10 เรื่องน่ารู้ “Smiley” ตำนาน Icon สื่อความรู้สึกคนทั่วโลก-ต้นแบบของ emojis แทนคำพูด

  • 92
  •  
  •  
  •  
  •  

smiley-post

ถ้านึกถึง “Icon” ที่คนทั่วโลกนิยมใช้กันมากที่สุด และอยู่ในชีวิตประจำวันของเราทุกคน หนึ่งในนั้นคงเป็น “Smiley” วงกลมสีเหลืองที่แสดงสีหน้าแตกต่างกัน ตั้งแต่หน้ายิ้มแฉ่ง หน้าสงสัย หน้าเศร้า ไปจนถึงหน้าโกรธ ที่ถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนสื่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้ส่งสาร ไปยังผู้รับสารผ่านทางอุปกรณ์ดิจิทัล และโปรแกรมแชท – สื่อสังคมออนไลน์แพลตฟอร์มต่างๆ รวมทั้งยังปรากฏให้เห็นตามเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และข้าวของเครื่องใช้

เคยสงสัยกันไหมว่า…ทุกวันนี้มี Character เกิดขึ้นจำนวนมาก อีกทั้งการสื่อสาร มี Sticker และ GIF บนแพลตฟอร์มแชทมากมาย แต่ทำไม “Smiley” เป็น “Icon” ที่ไม่ว่าเวลาผ่านไปกี่ปี ยังคงได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย ในผู้คนทั่วไป ที่ใช้เป็นตัวแทนสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกในชีวิตประจำวัน ขณะเดียวกันแบรนด์ระดับโลก ทำสัญญาไลเซนต์นำไปใช้เป็นลวดลายบนสินค้าของแบรนด์นั้นๆ ?!?

และนี่คือ 10 เรื่องเกี่ยวกับ “Smiley” ตำนาน Icon ฮิตที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลก 

1. Smiley” ถือกำเนิดขึ้นในปี 1972 ออกแบบโดย “มร. แฟรงคลิน ลูฟรานี” (Franklin Loufrani) นักข่าวนักหนังสือพิมพ์ชาวฝรั่งเศส ที่เขียนคอลัมณ์ถ่ายทอดข้อมูลเชิงบวก “มร.แฟรงคลิน ลูฟรานี” จึงได้ออกแบบ Icon เป็นวงกลมหน้ายิ้ม ขึ้นมาใช้สำหรับคอลัมณ์ดังกล่าว เพื่อให้คนอ่านมีความสุข มีทัศนคติเชิงบวก และเป็นการกระตุ้นให้คน “หาเวลามาแจกยิ้ม” กันบ้าง (Take Time to Smile)

Resize 1972 FRANCE SOIR

2. Icon หน้ายิ้มนี้ กลายเป็นธุรกิจของครอบครัว “ลูฟรานี” ด้วยการก่อตั้งบริษัท “The Smiley” โดยมีปรัชญาการดำเนินธุรกิจ คือ มุ่งหวังในการส่งต่อความรู้สึกดีๆ และรอยยิ้มแห่งความเป็น เป็น Core Value ของบริษัท และแบรนด์ “Smiley”

3. ช่วงปี 1990s “มร. นิโคลาส์ ลูฟรานี” (Nicolas Loufrani) ทายาทรุ่นสองของครอบครัวลูฟรานี เข้ามาสืบทอดและพัฒนาธุรกิจ “Smiley” ต่อจากผู้พ่อ ได้สังเกตเห็นการเติบโตในการใช้ ASCII emoticons ในยุคอินเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลาย และใช้ในการสื่อสารประจำวัน ด้วยการใช้เครื่องหมายคั่นต่างๆ (punctuation marks) ทำ emoticons แทนความรู้สึก สำหรับส่งข้อความบนโทรศัพท์มือถือ แชทออนไลน์ และทางอีเมล์

มร. นิโคลาส์ ลูฟรานี จึงทดลองใช้ Icon หน้ายิ้ม “Smiley” ในการสื่อสารแทนความรู้สึก โดยการดัดแปลง Icon หน้ายิ้ม เป็นใบหน้าแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ แทนข้อความ ก่อนจะมีการสร้าง Emoticons ในยุคต่อๆ มา ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านของธุรกิจ Smiley จากยุค Analog สู่ Digital Era และยังกลายเป็นแบรนด์ที่มีความสำคัญในด้านการสื่อสาร และภาษายุคใหม่ เพราะได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบภาษาสื่อสารด้วยรูปภาพ จากการใช้ Emoticons แสดงความรู้สึกและสื่อสารในชีวิตประจำวันปัจจุบัน

