ในโลกที่การตลาดอยู่ล้อมรอบในชีวิตประจำวันของแต่ละคนตั้งแต่ตื่นจนถึงเข้านอน เป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับการจะคิดแผนการตลาดใหม่ออกมาใช้ เนื่องจากแผนการตลาดส่วนใหญ๋ถูฏนำมาใช้หมดแล้ว และการใช้แผนการตลาดแบบเดิมหรือซ้ำกับคนอื่น ย่อมไม่เกิดผลในด้านการตลาดหนำซ้ำยังอาจสร้างผลเสียกลับมาได้ นั่นจึงเป้นสิ่งท้าทายสำหรับนักการตลาดที่ต้องคิดหาแผนการตลาดแบบใหม่อยู่เรื่อยๆ
ในเรื่องของแฟชั่นแน่นอนว่าเป็นที่สนใจและมีความ้ทาทายไม่แตกต่างไปจากแผนการตลาด เพราะแฟชั่นเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว แฟชั่นในเดือนนี้อาจใช้ไม่ได้ในเดือนถัดไปเฉกเช่นเดียวกับแผนการตลาดที่สามารถใช้ได้กับผลิตภัณฑ์ แต่แผนเดียวกันอาจใช้ไม่ไดกับอีกผลิตภัณฑ์หนึ่ง นั่นจึงทำให้แฟชั่นเป้นแรงบันดาลใจในการสร้าง 4 แนวคิดแผนการตลาดที่ปรับใช้ได้กับทุกธุรกิจ
1. ความร่วมมือแบบที่คิดไม่ถึง (Unexpected Collaborations)
บางครั้งการทำตลาดเพียงคนเดียวก็อาจหมดมุกได้ เหมือนแฟชั่นถ้าทำอยู่คนเดียวก็จะออกมาในรูปแบบเดิมๆ ซึ่งความร่วมมือแบบที่คิดไม่ถึง (Unexpected Collaborations) คือการสร้างความแตกต่าง (Differentiate) ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญในการสร้างความโดดเด่น อาทิเช่น การร่วมมือกันของยักษ์ใหญ่แฟชั่นด้านกีฬาอย่าง Nike ที่ร่วมมือกับแบรนด์แฟชั่นไฮโซอย่าง Louis Vuitton เป็นต้น
เห็นได้ว่าเมื่อเกิดการร่วมมือกันขึ้นแล้วก็สามารถประสบความสำเร็จได้แม้สินค้าจะมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์กีฬากับเครื่องประดับแฟชั่น หรือสินค้าที่จับกลุ่มคนทั่วไปกับสินค้าที่มีจับเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น หลายคนมองว่ามันก็คือแฟชั่น แต่หากมองในมุมการตลาดจะพบว่า การร่วมมือกันในแบบที่หลายคนคิดไม่ถึงเป็นการเปิดตลาดไปยังกลุ่มใหม่ๆ ที่แบรนด์นั้นๆ ยังไม่เคยได้ไปสัมผัส เป็นการขยายฐานลูกค้าใหม่ในแบบ Blue Ocean แม้ตลาดนั้นจะเป็น Red Ocean ของอีกแบรนด์ก็ตาม
2. การมีส่วนร่วมของคนดัง (Celebrity Endorsements)
เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้วสำหรับนักการตลาดในการจะสร้างภาพลักษณ์ให้ดูดีด้วยใช้เหล่าบรรดาคนดัง (Celebrity) ไม่ว่าจะเป็นดารา นักร้อง นักดนตรี หรือบรรดานักการเมือง ชาวไฮโซ ที่มีภาพลักษณ์เหมาะกับสินค้า ซึ่งในยุคปัจจุบันก็ยังนิยมใช้กลยุทธ์การตลาดดังกล่าวอยู่ เห็นได้จากการแต่งตั้งบรรดาผู้มีชื่อเสียงทั้งหลายเป็นตัวแทนของแบรนด์ (Brand Ambassador)
ในขณะที่แฟชั่นเองก็ต้องการกลุ่มลูกค้าใหม่นอกจากกลุ่มเป้าหมายเดิม เช่น Puma แต่งตั้งให้ Rihanna นักร้องชื่อดังเป็น Creative Director สำหรับคอลเลตชั่นสุภาพสตรี ซึ่งนอกจากกลุ่มนักกีฬาแล้วกลุ่มแฟนคลับของ Rihanna ที่อาจไม่ได้เป็นนักกีฬาก็สนใจในสินค้า Puma คอลเลคชั่นนี้ด้วย ก่อให้เกิดกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่ไม่ใช่กลุ่มเดิม
3. ใช้สถานการณ์ช่วยดึงดูดความสนใจ (Newsjacking Marketing)
สำหรับแบรนด์แฟชั่นการหากลยุทธ์ใหม่เพื่อสร้างความน่าสนใจเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง Newsjacking คือหนึ่งในกลยุทธ์ที่แบรนด์แฟชั่นนิยมนำมาใช้ ซึ่ง Newsjacking มีความหมายถึงการนำข่าวดังหรือเรื่องราวที่เป็นกระแส แม้คำหรือประโยคยอดฮิตมาใส่ลงในสินค้าแฟชั่น ซึ่งส่วนใหญ่เราจะเห็นในเสื้อผ้า โดยเฉพาะประเด็นทางการเมืองที่ร้อนแรง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้แบรนด์แฟชั่นสามารถเข้าถึงกลุ่มคนใหม่ๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่สนใจการเมือง
4. การถ่ายทอดสด (Livestreaming)
แน่นอนว่าการถ่ายทอดสดผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียในปัจจุบันยังคงเป็นสิ่งที่น่าสนใจและน่าติดตาม ซึ่งความสำคัญจะตกไปอยู่ที่เรื่องของเนื้อหาที่จะนำเสนอผ่านการ Livestreaming โดยเรื่องของแฟชั่นก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ได้รับความสนใจ นอกจากนี้ก่อนการถ่ายทอดสดส่วนใหญ๋ก็จะทำการโปรโมทโดยสามารถขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มอื่นๆ ได้ และเนื้อหาที่น่าสนใจของแฟชั่นและการถ่ายทอดสดก็จะดึงกลุ่มคนใหม่ให้เข้ามาติดตามได้ เช่น งานแสดงแฟชั่นโชว์ Paris Fashion Week เป็นต้น
Source: Entrepreneur