หนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพและได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยในปัจจุบันก็คือ Influencer Marketing เพราะเป็นวิธีการที่เข้าถึงโลกอีกใบของผู้บริโภคนั่นก็คือ Social Media ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการจะทำ Influencer Marketing ให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะความหลากหลายที่มีสูงทั้งฝั่ง Influencer เอง รวมไปถึงกลุ่มผู้บริโภคที่มีหลากหลายเจนเนอเรชั่น ดังนั้นเพื่อให้นักการตลาดและแบรนด์สามารนำ Influencer Marketing มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของ Media Plan ได้ประสบความสำเร็จ “Buddy Review” เอเจนซี่ผู้ให้บริการ Influencer Marketing ชั้นนำของประเทศไทยก็มี “เคล็ดลับในการทำการตลาดด้วยอินฟลูฯ ให้เข้าถึงคนทั้ง 5 เจน ในประเทศไทย” ไม่ว่าจะเป็น Gen Alpha, Gen Z, Gen Y, Gen X และ Baby Boomers มาให้ได้ศึกษากันเพื่อให้นำไปปรับใช้กับแต่ละแคมเปญได้อย่างเหมาะสม
ทำไมต้อง Influencer Marketing?
คงเป็นเรื่องที่ไม่ต้องถกเถียงกันแล้วว่าปัจจุบันเทรนด์ของ Influencer Marketing กำลังเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด หนึ่งเพราะผู้บริโภคคนไทยส่วนใหญ่เข้าไปอยู่ในสื่อสังคมออนไลน์กันแล้ว โดยข้อมูลระบุว่า “ปัจจุบันมีคนไทยมากถึง 73% และใช้เวลาเฉลี่ยถึงวันละ 2 ชั่วโมงอยู่ในสื่อสังคมออนไลน์” นอกจากนี้หากนับเฉพาะจำนวน Influencer จากทุกๆ แพลตฟอร์มที่คนไทยติดตามกันก็มีจำนวนมากกว่า “2 ล้านคน” เข้าไปแล้ว
โดยข้อมูลจาก MI Group ผู้เชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาด้านการตลาดชั้นนำของไทยระบุว่าปัจจุบันแบรนด์ใช้เม็ดเงินกับ Influencer Marketing เฉลี่ยมากถึง 20-25% ของงบ Media Plan ทั้งหมดแล้ว ในขณะที่ข้อมูลของ สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) (DAAT) ยังพบด้วยว่าเทรนด์นี้ยังส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาในสื่อดิจิทัลในไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะโตขึ้นอีก 8% ในปีนี้ด้วย
ด้วย Landscape ของคนในยุคนี้ทำให้ Influencer Marketing เติบโตมากขึ้นเพราะสามารถเข้าถึงคนในสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถตอบสนองเป้าหมายทางการตลาดได้แบบ “Full Funnel” ตั้งแต่การสร้าง Awareness ไปจนถึง Conversion ได้เลยทีเดียวนั่นเป็นเหตุผลให้ Influencer Marketing เข้าไปรวมอยู่ในกลยุทธ์การตลาดของหลายๆ แบรนด์จนกลายเป็นเทรนด์อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน
เทคโนโลยีรับกระแส Influencer Marketing
เทรนด์ของ Influencer Marketing ที่เติบโตขึ้น ยังมาพร้อมกับเทคนิคทางการตลาดรูปแบบใหม่ๆ ตามมามากมายไม่ว่าจะเป็น “Social Commerce” ที่เป็นการผสมผสานระหว่าง Social Media และ E-Commerce เข้าด้วยกัน ช่วยให้ Influencer สามารถนำเสนอสินค้าและบริการบนแพลตฟอร์ม Social Media และกระตุ้นให้ผู้ชมซื้อสินค้าได้ทันที เวลาต่อมาก็เกิดเทคนิคการ “Live Streaming” ที่สามารถสื่อสารกับผู้ชมและโน้มน้าวให้ซื้อสินค้า เรื่อยไปจนถึงเทคนิค “Affiliate Marketing” ที่ช่วยให้ Influencer สามารถรับส่วนแบ่งจากการขายสินค้าและบริการจากเจ้าของแบรนด์ได้โดยตรงช่วยให้การขายเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีเหล่านี้ยิ่งเสริมให้กระแสความนิยมนำ Influencer มาทำการตลาดให้กับแบรนด์ก็ยิ่งเติบโตไปด้วยนั่นเอง