Resize smiley_alcatel

4. “มร. นิโคลาส์ ลูฟรานี” ได้จัดทำ “Smiley Dictionary” หรือ “พจนานุกรมภาษาภาพหน้ายิ้ม” คู่มืออธิบายความหมายของไอคอน “Smiley” กว่าหลายพันหน้า และเป็นต้นแบบของการพัฒนา “emojis” แทนความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลากหลายคำพูดในปัจจุบัน

Resize smiley_dictionary_01 Resize smiley_dictionary_02 Resize smiley_dictionary_09

Resize 2017 icon styles today

5. โมเดลธุรกิจของ Smiley ไม่ได้เป็นแบรนด์ที่ขายคาแรคเตอร์ อย่างค่าย Walt Disney, Marvel, DC Comics หรือคาแรคเตอร์อื่นๆ แต่ดำเนินธุรกิจแบบ “Co-creation” กับพาร์ทเนอร์ธุรกิจในการให้ลิขสิทธิ์ (licensing) แบรนด์ต่างๆ

ทำให้ทุกวันนี้ “Smiley” กลายเป็นแบรนด์ที่ทำ Collaboration กับธุรกิจสินค้า-บริการไลฟ์สไตล์หมวดหมู่ต่างๆ ในทุกเซ็กเมนต์ ตั้งแต่แบรนด์หรู เช่น Gucci – แบรนด์ระดับกลาง และแบรนด์แมสทั่วไป เช่น ZARA, Topshop, H&M จึงครอบคลุมทั้งอาหาร-เครื่องดื่ม, สินค้าแฟชั่น, ของตกแต่งบ้าน, สินค้าเทคโนโลยี, ศูนย์การค้า ฯลฯ

Resize smiley_dunkin Resize smiley_mcdonald's Resize smiley_nutella Resize Vittel-bottles

6. รายได้เกือบ 100% ของ “Smiley” มาจากการขาย license ให้กับพันธมิตรธุรกิจแบรนด์ต่างๆ โดยในปี 2017 “Smiley” ทั่วโลกมีรายได้จากการขาย license 420 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เติบโต 59% จากปีที่แล้ว และยังได้เพิ่มลูกค้าที่จดทะเบียนใช้บริการลิขสิทธิ์ (licensee) อีกกว่า 310 ราย ซึ่งมีทั้ง licensee เซ็นสัญญาระยะยาว และแบบร่วมกันพัฒนาเป็นคอลเลคชั่น
ด้วยโมเดลธุรกิจให้ licensing แก่แบรนด์หมวดหมู่ต่างๆ ทำให้แบรนด์ “Smiley” ยังคงร่วมสมัย และทำให้เกิด win-win ทั้ง Smiley ขยายฐานเข้าไปฐานแฟนแบรนด์นั้นๆ ขณะเดียวกันแบรนด์ได้ฐานแฟนคลับกลุ่มชื่นชอบ Smiley

Resize anya04Resize Metersbonwe12Resize anya07Resize anya08 Resize BestSeller-ONLY-08Resize Gucci01 Resize Huawei01 Resize Moschino02

7. จุดแข็งที่ทำให้ “Smiley” ประสบความสำเร็จ กลายเป็น “Icon” ที่ไม่ว่าแบรนด์ไหน บริษัทใด อยาก Co-create ด้วย เป็นเพราะความเรียบง่าย และปรัชญา หรือ DNA ที่เป็นการส่งต่อความสุข และคิดบวก ทำให้มีความเป็นสากล (Universal) สามารถเข้าได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกภาษา และทุกชาติ แบรนด์ต่างๆ จึงสามารถนำไปปรับใช้กับแบรนด์ของตนเองได้ 

ประกอบกับเมื่อแบรนด์ต่างๆ Co-create ร่วมกัน ทาง “Smiley” จะออกแบบหน้าให้ตรงกับความต้องการของแบรนด์นั้นๆ และยังสอดคล้องกับปรัชญาของ Smiley นี่จึงทำให้มีหลากหลายเวอร์ชั่น เช่น Smiley ลายธงชาติของประเทศต่างๆ, รูปทรงอื่นที่นอกจากวงกลม และไม่จำกัดเฉพาะสีเหลือง

