เทียบฟอร์ม!! คาเฟ่ อเมซอน VS สตาร์บัคส์ ศึกชิงตลาดกาแฟ 3 หมื่นล้าน

  • 1K
  •  
  •  
  •  
  •  

อเมซอน-สตาร์บัคส์

การปรับยุทธศาสตร์ของ “สตาร์บัคส์” ด้วยการจับมือกับ “เอสโซ่” เพื่อเข้าไปเปิดร้านขายกาแฟในสถานีบริการน้ำมัน สะท้อนให้เห็นว่า แบรนด์กาแฟระดับโลกแห่งนี้ ต้องการช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดกลับมา หลังจากพลาดท่าเสียแชมป์ให้กับ “คาเฟ่ อเมซอน” ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

ตลาดกาแฟของประเทศในปี 2560 มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ประมาณ 21,220 ล้านบาท

และประเมินกันว่า ปี 2561 มูลค่าตลาดกาแฟ จะเพิ่มขึ้นเป็น 23,470  ล้านบาท, ปี 2562 เพิ่มเป็น 25,860 ล้านบาท, ปี 2563 เพิ่มเป็น 28,400 ล้านบาท และปี 2564 ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 30,950 ล้านบาท

ขณะที่การบริโภคกาแฟของคนไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 200 แก้วต่อปี

ตัวเลขนี้หากเทียบกับ ประเทศอื่นๆ เช่น เวียดนาม 300 แก้วต่อปี ประเทศญี่ปุ่น 400 แก้วต่อปี หรือหากเป็นทางยุโรป จะเฉลี่ยมากกว่า 1 พันแก้วต่อปี

หากย้อนกลับไปในช่วง 3 ปี ก่อนหน้านี้ สตาร์บัคส์ เป็นเจ้าของส่วนแบ่งตลาดกาแฟมากสุด

ทว่า นับตั้งแต่ปี 2558 – 2560  ร้านกาแฟ Cafe Amazon (คาเฟ่ อเมซอน) ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT สามารถเบียดแย่งส่วนแบ่งตลาดขึ้นมาอันดับ 1 ได้ ด้วยตัวเลขเฉลี่ย 40% ส่วนสตาร์บัคส์ ลงมาเหลือ 30%

ขณะที่แบรนด์ร้านกาแฟแห่งอื่น จะมีส่วนแบ่งการตลาดรองลงมา เช่น อินทนิล ของค่ายน้ำมันบางจาก, ร้านกาแฟ ทรูคอฟฟี่, ร้านกาแฟ แบล็กแคนยอน และร้านกาแฟสดชาวดอย

^4EE7A33A424508BE8C22CC8B4EFDF35F64BF8B0FF6B5683E3B^pimgpsh_fullsize_distr

สตาร์บัคส์-เอสโซ่ จับมือรุกขยายสาขาในปั๊ม

ล่าสุด สตาร์บัคส์ ได้จับมือค่ายน้ำมันยักษ์ใหญ่ “เอสโซ่” เพื่อที่จะเข้าไปเปิดร้านกาแฟภายในสถานีบริการน้ำมัน และจะเริ่มจาก 3 สาขาแรก คือ บางบัวทอง เพชรบุรี และกาญจนบุรี พร้อมทั้งจะมีการขยายสาขาเพิ่มขึ้นอีก โดยปัจจุบัน เอสโซ่มีสถานีบริการน้ำมันอยู่กว่า 500 แห่ง

ที่ผ่านมา การรุกตลาดของกาแฟสตาร์บัคส์ ส่วนใหญ่จะเปิดร้านกาแฟภายในศูนย์การค้าต่างๆ หรือในรูปแบบคอมมิวนิตี้ ทั้งในอาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม โชว์รูมรถยนต์ สนามบินต่างๆ ทั้งสุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอีกหลายๆ แห่ง รวมทั้งสาขาในรูปแบบที่เป็น “สแตนอโลน” ที่สตาร์บัคส์ กำลังขยายร้านในรูปแบบดังกล่าวมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ขณะที่ร้านกาแฟภายในสถานีบริการน้ำมันกับเป็นโซน ที่สตาร์บัคส์ ยังไม่เคยเข้าไปมาก่อน