เทรนด์ Micro Influencer เติบโตตาม
เทรนด์ที่เกิดขึ้นยังสอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะความต้องการรับชมคอนเทนต์ที่มีความจริงใจหรือ Authenticity ซึ่งสิ่งนี้ Influencer สามารถให้ได้มากกว่าสื่อโฆษณารูปแบบอื่นๆ สิ่งนี้ทำให้เกิดเทรนด์ที่เรียกว่า “Micro Influencers” หรือกลุ่ม Influencer ที่เชี่ยวชาญคอนเทนต์เฉพาะทางมีผู้ติดตามหลักหมื่นถึงแสนคนและผูกโยงผู้ติดตามเอาไว้กลายเป็นคอมมิวนิตี้ที่มีความสนใจเดียวกัน ซึ่งกำลังได้รับความนิยมจากนักการตลาดเพราะมีความใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche) ได้ง่ายมากกว่า
6 กลยุทธ์ Influencer Marketing เจาะคน 5 Generation
หนึ่งในกุญแจสู่ความสำเร็จของ Influencer Marketing คือการที่แบรนด์สามารถสื่อสารไปให้ได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายในสังคมที่มีอยู่หลากหลาย Generation ดังนั้นการทำความเข้าใจพฤติกรรมของคนแต่ละเจนฯ และใช้วิธีการสื่อสารด้วย กลยุทธ์ Influencer Marketing อย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ และนี่คือข้อมูล Insight และเคล็ดลับการสื่อสารด้วย Influencer Marketing ให้ส่งไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในวัยที่แตกต่างกัน
1.Gen Alpha ดึงดูดด้วยความสนุกสนาน
Gen Alpha คือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เกิดหลังปี 2013 หรือกลุ่มเด็กๆ ที่มีอายุราว 11 ปีลงไป คนกลุ่มนี้เติบโตขึ้นมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัลรอบตัว มีอุปกรณ์ให้ใช้งานมากมายไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แทบเลต เกิดขึ้นมาพร้อมกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงและการสื่อสาร Social Media และแน่นอนว่าคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของแบรนด์ต่างๆ ในอนาคตต่อจาก Gen Z อย่างแน่นนอน
สำหรับพฤติกรรมของเด็กๆ Gen Alpha ก็คือชอบสื่อสารผ่านโซเชียล ชอบคอนเทนต์สั้น ที่มีความคิดสร้างสรรค์ แปลกใหม่และจะได้รับอิทธิพลจากพ่อแม่ผู้ปกครองในระดับสูง คอนเทนต์ที่ชื่นชอบจะเป็นรูปแบบวิดีโอสั้นหรือไลฟ์สตรีมที่เกี่ยวข้องกับ Game, Edutainment รวมถึงการรีวิวสินค้า ชื่นชอบเนื้อหาที่เป็นการแชร์ประสบการณ์ และสื่อสารด้วยความจริงใจ
กลุ่ม Gen Alpha จะใช้ชีวิตอยู่ในแพลตฟอร์มอย่าง TikTok, Instagram และ YouTube กันเป็นส่วนใหญ่ สำหรับเนื้อหานั้นเด็กๆ กลุ่มนี้ชื่นชอบคอนเทนต์รีวิวสินค้าผ่านวิดีโอสั้นๆ ที่มีความกระชับ และน่าสนใจ สามารถดึงความสนใจได้มากขึ้นด้วย “Interactive Content” ที่สามารถมีส่วนร่วมได้เช่น กิจกรรมอย่าง Game หรือ Challenge รูปแบบต่างๆ บนโลกออนไลน์ สิ่งเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นการจดจำแบรนด์ได้มากขึ้น ที่สำคัญเลยก็คือ “ความสนุกสนาน” เพราะจุดนี้จะดึงดูดความสนใจเด็กๆ Gen Alpha ได้มากที่สุด
