกจากจะได้เผยแพร่สู่สาธารณะ ยังจะมีการสร้างแพลตฟอร์มการจำแนกสิ่งมีชีวิต หรืออนุกรมวิธาน (Taxonomy) ที่จะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับแมลงเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในเขตร้อนต่อไป  ·

ที่สุดแล้ว ภาพผลงานจากการประกวดนี้จะไม่เพียงแต่เฉลิมฉลองความงดงามของแมลง แต่ยังย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของแมลงในการรักษาระบบนิเวศให้แข็งแรง ซึ่งเป็นสารข้อความที่สะท้อนถึงภาวะปัจจุบันได้ชัด ขณะเดียวกัน การผสมผสานศิลปะ วิทยาศาสตร์ และการอนุรักษ์เข้าด้วยกันในโครงการนี้ จะทำให้ประเทศไทยมีต้นแบบโครงการ ที่สามารถหยิบความคิดสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของประชาชน มาเป็นตัวช่วยส่องแสงไฮไลท์ให้กับแมลง สิ่งมหัศจรรย์ตัวน้อยที่จะทำให้โลกของเราสมดุลได้

 

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทวิดีโอ บุคคลทั่วไป
ชื่อผลงาน: ด้วงก้นกระดก กินแมลงวัน
คุณ ธงชัย แสงประทุม

รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทวิดีโอ บุคคลทั่วไป
ชื่อผลงาน: เพียงสองเรา
คุณ ศราวุฒิ ทองเมือง

รางวัลชนะเลิศอันดับ 3 ประเภทวิดีโอ บุคคลทั่วไป
ชื่อผลงาน: อิ่มกัน ปันสุข
คุณ ปนัดดา อานาชา

 

ผู้สนใจสามารถชมผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งหมดได้ที่ Award – Biodiversity (iafsw.org) หรือข้อมูลเพิ่มเติมหรือกิจกรรมที่น่าสนใจเกี่ยวกับโครงการ “เติมพลังรักษ์ยั่งยืน สู่ผืนป่าไทย Foster Future Forests” สามารถติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/FosterFutureForests

 

 


  • 692
  •  
  •  
  •  
  •