Digital BUTLER กวาด 100 โครงการ 5 หมื่น end user ร่วมพัฒนา living Tech

  • 98
  •  
  •  
  •  
  •  

Image_7329d84

คำว่า BUTLER บริการตามโรงแรม ที่เจาะจงบริการเฉพาะห้องแบบเอ็กซ์คลูซีฟ ความหมายคือ คุณ คือคนพิเศษ ที่จะมี BUTLER สำหรับเฉพาะห้อง

เมื่อนำมาใช้ในธุรกิจ Property Management ความหมายคือเป็นเหมือนกับเซอร์วิสสำหรับผู้อยู่อาศัย เจ้าบ้าน เจ้าของบ้าน หรือผู้ที่ครอบครองอสังหาริมทรัพย์

ตัวแอพพลิเคชั่น BUTLER เป็นเหมือนกับแพลตฟอร์มที่คิดขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาจิปาถะที่เกิดขึ้นสำหรับผู้อยู่อาศัย ตามโครงการต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นไม่จบสิ้น ในที่พักอาศัยไม่ว่าจะเป็นบ้านจัดสรร หรือคอนโดมิเนียม ที่ต้องตามแก้ทีละจุด หาช่างเฉพาะแต่ละด้าน เข้ามาแก้ไข

ถ้าเจอช่างดีก็ถือว่าเป็นโชค

แต่ส่วนใหญ่มักไม่เป็นเช่นนั้น บ่อยครั้งที่เจ้าของบ้านแก้ปัญหาจุดหนึ่ง แต่ก็ไปเกิดปัญหาที่จุดอื่นๆ อันเนื่องมาจากช่างที่ดูแล ไม่มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญ หรือใส่หัวใจอย่างเพียงพอ หรือไม่มีความรับผิดชอบ เหล่านี้ล้วนสร้างภาระและปัญหาที่เพิ่มขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการซ่อมแซม ดูแล รักษา อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน เซอร์วิสเหล่านี้ เราไม่เคยเป็นผู้กำหนดเองได้ แต่ต้องรับผลที่เกิดขึ้นมา ไม่ว่าจะออกมาดีหรือไม่ดีก็ตาม เพราะเราฝากความหวังทั้งหมดไว้ที่คนที่เราไม่รู้

เหมือนเป็นโซลูชั่นจบในที่เดียว

แอพพลิเคชั่นและซอฟท์แวร์ BUTLER ได้เข้ามาคิดค้นแก้ Pain Point ดังกล่าวด้วยบริการแพลตฟอร์มกลาง ด้านการจัดการชุมชน และสังคม (Community Management Platform) แก้ปัญหาและอำนวยความสะดวก แก่นิติบุคคลโครงการและผู้อยู่อาศัย

Image_bb94bba

ตอบโจทย์ urban Lifestyle โซลูชั่น

ถ้านึกถึงแพลตฟอร์มกลางผู้ให้บริการนำผู้โดยสาร มาพบกับผู้ให้บริการแท็กซี่ เราก็จะนึกถึง Grab หรือ LINETAXI ถ้าเป็นผู้ให้บริการห้องว่าง หรือบ้านว่างแก่นักเดินทาง ชื่อ airbnb ก็จะผุดขึ้นมา

ปัจจุบันแพลตฟอร์มล่าสุดอย่าง BUTLER ก็ได้สร้างอินโนเวชั่นของการเป็นแพลตฟอร์มกลาง เชื่อมโยงผู้อยู่อาศัย ให้เจอกับช่างที่ใช่พบกับทางออกของ Pain Point พาบริษัทนิติบุคคลเจอกับโซลูชั่นในเรื่อง Property Management ที่แก้ Pain Point ในการบริหารโครงการ