คำแนะนำสำหรับนักการตลาดก็คือสามารถร่วมมือกับ “Kidfluencers” หรือกลุ่มอินฟลูฯ ที่รุ่นราวคราวเดียวกันกับกลุ่ม Gen Alpha ก็จะช่วยสื่อสารและเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้ดีมากขึ้น อีกทางหนึ่งก็สามารถร่วมมือกับ YouTuber สายเกมที่เด็กๆ กลุ่มนี้ชื่นชอบ รวมไปถึงกลุ่มผู้ผลิตคอนเทนต์ที่เป็น Educational Entertainers ให้เนื้อหาความรู้แบบสนุกสนานก็มีอิทธิพลกับกลุ่ม Gen Alpha ได้มากเช่นกัน
สำหรับตัวอย่าง Influencer ที่สามารถเข้าถึงคน Gen Alpha ได้ดีก็เช่น
2.Gen Z กลุ่มกำลังซื้อสูงที่ต้องการความจริงใจ
กลุ่มผู้บริโภค Gen Z คือกลุ่มคนอายุ 12-27 ปี ที่เกิดในช่วงปี 1997-2012 คนกลุ่มนี้ถูกพูดถึงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีกำลังซื้อสูงที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปได้อีกยาวนาน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้หลายแบรนด์มองคนกลุ่มนี้เป็นเป้าหมายหลักเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับคน Gen Z จะเป็นกลุ่มที่เติบโตมากับเทคโนโลยีเช่นกัน มีความสนใจที่หลากหลายโดยเฉพาะการตามเทรนด์ด้านต่างๆ ทั้งเทคโนโลยี แฟชั่น ดนตรี รวมถึงการท่องเที่ยว และที่เพิ่มขึ้นมาก็คือความสนใจในประเด็นทางสังคม ในขณะที่กลยุทธ์ Influencer Marketing สำหรับกลุ่ม Gen Z ก็คือการใช้แพลทฟอร์มอย่าง TikTok Instagram และ YouTube สื่อสารอย่างจริงใจ เช่นการ รีวิวสินค้าแบบ “Real User Experience” ที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นและการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น การใช้ “คอนเทนต์บันเทิงที่มีความสนุกสนาน” เป็นสื่อกลางรวมถึงการหยิบยก “ประเด็นทางสังคม” มาพูดถึงก็สามารถดึงดูความสนใจกลุ่มคน Gen Z ได้ดี
สำหรับการเลือก Influencer นั้นกลุ่ม Nano-Influencer ที่มีผู้ติดตามน้อยกว่า 10,000 คนจะเป็นกลุ่มที่เข้าถึงคน Gen Z ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะมีความจริงใจ มีความใกล้ชิดและมี Engagement จากผู้ติดตามสูง ดังนั้นการเลือก Nano-Influencer มาร่วมงานให้ตรงกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ก็จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือกับคน Gen Z ได้มากกว่า โดยตัวอย่าง Influencer ที่สามารถเข้าถึงคน Gen Z ได้ดีก็เช่น
3.Gen Y (Millennials) กลุ่มคนที่ชอบตัดสินใจด้วยข้อมูล
คนกลุ่ม Gen Y คือกลุ่มคนกำลังซื้อสูงที่เกิดระหว่างปี 1982-1996 คนกลุ่มอายุ 28-42 ปีกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนวัยทำงานที่มีการศึกษา มีรายได้ดีและเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของคนรอบข้างด้วย สำหรับพฤติกรรมเด่นของคนกลุ่มนี้ก็คือ ชอบติดตามข่าวสาร ก่อนตัดสินใจซื้ออะไรจะชอบหาข้อมูล เปรียบเทียบ มองหาความคุ้มค่าก่อนการตัดสินใจ Brand Image มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ติดตามกระแสแต่ก็มีวิจารณญาณในการเลือก