ณ สิ้นปี 2560 สตาร์บัคส์ มีจำนวนสาขาอยู่ทั้งหมด 321 สาขา และล่าสุดช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เมย.) เพิ่มขึ้นมาเป็น 330 สาขา และมีแผนจะเปิดให้ได้ 400 สาขาภายในปี 2562 ในรูปแบบสาขาที่แตกต่างกันไป

การร่วมมือกับเอสโซ่ ของสตาร์บัคส์ จึงนับว่าน่าสนใจ เพราะส่วนแบ่งตลาดของ Cafe Amazon ส่วนใหญ่ จะอยู่ภายในสถานีบริการน้ำมันของ ปตท. ส่วนยอดขายของ Cafe Amazon ในสาขาอื่นๆ ที่อยู่นอกสถานีบริการน้ำมัน แม้จะมียอดขายที่ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังมีสัดส่วนไม่มากนัก หากเทียบกับในสถานีบริการน้ำมัน

ทว่า จำนวนสาขาของ Cafe Amazon หลายๆ แห่งที่อยู่นอกสถานีบริการน้ำมัน กลับสามารถเข้าไปแย่งลูกค้าของสตาร์บัคส์ได้มาค่อนข้างมาก โดเยเฉพาะภายในศูนย์การค้าต่างๆ ทั้งจากบรรยากาศการตกแต่งร้าน ที่เริ่มจะไม่แตกต่างกัน ขณะที่ “ราคากาแฟ” หรือเครื่องดื่มอื่นของ Cafe Amazon จะมีราคาถูกกว่าสตาร์บัคส์

^DD66FD71FFA31FE5A9E6E991298233BBF93DFC14B606DD34F5^pimgpsh_fullsize_distr

จึงปฏิเสธไมได้ว่า การรุกเข้าไปจับมือกับเอสโซ่ของสตาร์บัคส์ ก็เพื่อชิงลูกค้ากลุ่มเดินทางมาใช้บริหารกับตนเองบ้าง และต้องการชิงส่วนแบ่งตลาดกาแฟกลับคืนมา หรือเป็นการรบที่คล้ายกับตาต่อตา ฟันต่อฟันกับ Cafe Amazon

มาดูผลประกอบการของกาแฟสตาร์บัคส์กันว่า ในช่วง 4 ปีย้อนหลังมีตัวเลขเป็นอย่างไร

ทั้งนี้พบว่า ในปี 2557 สตาร์บัคส์มีรายได้ 3,985 ล้านบาท เติบโต 19.70% และมีกำไรสุทธิ 419 ล้านบาท

ปี 2558 มีรายได้รวม 4,998 ล้านบาท เติบโต 25.42% และมีกำไรสุทธิ 715 ล้านบาท

ปี 2559 มีรายได้รวม 6,051 ล้านบาท เติบโต 21.06% และมีกำไรสุทธิ 818 ล้านบาท

และปี 2560 มีรายได้รวม 7,006 ล้านบาท เติบโต 15.78%  และมีกำไรสุทธิ 885 ล้านบาท

จากตัวเลขรายได้ในช่วง 4 ปีย้อนหลัง จะพบว่า รายได้ของสตาร์บัคส์จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 20% ดังนั้นในปี 2561 มีความเป็นไปได้ที่สตาร์บัคส์จะมีรายได้เพิ่มขึ้นมาที่ 8,400 ล้านบาท

แต่ตัวเลขรายได้ดังกล่าวยังถือว่าน้อยกว่าของ Cafe Amazon ในปี 2560

^58479095C70B436A97078DD73B6396F463E33D3C102FD49FBF^pimgpsh_fullsize_distr

Cafe Amazon จากแบรนด์ไทยสู่ระดับโลก

กลุ่ม ปตท. มีการตั้งเป้าหมายทางการตลาดของธุรกิจนอนออยล์ และธุรกิจน้ำมันว่า จะมีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นมาเป็น  50 : 50 จากปัจจุบัน มีอยู่ 30 : 70 โดยรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นมาเป็น 50% มีเป้าหมายจะทำให้ได้ภายในปี 2565

ทั้งนี้ Cafe Amazonสามารถสร้างรายได้คิดเป็นเกือบ 60% ของรายได้จากธุรกิจนอนออยล์ของ ปตท.