ผู้อยู่อาศัยก็ไม่ต้องมีผู้ช่วยอยู่ในหลายแอพพลิเคชัน จะโทรสั่งอาหาร จะเรียกรถแท็กซี่ จะส่งพัสดุ จะจ่ายเงิน จะแจ้งซ่อมประปา จะหาช่างล้างแอร์ หาคนตัดต้นไม้ ฯลฯ ไม่ต้องโหลดหลายแอพ รวมอยู่ในสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว Image_eb12b92

แอพบริการทั้งหมดจะรวมอยู่ใน BUTLER แอพเดียว รวมทั้งอยู่ในระบบใช้งานเดียวกับนิติบุคคล เกิดเป็นการบริหารจัดการและสังคมร่วมกัน อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน

นิติบุคคลสามารถทำงานหรือบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ราบรื่น ลดความขัดแย้ง

เช่น แจ้งเตือนเรื่องค่าส่วนกลาง  แจ้งเตือนลูกบ้านเมื่อมีพัสดุมาจัดส่ง ระบุวันซ่อมบำรุงระบบอย่างทั่วถึง ไฟดับ น้ำไม่ไหล

มีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้อยู่อาศัยกับนิติบุคคลได้ราบรื่น ลดปัญหาลูกบ้านกับนิติบุคคล แก้เรื่องคอรัปชั่นระหว่างนิติบุคคลกับเจ้าของ ลดเวลางานให้มีเวลามากขึ้น เพิ่มความรวดเร็ว ลดการใช้คน ลดต้นทุนบริหารงาน นายวรกร วีราพัชร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิจิตอล บัตเลอร์ จำกัด (BUTLER)

คุณวรกร วีราพัชร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิจิตอล บัตเลอร์ จำกัด หรือ BUTLER เปิดเผยว่า บริษัทได้พัฒนาแอพพลิเคชันและซอฟต์แวร์ขึ้นภายใต้ชื่อ BUTLER เพื่อเป็นแพลทฟอร์มจัดการชุมชนและสังคม (Community Management Platform) แก้ไขปัญหาให้นิติบุคคลโครงการที่อยู่อาศัยและผู้อยู่อาศัย

การพัฒนาแพลทฟอร์มดังกล่าวแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 บริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ (Property Management) สำหรับนิติบุคคลโครงการชื่อว่า BUTLER PROPERTY MANAGEMENT PLATFORM ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์เชื่อมโยงนิติบุคคลกับผู้อยู่อาศัยในโครงการ พนักงาน และบริการของพันธมิตร

ฟังก์ชันประกอบด้วยการดูและจัดการตารางกิจกรรมภายในของนิติบุคคล, การใช้พื้นที่ส่วนกลาง, ภาพรวมแผนงบประมาณ, แจ้งค่าน้ำค่าไฟ, รับแจ้งซ่อม, รับแจ้งปัญหา, บริหารจัดการ, แชทคุยกับผู้อยู่อาศัย, บริหารจัดการพนักงาน ตลอดจนดูตารางงานของพันธมิตร ที่เข้ามาทำงานในพื้นที่โครงการ

เริ่มเปิดให้บริการ Soft Launch ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา Image_264b2fa

ระยะที่ 2 บริการการจัดการชุมชน และสังคมสำหรับผู้อยู่อาศัย ผ่านช่องทางแอพพลิเคชัน ผู้ใช้จะเชื่อมโยงกับนิติบุคคล และชุมชนโดยรอบ ผ่านบริการที่มีหลายฟังก์ชัน

เช่น ทั้งบริการแม่บ้าน ซักอบรีด การดูแลรักษาบ้าน ดูแลรักษารถ บริการเช่ารถ ช้อปปิ้ง สั่งอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งในชุมชนตัวเอง หรือร้านอาหารชื่อดังในพื้นที่อื่น โดยจะเปิดตัวบริการเหล่านี้ได้ทั้งหมดภายในเดือนตุลาคมนี้