คน Gen Y จะติดตามคอนเทนต์ต่างๆ ผ่าน Facebook, Instagram, YouTube และ Twitter มีความสนใจเกี่ยวกับ การรีวิวสินค้าโดยเฉพาะวิดีโอแบบ Long-Form ที่เจาะลึกในรายละเอียด มีการเปรียบเทียบสินค้าจุดเด่น จุดด้อยเพื่อประกอบการตัดสินใจ คอนเทนต์ How-to และคอนเทนต์ Lifestyle ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิต ครอบครัว การท่องเที่ยว เนื่องจากคน Gen Y อยู่ในวัยสร้างครอบครัว คอนเทนต์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงจึงดึงดูดคนสนใจของคนกลุ่มนี้ได้ดี
ส่วนวิธีการเลือก Influencer สื่อสารกับคน Gen Y สามารถเลือก Micro-Influencer หรือกลุ่ม Influencer ที่มีผู้ติดตามหลัก 10,000 – 100,000 คนมาช่วยในแคมเปญและใช้วิธีการสื่อสารแบบให้ข้อมูลเชิงลึก เปรียบเทียบสินค้าเพื่อให้คน Gen Y ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น โดยตัวอย่าง Influencer ที่สามารถเข้าถึงคน Gen Y ได้ดีก็เช่น
- Gen X กลุ่มคนที่มี Brand Loyalty สูง
คน Gen X เป็นกลุ่มคนวัยทำงานที่เกิดระหว่างปี 1965-1979 ในเวลานี้จะมีอายุ 45-59 ปี เป็นกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ บางส่วนเป็นพ่อ-แม่กันแล้ว คนกลุ่มนี้เป็นคนที่รอบรู้ติดตามข่าวสาร ก่อนตัดสินใจจะวิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจอย่างรอบคอบ ส่วนใหญ่จะเลือกซื้อสินค้าจากประสบการณ์และแบรนด์ที่เคยเลือกซื้อมี Brand Loyalty สูง เรื่องราวที่สนใจเกี่ยวข้องกับครอบครัว สุขภาพ การเงิน การลงทุน เทคโนโลยี การตัดสินใจซื้อสินค้าของคน Gen X คล้ายกับคน Gen Y คือตัดสินใจจากข้อมูลเชิงลึก ชอบรีวิวสินค้าที่เจาะลึกในรายละเอียด ส่วนแพลตฟอร์มที่ใช้เป็น Facebook, YouTube, Twitter รวมถึง Blog ก็ยังมีจำนวนมากที่ติดตามอ่านอยู่
สำหรับกลยุทธ์ Influencer Marketing กับกลุ่มคน Gen X สามารถใช้ Macro-Influencer ที่มีผู้ติดตามระดับ 100,000 คนขึ้นไปที่ตรงกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ เน้นไปที่กลุ่มที่เป็น Industry Experts ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะสามารถสื่อสารไปถึงกลุ่มคน Gen X ที่ติดตามInfluencer กลุ่มนี้อยู่ได้ นอกจากนี้อีกกลยุทธ์ก็คือการใช้ Influencer ที่เป็น Celebrities ที่คน Gen X คุ้นเคยก็จะสามารถสร้าง Nostalgia ให้คิดถึงอดีตและดึงดูดความสนใจผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้ดี สำหรับกลุ่ม Influencer ที่สามารถเข้าถึงคน Gen X ได้ดีก็เช่น
- Baby Boomer ที่ Brand Awareness มีความสำคัญ
กลุ่ม Baby Boomer คือกลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี 1945-1964 ปัจจุบันมีอายุระหว่าง 60-79 ปี คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนประสบการณ์สูงบางส่วนเป็นปู่-ย่ากันแล้ว ส่วนใหญ่มีสถานะการเงินมั่นคง มีกำลังซื้อสูงและให้ความสำคัญกับครอบครัว ผู้บริโภคกลุ่มนี้ชอบความเรียบง่ายตรงไปตรงมา ชอบความคุ้มค้า เลือกสินค้าที่ใช้งานได้ยาวนานและอาศัยความคุ้นเคยจาก Brand Awareness ชอบติดตามคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับสุขภาพ การดูแลตัวเอง กิจกรรมเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของคนกลุ่มนี้มาสู่แบรนด์ได้ ส่วนแพลตฟอร์มที่คน Baby Boomer ติดตามคือ Facebook, YouTube และยังคงติดตามคอนเทนต์ผ่านโทรทัศน์อยู่