และในร้าน Cafe Amazon ที่ขายดีที่สุดก็คือ “กาแฟ”

ปตท.นั้น ได้วางแผนงานระยะยาว ด้วยการเพิ่มสถานีบริการน้ำมันให้มากขึ้นจากปี 2560 มีอยู่ประมาณ 1,640 แห่ง จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,800 แห่ง และจะเพิ่มเป็น 2,560 แห่งภายในปี 2565 แน่นอนว่า เมื่อสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้น จะทำให้ร้าน Cafe Amazon มีจำนวนเพิ่มขึ้นตามไป

ปัจจุบัน ปตท. มีร้าน Cafe Amazon อยู่จำนวนกว่า 2,123 แห่ง

และมีเป้าหมายจะเพิ่มขึ้นเป็น 2,300 แห่ง ในปี 2561 และ 4,000 แห่ง ภายในปี 2565 โดยร้านกาแฟที่เพิ่มจำนวนขึ้นนั้น จะเพิ่มไปตามสถานีบริการน้ำมัน และร้านที่เป็นรูปแบบ “สแตนอโลน” และในศูนย์การค้าต่างๆ

สำหรับร้านกาแฟ Cafe Amazon เริ่มการก่อตั้งร้านค้าใน ปตท. ครั้งแรกเมื่อปี 2545 หรือผ่านมากว่า 16 ปี ทำให้ร้านกาแฟแบรนด์นี้กลายเป็นแลนด์มาร์คของ ปตท. โดยจำนวนสาขาของ Cafe Amazon ในปัจจุบัน จะแบ่งเป็นการขายแฟรนไชส์ 90% และ ปตท.บริหารงานเอง 10%

การดำเนินธุรกิจร้านกาแฟ Cafe Amazon ยังคงขยายต่อเนื่อง ทั้งรูปแบบแฟรนไชส์และลงทุนเอง

สำหรับในจำนวนสาขาของ Cafe Amazon กว่า 2,123 แห่ง แบ่งเป็นสาขาในประเทศไทย 1,999 แห่ง ส่วนต่างประเทศมี 124 แห่ง โดยเตรียมเงินลงทุนอีก 600-750 ล้านบาท เพื่อขยายสาขาทั้งใน และนอกสถานีบริการน้ำมัน ปตท. แบ่งเป็นแฟรนไชส์ 80% และอีก 20% ลงทุนเอง ซึ่งประกอบด้วยหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นร้านในปั้มปกติ ร้านกระจกโปร่งใส หรือร้านคีออสในศูนย์การค้า

^0B2EA3292DEFD12EFFBDE4F4D30414EB897574AB78B57EDC59^pimgpsh_fullsize_distr

ปตท.ยังได้ต่อยอดธุรกิจ ร้านกาแฟ Cafe Amazon ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยมีการลงทุนก่อสร้างโรงคั่วกาแฟ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น Healthy drink ผงผสมเครื่องดื่ม และเบเกอรี่แห้ง รวมถึงการสร้างศูนย์กระจายสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

ในด้านผลประกอบการของ Cafe Amazon 4 ปีย้อนหลัง พบว่า ปี 2557 มีรายได้รวม 3,500 ล้านบาท

ปี 2558 รายได้เพิ่มเป็น 5,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54.28%

ปี 2559 รายได้ 8,000  ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.14%

และปี 2560 รายได้ขึ้นมาแตะหมื่นล้านบาท ด้วยตัวเลข 10,256 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 28%

ในด้านแผนงานปี 2561 ปตท.ตั้งเป้ายอดขายกาแฟ Cafe Amazon ว่าจะเติบโตขึ้นอีก 25% หรือคิดเป็นรายได้ 12,820 ล้านบาท จากยอดขายกว่า 180 ล้านแก้วในปี 2560

Cafe Amazon ไม่ได้หยุดเพียงแค่การขายในประเทศไทย

แต่ที่ผ่านมายังได้ขยายการลงทุนไปยังตลาดต่างประเทศในรูปแบบ Master Franchise ในประเทศฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และอื่นๆ เพื่อขยายเครือข่ายสู่ตลาดโลก โดยวางแผนมีจำนวนสาขารวมกว่า 700 แห่ง ภายใน 5 ปี

และล่าสุดคือ การเปิดบริษัทเพื่อไปเปิดร้านขายกาแฟ Cafe Amazon ที่ประเทศสิงค์โปร์

Image_176757e

 

^3971986BF0BD42D2BD776E1155DC95F6532A3CE765C77D172C^pimgpsh_fullsize_distr


  • 1K
  •  
  •  
  •  
  •