ระยะที่ 3 สร้างระบบนิเวศชุมชนและบริการจัดการชุมชนเต็มรูปแบบ โดยจับมือพันธมิตรสตาร์ทอัพ ร้านค้าในชุมชน และสถาบันการเงิน ให้ผู้ใช้บริการเชื่อมโยงสินค้าและบริการต่างๆ ในชุมชน ชำระค่าบริการต่างๆ ได้ภายในแอพเดียว

รวมทั้งสร้าง Community Media ให้บุคคลภายในโครงการ ติดต่อสื่อสาร รวมถึงซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้

“นิติบุคคลโครงการที่อยู่อาศัยมากมาย ต่างมี Pain Point ด้านการบริหารจัดการดูแลผู้อยู่อาศัย จากปริมาณงานที่มากและหลากหลาย มีรายละเอียดให้ต้องคอยติดตาม ฝั่งผู้อยู่อาศัยเองก็เช่นกันต่างมี Pain Point จากการบริการที่ไดรับทั้งล่าช้าและขาดบริการที่ครบวงจร ไม่มีปฏิสัมพันธ์ในชุมชน หรือนิติบุคคลของตัวเอง BUTLER จึงได้พัฒนา Community Management Platform ขึ้นมาช่วยให้เกิดความสะดวกให้กับทั้ง 2 กลุ่ม ด้วยแอพเดียวที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ในการบริหารงาน และการใช้ชีวิตให้ง่ายขึ้น” คุณวรกร กล่าว

BUTLER ได้เริ่มจับมือกับพันธมิตรทั้ง Seekster, Fixzy, Helpdee, Betagro, JP Insurance

รวมทั้งยังเปิดรับพันธมิตรอีกหลายธุรกิจ เพื่อร่วมมือพัฒนาหลายธุรกิจและบริการอย่างต่อเนื่อง

มุ่งเป้าสู่ Urban Tech อันดับ 1 ของเอเชีย

เมื่อพัฒนาครบ 3 ระยะ BUTLER จะสามารถสร้างแพลตฟอร์ม living Tech ในโซลูชั่น 3 C ให้กับผู้ใช้งาน คือ

1.Connect เชื่อมโยงภาคธุรกิจกับชุมชน

2.Convenience สร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้ ทั้งฝั่งโครงการและฝั่งผู้อยู่อาศัย

3.Create สร้างโอกาส ชุมชน และสังคมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น

“เราไม่ได้ทำงานคนเดียว และไม่ได้พัฒนาแพลตฟอร์มนี้เพื่อเป็นคู่แข่งกับใคร แต่เราจะร่วมมือกับพันธมิตรทั้งด้านโลจิสติกส์ ด้านบริการช่างซ่อมบำรุง ค้าปลีก ทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้งาน”

“BUTLER ตั้งเป้าภายในปี 2561 จะมีนิติบุคคลใช้งานในแพลตฟอร์ม 500 โครงการ มียอดดาวน์โหลดแอพพลิเคชันไม่น้อยกว่า 1 แสนดาวน์โหลด ซึ่งตอนนี้มียอดแล้ว 50,000 ดาวน์โหลด และตั้งเป้าว่าภายใน 2 ปี จะขยายสเกลให้บริการไปสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

“โดยร่วมมือกับผู้ประกอบการในประเทศนั้นๆ ทั้ง Property Management, Property Developer รวมทั้ง Service Provider หลังจากปี 2563 ก็จะขยายไปในระดับเอเชีย เพื่อพัฒนาบริการ BUTLER ให้กลายเป็นเทคโนโลยีด้านการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตในเมือง (Urban Tech) อันดับ 1 ของเอเชีย” Image_c103aca

เจาะวิธีคิด BUTLER

จากสตาร์ทอัพด้าน Delivery ซีฟู้ด และแอพสั่งเครื่องดื่มออนไลน์ BUTLER ที่เริ่มต้นด้วยทุน 5 ล้านบาท