สำหรับเทคนิค Influencer Marketing กับกลุ่ม Baby Boomer ก็คือการเลือกใช้ Macro-Influencer เช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำคอนเทนต์เกี่ยวกับสุขภาพ การดูแลตัวเองของผู้สูงอายุ ไลฟ์สไตล์ กิจกรรมท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ คอนเทนต์เน้นการสื่อสารประโยชน์ของสินค้า ที่ตรงกับความต้องการและต้องมีความเข้าใจง่ายสำหรับ Influencer ที่เข้าถึงกลุ่ม Baby Boomer ก็ยกตัวอย่างเช่น
- จาก Pain Point สู่โซลูชั่น Influencer Marketing
การทำ Influencer Marketing แม้จะทรงประสิทธิภาพเพราะคอนเทนต์สามารถเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น สร้าง Engagement กับแบรนด์ได้มากขึ้น สามารถทำการตลาดได้แบบ Full Funnel ได้แต่กลยุทธ์นี้ก็มี Pain Point อยู่หลายเรื่องตั้งแต่เรื่องของการเลือก Influencer ที่ปัจจุบันมีอยู่หลายล้านคน นอกจากนี้ยังแยก categories ออกไปได้อีกมากมาย โดยเฉพาะในแคมเปญที่จะใช้ Influencer จำนวนมากๆ การจะติดตามวัดผลและวิเคราะห์ข้อมูลจากหลากหลาย Influencer ที่จะยังมาจากหลากหลายแพลตฟอร์มก็ทำได้ยากเข้าไปอีก ดังนั้นการร่วมมือกับ เอเจนซี่ที่มี Influencer เป็นพาร์ตเนอร์ จึงเป็นทางเลือกที่จะแก้ Pain Point เหล่านี้ได้และจะทำให้แคมเปญประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้
และหนึ่งในเอเจนซี่ด้าน Influencer Marketing ที่เป็นผู้นำในตลาดประเทศไทยก็คือ Buddy Review ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 5 ปี มีผลงานพิสูจน์จาก Use Case ที่ประสบความสำเร็จจากแบรนด์ดังๆ มาแล้วมากมาย สามารถช่วยแบรนด์และนักการตลาดสร้างแคมเปญด้วย Influencer Marketing ได้แบบครบวงจร ตั้งแต่การวางกลยุทธ์ คัดเลือก Influencerจากมากกว่า 100,000 รายที่มีให้เลือกจาก 30 Categories สามารถช่วยสร้างสรรค์คอนเทนต์ บริหารจัดการแคมเปญประสานงานกับ Influencer ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการวัดผลและวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งทุกอย่างสามารถทำได้ผ่าน Dashboard ของ Buddy Review เองทั้งหมด เรียกว่าช่วยประหยัดทั้งเวลาและต้นทุน เพิ่มโอกาสความสำเร็จให้กับแคมเปญได้อีกมาก
ทั้งหมดนี้คือกลยุทธ์ในการทำ Influencer Marketing ที่จะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในทุก Gen ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มในการสื่อสาร แนวทางการทำคอนเทนต์ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนในแต่ละรุ่น รวมถึงกลยุทธ์ที่แตกต่างกันในการทำ Influencer Marketing ที่เป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้ในการทำ Media Plan ของนักการตลาดในยุคปัจจุบัน และที่สำคัญการร่วมมือกับเอเจนซี่ที่มีประสบการณ์ก็จะช่วยยกระดับแคมเปญได้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้นั่นเอง
สำหรับใครที่สนใจร่วมมือกับ Buddy Review สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซด์ https://business.buddyreview.co/ หรือ Email: info@buddyreview.co