‘คนไทยเสียชีวิตเฉลี่ย 6 คนต่อชั่วโมง จากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน’ AP คลอดแคมเปญ ติดตั้งเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติให้ลูกบ้านกว่า 40 โครงการ

  • 150
  •  
  •  
  •  
  •  

cover ap aed

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันคร่าชีวิตคนไทย 54,000 คนต่อปี  (เฉลี่ย 6 คนต่อชั่วโมง) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงสุดอันดับ 3 รองจากมะเร็ง และอุบัติเหตุ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน คือ ภาวะที่หัวใจหยุดการส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆในร่างกายอย่างทันที ผู้ที่เกิดอาการจะหมดสติภายใน 10 วินาที และเนื้อสมองจะเริ่มเสียหายภายในระยะเวลา 4 นาทีจากอาการขาดเลือด ความน่ากลัวของภาวะอาการนี้คือ  สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัยไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นโรคหัวใจหรือมีโรคประจำตัวอื่นๆ และไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า

จากสถิติในประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา พบว่าผู้ที่ประสบภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หากได้รับการช่วยชีวิตภายในระยะเวลา 4 นาทีด้วย CPR (การปั๊มหัวใจด้วยมือ) หลังเกิดอาการ จะเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตได้ 27% แต่ถ้าหากทำ CPR สลับกับการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED  จะสามารถเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตได้มากถึง 50%

เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2560 บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ได้เปิดตัวแคมเปญเพื่อสังคม ‘ขอพื้นที่เล็กๆ ให้หัวใจได้เต้นต่อ’ (The Smallest Space to Save Lives) ต่อยอดแนวคิดในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไปสู่การส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคม AP และกระตุ้นให้สังคมในวงกว้างตระหนักถึงอันตรายจาก ‘ภาวะหัวใจหยุดเต้น’ ที่คร่าชีวิตคนได้ในทุกเพศทุกวัย

AP ดำเนินการติดตั้งเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) ในคอนโดฯของ AP ที่ส่งมอบไปแล้ว รวมถึงคอนโดฯโครงการอื่นๆที่บริหารจัดการโดย บริษัท สมาร์ท เซอร์วิส แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (บริษัทบริหารจัการอสังหาฯในเครือ AP) ซึ่งมีเจ้าหน้าที่จำนวน 300 คน ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support) ซึ่งผ่านการรับรองจาก ไทยซีคอม และ คณะกรรมการช่วยชีวิต สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยแต่ละโครงการจะมีเจ้าหน้าที่ประจำการคอยช่วยเหลือลูกบ้าน AP  24 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้นกว่า 40 โครงการ คิดเป็น 25,000 ครอบครัวของผู้อยู่อาศัย  ซึ่งได้ติดตั้งเครื่อง AED ไปแล้วกว่า 20 โครงการ นอกจากนี้แล้ว AP ยังมอบเครื่อง AED ให้กับศูนย์พัฒนาการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค ท่าเรือสาธร และศุนย์ประสานงานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ธนบุรี เพื่อให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะในการกู้ชีพหากเกิดเหตุฉุกเฉิน

 

เราจัดสรรพื้นที่  0.1 ตารางเมตรภายในคอนโดเป้น “พื้รที่ช่วยชีวิต” โดยติดตั้งเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) เพื่อช่วยชีวิตเบื้องต้นแก่ผู้ที่เจอภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันก่อนส่งถึงมือแพทย์ ประกอบกับการได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูลพื้นฐานจากพาร์ทเนอร์อย่าง  มิตซูบิชิ เอสเตท กรุ๊ป ซึ่งในประเทศญี่ปุ่น เครื่อง AED ถือเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตพื้นฐานที่ติดตั้งในพื้นที่ที่มีคนหนาแน่น ทั้งพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่สาธารณะ มีมากกว่า 600,000 เครื่องทั่วประเทศ ซึ่งถือว่ามากที่สุดในโลก ….เราไม่ลังเลที่จะติดตั้งเครื่อง AED  เพื่อให้ชาวบ้านรู้สึกอุ่นใจและมั่นใจในคุณภาพชีวิต….

 

นายวิทการ จันทวิมล – รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาธุรกิจกลุ่มสินค้าคอนโดมิเนียม บมจ. เอพี (ไทยแลนด์)

 

การสอนแพทย์กู้ชีพเพียงหน่วยงานเดียวไม่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ เพราะภาวะนี้มักเกิดนอกโรงพยาบาล และผู้ป่วยไม่สามารถมาถึงโรงพยาบาลได้ภายใน 4 นาที ซึ่งเป็นระยะเวลาที่จะสามารถช่วยผู้ป่วยได้ทัน ดังนั้นการช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากอาการนี้ได้นั้นคือต้องส่งต่อความรู้ให้ประชาชนทั่วไปสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ เมื่ออยู่ในเหตุการณ์ที่มีผู้ประสบภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน และควรมีเครื่อง AED ติดตั้งในทุกจุดที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้

 

พล.ต.ต. นายแพทย์โสภณ กฤษณะรังสรรค์ – ประธานมูลนิธิสอนช่วยชีวิต และที่ปรึกษาคณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์

 

7

1


  • 150
  •  
  •  
  •  
  •