วางเป้าหมายเติบโตในปี 2018-2019 ที่จะเป็นเบอร์ 1 กลุ่ม urban Lifestyle ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ พัทยา ภูเก็ต และเชียงใหม่

จากนั้นในปี 2020 ก็จะออกเติบโตไปสู่เอเชีย ด้วยวิธีเชื่อมโยงกับพาร์ทเนอร์ที่เป็น Property Management เช่น บริษัทซักอบรีดที่เวียดนาม หรือบริษัทแม่บ้านที่เกาหลี ด้วยแพล็ตฟอร์มที่จะสร้างความสะดวกสบาย และลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นบริการฝั่ง B2B และ B2C พาร์ทเนอร์

“พาร์ทเนอร์ที่ดีลไว้ อาทิ น้ำดื่มสปริงเคิล เบทาโกร Uno Service ซุปเปอร์มาร์เก็ตหลายราย วิธีการหรือระบบทำงานของ BUTLER เหมือนเฟสบุ๊คย่อยๆ ที่อยู่ในหมู่บ้าน คอนโดมิเนียมเชื่อมโยงกัน end user 100 กว่าโครงการ ที่จะใช้บริการกับ BUTLER ที่ดีลกันอยู่ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาและยังเป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะกับเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ หอพัก ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในอนาคต ที่เชื่อมกับผู้ประกอบการ Property Management”

“BUTLER เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลปลายน้ำ ที่จะเข้ามาช่วยงาน Property Developer บริหารจัดการอยู่อาศัยหลังโครงการแล้วเสร็จ ใช้งานง่าย สะดวก การสร้างอีโคซิสเต็มแก้ปัญหามื้ออาหารในคอนโดมิเนียม ด้วยแอพส่งอาหารทะเล ดึงร้านผัดไทยเข้าร่วมแพล็ตฟอร์ม สมัครในเว็บไซต์ ส่งผัดไทยเข้าคอนโด มีแจกคูปอง ส่วนลด ช่วยลดต้นทุนให้พาร์ทเนอร์ ระบบหลังบ้านสร้างเป็นระบบเรตติ้ง เพื่อคัดคุณภาพให้ผู้อย่อาศัย” คุณวรกรกล่าว

BUTLER เป็นฟรีแพล็ตฟอร์ม ไม่มีค่าแรกเข้า นิติบุคคลสามารถดาวน์โหลดได้เลย เพียงแค่ลงทะเบียน มี 2 ภาษาทั้งไทยและอังกฤษ อนาคตก็จะมีการเพิ่มภาษาจีน เป็นแอพพลิเคชั่นที่ใครก็สามารถเข้าใช้ได้

ในมุมของโปรแกรมเมอร์นักพัฒนา เขียนโปรแกรมแยกกันระหว่าง Property Management และผู้ใช้ทั่วไปด้วยระบบหลังบ้านร่วมกัน แต่ในมุมของผู้ใช้ก็จะเป็นแพล็ตฟอร์มเดียวกัน Image_820b47a

“เราใช้ Big Data ในการจัดเก็บข้อมูลเป็น Market Place ให้กับนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจัดซื้อจัดจ้าง รปภ. แม่บ้าน เหมือน Uber Grab ใช้ระบบรีวิวเรตติ้งในตัวคัดกรองคุณภาพ เรามีบริษัทแม่บ้านเกือบ 20 บริษัท มีพาร์ทเนอร์ด้านช่าง 5 บริษัท แต่ตัวพาร์ทเนอร์มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศแล้ว เช่น Fixzy มีช่างทั่วประเทศ เราเหมือนเป็นช่องทางหาลูกค้าให้กับ Fixzy คือโหลดแอพ BUTLER แต่ไปใช้ช่างของ Fixzy ซึ่งวินๆ กันทั้งหมด”