Resize smiley_1999

8. ปัจจุบัน Smiley มีมากกว่า 3,000 หน้า และไม่หยุดสร้างสรรค์หน้าใหม่ๆ ออกมา โดยเบื้องหลังผู้ออกแบบหน้า-รูปทรงต่างๆ คือ “Creative Team” 20 คน จากหลากหลายชาติ นั่งประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งแต่ละคนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะกลุ่มธุรกิจ เพื่อดูแลกลุ่มสินค้าใดสินค้าหนึ่ง เช่น ครีเอทีฟที่เติบโตในสายแฟชั่น ก็จะดูแลสินค้ากลุ่มแฟชั่น, ครีเอทีฟที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบ้าน และการตกแต่งบ้าน ดูแลสินค้าตกแต่งบ้าน ที่ใช้รูปแบบการทำงานนี้ เพราะต้องการให้ดีไซน์ Smiley ที่ออกมานั้น ตอบโจทย์พาร์ทเนอร์มากที่สุด โดยยังคงอยู่ภายใต้ DNA ของแบรนด์ Smiley

9. บริษัทแม่มีแผนบุกตลาดไทย เพราะเล็งเห็นโอกาสของธุรกิจสินค้ากลุ่ม license ในไทย ที่ปัจจุบันมีหลากหลายแบรนด์ระดับโลกเข้ามาแชร์สัดส่วนตลาด license คาแรคเตอร์ ทำให้มีความหลากหลาย และเติบโต โดยขณะนี้ “Smiley” ได้มีการพูดคุยกับแบรนด์ไทย 20 แบรนด์ และเมื่อบรรลุการเจรจา คาดว่าอีกไม่นานแบรนด์ไทยเหล่านี้จะเปิดตัวคอลเลคชันที่ Co-create กับ “Smiley”

Resize zara03

10. หนึ่งในพาร์ทเนอร์ที่ร่วมกับ Smiley คือ “CPN” เริ่มต้นความสัมพันธ์ทางธุรกิจจากการที่ “Smiley” ได้มีโอกาสนำเสนอคอนเซ็ปต์อีเว้นท์ “Countdown” ประจำปีนี้ สำหรับศูนย์การค้าในเครือ CPN ทั้ง 32 แห่งทั่วไทย ภายใต้แนวคิด “World of Happiness” ซึ่งนอกจากตกแต่งด้วย Iconic หน้ายิ้มระดับโลกแล้ว ทาง CPN ยังได้ทำสติ๊กเกอร์ลาย Smiley ดีไซน์พิเศษขึ้นมาผ่านทาง Line Official Account : central Life (ดาวน์โหลดได้ฟรี ตั้งแต่ วันที่ 27 พ.ย. – 27 ธ.ค. นี้)

“Smiley ไม่ใช่ Technology Company เราใช้โมเดลธุรกิจสร้างพาร์ทเนอร์ร่วมกับแบรนด์อื่นๆ มากกว่า ในการเอา Icon ของเราไปใช้ ถึงแม้ทุกวันนี้จะมีสติ๊กเกอร์แชทอื่นๆ หรือมี GIF ก็ตาม แต่ด้วยความที่ Smiley มีความเป็นสากล และเรียบง่าย โดยเราไม่ต้องพิมพ์คำว่าฉันมีความสุข ฉันโกรธ หรือฉันหิว แต่เราสามารถส่งหนึ่ง Icon สื่อความหมายที่เราอยากจะบอกไปถึงผู้รับได้เลย เป็นจุดแข็งของ Smiley ที่ทำให้คนคุ้นเคย และใช้สื่อสารแทนความรู้สึก” มร. นิโคลาส์ ลูฟรานี สรุปทิ้งท้ายถึงความแตกต่างระหว่าง Smiley กับสติ๊กเกอร์แชท และ GIF

Resize Smiley_Nicolas Loufrani_01
มร. นิโคลาส์ ลูฟรานี ทายาทรุ่นสองของ The Smiley Company

 


  • 92
  •  
  •  
  •  
  •  
WP
อยู่ในแวดวงนิตยสารธุรกิจการตลาดกว่าสิบปี สนุกและชอบติตตามเทรนด์ ไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ และอยากเรียนรู้เพิ่มเติมในแพลตฟอร์มดิจิทัล มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การตลาดและดิจิทัลร่วมกันนะคะ