“บิซิเนสโมเดลของ BUTLER ไม่ใช่แอพเรียกช่าง เรียกแม่บ้าน แต่เป็น Social หรือ Community Media เพราะตลาดใหญ่กว่า ปีหนึ่งเราจะเรียกช่างมาล้างแอร์กี่ครั้ง การเรียกแม่บ้านต้องเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง แต่เราสามารถรวมตลาดเล็กๆ เหล่านี้ เข้ามา อวยู่ในแพล็ตฟอร์ม แล้วเพิ่มหรือรวมบริการซักอบรีด รวมการสั่งอาหาร ทราฟฟิกจะเยอะขึ้น แอพบางแอพปีหนึ่งๆ ไม่ได้เปิด อาจจะเห็นว่ารก ก็อาจ uninstall ออกได้”

เพราะฉนั้น Key Success ของ BUTLER คือ no uninstall

ไม่มีแอพไหนที่ทำอยู่ทุกวันนี้ แล้วคนจะไม่ uninstall เพราะมีความรู้สึกว่า ไม่ค่อยได้ใช้ ทุกวันนี้มีผู้ใช้แอพสั่งอาหารชื่อดัง แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มีแอพสั่งอาหารที่ถูกลง ผู้บริโภคสมัยใหม่อาจ uninstall แล้วไปใช้เจ้าอื่นแทน แต่ในมุมของ BUTLER จะถูก uninstall หรือเปล่า แต่ถ้าเขาใช้เราแล้ว uninstall  เรา เขาก็จะไม่รู้ว่าพัสดุจะถูกส่งมาเมื่อไหร่ ค่าน้ำจะเป็นเท่าไหร่ จะร้องเรียนนิติบุคคลอย่างไร เราจะมาแก้ว่าทำอย่างไร ไม่ให้คน uninstall แอพ หรือถ้ายกเลิกก็ให้น้อยที่สุด นี่จึงเป็นเหตุผลของการทำด้าน คือการทำ Property Management ก่อนที่จะคิดเรื่องหารายได้”

BUTLER จึงต้องการเป็นมากกว่าแอพพลิเคชันทั่วไป ที่คนใช้แล้วก็หยุด แต่มีการผนวกฟีเจอร์ต่างๆ เข้าไป เพื่อให้ใช้งานกับชีวิตประจำวันอย่างลงตัว เน้นให้ผู้ใช้เปิดเปิดทุกวัน เปิดเพราะอยากรู้เรื่องต่างๆ ในโครงการ

หนึ่งในฟีเจอร์ที่น่าสนใจคือ การรองรับการจ่ายเงินได้ภายในแอพพลิเคชัน ทั้งชำระค่าบริการ ชำระค่าส่วนกลาง สามารถชำระผ่านแอปพลิเคชันโดยไม่ต้องใช้เงินสด ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นการเปิดตัว  BUTLER Platform อย่างเป็นทางการ Image_e795971

100 โครงการ 5 หมื่น end user

BUTLER มองถึงเรื่องแนวคิดตัวฟังก์ชั่นรวมกันซื้อแล้วถูกกว่า จึงไปดีลกับผู้เกี่ยวข้องในอีโคซิสเต็มที่มี Pain Point

“เช่นเรื่องขนส่งเราคุยกับสปริงเคิล ซึ่งเป็นธุรกิจกำไรไม่ได้เยอะ ขณะที่มีปัญหาเรื่องการขนส่ง เราสามารถใช้ Big Data แสดงผลว่าคอนโดมิเนียม หรือหมู่บ้านไหนต้องการน้ำดื่ม ส่งพร้อมกันในวันนี้ เวลานี้ มันจะเยี่ยมแค่ไหน เรามองไปไกลถึงไทยน้ำทิพย์ หรือเสริมสุข ที่ดีลร้านค้าแบบ B2B เปรียบเสมือน 1 คอนโดเท่ากับ 1 ร้านค้าของชำ ส่งทีเดียว เหมือนส่ง 1 ร้าน นิติบุคคล หรือ Property Management จะกลายเป็นกลายเป็นร้านขายของชำไปเลย เรามองเป็น O2O เข้ามาช่วยให้ Property Management มีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะอุตสาหกรรมนี้กำไรน้อย แต่ถูก complain มาก เมื่อมีแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย คุยกับลูกบ้านได้ง่าย ในอนาคตอาจหารายได้มากขึ้น ช่วยลูกบ้านได้มากขึ้นโดยใช้แพลตฟอร์มของ BUTLER

“ลูกค้ากลุ่มแรกที่เข้าใช้ BUTLER คือ กลุ่มออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ทุกโครงการ บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด ในเครือออริจิ้น

“ดีลตั้งแต่ต้นน้ำคือกลุ่ม Developer กลางน้ำคือ กลุ่ม Property Management ปลายน้ำเป็นกลุ่ม Service Provider ต่างๆ อาทิ บริษัท เซ็นจูรี่ 21 (ประเทศไทย) จำกัด Major Property Service ที่รับดูแลอาคาร ดูแลหมู่บ้าน ดูแลผู้อยู่อาศัย ซึ่งทำนิติบุคคลอยู่เกือบ 30 โครงการ”

ทั้งนี้ BUTLER มีโปรเซสการทำงานและ Back office เช่นเดียวกับเฟสบุ๊ค Image_9e05823

“ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียน ซึ่งเราจะแนะนำให้ใช้ระบบการสื่อสาร ในระบบ Management ก่อนประมาณ  30 วัน ถ้าทีมงานพร้อมค่อยเข้าใช้ระบบบัญชี เพราะเป็นเรื่องใหญ่ เช่น ใส่เบอร์อินวอยผิด หลักการของ BUTLER คือ ใช้ง่าย เมื่อทีมงานพร้อมสามารถเข้าใช้ได้เลย อาจไม่จำเป็นต้องเป็นคนๆ เดียวกัน พนักงานคนนี้อาจดูเรื่องพัสดุ พนักงานบัญชีดูเรื่องบัญชี จะมีตัวเลเวลการเข้าถึง เช่น user นี้ห้ามดูเกี่ยวกับเรื่องเงิน บาง user ดูได้เฉพาะเรื่องเงินอย่างเดียว user นี้ห้ามคุยกับลูกบ้าน”

BUTLER ตอนนี้มีผู้เข้าใช้แล้ว 5 หมื่น active user ในจำนวนโครงการคอนโดมิเนียม 100 กว่าแห่ง

ซึ่งจำนวนนี้ 20 โครงการใช้ครบทุกฟังก์ชั่นแล้ว อีกจำนวน 80 โครงการอยู่ระหว่างเทรนนิ่ง เช้าทฤษฏี บ่ายเวิร์คช็อป

คุณวรกรมองว่าการที่ BUTLER จะเติบโตช้าหรือเร็ว อยู่ที่การเทรนนิ่ง

“สิ่งที่ Challenge จริงๆ ไม่ใช่เรื่องการหาลูกค้า เมื่อได้ลูกค้าแล้ว จะเป็นเรื่องของเทรนนิ่งซึ่งสำคัญมาก เราจะสามารถเทรนคนได้เร็วแค่ไหน เขาคงไม่อยากรอเรานาน ตอนนี้เรามีการครีเอทหลักสูตรออนไลน์ พยายามทำคลิปเรียนทางยูทูปได้ เนื้อหาที่ค่อนข้างยากจะถูกส่งเข้าเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ สำหรับพนักงานนิติบุคคลที่ต้องเข้าเรียน ลูกบ้านไม่ต้อง” Image_44765b8

ในแง่รายได้ของ BUTLER จะมาจากค่าคอมมิชชั่น หรือ  รายได้มาจากคอมมิชชั่นหรือ profit sharing ในฝั่งของบริการต่างๆ อาทิเช่น เรียกบริการซักอบรีด จะมีค่าคอมมิชชั่น ประเภทน้ำดื่มสปริงเคิล ดีลผ่านนิติบุคคลจะถูกหัก 23-30%

“ดีลกับเราอาจจะเสียน้อยลง 10 เท่า หลักคิดคือ ขึ้นอยู่กับประเภทอุตสาหกรรม บางอุตสาหกรรมกำไรน้อย เราคิด 1% บางอุตมีกำไรคิด 3% อยู่ระหว่าง 1-5% กลุ่มช่าง หรือแม่บ้าน รายได้เท่าไหร่ ได้เท่าเดิม แต่กำไรของ Fixzy อาจน้อยลง เหมือนกับนำงบการตลาดมาดูแลจุดนี้ กรณีเดียวกับการขายส่ง เราเซ็น MOU กันในราคาเดียว สุดท้ายแล้วลูกค้าก็ยังใช้แบรนด์เดิม  แต่เราเข้ามาบริหารให้ดีขึ้น ทราฟฟิกมากขึ้น ลดต้นทุนลง”

“พันธมิตรของ BUTLER มีมากกว่า 50 รายในทุกบริการ ตัวอย่างเช่น บริการซักอบรีด เราจะใช้แอเรียละ 1 ราย เลือกผู้ให้บริการรายที่ดีที่สุดในแต่ละเขต เพราะสะดวกเรื่องการขนส่ง เพราะเราเน้นต้องส่งไปถึงห้อง ฟู้ดเดลิเวอร์รี่ เราดีลกับมอเตอร์ไซส์เช่นเดียวกับ LINEMAM ไม่จำเป็นต้องดีลกับร้านอาหาร คอนเซ็ปต์คือ จะต้องเป็นร้านที่ดีในเขตนั้นๆ”

“active user ที่ 5 หมื่นเนื่องจากนิติบุคคลเดียว แต่ดูแลหลายโครงการมาก ในจำนวนลูกค้านิติบุคคล 20 ราย อาจจะเข้าบริหารจัดการโครงการนับพันโครงการ จากประสบการณ์ 100 โครงการใช้แค่  4 นิติบุคคลในการบริหาร ตัวอย่างเซ็นจูรี่ 21 รายเดียว รับบริหารเกือบ 50 โครงการ”

“Pain Point ของเจ้าของบริษัทนิติบุคคล เช่นเรื่องลูกน้องคอร์รัปชั่น จุดนี้ไม่เคยแก้ได้ หรือจะทำอย่างไรในการแก้ปัญหากับลูกบ้านได้ทันที โดยไม่ต้องรอ 3-4 เดือน จากการ Survey เราพบว่าเจ้าหน้าที่นิติบุคคล จะเสียเวลาไปครึ่งวัน กับการ report เจ้านายว่างานค้างเท่าไหร่ กำลังอะไรอยู่ ยังเก็บเงินไม่ได้ เมื่อมีแพลตฟอร์ม BUTLER สามารถเปิดดูได้เลย เราช่วยเพิ่มเวลาให้ทีมงาน ต่อไปก็ใช้ระบบเหมือนวอร์รูมในบริษัท อนาคตถ้าต้องการขายอะไรซักอย่าง หรือเพิ่มอะไร ก็อาจต้องจ่ายเพิ่มเหมือนเฟสบุ๊ค”

“ออริจิ้น อนันดา แสนสิริ บริษัทอสังหาฯ เหล่านี้ เปรียบเสมือนโตโยต้า ฮอนด้า หรือเบนซ์ ส่วน BUTLER เป็นเหมือนบีควิก ผมไม่อยากจะบอกว่า บีควิกจะรับซ่อมเฉพาะโตโยต้า ฮอนด้า แต่เราจะรับซ่อมได้หมดทั้งโตโยต้า ฮอนด้า และเบนซ์”


  • 98
  •  
  •  
  •  
  •